สภาพปัญหาของระบบราชการไทย


สภาพปัญหาของระบบราชการไทย

"สภาพปัญหาของระบบราชการไทย"...

สภาพปัญหาจากความล้าสมัยของโครงสร้างราชการที่ใช้กันมานาน...แม้มีการปรับแต่งเป็นระยะ ๆ แต่ก็ไม่เคยมีการปรับรื้อทั้งระบบ... อีกทั้งการขยายตัวของภาระหน้าที่ของหน่วยงาน ด้วยข้ออ้างที่รับใช้ประชาชน...แต่ดูเหมือนเป็นการขยายฐานอำนาจไปเรื่อย ๆ ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้เกิดมีหน่วยงานกระจัดกระจาย มีภารกิจซ้ำซ้อนและสับสน ยากต่อการประสานงานหลายหน่วยงานพยายามสร้างกรอบล้อมรอบเพื่อปกป้องหน่วยงานของตนเอง...สร้างกฎระเบียบและเงื่อนไขให้ติดขัดและไม่คล่องตัวในทุกขั้นตอนของการบริหารจัดการ... ระบบการบริหารและตัดสินใจเป็นแบบรวมศูนย์ อำนาจกระจุกตัวอยู่ในส่วนกลางและผู้บริหารระดับสูง...ทำให้การสั่งการล่าช้า ผิดพลาดและไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์...ยากที่จะเป็นผู้นำหรือผู้ให้การสนับสนุนแก่ภาคธุรกิจเอกชนในการแข่งขันบนเวทีสากลนี้ได้...

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป...ระบบราชการในปัจจุบันยังเอื้อให้ข้าราชการบางคนทำงานไม่เต็มที่เท่าที่ควร... สร้างเครือข่ายและพรรคพวก ขาดระบบการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาก่อตัวระบบอุปถัมภ์ เพื่อทดแทนการที่มีรายได้ต่ำ ทำให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นและการฉ้อราษฎร์บังหลวง... บางคนยังยึดติดกับทัศนคติดั้งเดิม ในความเป็นเจ้าขุนมูลนาย... สร้างอิทธิพลจากการใช้อำนาจรัฐ...ช่วงเวลาที่มีการแต่งตั้งโยกย้ายมักมีปัญหาไม่สิ้นสุด ทำให้ขาดความตั้งใจและขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ...

ปัญหาเรื้อรังเหล่านี้ที่กล่าวมาข้างต้น...ล้วนเป็นปัญหาพื้นฐานที่สร้างความอ่อนแอให้กับระบบราชการและเต็มไปด้วยปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบ...สร้างความชินชาให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในเรื่องความล่าช้า บกพร่อง ผิดพลาด ไม่สนใจกับความฟุ่มเฟือย สิ้นเปลือง ไม่ประหยัด ไม่คุ้มค่าและไม่ใยดีกับความพึงพอใจของผู้มารับบริการหรือไม่... ทั้งหมดนี้ได้ฝังรากลึกไปทั่วทุกส่วนของภาครัฐจนเกินที่จะเยียวยา ขาดพลังและจิตวิญญาณในการขับเคลื่อนเพื่อที่นำพาประเทศออกจากวิกฤติและแก้ไขปัญหาของประเทศได้...ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของประเทศ การพัฒนาศักยภาพ คุณภาพและคุณธรรมของระบบราชการ... จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิรูปโครงสร้างและระบบของภาคราชการอย่างขนานใหญ่และอย่างจริงจัง...

ที่มา : หนังสือ KPI รายบุคคล : สุดยอดบริหารผลลัพธ์ขององค์กร.

กรุงเทพฯ : สินทวีกิจ พริ้นติ้ง, 2553.

หมายเลขบันทึก: 427238เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2011 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

<h3 style="text-align: justify;"><em><span style="color: #0000ff;"><span style="text-decoration: underline;"><span style="color: #ff0000;">ทั้งหมดนี้ได้ฝังรากลึกไปทั่วทุกส่วนของภาครัฐจนเกินที่จะเยียวยา</span></span> ขาดพลังและจิตวิญญาณในการขับเคลื่อนเพื่อที่นำพาประเทศออกจากวิกฤติและแก้ไข ปัญหาของประเทศได้...ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของประเทศ การพัฒนาศักยภาพ คุณภาพและคุณธรรมของระบบราชการ...</span></em></h3>

<h3 style="text-align: justify;"><em><span style="color: #0000ff;"><span style="text-decoration: underline;"><span style="color: #ff0000;">จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง <span style="background-color: #ffff99;">รื้อทิ้ง</span> โครงสร้างและระบบของภาคราชการ <span style="background-color: #ffff00;">และสร้างใหม่ อย่างเร่งด่วน.</span>..</span></span></span></em></h3>

ตอบ...คุณ sr...

  • ค่ะ...ปัจจุบันรัฐกำลังให้แต่ละส่วนราชการทำโครงสร้าง + Job description +KPI ที่ใช้ในการวัดผลลัพธ์ของงาน ไงค่ะ...
  • ตัวเร่งที่จะต้องให้เราได้ปฏิบัติในเรื่องโครงสร้าง + Job นั้นคือ...ก.พ.ร. + ส.ม.ศ. ค่ะ...
  • ซึ่ง ภาระงานในแต่ละรายบุคคลของผู้ปฏิบัติ...ที่วัดจะต้องชัดเจนด้วยค่ะ...

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลมีประโยชน์มากครับและขอให้กำลังใจนะครับ

สวัสดีค่ะ ท่าน ผอ.จรรยา...Ico48...

  • เป็นการแบ่งปันความรู้กันค่ะ...
  • ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...


ขอบคุณครับ หลายปีแล้วแต่ยังมีประโยชน์ผมจะเอาไปเขียนในข้อสอบพรุ้งนี้ครับ

ขอบคุณมากค่ะ เอาไปเขียนในข้อสอบเช่นกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท