โครงการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง บ้านลุ่มเตยตำบลขุนทะเล


ไข้หวัดนกทำพิษ แหล่งอาหารชาวบ้านสูญ ไก่พันธุ์พื้นเมืองถูกกำจัด

โครงการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง

หมู่ที่ 3 บ้านลุ่มเตย ตำบลขุนทะเล

อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

จากสถานการณ์ไข้หวัดนกระบาดเมื่อปี พ.ศ.2547 ทำให้ไก่พันธุ์พื้นเมืองซึ่งถือว่าเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของชาวบ้านลุ่มเตยที่มีการเลี้ยงกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษต้องถูกกำจัดไปเพราะเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก ส่งผลให้ชาวบ้านต้องซื้อไก่เนื้อและไข่ของบริษัทยักษ์ใหญ่มาบริโภค  ต้องสูญเสียรายได้ไปปีละกว่า 500,000 บาท

ชาวบ้านลุ่มเตยมองเห็นสภาพปัญหาดังกล่าว และได้วิเคราะห์ร่วมกันในเวทีปรับปรุงแผนแม่บทชุมชน เสนอให้ครัวเรือนรื้อฟื้นการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองไว้เป็นแหล่งอาหาร ทั้งนี้เป็นช่วงจังหวะเหมาะสมที่รัฐบาลมีโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (ศพช.) ชาวบ้านลุ่มเตยจึงมีมติในเวทีประชาคมเสนอโครงการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน  และได้รับการอนุมัติงบประมาณจำนวน 250,000 บาท

การดำเนินงาน มีคณะกรรมการชุดหนึ่งจำนวน 15 คน ทำหน้าที่เป็นผู้จัดซื้อพันธุ์ไก่ ทำบัญชี ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานของครัวเรือน ซึ่งกระบวนการหลัก ๆ คือ การจัดซื้อไก่พันธุ์พื้นเมือง และอาหาร จากนั้นจึงแจกจ่ายไปยังครัวเรือน ๆ ละ 9 ตัว ในจำนวนนี้มีตัวผู้จำนวน 1 ตัว พร้อมอาหารจำนวน 20 กิโลกรัม นอกจากนั้นมีคณะทำงานติดตามการดำเนินงานผ่านประชุมวงย่อยอย่างไม่เป็นทางการตามคุ้งบ้าน รวมทั้งการติดตามในการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน  นอกจากนั้นชาวลุ่มเตยยังได้คิดถึงการสร้างความยั่งยืนให้แก่โครงการโดยการรวบรวมไข่ที่มีเชื้อไปฟักยังหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป

ผลการดำเนินงาน

  1. ชาวบ้านลุ่มเตยมีแหล่งอาหารปลอดภัยไว้รับประทานระดับครัวเรือน โดยเฉพาะไข่ไก่
  2. มีการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในการดูไก่ เช่น การใช้ใบย่อแทนเวชภัณฑ์
  3. เกิดการลดรายจ่ายระดับครัวเรือนวันละ 20 บาท
  4. มีการสร้างระบบไหลเวียนเศรษฐกิจในชุมชน กล่าวคือ เมื่อมีไข่ไก่เหลือรับประทานระดับครัวเรือนจะมีการรวบรวมไข่ที่ร้านค้าในหมู่บ้าน เพื่อจำหน่ายไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง ตัดวงจรการซื้อไข่ไก่จากบริษัทภายนอก
  5. เกิดสัมพันธภาพที่ดีและการเรียนรู่ร่วมกันระหว่างคณะทำงานและชาวบ้าน เนื่องจากมีกระบวนการติดตามระดับคุ้งบ้านผ่านการจัดประชุมย่อยอย่างไม่เป็นทางการ
  6. เกิดแนวทางการสร้างความยั่งยืนให้แก่โครงการโดยการรวบรวมไข่ที่มีเชื้อไปฟักเพื่อขยายพันธุ์
หมายเลขบันทึก: 423357เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2011 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับอาจารย์ บู๊ด

ความมั่นคงทางอาหารขาดไป เพราะไก่เป็นหวัดนก แต่แรกม่ไก่ตายบาด

คนแต่แรกเขาเลี้ยงเป็ดไว้กินไข่  เลี้ยงไก่ไว้กินตัว เลี้ยงวัวไว้ไถนา เลี้ยงหมาไว้เฝ้าบ้าน เลี้ยงม้าไว้เดินทาง ทุกอย่างมีแบบพอเพียง

วปช. 2 มีกำหนดสัญจรไปที่เกาะลันตา 5-6 กพ.นี้  อาจารย์ไม่ติดภาระกิจเรียนเชิญด้วยครับ

ผมมีประชุมที่ กทม.ครับ เสียดายจังเลยครับ

 

สวัดสดีครับท่านอาจารย์เฉลิมพล

มัวเฝ้าอยู่แต่ที่หน้า FB ไม่นึกว่าจะมาให้การ ลปรร.ที่นี่อีก น้ำใจให้การแบ่งปันของท่านประเสริฐจริง ๆ นำเรื่องเรื่องไก่มาให้การแบ่งปันอีกแล้ว... เมื่อไหร่ไปลานสกาอีกต่อมาบ้างนะครับ จะได้ไปดูไก่เลี้ยงแบบวิถีเดิม ๆ

จะตามอาจารย์บู๊ดต่อไปว่าจะไปโผล่ที่ใดอีก คนมีความรู้พร้อมที่จะให้การแบ่งปัน ต้องตามดูต่อในทุกเวที ในทุกสื่อ และทุกช่องสื่อสาร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท