งานวิจัย


การจัดการประชุมทางวิชาการ

                       เนื่องจาก วันที่ 27 - 29 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมานั้นทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มี การจัดการประชุมทางวิชาการ นเรศวรวิจัยครั้งที่ 2 : ความสำเร็จของการพัฒนาชุดโครงการ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยนเรศวรจัดขึ้นเพื่อเป็นการพลักดันเพื่อก้าวเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการวิจัยมากมาย และได้มีการแจกเอกสาร สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ภายในเอกสารนั้นจะทำการรวบรวมงานวิจัยไว้มากมาย ดิฉันคิดว่างานวิจัยทุกชิ้นล้วนแล้วแต่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งดิฉันขอหยิบยกมา 1 เรื่อง คือ

ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดความแรงไอโอดีนรังสี

สำหรับผู้ป่วยโรคคอพอกเป็นพิษ

วัตถุประสงค์ :

                  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักของต่อมธัยรอยด์ เปอเซ็นต์ความสามารถของต่อมธัยรอยด์ในการจับไอโอดีนรังสีที่มีผลต่อการกำหนดความแรงของไอโอดีน รังสีที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคคอพอกเป็นพิษ

วิธีการวิจัยและผลการวิจัย :

                  ศึกษาข้อมูลย้อนหลังในระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2546 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ณ โรงพยาบาลแพทยพร จังหวัดพิษณุโลก จากการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยไฮเปอร์ธัยรอยด์ที่มารับบริการจำนวน 261 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยโรคคอพอกโตไม่สม่ำเสมอจำนวน 15 รายและผู้ป่วยโรคคอพอกเป็นพิษจำนวน 246 ราย โดยเป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยไอโอดีนรังสีจำนวน 82 รายพบว่าน้ำหนักของต่อมธัยรอยด์ และเปอร์เซ็นต์ความสามารถของต่อมธัยรอยด์ในการจับไอโอดีนรังสีมีความสัมพันธ์กับการกำหนดความแรงของไอโอดีน รังสีที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคคอพอกเป็นพิษ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ( r = 0.844, p < 0.05 ) ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักของต่อมธัยรอยด์กับการกำหนดความแรงของไอโอดีนรังสีมีความสัมพันธ์กันแบบแปรผันตรงที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ r = 0.562, p < 0.05 ) และความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความสามารถของต่อมธัยรอยด์ ในการจับไอโอดีนรังสีกับการกำหนดความแรงของไอโอดีนรังสีมีความสัมพันธ์กันแบบแปรผันที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ( r = 0.479, p < 0.05 )

สรุป :

            น้ำหนักของต่อมธัยรอยด์และเปอร์เซ็นต์ความสามารถของต่อมธัยรอยด์ในการจับไอโอดีนรังสีเป็นสองปัจจัยหลักที่สำคัญ ในการกำหนดความแรงของไอโอดีนรังสีที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคคอพอกเป็นพิษ

 แหล่งข้อมูลอ้างอิง :

                  หนังสือ Abstract การประชุมวิชาการ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 2 ความสำเร็จของการพัฒนาชุดโครงการ

หมายเลขบันทึก: 42650เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท