ศึกษางานวิจัยการประชุมทางวิชาการ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 2


ศึกษางานวิจัย

ในวันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม 2549 นิสิตเทคโนฯ ปี 2 ได้มีโอกาสได้ศึกษางานวิจัย ในการประชุมทางวิชาการ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 2 บริเวณชั้น 3 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ชมโปสเตอร์เสนองานวิจัย และ เข้าร่วมฟังงานวิจัย ดังนี้

                             การนำเสนองานวิจัย Poster Presentation
                        ณ บริเวณชั้น 3 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
                                     **************************************

                   ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในงานอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา
                                  ผู้วิจัย นิติ เอี่ยมชื่น  , สมพร สง่าวงษ์

         เป็นการศึกษาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในงานอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา 4 แห่ง ใน 3 จังหวัด คือ บ้านม่อนเขาแก้ว ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง บ้านทุ่งหลวง ต.ทุ่งหลวง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย บ้านมอญ ต.บ้านแก่ง อ.เมือง จ.นครสวรรค์ และ โรงงานเซรามิค อ.เกาะคา จ.ลำปาง โดยการเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ คือ ตำแหน่งที่ตั้งครัวเรือน/โรงงาน สถานที่สำคัญภายในพื้นที่ เส้นทางคมนาคม แม่น้ำ ลำคลอง ลักษณะขอบเขตการปกครองระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และข้อมูลเชิงคุณลักษณะ หรือข้อมูลเชิงพื้นฐาน คือ ลักษณะทั่วไปของครัวเรือน การผลิต แรงงาน ผลิตภัณฑ์ พร้อมบันทึกภาพเจ้าของกิจการ รูปแบบผลิตภัณฑ์ โรงงาน/สถานที่ผลิต ในรูปดิจิตอล เพื่อนำไปเชื่อมโยงข้อมูลเชิงพื้นที่ และ ข้อมูลเชิงคุณลักษณะเพื่อนำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ต่อไป การเชื่อมโยงข้อมูลจากเครื่อง GPS เข้าสู่ระบบ GIS ข้อมูลจากเครื่อง GPS (Global Positioning System) จะระบุถึงตำแหน่งของสถานที่ที่ต้องการ เช่น ครัวเรือน/โรงงาน เส้นทางคมนาคม แม่น้ำ เป็นต้น และเข้สู่ระบบ GIS โดยการถ่ายโอนข้อมูลทั้งแบบป้อนข้อมูลเอง (Manual) หรือใช้โปรแกรมสำหรับถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่อง GPS เข้าสู่ระบบ GIS
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
1. ระบุตำแหน่งของสิ่งที่ต้องการทราบ เช่น ครัวเรือน นาย ก
2. ค้นหาข้อมูลโดยกำหนดเงื่อนไข เช่น การสืบค้นข้อมูลครัวเรือนที่ผลิตกระถางและอ่างบัว
3. แสดงความสัมพันธ์ของฐานข้อมูลกับลักษณะทางพื้นที่ เช่น บ้านนาย ก ตั้งอยู่ในพื้นที่ใด ใช้เครื่องมืออะไรในการผลิต ผลิตอะไรบ้าง ปริมาณเท่าใด
4. ศึกษาแนวโน้มจากอดีตสู่ปัจจุบัน เช่นวิคราะห์ความสัมพันธ์ของการเพิ่มขึ้นของรูปแบบผลิตภัณฑ์โดยการนำข้อมูลผลิตภัณฑ์จากอดีตมาเปรียบเทียบ
5. พยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การคาดการ การเพิ่มขึ้นของรูปแบบผลิตภัณฑ์จากข้อมูลที่มีอยู่ตามลักษณะของอุปสงค์-อุปทาน เพื่อเป็นการส่งเสริมการผลิต และ การเข้ามาจัดการแนวทางด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

                                  การนำเสนองานวิจัย Oral Presentation
                        ณ ห้องเอกาทศรถ 6 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
                           ************************************** 
  การแปรรูปเห็ดเผาะเพื่อการถนอมอาหารและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ในพื้นที่ ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา
                                     ผู้วิจัย   อาจารย์บุหรัน พันธุ์สวรรค์
                        สาขาเคมี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวรวิทยาเขตสารสนเทศพะเยา

        เห็ดถอบหรือเห็ดเผาะเป็นเห็ดที่ขึ้นเขตภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือหรือบริเวณที่เป็นป่าโปร่งเป็นเห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติคนนิยมรับประทานจึงทำให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้คนไปหาเห็ด เห็ดชนิดนี้ถ้าถูกแดดและลมจะทำให้แก่เร็วคนไม่นิยมรับประทานเพราะเปลือกที่หุ้ทสปอร์จะเหนียวมาก ผู้วิจัยจึงเสนอวิธีการการแปรรูปเห็ดเผาะเพื่อการถนอมอาหารและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยการนำมาผลิตเป็นน้ำพริกเผาเห็ดเผาะ เห็ดเผาะดอง ซอสเห็ดเผาะ ทำให้เก็บไว้ได้นานและจัดจำหน่ายได้

คำสำคัญ (Tags): #ศึกษางานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 42665เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท