แผนที่ ภาพถ่าย และภาพถ่ายทางดาวเทียมอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ แสดงที่ตั้ง ภูมิประเทศโดยรอบ และตัวเมืองหนองบัว


                         

ภาพที่ ๑ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ : ภาพถ่ายระยะไกลจากดาวเทียม แสดงที่ตั้งของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เห็นพื้นที่ราบลุ่มที่ทอดมาจากพื้นที่ด้านเหนือสองฟากของแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน และเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำโพซึ่งเป็นตัวเมืองเดิมของจังหวัดนครสวรรค์ในยุคที่การคมนาคมทางน้ำและทางรถไฟยังมีบทบาท หรือก่อนยุคสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๘๘) และสงครามอินโดจีน (ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๑๘) รวมเป็นแอ่งในบริเวณรอบบึงบอระเพ็ดซึ่งจัดว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ที่เกิดจากการได้ทำคูกั้น ขุดลอก และสร้างขึ้นด้วยมนุษย์บนแหล่งเดิมซึ่งเป็นที่ราบลุ่มน้ำ

                        

ภาพที่ ๒ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ : ทิศตะวันตกติดกับอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ทิศเหนือติดกับอำเภอบางมูลนากและอำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร ทิศใต้ติดกับอำเภอไพสาลี และอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ทิศตะวันออกติดกับอำเภอชนแดนและอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ทางหลวงหมายเลย ๒๒๕ เป็นเส้นทางหลักสำหรับการคมนาคมจากอำเภอชุมแสงด้านทิศตะวันตก ผ่านตัวเมืองอำเภอหนองบัวไปยังด้านตะวันออก เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางหลวงหมายเลข ๑๑ เป็นเส้นทางหลักจากภาคใต้ กรุงเทพมหานคร ผ่านนครสวรรค์ที่อำเภอหนองบัวและสี่แยกหนองบัว-ชัยภูมิ ผ่านเลยขึ้นไปยังพิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และเส้นทางสายเหนือ จากภาพถ่ายทางดาวเทียม จะเห็นได้ว่าอำเภอหนองบัวและด้านทิศตะวันออก เป็นพื้นที่เชื่อมต่อกับที่ราบสูงและภูเขา

                         

ภาพที่ ๓ แสดงภูมิประเทศของอำเภอหนองบัวและพื้นที่โดยรอบ

                         

ภาพที่ ๔ ตัวเมืองอำเภอหนองบัวและศูนย์กลางที่สำคัญของชุมชน

                         

ภาพที่ ๕ ตัวเมืองอำเภอหนองบัวและศูนย์กลางของชุมชนที่สำคัญ เห็นเทศบาลเมืองอำเภอหนองบัว โรงพยาบาลหนองบัว สำนักงานอำเภอหนองบัว สถานีตำรวจภูธรอำเภอหนองบัว สถานีอนามัยตำบลหนองบัว โรงเรียนหนองบัวหรือโรงเรียนหนองคอก โรงเรียนอนุบาลหนองบัว(เทพวิทยาคม) วัดหนองกลับ รวมไปจนถึงตัวตลาด ตลาดสดเจริญผล ศูนย์การค้าธารบัวสวรรค์

                         

ภาพที่ ๖ ตัวเมืองอำเภอหนองบัวและศูนย์กลางของชุมชนที่สำคัญฝั่งหนองกลับและเกาะลอย

                         

ภาพที่ ๗ ตัวเมืองอำเภอหนองบัว

                         

ภาพที่ ๘ วิถีชีวิตและการทำอยู่ทำกินส่วนใหญ่ของคนหนองบัวคือทำเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่

                         

                         

ภาพที่ ๙ และภาพที่ ๑๐  สถานีรถไฟและเมืองชุมแสงในอดีตก่อนทศวรรษ ๒๕๑๕ และภาพถ่ายจากบริเวณพื้นที่เดียวกันในปัจจุบัน [อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ตลาดแลกข้าวกับสินค้าในอดีตที่ชุมแสง นครสวรรค์ โดย วิรัตน์ คำศรีจันทร์] ในอดีตนั้น อำเภอชุมแสงเป็นศูนย์กลางในการติดต่อกับโลกภายนอกของอำเภอหนองบัว แต่ปัจจุบันนี้ อำเภอหนองบัวสามารถติดต่อกับสังคมภายนอกรอบข้างได้โดยสะดวกและมีความเคลื่อนไหวทางด้านต่างๆมากกว่าอำเภอชุมแสง ในขณะที่อำเภอชุมแสงมีความเป็นเมืองผ่านและมีกิจกรรมความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมน้อยลงกว่าเดิม

.........................................................................................................................................................

แหล่งอ้างอิง : ขอขอบคุณภาพจาก wikimapia และค้นหาโดย google
วาดภาพและถ่ายภาพโดย : วิรัตน์ คำศรีจันทร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

หมายเลขบันทึก: 424293เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2011 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นคนนครสวรรค์ ดินแดนต้นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสี่สายที่เป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ท่องจำได้ตั้งแต่เป็นเด็ก แต่ก็ยังไม่เคยได้ไปสัมผัสบริเวณปากน้ำโผล่,ปากน้ำโพเลย พูดได้ว่าไม่รู้จักก็ได้ อีกที่หนึ่งคือบึงบอระเพ็ด ก็ยังไม่ได้ไปเยี่ยมชมอีกเช่นกัน รับรู้ข้อมูลทางสื่อต่างๆว่าเป็นบึงใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและมีชื่อเสียงมากๆ ในอดีตที่นี่เคยมีจระเข้ชุกชุมมาก

อ่านในบันทึกของป้าหมอหนิมก็ได้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับบึงขนาดใหญ่แห่งนี้ด้วย โดยท่านกล่าวถึงบึงบอระเพ็ดในสมัยที่ท่านเดินทางจากอำเภอท่าตะโกไปเรียนที่นครสวรรค์ ก็ได้บรรยายถึงสภาพแวดล้อมบึงบอระเพ็ด ความใหญ่โต ความอุดมสมบูรณ์ ได้เห็นจระเข้มากมาย

เขาเหล็กนี่ไม่ค่อยคุ้นชื่อเท่าไหร่ ก่อนบวชเคยไปครั้งหนึ่ง แต่ลืมชื่อไปแล้ว ไปนอนจักไม้(เลื่อยไม้มะค่าโมง)มาทำพื้นบ้าน ได้ถามโยมพ่อท่านเล่าว่าเขาเหล็กก็คือที่ที่เราไปนอนจักไม้นั่นเอง ถ้าจำไม่ผิดตรงบริเวณที่นอนเลื่อยไม้นั้นเป็นที่ดินของผู้ใหญ่สวัสดิ์(ผู้ใหญ่หวัด) อยู่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์(ลืมถามข้อมูลเรื่องนี้ แต่จำได้ลางๆว่าเป็นอย่างนั้น) ที่ตีนเขา-เชิงเขามีวัดอยู่ อยู่ในระดับสูง ตอนคืนมองเห็นแสงไฟ(ตะเกียง)อยู่ลิบๆ ช่วงนั้นสภาพโดยทั่วเป็นป่ารกพอสมควร(๒๕๒๐ กว่าๆ)

หลังจากมีถนนสี่แยกออกไปจากถนนสายเอเชีย ไปตากฟ้า ไพสาลี แล้วก็ผ่านหนองบัวขึ้นสายเหนือ ทำให้ด้านที่เคยเป็นป่าของหนองบัวที่เลยออกไปทางหนองคอก มีถถนนหนทาง ผมก็เลยได้เคยไปยืนมองดูเพื่อทบทวนเส้นทางที่ผมเคยเดินทางจากบ้านที่หมู่ ๑๑ ตำบลห้วยร่วม ลัดเลาะตามทุ่งนาและป่าละเมาะออกทางด้านหลังของชุมชนหนองบัวและเข้าไปถึงเขาเหล็ก เขามรกต และเขาสูง เพื่อหาไม้ ฟืน รวมทั้งเผือก กลอย ผักหวาน มันเสา หน่อไม้ ไม่ไผ่ และที่จะขาดไม่ได้ก็คือไม้มะค่า

พอมีถนนและพื้นที่ส่วนใหญ่เปิดโล่งจนเห็นไปไกลแล้ว ก็ให้นึกประหลาดใจว่าเมื่อในอดีตพวกชาวบ้าน รวมทั้งผมเอง สามารถเดินทางด้านเท้าและเกวียนไปได้อย่างไร เนื่องจากมันช่างไกล และในยุคนั้นก็เต็มไปด้วยป่า ขับรถไปตอนนี้ผมก็ว่ามันยังไกลโขอยู่ทีเดียว

ไม้มะค่าแถวป่าหนองบัวนั้นเยอะนะครับ แล้วก็มีให้พอเลือก ซึ่งบางทีก็ไปบากและจองไว้แบบข้ามปี ซึ่งก็แปลกและน่านับถือวิถีของชาวบ้านในอดีตนะครับ คือ เมื่อเห็นมีใครบากต้นไม้เพื่อแสดงว่าเขาได้จองไว้แล้ว ก็ไม่เห็นมีใครเข้าไปชิงตัดเอาไปก่อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท