ทำไม..ผู้ป่วยจิตเวช..จึงมีอาการไม่คงที่


การเริ่มต้น...แห่งการแสวงหาคำตอบ

"ทำไม..ผู้ป่วยจิตเวช..จึงมีอาการไม่คงที่"

       คือคำถามที่ถาม "ตน" มาตลอดทุกครั้งที่ประเมินสภาพผู้ป่วยที่มารับยาที่คลินิกจิตเวช...สิ่งหนึ่งที่พบ คือ อาการของผู้ป่วยจะไม่คงที่ เดี๋ยวดี เดี๋ยวแย่ และเมื่อพิจารณา หรือวิเคราะห์กันจริงๆ...ทั้งตามกรอบทฤษฎีที่ว่าไว้ และข้อมูลเชิงประจักษ์ จะเห็นว่าที่คนไข้อาการเปลี่ยนแปลง และป่วยเรื้อรังนั้น นอกจากจะมีพยาธิสภาพของโรคแล้ว...การปฏิบัติตัว และบริบทรอบด้านล้วนแต่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการซ้ำกำเริบ

       โดยเฉพาะการไม่ทานยาตามการรักษา ทานบ้างไม่ทานบ้าง การดื่มสุรา อารมณ์ ความเครียด ความผิดหวัง จิปาถะของอารมณ์แห่งเชิงลบ ที่สำคัญกำลังใจจากคนในครอบครัวและการเอาใจใส่ หากแต่จะว่าไปผู้ป่วยในกลุ่มนี้ครอบครัวมักจะมองว่าเป็นภาระ เพราะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงและไม่ปกติทำให้กระทบต่อคนรอบข้างได้

       ดังนั้นเวลาที่เราให้บริการในผู้ป่วยเล่านี้ สิ่งที่ละเลยไม่ได้เลยก็คือ สุขภาพจิตของญาติ หรือผู้ดูแล...ที่ผู้ป่วยพักอาศัยอยู่ด้วย เหมือนเป็นภาระที่หนักอึ้ง หากแต่ว่าคนรอบด้านลองทุ่มใจ ทุ่มกำลังอย่างเต็มที่ในการดูแล รักษา ในผู้ป่วยเล่านี้เพื่อคืนเขากลับสู่สังคม และร่วมกันอยู่ได้ ทำงานได้ ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ผู้ช่วยเหลือทุกคนทุกประเภททุกระดับ...หรือใครก็ตามที่มีความสัมพันธ์กับผู้ในกลุ่มนี้ไม่ว่าในลักษณะใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่จะสามารถประคองได้ คือ "ใจ"ของผู้ช่วยเหลือ ที่อยากจะดูแลและช่วยเหลือคนไข้เหล่านี้

       จากคำถามที่ค้างคาใจนี้ สิ่งที่เรา...ดิฉันคาดหวังที่อยากจะได้คำตอบอย่างแท้จริงเป็นอย่างมาก จึงคิดว่า คำถามนี้น่าจะไปแสงไฟส่องไปสู่..คำตอบที่แท้จริงได้

การเริ่มต้น...แห่งการแสวงหาคำตอบ

       ดิฉัน...แยกข้อมูลผู้ป่วยออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอาการคงเดิม...ไม่เปลี่ยนแปลง และกลุ่มที่สองคือ อาการเปลี่ยนแปลง
       ดิฉัน...สนใจศึกษาในกลุ่มที่มีอาการเปลี่ยนแปลง...และแบ่งย่อยออกไปอีกว่า เปลี่ยนในทางที่ดีขึ้น และเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลง...

       จากนั้นตามรอย...ของผู้ป่วยเล่านี้..ตามไปตั้งแต่การรับประทานยา ยาที่หมอสั่ง...การได้รับการทำจิตบำบัด...ไปจนถึง..การใช้ชีวิตแต่ละวันที่บ้าน..รอยที่ว่าตามนั้นตอนนี้เริ่มแกะข้อมูลไปจากตั้งต้นที่คลินิก...และไปสู่สภาพจริงของผู้ป่วยที่บ้าน เพื่ออยากให้ได้คำตอบมาอย่างแท้จริง ที่ว่าอาการดีขึ้นนั้น..ดีขึ้นเพราะอะไร..หรือที่แย่ลงน่ะเพราะอะไร...

       สิ่งที่ดิฉันหวังอย่างยิ่งว่า...ที่เราให้บริการทุกวันนี้สนองตอบต่อผู้ป่วยจริงหรือไม่ เพราะอะไรทำไมผู้ป่วยจึงเรื้อรังและแย่ลง ทำไมอาการไม่ดีขึ้นเลย...และทำไม..(เกิดเป็นคำถามมากมาย...)

        อาจกล่าวได้ว่า...การแสวงหาคำตอบครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นที่ต่อเนื่อง...เริ่มต้นที่ว่านั้นคือ..มองหาช่องทางหาคำตอบแห่งการช่วยเหลือใหม่ และต่อเนื่องจากฐานงานเดิมที่เราพยายาม...พัฒนาอย่างเรื่อยมา อีกไม่นานหรอกคะ..เราจะสามารถหาบทสรุปแห่งความสงสัยนี้ได้ ดิฉันเชื่อว่าอย่างนั้นนะคะ...

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 42429เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 07:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ผมกำลังคิดเตลิดไปถึงกระบวนการที่ "กบนอกกะลา" ใช้

ผมว่าเป็นกระบวนการตามล่าหาความจริงที่น่ารักและรื่นรมย์ การดำเนินงานที่วางแผนได้แยบยลมีเป้าหมายที่ชัดเจน หากแต่แฝงด้วยอารมณ์ขัน

ผมจะติดตาม การแสวงหาคำตอบ ชนิดไม่กระพริบตาเชียวครับ...

มาแล้วๆๆ...(ยิ้มๆ)

รอท่านมาเยี่ยมเยือน...ขอบคุณนะคะ..ที่ทิ้งรอย..ไว้ให้ในความทรงจำ....

....

กระบวนการที่ว่า "กบนอกกะลาใช้"...เป็นอย่างไรบ้างคะ ขอ...ลปรร. ด้วยคะ

 

ไหมละ ว่าจะพูดผ่านๆ ก็เลยผ่านไม่ได้

พอดีสะดุดข้อความนี้ครับ

จากนั้นตามรอย...ของผู้ป่วยเล่านี้..ตามไปตั้งแต่การรับประทานยา ยาที่หมอสั่ง...การได้รับการทำจิตบำบัด...ไปจนถึง..การใช้ชีวิตแต่ละวันที่บ้าน..รอยที่ว่าตามนั้นตอนนี้เริ่มแกะข้อมูลไปจากตั้งต้นที่คลินิก...และไปสู่สภาพจริงของผู้ป่วยที่บ้าน เพื่ออยากให้ได้คำตอบมาอย่างแท้จริง ที่ว่าอาการดีขึ้นนั้น..ดีขึ้นเพราะอะไร..หรือที่แย่ลงน่ะเพราะอะไร... 

 

"กระบวนการกบนอกกะลา" เป็นคำล้อเชิงยกย่อง "รายการกบนอกกะลา" ทางช่อง 9 ใหม่  ที่เห็นว่ากระบวนการวางแผน เตรียมการ สืบค้น เก็บข้อมูล การถ่ายทำ การเล่าเรื่อง ฯลฯ ล้วนแต่เป็นกระบวนการตามล่าหาความจริง--เป็นการตามล่าหาความจริงที่ทำได้อย่างรื่นรมย์

การประชุมร่วมหลายครั้ง หลายเวทีเพื่อพิจารณาปัญหาคนเร่ร่อน-ขอทาน คำพูดซ้ำๆ ที่ได้ยินคือการย้ำให้พิจารณาแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ พิจารณาให้รู้รายละเอียดสาเหตุปัญหา ซึ่งก็แน่นอนละว่าคงต้องย้อนกลับไปที่ภูมิลำเนาของกลุ่มเป้าหมาย ไปเริ่มต้นตรงนั้น...

เป็นกระบวนการที่เกิดจากหัวใจใฝ่เรียนรู้ ด้วยการตั้งคำถามแบบเจ้าหนูจัมมัย

เอ๊ะ ทำไม ?
เอ๊ะ ทำไม ?
เอ๊ะ ทำไม ?

ผมเดาเอาว่า
กระบวนการกบนอกกะลา ใช้เทคนิค "เอ๊ะ ทำไม" เป็นหลักคิด (ฮา)

คืนนี้ ลองชมดูสักตอนไหมครับ เรื่องอะไรผมก็ไม่รู้สิ  (ผมเองก็ยอมรับว่า ไม่ได้ติดตามชมนานแล้วเหมือนกัน)

(ผมเคยเขียนไว้ที่ไหนสักแห่ง เรื่อง เอ๊ะ ทำไม? กับหัวใจใฝ่เรียนรู้ ถ้าเขียนใหม่ก็คงไม่เหมือนเดิม ไว้หาเจอเมื่อไหร่จะนำมาโพสต์ซ้ำครับผม)

ขอบคุณ "คุณมงคลมากนะคะ..."

ยอดเยี่ยมมากเลยคะ...เคยชม "กบนอกกะลา" แต่นานแล้วคะตอนสุดท้ายที่ดู เรื่อง...การทำปลาร้า...นี่แหละคะ...นานมาก...แต่ชอบดูรายการคนค้นคน...และทุ่งแสงตะวันคะ....

.....

บางครั้งการนำชีวิตในบางเรื่อง...ก็มักเริ่มต้น...ด้วยคำว่า "ทำไม"...แล้วค่อยแสวงหาคำตอบ...

ดีใจ!...มากนะคะ...ที่ได้ ลปรร. ในประเด็นที่น่าเรียนรู้ในเรื่องจิตวิทยา...และจิตเวช...Blog นี้รอมานานแล้วคะ...รอผู้รู้ที่หลากหลายมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และต่อยอดเติมเต็ม....

ดูเหมือนคำถามนี้จะกลายเป็นคำถามโลกแตก สำหรับทีมจิตเวชไปเสียแล้วนะ  ตอนอยู่เมืองไทยผมก็เจอปัญหาแบบเดียวกัน แล้วก็ตั้งคำถามแบบนี้แหละ ก็เลยต้องไปเรียนต่อในมุมมองแบบอื่นดูบ้าง

มีน้องสาว มีอาการหลังคลอด ขาดยา ประมาณ 1 ปี แล้วกลับกินยาต่อเนื่องมา 6- 7 เดือนแล้ว โดยทั่วไปยังซึมนิดหน่อยแต่ก็พยายามไม่ให้อยู่เฉย ๆ ให้ดูแลลูกแต่มักเผลอหลับบ่อย ลูกกำลังซน ตัวเขาเองพอรู้สึกผิด ก็เครียดและซึมอีก พยายามทำงานแต่พอไปทำถูกสอนงานต่าง ๆ ก็มักลืม พอกลับบ้านก็มาเครียดอีก ทางบ้านก็พลอยเครียดไปด้วย บ้างครั้งก็ดูดีขึ้น ทำอะไรไม่ได้ดังใจคิด หรือจำอะไรไม่ได้ แบบลืมทันที เขาก็เครียด เหมือนกำลังโทษตัวเองอยู่ คนทางบ้านช่วยกันปลอบใจ แต่ก็ไม่ได้ทำให้เขารู้สึกดีขึ้น อย่างนี้ต้องทำอย่างไรค่ะ จากพี่สาว

สงสัยเหมือนกัน นอกจากการทานยาแล้ว ความเป็นอยู่ที่บ้านก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่บางครั้งทางบ้านก็ยังพิสูจน์ไม่ได้เหมือนกันว่าปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างไรจึงจะดี เพราะบางทีให้การดูแลเอาใจใส่ตอนแรกผู้ป่วยก็พอใจ ต่อมาก็เหมือนรำคาญเรา อารมณ์ขึ้นๆ ลง ๆ อย่างนี้ผู้ดูแลก็เบื่อหน่ายเหมือนกัน ถ้าไม่รักกันจริงก็ต้องทิ้งกันแน่นอนเลย อยากให้มีทีมพยาบาลช่วยให้กำลังใจผู้ดูแลด้วย ไม่งั้นผู้ป่วยก็โดนทอดทิ้งกลับเข้าวงจรเดิมอีกวันยังค่ำ เฮ้อ นับวันคนที่เริ่มทำท่าว่าจะอาการดีขึ้น ก็คงแย่ลงเนาะเพราะญาติหมดกำลังใจซะก่อน

Care Giver ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญเลยล่ะ...

ดังนั้น care giver หรือผู้ดูแล...ต้องรักษาใจตนเองให้มาก...เลยล่ะค่ะ

Zen_pics_007 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท