เริ่มดำเนินการkm ในโรงพยาบาล


Start km อย่างไรถึงจะยั่งยืน

การดำเนินการ km ในโรงพยาบาลเราจะทำอย่างไรดีจึงจะสำเร็จอย่างยั่งยืน และคนทำมีความสุข หลายโรงพยาบาล/หน่วยงานดำเนินการอย่างล้มลุกคลุกคลาน และคนทำรู้สึกว่าทำเพื่อให้มีงานส่งตามเวลา ทำตามนโยบาย ทำไปเพราะนายสั่ง ถ้ามีทัศนคติแบบนี้คงจะสำเร็จยากจริงมั้ยคะ  ตามหลักการนั้นทราบอยู่แล้วว่าต้องวิเคราะห์องค์กรก่อนว่ามีจุดอ่อน จุดแข็งอะไร บริบทของเราเป็นอย่างไร ทีมแกนนำต้องมาช่วยกันคิดว่า เราจะเริ่ม km ในองค์กรเราอย่างไรดี พยายามดึงจุดแข็งมาเสริมแรง  พัฒนาจุดอ่อนให้ขึ้นมา แต่ที่สำคัญที่สุด  ทีมแกนนำ และผู้บริหารต้องชัดในเรื่อง km ต้องมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการดำเนินการดังกล่าว และต้องทำ เป็นแบบอย่าง และสนับสนุน กระตุ้น พร้อมติดตามอย่างต่อเนื่อง  ในโรงพยาบาลของเราเริ่มโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบ ตอนนี้จะมาร่วมประชุมเพื่อวางแนวทางการดำเนินการต่อไป โรงพยาบาลไหนที่ทำไปแล้วมากกว่านี้ และมีประสบการณ์ที่จะแลกเปลี่ยน ขอเชิญแสดงความคิดเห็นนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

หมายเลขบันทึก: 42436เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อยากเรียนรู้  เขาใจ  และนำ KM มาใช้ในหน่วยงาน  แต่เจ้าหน้าที่ทุกคนยังขาดความรู้ที่จะนำสู่การปฏิบัติ  มีโอกาสเข้าร่วมมหกรรมคุณภาพครั้งที่ 5 ของโรงพยาบาลพุทธชินราช   คิดว่าน่าสนใจ  และนำไปใช้พัฒนาคุณภาพงาน  แต่ไม่รู้ จะเริ่มต้นตรงไหน   บางเรื่องที่มีการนำเสนอนั้น  ดูไม่ออกว่ามีการจัดการความรู้อย่างชัดเจน  ทำให้ไม่แน่ใจว่าควรทำอย่างไรจึงจะประสบผลสำเร็จ     อยากขอคำชี้แนะเพื่อการพัฒนาต่อไปค่ะ  ขอบคุณค่ะ
จิตตราวดี เก่าก่อน

หากเจ้าหน้าที่ในหน่วนงานยังไม่ชัดในเรื่องการจัดการความรู้ และหัวหน้าผู้มุ่งมั่นอยากจะจัดการเรียนรู้ อยากให้เกิดการจัดการความรู้ในหน่วยงาน  โดยไม่อยากรอคณะกรรมการ KM ของโรงพยาบาลแล้วหละ จะทำอย่างไรดี ใช่มั้ยคะ

การจัดการความรู้ก็เป็นเรื่องที่เราทำอยู่แล้วแต่ถ้าจะเติมให้เต็มก็คือการทบทวนงานของเราเอง เช่นถ้าเป็นระดับบุคคลก็ทบทวนหน้าที่ของตัวเอง ถ้าเป็นระดับหน่วยงานหรือหอผู้ป่วยก็ทบทวนพันธกิจ/เจตจำนงของหน่วยงานว่ากระบวนงานหลักของเราตั้งแต่ต้นจนจบ เราทำอะไรได้ดี  และเรายังทำอะไรได้ไม่ดี นั่นคือให้รู้เราก่อน หลังจากนั้นเราก็ดูจากการทำงานเดิมก็ได้ว่าถ้าจะให้ดีกว่าเดิมเราจะต้องเพิ่มกิจกรรมอะไรไปอีก หรือไปหาภายในโรงพยาบาลเรา หรือหานอกโรงพยาบาลก็ได้ว่าใครทำได้ดีในเรื่องที่เรายังทำได้ไม่ดี ลองหยิบบางส่วนของเขาที่เราคิดว่าจะใช้ได้มาทดลองใช้ ประกอบกับการหาตำรามาร่วมคิด ตัดสินใจ แล้วจะเกิดแนวทางที่เหมาะกับเรา ทำเป็นแนวทางปฏิบัติเมื่อปรับให้เหมาะกับเราแล้ว นั่นเรียกว่าการสกัดคลังความรู้ออกมา หรือ เป็น good practice /Best practice ของเรา เก็บเอาไว้แลกเปลี่ยนกับคนอื่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท