ประสบการณ์เยี่ยมบ้านผู้เป็นเบาหวาน ชุมชนตะพง


ควรใช้ syringe สำหรับฉีดอินซูลินโดยเฉพาะ ที่ไม่สามารถถอดหัวเข็มได้จะดีกว่า

วันนี้ดิฉันขอเป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ทีมงานได้ไปพบเห็นจากการไปเยี่ยมชุมชนตะพงเมื่อ 21 ก.ย. 2548 โดยมีคุณสุนทรี นาคะเสถียร และ คุณศิริวรรณ บุตะเดช เป็นผู้ให้ข้อมูล

ยุวดี มหาชัยราชัน วันที่ 22 กันยายน 2548

เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ทีมเทพธารินทร์ได้เดินทางไปเยี่ยมทีม PCU ตะพง ที่จังหวัดระยองร่วมกับ อ.วัลลา และมีโอกาสไปเยี่ยมผู้เป็นเบาหวานในชุมชนตะพง  เราตามไปดูการตรวจ capillary blood glucose ของชาวชุมชน คุณสุนทรีลงทุนให้ชาวชุมชนตรวจเลือดให้ เสียเงินไป 30 บาท  เห็นของจริงว่าชาวชุมชนสามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง จนต้องออกปากชมว่ายอดเยี่ยมจริงๆ คุณสุนทรีแอบกระซิบว่าทำได้ดีกว่าเจ้าหน้าที่บางคนเสียอีก

เรายังไปเยี่ยมผู้ป่วยอีกรายที่ภรรยาฉีดอินซูลินให้ทุกวัน เราพบว่าเขาใช้ syringe tuberculin ที่เปลี่ยนหัวเข็มได้และเข็มมีขนาดเบอร์ 27 ในการฉีดอินซูลิน  syringe แบบนี้จะมี area dead space ซึ่งอาจทำให้สิ้นเปลืองอินซูลินมากขึ้น เข็มที่มีขนาดใหญ่กว่าเข็มฉีดอินซูลิน (เบอร์ 29-30) ทำให้เจ็บมากกว่า และในกรณีที่ต้องดูดอินซูลิน 2 ชนิดผสมกัน อาจทำให้สัดส่วนของอินซูลินไม่ตรงตามที่แพทย์กำหนด

เราได้เสนอแนะว่าควรใช้ syringe สำหรับฉีดอินซูลินโดยเฉพาะ ที่ไม่สามารถถอดหัวเข็มได้จะดีกว่า

ผู้เล่าเรื่อง คุณสุนทรี นาคะเสถียร และคุณศิริวรรณ บุตะเดช ฝ่ายบริการการศึกษาและวิจัย โรงพยาบาลเทพธารินทร์ โทร. 0-2240-2727 ต่อ 2231-2233

หมายเลขบันทึก: 4253เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2005 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท