ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ... AAR (21) กรมธนารักษ์ + กรมอนามัย (shot 1)


เราควรจะถามอะไรทุกครั้งที่เราได้ทำอะไรสักอย่างหนึ่งในเรื่องความรู้ มุมมองที่ท่านได้รับ

 

เวลาช่วงนี้ ก็ประมาณ 15.30 น. เป็นช่วงของการ AAR ตลาดนัดความรู้ กรมอนามัย + กรมธนารักษ์ เนื่องจากกรมธนารักษ์มา shopping ตลาดนัดแค่ 1 วันนะคะ เราก็เลยถือโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนเรียนสิ่งที่ได้รู้ กับกรมธนารักษ์ด้วย

ดำเนินการโดย อ.หมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ค่ะ

... เราควรจะถามอะไรทุกครั้งที่เราได้ทำอะไรสักอย่างหนึ่งในเรื่องความรู้ มุมมองที่ท่านได้รับ ในช่วงเวลานี้ จึงขอใช้เป็นเวลาของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ในประเด็นที่ว่า

  • ก่อนมาท่านคาดหวังจะได้เรียนรู้อะไร
  • ท่านได้อะไรจากที่ท่านได้เรียนรู้ และ
  • สิ่งใดที่ท่านคิดว่า ท่านได้เกินความคาดหมาย
  1. กรมธนารักษ์ผอ.เกษมภูมิ วีรสมัย ผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานการประเมินราคาทรัพย์สิน ... ทางกรมธนารักษ์จัดการความรู้โดย กพร. บังคับ จึงกำหนดให้ทางกอง เป็นต้นแบบ ตอนนี้กำลังเริ่มต้น ก็พยายามทำ KM อยู่ สิ่งที่ได้รับในวันนี้ และประทับใจ คือ กรมอนามัยทำ KM ดีมาก เป็นภาพใหญ่ในมุมกว้าง และเราก็จะพยายามเอาอันนี้ไปเป็นแนวคิดต่อ สิ่งที่ได้หลักๆ ของวันนี้ ก็คือ เรื่องช่องทางการเผยแพร่ความรู้ กรมอนามัยเผยแพร่ในหลายรูปแบบ แต่เดิมเรามองแง่ของคู่มือ โดยเฉพาะที่ผมแปลกใจมาก ก็คือ Portfolio … ผมไม่รู้จัก นึกว่าเป็นการเล่นกระดานหุ้น ถามก็ได้ความว่า เป็นการทำ story การทำงาน คือ วันนี้ได้รับมอบหมายพิเศษอะไร ทำไปแล้ว และเขียนบันทึกในแต่ละวัน เข้าแฟ้มส่วนตัวของตัวเอง คนอื่นมาอ่านดูก็ได้ หรือคนภายนอกมาอ่านดูก็ได้ อันนี้ก็เป็นแนวคิดหนึ่งที่ขอไปเลียนแบบ และปรับปรุงให้เข้ากัน
  2. คุณเอกลักษณ์ กรมธนารักษ์ … สำนักประเมินเป็นกองนำร่อง เราเพิ่งก้าวเดินอยู่ช่วงกลาง กำลังเก็บรวบรวม และนำเข้าสู่บันทึกต่างๆ สิ่งที่คาดหวังคือ การบันทึกของกรมอนามัย มีสื่อ ช่องทางไหน ต่อไปเราจะได้บันทึกตามนี้ ก็ได้เห็นข้อความนั้นๆ ทั้งทาง Internet Portfoilio การนั่งคุยกัน คุยประจำเดือน กลุ่มย่อย และอื่นๆ ... สิ่งที่ไม่ได้ดังคาด คือ ยังไม่สามารถเห็น KM ในส่วน tacit knowledge ที่ว่า ... กรมอนามัยทำอย่างไรถึงได้มาถึงขั้นตอนนี้ได้ เช่น ที่ติดป้ายว่า เอา KM จาก สคส. มาเป็นจุดเริ่มต้น นั่นก็คือ ครั้งแรกที่กรมอนามัยทำ ... สิ่งที่ได้มากกว่าที่คาด คือ เห็นภาพว่า ความรู้ KM ไม่ได้มาจากในหน่วยงานอย่างเดียว แต่มีความรู้ที่ได้จาก ปชช. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน และได้นำมาพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
  3. ผอ.รัตนา ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ราชพัสดุ ... เรื่องที่ราชพัสดุ ปีนี้เพิ่งเริ่มทำ KM หลายๆ อย่างทำอยู่แล้ว เช่น ถ่ายทอดความรู้ให้เจ้าหน้าที่ ลูกค้าของเราคือ ผู้เช่าที่ราชพัสดุ ความรู้ที่ทำในปีนี้คือ การดูแล บำรุงรักษา และจัดหาประโยชน์ เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะมีตั้งแต่เข้ามาใหม่ ถึง C1–C8 เราทำการถ่ายทอดความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ในทางปฏิบัติงาน ระเบียบมีไม่เยอะ แต่ความยากอยู่ที่เทคนิคการทำงาน ต้องอาศัยประสบการณ์ สายนี้ไม่ใช่งาน routine ที่ทุกคนเข้ามาแล้วจะทำได้ ถ้าเป็นเช่าตามระเบียบไม่ยาก แต่ถ้าเป็นคนที่บุกรุก การคิดเงิน คิดค่าธรรมเนียม คิดปีไหน ค่าธรรมเนียมปีไหน เป็นเรื่องจุกจิก ถ้าผิดก็มีความผิด ยากตรงที่จะทำยังไง ทำให้สิ่งที่ผิดอยู่แล้ว ถูกต้อง ต้องอาศัยการถ่ายทอดความรู้ให้กัน ... ที่ผ่านมาเราใช้วิธีสอน หัวหน้าสอนลูกน้อง วิธีใช้คู่มือ แต่บางทีอ่านคู่มือก็ยังทำไม่ได้ เพราะว่ารายละเอียดต้องอาศัยวิธีคุยกัน พอมี KM เราก็เลยต้องคิดอีกหลายอย่างที่จะเอาความรู้จากคนที่ทำงาน หรือว่าเกษียณไปแล้วต้องมาสอนให้เด็กๆ ว่าจะทำยังไง และกำลังคิดว่า จะให้เขาถ่ายทอดความรู้เรื่อง เทคนิคต่างๆ ให้คนที่ปฏิบัติงานในรูปแบบต่างๆ ต่อไป
  4. ทพญ.ปราณีต ศูนย์อนามัยที่ 6 ... การเอาความรู้จากผู้เกษียณ ที่ศูนย์อนามัยมีการจ้างผู้เกษียณมาทำงานต่อ มาทำความสะอาด มาช่วยงานแม่และเด็ก ผู้สูงอายุจะมีประสบการณ์มาก และการจ้างอาจารย์มาช่วยทำงาน จะสามารถให้การปรึกษาเรื่องจิตใจได้ด้วย
  5. พญ.นันทา อ่วมกุล สำนักที่ปรึกษา กรมอนามัยพญ.นันทา สำนักที่ปรึกษา ... กรมอนามัยเคยทำครั้งหนึ่ง เมื่อวันเกิดกรมฯ งาน 100 ปี อ.กำธร สุวรรณกิจ นำเรื่องการให้ผู้ที่ทำงานกับท่านมาเล่าเรื่องตัวท่าน วิธีการทำงาน และที่เราต้องทำในคนปัจจุบัน ก็ต้องทำทุกรุ่น ทำเป็นประจำ และเปิดให้มีโอกาสของการแลกเปลี่ยน
  6. คุณสร้อยทอง กองแผนงาน ... คิดว่าไม่ต้องรอให้เกษียณ เพราะว่าที่กองแผนงานทำแฟ้มภูมิปัญญา คือ เก็บเล็กผสมน้อยจากการทำงานในแต่ละวัน ไม่ให้เรื่องราวหลุดออกไป การเก็บเล็กผสมน้อย เช่น ที่ราชพัสดุก็ทำได้ ถ้าน้องคนหนึ่งทำงาน ได้เกร็ดความรู้เรื่องการแก้ปัญหา ก็จะได้รับความรู้กลับมาบันทึกไว้ และพี่ๆ ถ้ามีเวลามาเปิดดู ก็สามารถอาจจะต่อเรื่องราวให้น้อง เพราะอาจจะมีวิธีอื่นที่สามารถนำมาแก้ปัญหา แบบนี้ก็จะเป็นความรู้ที่ทันสมัย เจ้าตัวเขาประสบเอง และมีการแลกเปลี่ยนกับหัวหน้างาน
  7. คุณยุพา ... กองอนามัยการเจริญพันธุ์มีการทำ AAR (After Action Review) ในงานที่ทำเป็นประจำ แล้วก็นำมาเผยแพร่ความรู้ต่อ ในเวปของกอง

นพ.สมศักดิ์ ชุรณหรัศมิ์Shot 1 : นพ.สมศักดิ์ ... ผมขออนุญาตแลกเปลี่ยนตรงนี้ว่า ... เวลาที่เราทำ ลปรร. ในกรมอนามัย สิ่งซึ่งเราพยายามย้ำเสมอ คือ บอกว่า ความรู้ที่หาไม่ได้ในตำรา คือ ความรู้เรื่อง How to ระเบียบ หรือคู่มือมีไม่ยาก แต่รายละเอียดเล็กๆ น้อย variation ทั้งหลาย เป็นตัวสำคัญ เราก็จะเชียร์ให้ทุกคนแลกเปลี่ยนลึกๆ จนถึง How to และก็ capture how to นี้ ออกมาให้ได้ ในวิธีต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เราไปประชุมอะไร ที่ไหน และได้อะไรมา เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก ผมเข้าใจว่า ใน รพ. มีผู้ที่ให้บริการผู้ป่วยโดยตรง กรมธนารักษ์ก็จะมีธรรมชาติของลูกค้าซึ่งเจอกันทุกวัน และเทคนิคที่ใช้ก็น่าจะมีวิธีการใช้ได้ ที่ศูนย์อนามัยที่ 6 ก็จะมีวิธีของพิเศษของการการตรวจเต้านมที่เป็นเทคนิคดีมาก (... เป็นความลับที่ต้องเรียนกันสองต่อสอง ถามต่อได้ที่ศูนย์อนามัยที่ 6 ครับ ...) มันก็เป็นเทคนิคที่เขาฟังก็ปิ๊งเลยว่า น่าสนใจมาก และสิ่งนี้ถ้าไม่มีกระบวนการ ลปรร. แล้ว ความรู้นี้ก็จะอยู่กับคนๆ นั้น หรือกับคนที่รู้จักรอบๆ เท่านั้นเอง คนไกลๆ ก็จะไม่ได้รู้

 

หมายเลขบันทึก: 42778เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2006 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท