จากหัดคลาน ย่างก้าว เข้าสู่หัดเดิน


เมื่อเอ่ยถึงวิทยุชุมชนแล้ว ผู้เขียนเชื่อได้เลยว่าไม่มีใครไม่รู้จักวิทยุชุมชน  ปัจจุบันนี้จะเห็นว่าวิทยุชุมชนนั้นเป็นสื่อที่กำลังฮิตในชุมชน ต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ใต้  ก็มีทั้งนั้น  แต่ว่าในละภาค แต่ละคลื่นวิทยุนั้นเค้าจัดกันอย่างไร    ผู้เขียนสังเกตว่าแต่ละคลื่น จะมีลักษณะการจัดที่คล้าย ๆ กัน คือ เปิดรายการมาอันดับแรกต้องมีเพลง และพูดได้สองสามคำก็เปิดเพลง  ซึ่งผู้ฟังที่เป็นกลุ่มวัยรุ่นก็ ชอบ เพราะว่าไม่ต้องพูดมากดี  บางรายการก็จะเปิดเพลงเสร็จ มีเกมให้เล่น ในเกมนั้นก็จะมีพวกจับคู่ชู้ชื่นบ้าง  ถามเกี่ยวกับเพลงบ้างตอบถูกเปิดให้ ซึ่งส่วนมากจะเป็นลักษณะนี้มากกว่า ในเรื่องเนื้อหาสาระนั้นเท่าที่สังเกตเห็นยังไม่ค่อยมีสักเท่าไหร่    (แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีเลยนะคะ )  บางคลื่น บางรายการให้เนื้อหาสาระเกี่ยวกับสุขภาพก็มีแต่ว่าเป็นสุขภาพกาย หรือไม่ก็สุขภาพใจ เท่านั้น   ซึ่งจริง ๆ แล้ว คำว่าสุขภาพ ในนิยาม ของ สสส.ไม่ได้มีแค่นี้ค่ะ  คำว่าสุขภาพยังสามารถแตกกิ่งออกมาได้ถึง 4   กิ่ง คือ สุขภาพกาย  สุขภาพใจ สุขภาพทางสังคม สิ่งแวดล้อม   และสุขภาพจิตวิญญาณ
            ดังนั้นจึงเป็นเรื่องดีที่โครงการการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพได้เกิดตุ่มเอ๊ะขึ้นมาว่าในเมื่อมันมีตั้ง 4 กิ่งแต่ว่าคนส่วนมากเรารู้กันแค่ 2 กิ่งจะทำอย่างไรดี   กิ่งที่เหลือนั้นคนถึงจะรู้จัก  ก็เลยเกิดความคิดว่าเราน่าจะจัดฝึกอบรมให้แก่กลุ่มที่จัดรายการวิทยุ   เสียงตามสาย  หรือ หอกระจายข่าวให้เค้าได้รู้จักกระบวนการในการสื่อสารผ่านสื่อที่ว่านี้ดีกว่า   จึงได้เริ่มจัดกิจกรรมฝึกอบรมนักจัดรายการกันขึ้นมาอย่างหลากหลาย  เช่น กิจกรรมวิทยุชมชนเพื่อสุขภาพแนวคิดเด็ก จ.ชลบุรี  วิทยุชุมชนเพื่อสุขภาพแนวพุทธ  สุดท้ายคือ วิทยุชุมชนเพื่อสุขภาพกลุ่มดีเจ อสม.  และ ค่ายวิทยุชุมชนเพื่อเยาวชนเด็ก จ.ภูเก็ต
            จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาตลอดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมวิทยุชุมชนที่ผ่าน มา 5 ครั้ง 5 กลุ่ม แต่  4 สไตล์
กระบวนการทำงาน  ซึ่ง แต่ละกลุ่มเป้าหมายจะมีกระบวนการดำเนินกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป และระดับการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ทำให้เราได้มีบทเรียนในการทำงานต่าง ๆ ในแต่ละกิจกรรม
ในการจัดกิจกรรมแต่ละกลุ่มเป้าหมายนั้นเรา เราเรียนรู้ได้ว่าการที่จะสื่อสารกันทางเดียวนั้นจะไม่ประสบผลสำเร็จเป็นแน่ ดังนั้นจึงเปลี่ยนเป็น การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม โดยเน้น ให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มีส่วนร่วมให้มากที่สุดทั้งด้านการสื่อสาร และด้านการลงมือปฏิบัติ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายนั้นจะต้องนำความรู้ที่ได้รับมาไปปฏิบัติจริง
 ถ้ากลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็ก เราควรจะให้เด็กมาสื่อสารถึงจะเข้าใจได้ดี  หรือ กลุ่มเป้าหมายที่เป็นพระก็ควรที่จะให้พระด้วยกันมาสื่อสาร หรือที่เรียกว่าการสื่อสารแบบ “แนวนอน” (Horizontal) ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ระหว่างวิทยากร ทีมงานโครงการฯ และผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นการสื่อสารที่ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ในการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน เพื่อให้แนวความคิดและความรู้ที่มีอยู่ดำเนินไปในทางเดียวกัน ซึ่งเป็นการถ่ายโอนความรู้อีกแนวทางหนึ่งด้วย
กลุ่มเป้าหมายแตกต่างแต่มีประสงค์เดียวกันคือ ต้องการให้ทุกคนที่อยากเป็น ดีเจ นักจัดรายการวิทยุ เสียงตามสาย หรือหอกระจายข่าวตามหมู่บ้าน ได้มีความรู้ในการสื่อสาร และรู้จักคัดเลือกเนื้อหาสารที่จะปรับใช้ให้เข้ากับชุมชนของตัวเอง และชุมชนได้ประโยชน์มากที่สุด หรือที่เรียกว่าประเด็น การรู้เท่าทันสื่อ เพื่อสุขภาพ 
กระบวนการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย  คือ การคัดเลือกกลุ่มที่มีความรู้ และสนใจในด้านการจัดรายการวิทยุ เสียงตามสาย หรือ หอกระจายข่าว  และเพื่อไปต่อเครือข่ายกับกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่ต้องการจัดรายการแต่ยังไม่มีความรู้ทางด้านนี้  ทำให้เครือข่ายของเราได้ขยายออกไปเรื่อย ๆ
สุดท้ายโครงการการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพได้วางแผนการทำกิจกรรมวิทยุชุมชนไว้แล้วว่าจะมีไปตลอดตามภาคต่าง ๆ ทั้งสี่ภาค เพื่อเป็นการขยายความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึงกัน

สายทอง  บุญปัญญา

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4243เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2005 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เนื้อหาอ่านยาก น่าจะมีการเว้นวรรคบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท