พุทธเศรษฐศาสตร์กับเศรษฐกิจพอเพียง


ความสุขไม่ได้เกิดจากการบริโภค แต่ความสุขเกิดจากการมีปัญญา

การนำพุทธเศรษฐศาสตร์มาใช้ในเศรษฐกิจพอเพียง

ได้ปัญญา  ได้บุญ  จากการเป็นลูกศิษย์อาจารย์อภิชัย  พันธเสน               

               พุทธเศรษฐศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ปัจเจกบุคคลและสังคมบรรลุซึ่งศาสนติสุขจากการมีชีวิตอยู่ในโลกของวัตถุภายใต้เงื่อนไขของการมีทรัพยากรจำกัด (อภิชัย พันธเสนและคณะ,2549)   

             จากความหมายดังกล่าวท่านอาจารย์อภิชัยได้เน้นว่า ทั้งพุทธเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจพอเพียงให้ความสำคัญกับความสุข  เป็นความสุขที่หาซื้อไม่ได้ด้วยเงิน หรือ ไม่ใช่ความสุขจากการบริโภควัตถุ เป็นความสุขทางจิต จิตที่พัฒนาแล้วและปราศจากสิ่งเศร้าหมองมารบกวน และจิตที่สงบก็จะเกิด ปัญญา เป็นปัญญาที่ให้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความสุข                 

                เมื่อไม่มีปัญญา หรือมีน้อย ก็จะไม่รู้เท่าทันกลโกงการตลาดของทุนนิยมและยึดติดอยู่กับบริโภคนิยม แล้วหาแสวงหาไม่สิ้นสุดจนกลายเป็นความทุกข์               

                แต่ถ้าเรามีปัญญา  ก็จะมีความสุข สามารถพินิจพิเคราะห์ ได้ว่า  พอเพียง สำหรับตนนั้นเป็นอย่างไร                

                นั่นคือ จะตอบคำถามกับตัวเองได้ว่า จะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตแค่ไหน ที่จะไม่เบียดเบียนตน ผู้อื่น และชุมชน                

                 เศรษฐกิจพอเพียงจึงต้องอยู่บนพื้นฐานของปัญญาที่มองความสุขทางจิตมากกว่าความสุขทางวัตถุหรือความสุขจากการมีเงินมาก ๆ เพราะทุกวันนี้ คนบางคนที่มีความเงินมาก ๆ ก็กำลังเป็นทุกข์หนักอยู่เหมือนกัน            

 --------------อภิชัย พันธเสนและคณะ.พุทธเศรษฐศาสตร์.กรุงเทพฯ: ดอกหญ้าวิชาการ,2549

หมายเลขบันทึก: 42306เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2006 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ประมาณว่าจะอยากข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องพุทธเศรษฐศาสตร์กับเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อจะทำไปรายงานไม่ทราบว่ามีข้อมูลอีกไหมค่ะหรือมีเว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ  ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท