แนวคิดการบริหารห่วงโซ่อุปทานกับการใช้กฎหมาย


“Supply Chain Management (SCM) is the integration and management of supply chain organizations and activities through cooperative organizational relationships, effective business processes , and high levels of information sharing to create high-performing value systems that provide menber organizations a sustainable competitive advantage.”

                              chain

                        กระแสการค้าในยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งเป็นการค้าแบบไร้พรมแดน ตลอดจนการวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ ที่เป็น Digital Economy ซึ่งเป็นยุคของเศรษฐศาสตร์ที่จะถูกขับเคลื่อนด้วยกลไกทางเทคโนโลยีด้านดิจิตอลเศรษฐกิจใหม่ของโลก เป็นการเคลื่อนไหวด้วยการเคลื่อนที่ของข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ก่อให้เกิดการรับรู้อย่างโปร่งใส ไม่ปิดบัง ผู้บริโภคจะมีประชาธิปไตยในการรับข้อมูลข่าวสาร (Value Transparencies and Democratization of Information) และสามารถแสวงหาข้อมูลข่าวสารได้ด้วยตนเอง (Self Generated) ลดอัตราการถูกยัดเยียดข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอีก ผู้บริโภค (Consumer Behavior) จะมีอำนาจมากขึ้น โดยผู้บริโภคกุมอำนาจความรู้ มีความเข้าใจมากขึ้น อันมิอาจถูกหลอกลวงได้อีกต่อไป                               

                          แนวคิดการบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Concept of Supply Chain Management) จึงมีบทบาทเข้ามามากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมการตลาด และการผลิตโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน                                                

                   คำนิยามของ Supply Chain โดย Robert B. Handfield & Ernest L. Nichols, Jr.                  

                         “Supply Chain Management (SCM) is the integration and management of supply chain organizations and activities through cooperative organizational relationships, effective business processes , and high levels of information sharing to create high-performing value systems that provide menber organizations a sustainable competitive advantage.”                 

                      จากคำนิยามข้างต้น อาจให้ความหมายของ Supply Chain Management ว่า เป็นการจัดการกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุปทานของสินค้าและบริการ โดยการปฏิสัมพันธ์จะมีลักษณะเชิงบูรณาการ โดยมีเป้าหมายในการที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม และสนองตอบต่อความต้องการของตลาด , การผลิต , การกระจายและการส่งมอบสินค้าและรวมถึงการสื่อสารสนเทศของข้อมูลและข่าวสาร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลดต้นทุนรวมของธุรกิจและเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน เห็นได้ว่าการจัดการเกี่ยวข้องกับ Supply Chain กระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งของวัตถุดิบต้นน้ำ (Up stream Source) จนถึงการส่งมอบสินค้าและบริการปลายน้ำ (Down stream Customers) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ จะครอบคลุมถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบกระบวนการส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดและการผลิต รวมถึงกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าจนถึงมือผู้ต้องการสินค้า ทั้งนี้ กระบวนการต่างๆ จะมีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะของบูรณาการ โดยมุ่งที่จะลดต้นทุนรวมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ อันนำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่า                                                                                 

                       ทั้งนี้ ภารกิจสำคัญของ Supply Chain จะมุ่งให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุด โดยเน้นในเรื่องประสิทธิผลเชิงต้นทุน และผลตอบแทนทางธุรกิจก็คือ Profit Gain แนวคิดการจัดการ Supply Chain จะมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยที่ระบบขับเคลื่อนของสังคมถูกควบคุมด้วยกฎหมาย การจะจัดการเศรษฐกิจจึงหลีกเลี่ยงการนำกฎหมายมาใช้ไม่ได้ ในระบบกลไกของการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ได้กล่าวมาข้างต้น มีระบบกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องทุกขั้นตอน โดยเฉพาะถ้าเป็นระบบจัดการในเรื่องของการค้าระหว่างประเทศ ทุกเรื่องต้องมีกฎหมายมาจัดการแทบทุกกระบวนการ เริ่มตั้งแต่เมื่อตั้งต้นทำสัญญาซื้อขาย ต้องพิจารณาว่าจะนำกฎหมายของประเทศใดมาใช้ แล้วเมื่อตกลงกันได้ก็ต้องพิจารณาถึงการขนส่งต่อไป ต่อเนื่องไปถึงการชำระเงินว่าจะชำระแบบใด แล้วจะมีการประกันภัยในสินค้าเหล่านั้นอย่างไรด้วย                                       

                            Supply Chain Management หรือการจัดการห่วงโซอุปทาน จึงเป็นการจัดลำดับของกระบวนการทั้งหมดที่มีต่อการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า โดยเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจำหน่วย (Distribution) และการขนส่ง (Transportation) ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะจัดระบบให้ประสานกันอย่างคล่องตัว และไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กรเท่านั้น แต่ที่สำคัญจะสร้างความสัมพันธ์เชื่อมต่อกับองค์กรอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ผู้จัดหาวัตถุดิบ/สินค้า (Suppliers) บริษัทผู้ผลิต (Manufactures) บริษัทผู้จำหน่าย (Distribution) รวมถึงลูกค้าของบริษัท จึงเป็นการเชื่อมโยงกระบวนการดำเนินธุรกิจทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องด้วยกันเป็นห่วงโซ่หรือเครือข่ายให้เกิดการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า/บริการ สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า แต่ละหน่วยงานจึงมีความเกี่ยวเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่ โดยที่ในห่วงโซ่อุปทานนั้นข้อมูลต่าง ๆ จะมีการแชร์หรือแจ้งและแบ่งสรรให้ทุกแผนก/ทุกหน่วยงานในระบบรับทราบและใช้งาน ทำให้หน่วยงานแต่ละหน่วยงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ                                      

                              ยกตัวอย่างเช่น ในการประกอบรถยนต์หนึ่งคัน แผนกจัดซื้อจะจัดซื้อวัตถุดิบหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่อง แบตเตอรี่ ยางรถยนต์ เป็นต้น เมื่อสั่งซื้อเสร็จอุปกรณ์ดังกล่าวจะเก็บให้ในคลังสินค้า เพื่อรอฝ่ายการผลิตรถยนต์นำไปผลิตรถยนต์ตามที่ต้องการ และถ้าองค์กรนี้มีระบบการจัดการซัพพลายเชนที่ดี   แผนกต่าง ๆ มีการแชร์หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันจะทำให้การสั่งซื้อวัตถุดิบเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นระบบ                                                  

                        ฉะนั้น การที่จะตอบสนองความต้องการและจัดการตลาดได้อย่างแท้จริงนั้น ในธุรกิจระหว่างประเทศ เส้นทางตั้งแต่ต้นน้ำยังปลายน้ำเป็นหนทางที่ต้องใช้ความระมัดระวังแทบทุกขั้นตอน เพื่อสร้างความพอใจและลดความผิดพลาดให้มากที่สุด โดยเฉพาะลูกค้าเป็นคนต่างชาติระบบการจัดการที่ดีย่อมสร้างความได้เปรียบให้กับการดำเนินธุรกิจที่เหนือคู่แข่งมากยิ่งขึ้น กฎหมายที่จะนำมาใช้ในการจัดการระบบ Supply Chain มีอยู่ในหลายลู่ทาง ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการดำเนินการต่าง เพื่อให้เกิดผลสูงสุดและความสำเร็จที่แท้จริงที่เราต้องการ และการใส่ใจกับกฎหมายก็ช่วยให้ความสำเร็จเกิดขึ้นได้จริงอยู่มากเพราะเรามักจะเจอช่องทางที่ต่างไปจากคนอื่นและเป็นลู่ทางที่น่าสนใจมากกว่าแน่นอน .  

หมายเลขบันทึก: 42634เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
อยากทราบว่าในบ้านเรามีกฎหมายลักษณะดังกล่าวหรือยังคะ? ถ้ามีช่วยยกตัวอย่างได้ไหมพี่ลิ...อยากรู้จริงๆค่ะ
ทราบคำถามแล้วเดี๋ยวจะหาคำตอบให้นะจ้ะ...แต่ช่วงนี้พี่ยุ่ง ๆ จะตอบช้าใหม่นะจ้ะ
  • ได้ปรับปรุงไปแล้วตอนวันสิ้นเดือนลองอ่านดูอีกนะจ้ะ
  • ถามนอกรอบได้จ้ะ

อยากทราบเรื่องห่วงโซ่อุปทานอย่างละเอียดค่ะ

เหมือนกับวิถีการตลาดไหมคะ หรือว่าต้องมีเรื่องระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ให้โจทย์มา

กิจกรรมต้นน้ำ กับกิจกรรมปลายน้ำ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ

พี่ช่วยอธิบายให้หน่อย ตอนนี้หนูงงมากๆ ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร เร็วๆนะต้องส่งอาจารย์

อยากรู้ความหมายของ

Supply chain member

กับ Manufacturing supply chain

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท