บทความ ปัญหาทางเพศ เรื่อง “ รักร่วมเพศ (homosexuality) ”


งานชิ้นที่ 2

ปัญหาทางเพศ เรื่อง “ รักร่วมเพศ (homosexuality) ” 

คำว่า”รักร่วมเพศ” ศัพท์คำนี้บ่งถึง การที่คนๆหนึ่งมีความคิดและความรู้สึกทางเพศรสต่อบุคคลซึ่งเป็นเพศเดียวกัน. ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศนี้Kinsey et al (1948)ได้ประเมินว่า 10 % ของผู้ชายมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ประมาณ 5-6%อย่างน้อยมีพฤติกรรมเช่นนี้ 3 ปี, ส่วนอีก 4% ที่เหลือนั้นในหมู่ผู้ชาย จะมีพฤติกรรมรักร่วมเพศแบบถาวรไปจนตลอดชีวิต.

Kinsey et al (1953)รายงานว่า ผู้หญิงราว 4% จะมีพฤติกรรมรักร่วมเพศอย่างฝังใจนับจากช่วงอายุ 20-35 ปี, ในขณะที่ Kenyon (1980) สรุปว่า ผู้หญิงประมาณ 1 ใน 45 คนของจำนวนประชากรผู้หญิงที่เป็นผู้ใหญ่ เป็นพวกรักร่วมเพศ (เท่ากับ 2% กว่าเท่านั้นเมื่อเทียบกับผู้ชาย)

เราไม่สามารถที่จะแบ่งแยกเด็ดขาดลงไปได้ว่า ใครเป็นพวกรักร่วมเพศและใครเป็นพวกรักเพศตรงข้าม(heterosexual). มันมีอนุกรมอันหนึ่ง, ซึ่งได้วางบุคคลที่มีพฤติกรรมทางเพศแบบรักร่วมเพศขั้วหนึ่ง, และอีกขั้วหนึ่งมีพฤติกรรมทางเพศต่อเพศตรงข้าม; ระหว่างขั้วทั้งสองนี้เป็นพวกที่มีความผูกพันในระดับที่แปรปรวน กล่าวคือ มีพฤติกรรมทางเพศได้ทั้งสองอย่าง คือ สามารถมีความสัมพันธ์ทางเพศได้กับเพศเดียวกันและเพศตรงข้าม

พฤติกรรมรักร่วมเพศในหมู่ผู้ชาย

ในหมู่ชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ซึ่งมีด้วยกันหลายแบบ ทั้งการใช้ปากสัมผัสอวัยวะเพศ[ปากดูด] (oral-genital contact), การสำเร็จความใคร่ให้กันและกัน(mutual masturbation) และไม่มากนักที่มีเพศสัมพันธ์กันทางทวารหนัก(anal intercourse). ในพฤติกรรมเหล่านี้ตามปกติแล้ว คู่ขาจะเปลี่ยนแปลงบทบาทไปต่างๆตามความเหมาะสม; แต่ในบางคู่ คู่ขาบางคนมักจะมีพฤติกรรมเป็นฝ่ายรับเสมอและอีกคนเป็นฝ่ายรุกอยู่ตลอด. ความสัมพันธ์ต่างๆระหว่างคนที่รักร่วมเพศในหมู่ผู้ชาย ปกติแล้วจะไม่ยืนนานเหมือนกับความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างชายกับหญิง หรือยาวนานเท่ากันกับคู่เลสเบี้ยน.

ผู้ชายที่รักร่วมเพศบางคนจะมีประสบการณ์อันรุนแรงต่อความรู้สึกต่างๆกับพฤติกรรมรักร่วมเพศ และจะรับเอาพฤติกรรมทางสังคมที่ลงรอยสอดคล้องกันนี้มาไว้, ยกตัวอย่างให้ชัดก็คือ เขาจะแสวงหาเพื่อนหรือคู่ขาที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศเหมือนกันตามคลับหรือตามบาร์ต่างๆ. ส่วนพวกที่สำส่อนที่มีอยู่ไม่มากนัก ก็จะแสวงหาคู่ขาทางเพศในสถานที่อื่นๆ, หรือบ่อยครั้งตามห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าพวกรักร่วมเพศต่างๆจะถูกพบอยู่ ณ ที่นั้น. 

ชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศจำนวนไม่มากนัก จะรับเอาสไตล์หรือท่าทีแบบผู้หญิงมาไว้ในชีวิต, พวกเขาจะชื่นชอบงานและมีกิจกรรมยามว่าง ซึ่งปกติแล้ว ได้รับการทำเช่นนั้นในหมู่พวกผู้หญิง. บางคนก็รับเอาท่าทีที่ติดเป็นนิสัยแบบผู้หญิงมาไว้, และมีจำนวนน้อยกว่านั้นที่ชอบแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าของผู้หญิง (ซึ่งพวกเขาอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ที่มีความพึงพอใจทางเพศจากการได้สวมใส่เสื้อผ้าของผู้หญิง[transvestites]). แต่อย่างไรก็ตาม, ชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศส่วนใหญ่มิได้ปฏิบัติหรือประพฤติตัวในลักษณะนี้, และบางคนเป็นคนที่ดูเป็นชายสมชายทีเดียว ในพฤติกรรมทางสังคมของพวกเขา.

ชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศจะแปรผันในด้านบุคลิกภาพ เช่นเดียวกันกับที่ผู้ชายอื่นๆเป็น. แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศได้ถูกรวมเข้ากันกับความสับสนผิดปกติเกี่ยวกับบุคลิกภาพ, เป็นไปได้ที่ลักษณะปัจเจก จะตกอยู่ภาวะที่ยุ่งยากกับคนอื่นๆหรือสับสนทางด้านกฎหมาย, และด้วยเหตุนี้ เป็นไปได้มากทีเดียวที่จะถูกแนะให้ไปหาจิตแพทย์. 

Scott(1957) กล่าวเอาไว้ว่า ชายที่รักร่วมเพศที่ได้รับการแนะนำให้ไปพบกับบรรดาจิตแพทย์ทั้งหลายนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มด้วยกัน

กลุ่มแรก ประกอบด้วยวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ที่ยังไม่โตเต็มที่ ซึ่งพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้อาจเป็นไปเพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น

กลุ่มที่สอง ประกอบด้วยพวกผู้ใหญ่ซึ่งมีบุคลิกภาพต่างๆตามปกติ ซึ่งมีการปรับตัวทางสังคมเป็นปกติ.กลุ่มที่สาม เป็นคนกลุ่มที่ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยบุคลิกภาพที่สับสนผิดปกติ, อย่างเช่น มีท่าทางและอุปนิสัยแบบผู้หญิง(effeminate)และมีพฤติกรรมที่แสดงตัวแบบนั้น, อ่อนแอไร้ความสามารถและโดดเดี่ยวทางสังคม, มีพฤติกรรมต่อต้านสังคมและขุ่นเคืองใจ (พวกหลังนี้อาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวและบ่อยครั้งแสวงหาประโยชน์ใส่ตัวกับผู้ที่รักร่วมเพศคนอื่นๆ)

กลุ่มที่สี่ รวมไปถึงพวกรักร่วมเพศที่แอบแฝงหรือซ่อนเร้น ซึ่งพฤติกรรมทางเพศที่เปิดเผย จะปรากฎตัวขึ้นมาในภาวะที่ตึงเครียดหรือภาวะที่กดดันเท่านั้น, โดยเฉพาะในช่วงวัยกลางคนหรือบั้นปลายของชีวิต.

ส่วนกลุ่มที่ห้า ประกอบด้วย พวกที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศที่มีบุคคลิกภาพผิดปกติหรือสับสน(severe sociopathic personality disorder) ออกไปในทางก้าวร้าวรุนแรง, สมองถูกทำลาย หรือมีบุคลิกภาพแตกแยก พวกนี้มีพฤติกรรมที่น่ากลัวและอาจทำอันตรายหรือไม่เช่นนั้นก็ทำร้ายคู่ขาของตน.

ถึงแม้ว่า การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก บ่อยครั้ง จะเป็นมูลเหตุของการไม่ยอมรับทางสังคมอย่างชัดเจน แต่มันก็ไม่ถูกนำไปสัมพันธ์กับบุคลิกภาพที่ผิดปกติโดยเฉพาะ: Saghir และ Robins (1973) รายงานว่า ชายซึ่งมีพฤติกรรมรักร่วมเพศที่ฝังแน่นส่วนใหญ่ มีประสบการณ์เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักเป็นครั้งคราวเท่านั้น 

ชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นจำนวนมากสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุขเช่นเดียวกันกับชายที่มีพฤติกรรมรักเพศตรงข้าม, สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงถาวรและได้รับความพึงพอใจกับคู่ของพวกเขา. ส่วนสำหรับบางคน, การรักร่วมเพศได้นำไปสู่ความยุ่งยากต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของวัยที่เพิ่มขึ้น. ในหมู่วัยรุ่น อาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับการปรับตัวทางเพศในการที่จะได้รับการยอมรับเป็นครั้งแรก, และ การตัดสินใจอันหนึ่ง จะต้องกระทำลงไปเพื่อที่จะดำเนินไปตามนั้น หรือสะกดกลั้นความรู้สึกรักร่วมเพศอันนั้นเอาไว้. 

ขณะที่ชายซึ่งมีพฤติกรรมรักร่วมเพศเริ่มแก่ตัวลงไป คู่ขาทางเพศอาจกลายเป็นเรื่องยุ่งยากหรือลำบากใจมากขึ้นในการจัดการ. และเมื่อมาถึงวัยกลางคน อาจจะต้องโดดเดี่ยว แยกตัวออกไป และมีความกดดัน โดยเฉพาะถ้าเผื่อว่าชายคนนั้นมิได้สถาปนาความสัมพันธ์อย่างมั่นคงเอาไว้ก่อนหน้าโดยการสร้างความสัมพันธ์ดังกล่าวขึ้นมาจากมิตรภาพ เช่นเดียวกับความดึงดูดใจทางเพศ. ชายกลางคนที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศไม่มากนัก พบว่ามันยุ่งยากลำบากมากขึ้น ที่จะรับเอาคู่ขาทางเพศที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันมาไว้, ดังนั้นจึงเปลี่ยนไปมีความสัมพันธ์ทางเพศกับโสเภณีชายที่เป็นวัยรุ่น. หรือบางครั้ง ถือเป็นข้อยกเว้นสำหรับชายเหล่านี้ ที่จะเปลี่ยนไปสู่พวกเด็กๆก่อนที่ขนจะเริ่มแตกพาน.

ที่มา http://goozaa.com/

 

ความคิดเห็นโดย นายผดุงชัย ยะสง่า นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์ เพศ ชาย

จากการได้รับฟังบทความที่นายเฉลิมพล มาเป็ง กล่าว ผมคิดว่าเรื่องของรักร่วมเพศมันก็เป็นเรื่องปกติของสังคมในปัจจุบันนี้ และคิดว่ามันมีมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นคู่เลสเบี่ยน คู่เกย์ แต่หากลองคิดดูดีดี หากเป็นเช่นนี้มากขึ้นเรื่อยๆแล้ว จะรู้ได้ไงว่าคนไหน ชายจริง หญิงแท้ และเรื่องของการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ก็จะเป็นปัญหาอย่างหนึ่ง ผมยังคิดว่าการรักเพศตรงข้ามเป็นสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า รักร่วมเพศเป็นสิ่งที่ผิด และหากคิดว่าช่วงบั้นปลายของชีวิตคู่ มันคงจะเป็นเรื่องที่แปลกที่คู่ชายกับชาย หรือ หญิงกับหญิง จะอยู่ร่วมกัน ใช้ชีวิตร่วมกันจนแก่จนเฒ่า และมันเป็นไปไม่ได้หรอกที่จะเป็นแบบนั้น สุดท้ายแล้ว ผมยังเชื่อว่าคู่เหล่านี้ จะต้องแยกจากกัน สาเหตุอาจจะเป็นเพราะ ถูกสังคมที่ยังไม่ได้ยอมรับเรื่องเหล่านี้กดดัน หรืออาจเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ทางเพศที่ปรารถนาก็จะหมดไป ส่วนคู่รักที่รักเพศตรงข้าม อย่างน้อยพวกเขาก็จะเป็นที่ยอมรับของสังคม และอาจจะมีบุตรเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวให้คนเหล่านี้อยู่ด้วยกันจนแกเฒ่าถึงตาย ยังไงผมคิดว่ารักต่างเพศเป็นสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า อย่างน้อยก็เป็นเรื่องที่ธรรมชาติสร้างให้มาคู่กัน นี่คือความคิดของผม

ความคิดเห็นโดย นางสาวสุกัญญา ผดุงทรัพย์ นักศึกษาชั้นปีที่4  คณะศึกษาศาสตร์ เพศ หญิง

จากการได้รับฟังบทความที่นายเฉลิมพล มาเป็ง กล่าว ฉันคิดว่า รักร่วมเพศเป็นสิ่งพี่พบเจอบ่อยมากในปัจจุบันจริง ถึงแม้ว่าฉันจะไม่ค่อยเข้าใจในลักษณะของกลุ่มคนรักร่วมเพศที่เฉลิมพลได้กล่าวมา ก็ตาม แต่สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลยคือจำนวนกลุ่มคนกลุ่มนี้ที่มากขึ้นเรื่อยๆ ฉันคิดว่า เพื่อนของฉันก็คงอยู่ในกลุ่มนี้ด้วยซ้ำ แต่ถึงยังไงดิฉันคิดว่า การเป็นคนดีสำคัญที่สุด ตราบใดเท่าที่การมีรสนิยมทางเพศที่ต่างกัน แต่ไม่ได้ทำร้าย หรือทำให้ใครเดือดร้อน เราอย่าไปมองว่ามันเป็นปัญหา เรียกว่าเป็นสภาวะส่วนบุคคลดีกว่า เพราะทุกวันนี้ ฉันมีเพื่อนที่เป็นกลุ่มคนรักร่วมเพศ เขาเหล่านั้นก็เป็นคนดี ไม่ได้ทำความเดือดร้อนใคร เป็นอะไรก็ได้ แค่เป็นคนดี ฉันว่า สำคัญที่สุด

ความคิดเห็นโดย นายณัฐพงษ์ หลวงเทพ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ เพศ สาวประเภทสอง

จากการได้รับฟังบทความที่นายเฉลิมพล มาเป็ง กล่าว  ดิฉันคิดว่าในสังคมมีหลากหลายเพศอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งแต่ละเพศล้วนมีลักษณะการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน มีรสนิยมทางเพศที่แตกต่างกัน ดิฉันคิดว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วในสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นสากลหรือในประเทศไทยเราเอง ก็สามารถพบบุคคลเหล่านี้ได้ในสถานที่ต่างๆ แม้ภายนอกเขาอาจจะดูมีลักษณะภายนอกเหมือนผู้ชายและผู้หญิง ปกติก็ตาม ดิฉันคิดว่ามันเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่แต่ละบุคคลจะเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเพศใด บุคคลเหล่านี้ก็เหมือนคนทั่วไปทั้งชายและหญิงที่จะมีทั้งคนดีและคนไม่ดีอยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน 

สะท้อนคิดจากการสังเกตพฤติกรรมการฟังบทความ เรื่อง “ รักร่วมเพศ (homosexuality) ”

          จากการเล่าบทความ เรื่อง “ รักร่วมเพศ (homosexuality) ” ให้บุคคลทั้งสามคนฟัง ทั้งสามคนมีท่าทีที่ใกล้เคียงกันมาก คือไม่เขินหรืออาย ทำให้ข้าพเจ้าได้มองว่า ปัญหาเรื่องรักร่วมเพศนั้น ไม่ได้เป็นปัญหาที่ใหม่ ที่ทุกคนจะต้องมานั่งฟังอย่างเขินอาย หรือตกใจ แต่มันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว นานจนคนเกือบมองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาไป ทั้งสามคนถึงแม้จะต่างกัน มีความคิดเห็นที่ต่างกัน แต่มีประเด็นที่น่าสนใจคือ พวกเขาไม่ได้รู้สึกรังเกียจ และไม่ได้มองว่ามันเป็นปัญหา แต่ทั้งสามคนมองว่า มันเป็นสภาวะของคน ไม่ได้ใส่ใจในแต่ละประเภทของ กลุ่มคนรักร่วมเพศ แต่พวกเขากลับมองว่า การเป็นคนดีสำคัญกว่า เพราะฉะนั้นแล้วจากคนสามคนที่ได้พูดคุยทำให้ข้าพเจ้ามองว่า สังคมโดยเฉพาะคนที่เป็นคนรุ่นใหม่ๆ น่าจะยอมรับและปรับตัวกับการต้องมีเพื่อน มีญาติ มีคนรู้จัก ที่เป็นกลุ่มคนรักร่วมเพศ และอยู่ในสังคมกับกลุ่มคนเหล่านี้ได้ และมองว่ามันไม่ใช่ปัญหาใหญ่โตอีกต่อไป

หมายเลขบันทึก: 426400เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 01:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากรู้ข้อมูลมากกว่านี้ เพื่อทำโครงงาน ต้องทำไงคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท