ฉันท์


คำประพันธ์ประเภทฉันท์

   ผู้เขียนขอลงเนื้อหาเกี่ยวกับฉันท์เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 6  ที่กำลังเรียนอยู๋ได้สืบค้น  หลักการแต่งคำประพันธ์ปประเภทฉันท์

หลักการแต่งคประพันธ์ประเภทฉันท์

            นักเรียนได้เรียนรู้การแต่งคำประพันธ์กาพย์  กลอน  โคลง  และร่ายมาแล้วในชั้นก่อนในชั้นนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ซึ่งเป็นคำประพันธ์ที่แต่งยาก  และอ่านยากกว่าคำประพนธ์ทุกชนิด  เพราะฉันท์มีข้องบังคับเรื่องคำครุหุเพิ่มขึ้นและคำและคำที่ใช้ในการแต่งฉันท์นั้นส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากภาษีบาลี  สันสกฤต  เพราะคำไทยหาคำลหุที่มีความหมายได้ยากการศึกษาให้เข้าใจรูปแบบและลักษณะบังคับของฉันท์  จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจคำประพันธ์ประเภทฉันท์  สามารถอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง  และเข้าใจความหมายได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น  ความรู้เรื่องฉันท์ที่จะกล่าวถึงต่อไปในบทนี้  มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะบังคับหรือฉันท์ของฉันท์ที่กวีไทยนิยมแต่ง  และปรากฏอยู่ในวรรณคดีประเภทคำฉันท์ของไทย  เพื่อให้นักเรียนใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการแต่งฉันท์  และในการอ่านวรรณคดีไทยให้เข้าใจยิ่งขึ้น

ความหมายของฉันท์

       พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. ๒๕๔๒  ได้ให้ความหมายไว้ว่า  ฉันท์ น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคำครุ ลหุ เป็นแบบต่าง ๆ

            กำชัย  ทองหล่อ  อธิบายความหมายว่า ฉันท์ คือ  ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ร้อยกรองขึ้นให้เกิดความไพเราะซึ่ง  โดยกำหนดคณะ ครุลหุ  และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน            กล่าวโดยสรุป  ฉันท์  หมายถึง  คำประพันธ์ชนิดหนึ่งของไทยที่มีข้อบังคับ  เรื่องครุลหุ  เพิ่มขึ้น  นอกเหนือจากเรื่องคณะและสัมผัสซึ่งเป็นข้อบังคับในคำประพันธ์ชนิดอื่น

ประเภทของฉันท์

            ฉันท์มากมายหลายชนิด  การแบ่งชนิดของฉันท์ตามฉันทลักษณ์ให้สะดวกแก่การศึกษาอาจแบ่งเป็น ประเภท  ดังนี้ประเภทที่ ฉันท์ ๑๑ ฉันท์ ๑๒ และฉันท์ ๑๔ ฉันท์ประเภทนี้แบ่งเป็น บาท มีสัมผัสเหมือนกัน  แต่ลักษณะกานอ่านแตกต่างกันตามตำแหน่งคำครุ ลหุ มีสัมผัสบังคับ  คือ  สัมผัสระหว่างบาทและระหว่างบท  คือ  คำสุดท้ายของบทเอก ( บาทที่หนึ่ง) ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายในวรรคแรกของบาทโท ( บาทที่สอง)  ถ้าต่างมากกว่าหนึ่งบท  ต้องมีสัมผัสระหว่างบท  คือ  คำสุดท้ายของบทแรกจะต้องส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของบทบาทเอกในบทต่อไป  ส่วนสัมผัสที่เป็นเส้นประในแผนผัง  เป็นสัมผัสระหว่างวรรคแรกส่งสัมผัสไปยังคำที่สามของวรรคที่สองในบาทเดียวกัน  เป็นสัมผัสที่ไม่บังคับ บางบทจะมีสัมผัสดังกล่าว  แต่บางบทก็ไม่มี

ฉันท์  ๑๑    หมายถึง  ฉันท์ที่มีจำนวนคำครุ  ลหุ บาทละ  ๑๑ คำ  เช่น  อินทรวิเชียรฉันท์

อุเปนทรวิเชียรฉันท์   อุปชาติฉันท์  สาลินีฉันท์

            อินทรวิเชียรฉันท์ มีลักษณะบังคับตามแผนผังและตัวอย่าง  ดังนี้ 

 

คำสำคัญ (Tags): #ฉันท์
หมายเลขบันทึก: 42428เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 07:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

เรียนอ.สายสิน

ขยันมากเลยนะ สมกับเป็นศิษย์ อ.มานิต แวะมาเยี่ยม

ขอเป็นกำลังใจให้  คำประพันธ์ประเภทฉันท์มีเสน่ห์มาก โดดเด่นด้วยครุ ลหุ นักเรียนม.6 น่าจะอ่านได้ทุกประเภทนะ  มรดกของชาติเชียวนะ หนังสือที่รวมฉันท์ไว้ในเล่มเดียวคงมีแต่ "สามัคคีเภทคำฉันท์" ชื่นใจจัง

ที่เห็นเยาวชนของชาติเห็นความสำคัญของบทร้อยกรอง   แล้วจะแวะมาเยี่ยมบ่อยๆนะ

                                       หลักฐานไปจีนยังไม่ครบ ไปไม่ได้ ขอบอก ( ขาดทะเบียนสมรส) ดำเนินการด่วน

                                                                  อ.สวย

 

วันนี้ขอเป็นนักเรียนชั้น ม.6 ด้วยคนนะคะ อ.สายสิน

สวัสดีค่ะ อาจารย์

 พอดีหนูจะทำรายงานเรื่องลักษณะคำประพันธ์ แล้วบังเอิญค้นหามาเจอเว็บนี้พอดี อยากแสดงความชื่นชมอาจารย์ที่ตั้งใจถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็กๆ ค่ะ หนูเห็นด้วยที่เราน่าจะช่วยกันศึกษาและสืบทอดความสวยงามทางภาษาอย่างบทประพันธ์เอาไว้...คนรุ่นหลังๆ จะได้รู้ว่า ของเราดีจริงๆ....

 คาดว่าอาจารย์คงเป็นอาจารย์ภาษาไทยใช่ไหมคะ หนูเองก็อยากเป็นครูสอนภาษาไทยเหมือนกันค่ะ หนูอยากให้เด็กๆ รักภาษาไทยเหมือนหนู(เหมือนอุดมการณ์จะแรงกล้าแฮะ) 

 อ้อ..เกี่ยวกับเนื้อหาที่อาจารย์ลงไว้ ไม่ทราบว่าเป็นที่เครื่องหนูหรือเปล่า คือ แผนผังมันไม่ขึ้นอ่าค่ะ อยากให้อาจารย์ตรวจสอบหน่อยะคะ

 

ด้วยความเคารพค่ะ

เด็กม.6

ขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ

สวัดดีคะ

    คือว่าดิฉันต้องการตัวอย่างคำฉันท์ ที่เเต่งเกี่ยวกับพ่อ เป็นเเนวทางในการทำรายงานคะ

ทำไมไม่มีตัวอย่างเลยละค่ะ ช่วยหาตัวอย่างมาลงด้วยค่ะ จะเอาไปทำรายงานค่ะ ช่วยหนอยนะค่ะ  เกี่ยวกับการครองราช 80 นะค่ะ

วสันตดิลกฉันท์ 14

ปูชา จ ปูชนียนาฏ         วรบาทบทบงส์
รังสรรค์พจีลิขิตผจง         บ่งคนึงคุณคณา
กราบบาทอัญเชิญสถิตสถาน        ณ พิมานดุสิตา
เสด็จสวรรคมรรคา        บุปผชาติบำบวง
สรวงสรรค์สุคันธรวรส         สนิทโสตเสนาะทรวง
รายล้อมสุคันธรวปวง         ณ แดนอมราวดี
สราญสถานอุตรทิพย์       สิปปพรรณมาลี
อมตสุราลัยวรรุจี         พิสุทธิอันนิรันดร...

คัดลอกจาก  http://www.ttkschool.com/

มีเรื่องอยากให้อาจารย์ช่วยหน่อยค่ะ..

หนูอยากได้ฉันท์วสันตดิลกฉันท์ 14 หัวข้อเรื่องพระคุณของครู 2 บทค่ะ

ดิฉ้นเรียน กศน ช่วงนี้เรียนภาษาไทย เรียนไม่เก่งเลยใครเก่งช่วยสอนหน่อนนะค่ะ

ถ้าใช้Internet เป็น ให้หนูเข้าไปค้นความรู้ที่ http://www.sahavicha.com/ ที่นั่นจะมีความรู้ทุกสาขาวิชาที่ครูสอนดีสอนเก่งทั่วไปประเทศได้เขียนไว้ ลองไปค้นดู หรือมีคำถามที่สงสัยก็สามารถเลือกสอบถามครูทุกคนที่เป็นทีมงาน สหวิชาดอทคอม ทุกคนยินดีช่วยเหลือและจะตอบทุกคำถาม

น่าจามีผางฮ่ายดูเนอะ

มีเรื่องอยากให้อาจารย์ช่วยหน่อยค่ะ.. หนูอยากได้ฉันท์วสันตดิลกฉันท์ 14 หัวข้อเรื่องกตัญญูคุณครู 2 บทค่ะ

มีเรื่องอยากให้อาจารย์ช่วยหน่อยค่ะ.. หนูอยากได้ฉันท์วสันตดิลกฉันท์ 14 หัวข้อเรื่องกตัญญูคุณครู 6 บทค่ะ

ขอบคุณครับ ที่ช่วยให้ผมรอดตายในวิชาภาษาไทย (ซาบซึ้ง)

อยากจะขอร้องให้อาจารย์ช่วยแต่ง อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ให้หน่อยนะครับ

อยากจะได้เรื่องราวเกี่ยวกับวันพ่อนะครับ ขอสัก ๒ บท นะครับ

ภัณฑิรา พรหมวิเศษ

แต่งเองเลยนะในคาบภาษไทย

จากเด็ก ม.4/1 โรงเรียนนาบอนคะ

คิดถึงนะรู้ไหม จะห่วงใยนะน้องยา

คิดถึงตลอดมา ขณะนี้และเรื่อยไป

ถึงน้องมิคิดถึง จะตริตรึง ณ ดวงใจ

จะรักและห่วงใย ก็จำไว้นะน้องนาง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท