ภาระกิจ : การทำงานผู้ประสานงานโครงการสื่อพื้นบ้านบ้านสื่อสารสุข (สพส.)


จุดเริ่มต้นของการเข้ามาทำงานโครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข  (สพส.)  คือ การมาในรูปแบบของ
ชักชวนให้มาร่วมงาน (ใช้ช่องทางเครือข่าย)  และภาระกิจที่ได้รับเมื่อเข้ามาทำงาน คือ การทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ    ซึ่งเคยผ่านการทำงานในตำแหน่งนี้มาประมาณ 1 ปีกว่า  และรวมถึงวันนี้ก็เกือบ
3 ปีกับประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งนี้   จึงได้ข้อค้นพบเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่ทำอยู่หลาย ๆ ข้อ แต่ในที่นี้จะขอนำเสนอเกี่ยวกับ คุณสมบัติของคนที่จะมาทำงานตำแหน่งประสานงาน
คำว่า ” ตำแหน่งประสานงาน”   สำหรับหลาย ๆ ที่ก็อาจจะคือ การทำงานในตำแหน่งเลขานุการ
เพราะมิใช่การทำงานเพียงแค่การติดต่อประสานงานเพียงเท่านั้น แต่ยังหมายรวมไปถึงงานอื่น ๆ ด้วย แต่สำหรับตัวเองจากการมาทำงานโครงการ สพส. ทำให้ได้ข้อค้นพบเกี่ยวกับคุณสมบัติของการที่จะมาทำงาน คือ จะต้องใช้ทักษะการสื่อสารค่อนข้างมาก และหลากหลายรูปแบบ  ทั้งการสื่อสารแบบเป็นทางการ และการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ  เพราะต้องมีการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย หรือ ภาคี / เครือข่าย ที่หลากหลายกลุ่ม  ตั้งแต่ระดับภาคีศิลปินพื้นบ้าน  ไปจนถึง นักวิชาการ / นักวิจัย  
                                ประสบการณ์ด้านการประสานงานที่ทำกับสพส. ส่วนใหญ่ คือ การประสานงานเพื่อเชิญเข้าร่วมกิจกรรม  และ การติดตามแผนงานกิจกรรมของภาคี / เครือข่ายที่ทำโครงการกับสพส. ฯลฯ ซึ่งพบว่าการประสานงานที่ทำนั้นมีทั้งการประสานงานที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว  อันนี้ก็จะต้องมีองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างเช่น
1.       ช่วงเวลา / ระยะเวลาการประสานงานก็เป็นสิ่งจำเป็นเพราะหากประสานงานกระชั้น
กระชิดเกินไปและสิ่งที่ประสานไปไม่เป็นน่าสนใจก็จะทำให้ภาคี / เครือข่าย ไม่สนใจมาร่วมในสิ่งที่เชิญชวนไป   ดังนั้น การประสานงานไปกับหน่วยงานภาครัฐ จำเป็นที่ต้องมีช่วงของระยะเวลาเพื่อไว้สำหรับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาให้ด้วย  หรือ กรณีการประสานงานกับสถาบันการศึกษาในการเชิญมาร่วมกิจกรรมก็จำเป็นต้องดู
ช่วงของเวลาของภาคการศึกษา เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ไม่สามารถเชิญชวนมาร่วมได้หากติดช่วงสอบหรือปิดเทอมเป็นต้น  เช่น ที่ผ่านมาพบว่ากำหนดการจัดกิจกรรมกับสถาบันการศึกษาจำเป็นต้งอจัดในช่วงวันหยุดและไม่ตรงกับฤดูการสอบจะได้รับความร่วมมืออย่างดี  ตย. กิจกรรมงานชมรมสพส.ที่ทำงานกับเยาวชนที่อยู่ในสถาบันการศึกษาด้วย  
2.       ช่องทางการสื่อสาร  จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีหลาย ๆ ช่องทาง สำหรับการติดต่อ
ประสานงาน   เช่น การสื่อสารผ่านโทรศัพท์  / โทรสาร  / อีเมล์  / ส่งไปรษณีย์  แต่จากที่พบกับการทำงานคือ ความหลากหลายของภาคีและเครือข่าย  จึงทำให้การประสานงานต้องช่องเกือบทุกช่องทางโดยดูจากกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก  ข้อสังเกตที่ควรระวังกับช่องทางอีกอย่างที่ไม่ควรจะละเลย คือ กรณีเบอร์โทรติดต่อ หากเป็นไปได้จะต้องขอไว้ทั้งเบอร์ส่วนตัวและเบอร์ที่บ้าน / ที่ทำงาน เพราะจากประสบการ์ณที่ผ่านมากรณีได้รับเบอร์มาเพียง 1 ที่แต่เวลาติดต่อจริง ๆ ไม่สามารถทำได้   และ กรณีการจะส่งไปรษณีย์ควรจะต้องมีการสอบถามข้อมูลจากผู้ที่จะติดต่ออีกครั้งว่าสถานที่ที่จะให้ส่งนั้นยังคงเป็นฐานข้อมูลเดิมที่เรามีอยู่หรือไม่  หรือต้องการให้จัดส่งไปที่ใด เป็นต้น 
3.       บุคคลที่จะติดต่อ  
การทำงานกับโครงการ สพส. ในเรื่องการประสานงานจะมีหลายรูปแบบดังนี้
1.       การประสานงานระหว่างองค์กร จะเป็นการประสานงานในระหว่างโครงการสพส. กับ c4h  การประสานงานระหว่าง  สพส. กับองค์กรผู้ให้ทุน คือ สสส.  เป็นต้น
2.       การประสานงานภายในองค์กรของ สพส. คือ ประสานงานกับคณะทำงาน ตั้งแต่ กรรมการ
/ สต๊าฟ และผู้ประสานงานภาค เป็นต้น
3.       การประสานงานกับภาคีและเครือข่ายที่มาร่วมกิจกรรมและทำงานกับสพส.
ในกรณีของการประสานงานกับภาคีที่ทำโครงการฯ นั้นจำเป็นอย่างมากที่ ควรจะมีมากกว่า 1
คน  เพราะจากที่ผ่านมากรณีมีฐานข้อมูลผู้ติดต่อไว้เพียงคนเดียว กรณีติดต่อไม่ได้ก็จะไม่สามารถติดต่อประสานงานได้ด้วย
               
                การประเมินตัวเองจากคุณสมบัติข้างต้นและประสบการ์ณที่ค้นพบจากการทำงาน  พบว่าตัวเองยังมีข้อบกพร่องต่อคุณสมบัติในการทำงานประสานงานอยู่บ้าง  เช่น การสื่อสารยังไม่ดีเพียงพอ ขาดทักษะการสื่อสารบางตัวไปเช่น การสื่อสารโดยขาดประธานในเนื้อความหรือเนื้อหาที่สื่อสาร  แต่สิ่งหนึ่งที่โครงการสพส. ให้คือเมื่อรู้ว่าผู้ทำงานมีจุดอ่อนใดก็จะมีการให้คำแนะนำ และให้โอกาสในการเรียนรู้และปรับปรุงตัวเองในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จันทิมา  สระทองพูล

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4242เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2005 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท