ธนาคารไทยกับการเปิดเสรีทางการเงิน


ไทยไม่อาจหลีกเลี่ยงการเปิดเสรีทางการเงิน
     จากการจัดการเจรจาการเปิดเสรีการค้า(FTA) ไทย-สหรัฐฯที่ผ่านมาได้มีการหยิบยกประเด็นในด้านการบริการด้านการเงินมาเจรจา โดยทางสหรัฐฯมีความสนใจเป็นอย่างมากเพราะมีนักลงทุนต้องการเข้ามาหลายฝ่ายแต่ทางไทยเองยังกลัวว่าผู้ประกอบการไทยจะแข่งขันไม่ได้ จนท้ายสุดจะถูกเอาเปรียบจากต่างชาติ ทำให้ไทยต้องเริ่มหันกลับมามองว่าไทยมีความรู้และความพร้อมเท่าใดใประกอบการในการรับมือกับการเปิดเสรีทางการเงินดังกล่าว เพราะการเงินในปัจจุบันนั้นเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เป็นการนำเสนอบริการใหม่ๆซึ่งทางผู้ประกอบการไทยยังไม่มีความพร้อมในด้านดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องประสบกับปัญหาดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

     ในปัจจุบันประเทศไทยมีธนาคารพาณิชย์ 13 ธนาคาร ในจำนวนนี้เป็นธนาคารรัฐจำนวน 4 ธนาคาร เป็น hybrid bank จำนวน 3 ธนาคาร (DBS ไทยทนุ, Standard Chartered นครธน และ UOB รัตนสิน) ที่เหลือ 6 ธนาคารเป็นธนาคารเอกชน ซึ่งมีธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทยธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงไทย เป็น มีสาขาธนาคารต่างประเทศจำนวน 20 ธนาคาร

ธนาคารพาณิชย์ไทยที่ไปจัดตั้งสาขา หรือสำนักงานตัวแทนในต่างประเทศมีจำนวน 9 ธนาคาร (ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย

ขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย กำลังพิจารณาร่าง Financial Master Plan และร่างพระราชบัญญัติสถาบันการเงินซึ่งจะเป็นตัวกำหนดนโยบายการเปิดเสรีด้านการเงินและการกำกับดูแลสถาบันการเงินของไทยในอนาคต เพื่อการผูกพันกิจกรรมในระดับลึกขึ้น (Deepening the existing specific commitments) ซึ่งจะเน้นการ upgrade ข้อผูกพันเดิมตาม modes of supply เช่น การเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติ (mode 3) การเพิ่มจำนวนบุคคลธรรมดาชาวต่างชาติที่เข้ามาให้บริการในสาขาการเงิน เป็นต้น 
หมายเลขบันทึก: 42660เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 02:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วนะค่ะ อุ๋ยคิดว่าอาจมีทั้งผลดีและผลเสียนะ

อ่านแล้วครับ น่าสนใจดี
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท