ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

“’งานวิจัยกับชีวิตประจำวัน”


“’งานวิจัยกับชีวิตประจำวัน”

“’งานวิจัยกับชีวิตประจำวัน”


 
          “คำถามการวิจัย” วันนี้ 3  สิงหาคม 2549 ท่าน ผศ.ดร.อริยาภรณ์   พงษ์รัตน์  อาจารย์ผู้สอนวิชาระเบียบวิธีวิจัย ถามผมว่า “อุทัย” คุณรู้ไหมว่าการวิจัยคืออะไร ? ผมสะดุ้งตกใจอย่างมากเนื่องจากผมเข้าห้องเรียน Late กว่าเพื่อนทุกคน จึงอ้ำๆ อึ้งๆ แล้วตอบอาจารย์ไปว่า


             อาจารย์ครับการวิจัยนั้นผมคิดว่าอย่างนี้ครับ : เป็นกระบวนการศึกษา ค้นคว้า สังเกต และการหาคำตอบในสิ่งที่เราต้องการอยากรู้  ทั้งในเรื่องที่เป็นเรื่องเก่า และเรื่องใหม่อย่างเป็นระบบ ซึ่งทั้งนี้อาจจะมีทั้งอุปกรณ์หรือไม่มีอุปกรณ์ มีทั้งการทดลองและไม่ทดลองก็ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องนั้นๆ  และสุดท้ายอาจารย์ก็บอกว่าใช่  เป็นคำตอบที่ถูก


           “มุมมองการวิจัย” เมื่ออาจารย์บอกว่าคำตอบในทำนองนี้ไม่ผิดผมจึงเอะใจขึ้นมาทันทีว่า เอะถ้าอย่างนั้นในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเราก็ถือว่าเป็นการวิจัยอย่างหนึ่งเช่นกัน  เนื่องจากในธรรมชาติของคนเราแล้วมักจะทำในเรื่องที่ถ้าทาย และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกร ที่มีทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อยู่ทุกวัน อีกทั้งดำเนินการมาอย่างยาวนานตลอดอายุไขของตนเอง มีการลองผิดลองถูกในกระบวนการประกอบอาชีพอยู่ตลอดเวลา มีทั้งการเฝ้าสังเกต การบันทึกรายละเอียด อีกทั้งคลุกคลีกับงานที่ตนเองดำเนินการอยู่อย่างมาก บางคนอาจจะอยู่ด้วยตลอด 24 ชั่วโมงก็ว่าได้ ซึ่งมากกว่านักวิชาการบางกลุ่มที่บอกว่าตนเองเป็นนักวิจัย (Researcher) ถ้าเปรียบเทียบกับเกษตรกรแล้วอาจจะบอกได้ว่าเป็นนักวิจัยบางเวลา (Part time ) เพียงแต่ว่าตัวเกษตรกรเองอาจจะขาดรายละเอียดบ้างในบางจุด ถ้าหากเราได้มีการให้ข้อมูลแนะนำวิธีการอย่างถูกต้องผมเชื่อว่านี่แหละครับนักวิจัยตัวจริง และมีความน่าเชื่อถืออย่างมากในข้อมูล


ขอบคุณครับ


อุทัย   อันพิมพ์


3 ส.ค.49

หมายเลขบันทึก: 42376เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2006 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ถ้าหากเอาแนวทางการทำวิจัยของนักวิจัยมาใ้ช้กับเกษตรกร ก็คงจะเป็นอย่างที่คุณอุทัยว่าครับ แต่เกษตรกรนั้น เป็นงานวิจัยที่ดำเนินไปโดยไม่มีวันสิ้นสุด วันกำหนดส่ง กำหนดสอบ และกำหนดจบหลักสูตร เหมือนนักศึกษาระดับปริญญา หรือโครงการวิจัยของนักวิจัยทั้งหลาย ที่มีขอบเขตการทำงานและระยะเวลาที่ชัดเจนแน่นอนครับ

ในบางครั้ง ข้อมูลและคำแนะนำของนักวิจัยในสถาบันต่างๆ ก็ใช่ว่าจะเหมาะสมกับพี่น้องเกษตรกรนะครับ  เห็นงานวิจัยหลายชิ้นนั้น มีการควบคุมตัวแปรต่างๆ เพื่อผลการวิจัยที่ถูกต้อง ไม่ีมีอิทธิพลของปัจจัยอื่นๆต่อผลการวิจัย แต่การทำงานของพี่น้องเกษตรกรมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องนะครับ

คุณอุทัยพูดถูกแล้ว ผมเคยพบเกษตรกรที่เป็นนักวิจัยที่สมควรรับรางวัลโนเบลด้วยซ้ำ แถวอีสานเรานี่แหละ น่าทึ่งมาก เขาวิจัยมาเยอะตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย เพียงแต่ไม่มีดัชนีขี้วัดเป็นจำนวนเปเปอร์เท่านั้น การเสนอผลงานวิจัยก็ต้องเสนอเงื่อนไขของการวิจัยด้วยเสนอแต่ผลเปรียบเทียบกันโดยตรงไม่ได้ สภาพไร่นาเกษตรกรและสภานีวิจัยก็แตกต่างกัน

เห็นด้วยครับ ทุกคนเป็นนักวิจัยทั้งนั้น ต่างกันที่ใครวิจัยเรื่องอะไร ลึกแค่ไหน ชัดแค่ไหน เท่านั้นแหละ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท