ต่อยอดการเรียนรู้


การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งเรียน ยิ่งรู้ ยิ่งดู ยิ่งเห็น ยิ่งทำก็ยิ่งเป็น ..........

คำพูดประโยคข้างต้น มาจากทั้งในส่วนของการได้ยินมา เรียนรู้มา และส่วนที่ผสมผสานขึ้นมาเองครับ

ในหลาย ๆ ครั้งที่เราได้กลับมานั่งเรียนในสิ่งที่เราเคยเรียนมาแล้ว

อาจจะเป็นสิ่งที่ใครหลาย ๆ คนอาจจะมองว่า "ไม่มีประโยชน์" แต่สำหรับผมแล้ว เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมาก ๆ เลยครับ

เพราะการที่เราได้กลับมานั่งฟัง นั่งอ่าน นั่งคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เคยรู้มาแล้ว เราจะได้

1. การยืนยันข้อมูล ยืนยันความรู้ ยืนยันความถูกต้องสำหรับสิ่งที่เคยได้รู้ คล้าย ๆ กับเป็นการ Tri-angulation ข้อมูลที่เก็บอยู่ในหัวสมอง หรือ "สัญญา" ของเราเองครับ ว่าสิ่งที่เคยได้เรียนรู้ (เคยสอนนักศึกษา) นั่นถูกต้องหรือไม่ครับ

2. เติมเต็มในสิ่งที่ขาด เต็มเติมของท่านผู้รู้ ครูบาอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ในมุมมองของแต่ละท่าน เพราะสิ่งที่เราเคยเรียนเคยรู้อาจจะเป็นมุมเดียวหรือไม่กี่มุม แต่ถ้าเรามานั่งฟังมาเรียนรู้อีก เราก็จะสามารถมองเห็นมุมมองอื่น ๆ ได้กว้างขวางขึ้น ซึ่งการมีมุมมองที่กว้างขวางขึ้นก็จะทำให้เรามีความรู้มาเติมเต็มให้สิ่งที่เรารู้ เราปฏิบัตินั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับ

3. ต่อยอด เพิ่มพูนสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะสิ่งที่เราเคยได้ไปปฏิบัติมาครับ ถ้าเราได้มีโอกาสมานั่งฟัง "ปริยัติ" อีกครั้งหนึ่ง นั่งฟังทฤษฎี แนวคิด องค์ความรู้ ต่าง ๆ อีกครั้ง

เหมือนกับที่ผมเคยได้มีโอกาสได้ไปนั่งการบรรยายของ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ผมได้ความรู้มาก ๆ เลยครับ เพราะว่าเมื่อก่อนได้จากการอ่านหนังสือ แล้วลงไปปฏิบัติ ปฏิบัติถูกบ้างผิดบ้าง แต่เมื่อกลับมานั่งฟังท่าน ดร.ประพนธ์ พูดแล้วทำให้เข้าใจถึง "สรรพสิ่ง" ที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติเหล่านั้นได้ครับ ว่าทำไมเราลงไปทำแล้วเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

ตัวอย่างเช่น เวลาที่ผมลงไปจัดเวทีในส่วนของ "เรื่องเล่าเล้าพลัง" เอ๊! ทำไมถึงมีแต่การแสดงความคิดเห็น มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นมากมาย สุดท้ายก็ไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

เมื่อฟังท่าน ดร.ประพนธ์ บรรยายเสร็จแล้วก็ร้อง อ๋อ เลยครับ

จริงอย่างที่ท่านพูดจริง ๆ ครับ

เรื่องเล่าก็คือเรื่องเล่า Tacit ก็คือ Tacit ถ้าทุกคนเล่า Tacit Knowledge ที่ประสบความสำเร็จ ก็จะมีประโยชน์มาก ๆ ครับ

ถ้าอย่างนั้น เวทีถัดไป เราต้องจัดกระบวนการอย่างไร นำสิ่งที่รู้นั้นมาแก้ไข ลงมือปฏิบัติใหม่ แล้วเราก็จะได้ความรู้ต่อยอดขึ้นเรื่อย ๆ ครับ

หรืออีกประการหนึ่งเช่นในวันที่ที่ผมได้เรียนเรื่อง วิจัยเชิงปริมาณกับเรื่องของสถิติที่ใช้ในการวิจัย ก็ได้ทั้งการยืนยันข้อมูลที่เรียนรู้ ยืนยันถึงสิ่งที่เคยใช้บรรยายให้นักศึกษาฟัง เติมเต็มถึงมิติทางด้านสังคมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ รวมถึงคิดประเด็นต่อยอดเล่น ๆ เกี่ยวกับ Type I Type II error จนออกมาเป็น Type III error

จากนั้นผมก็ลองนำ ละอองความรู้ 22 : Type III Error  ลองมาบันทึกลง Gotoknow เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้อีกครับ

วงจรกระบวนการเรียนรู้นี้ หลาย ๆ ท่านอาจจะมองดูว่าเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือดูคุ้นชินและทำกันอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็อย่าลืมนำสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้มาเติมเต็มและต่อยอดเพื่อสร้างสรรค์ "ปัญญา" ให้เกิดขึ้นกับเราและทุก ๆ สรรพสิ่งกันนะครับ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

 

หมายเลขบันทึก: 42337เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2006 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Tacit K. ของคนอื่นๆเป็นการเรียนลัด ผ่านเรื่องเล่า เพราะทุกวันนี้ผมก็ได้เรียนรู้ไปกับอาจารย์ปภังกรไปด้วย

อาจารย์ตั้งใจในการเขียนบันทึก และให้ข้อคิดเห็นมาก

ผมชื่มชมอาจารย์เสมอครับ

Gotoknow ให้เราได้ เหมือนที่อาจารย์เขียนมาครับ

  • ยืนยันข้อมูล
  • เติมเต็ม
  • ต่อยอด
เห็นด้วยค่ะเพราะ Tacit เป็น "เคล็ดลับ" เป็น "เทคนิค" ของเพื่อนที่ทำให้เราเรียนลัดได้ค่ะ

เช่นเดียวกันครับ

ผมก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์จตุพรอย่างมากๆ  เลยครับ

โดยเฉพาะเรื่องท่องเที่ยว

อาจารย์อย่างลืมนำ Tacit เรื่องท่องเที่ยวมาลงบ่อย ๆ นะครับ

ขอบคุณครับคุณปวีณา

ผมจะเรียนรู้เคล็ดลับและเทคนิคของคุณปวีณาไว้มาก ๆ ครับ จะได้เรียนลัดไปด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท