[email protected]


งานวิจัยนำเสนอการผลิตสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นทุเรียนหลงลับแลโดย สุภาภรณ์ จับจ่าย, กิติศักดิ์  เกิดโต, เชาวฤทธิ์ จั่นจีนคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์]]]]]]]]]]]]บทคัดย่อ                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทุเรียนหลงลับแล ประชากรที่เกี่ยวข้องกับการสืบสานภูมิปัญญาได้แก่ กลุ่มชาวสวนผลไม้ เมืองลับแล ตัวแทนชุมชนตำบลบ้านแม่พูล ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียนและผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในได้แก่ 1.สื่อวิดีทัศน์โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทวีซีดี เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นทุเรียนหลงลับแล 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 25 ข้อ 3. กิจกรรมประจำหน่วยการเรียนจำนวน 5 หน่วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงมาตรฐาน 4. แบบสัมภาษณ์ชนิดไม่มีโครงสร้าง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา                รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นทุเรียนหลงลับแลมีรูปแบบเป็นบทเรียนท้องถิ่นแบบบูรณาการ แบบสหวิทยาการโดยมีกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเป็นวิชาแกน สำหรับผู้เรียนกลุ่มช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่เหมาะสมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นทุเรียนหลงลับแลของโรงเรียนชุมชนบ้านหัวดง ได้แก่ สื่อวีดิทัศน์ที่ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทวีซีดี                ผลการศึกษาพบว่าสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในการ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นทุเรียนหลงลับแลมีประสิทธิ์ภาพ 80.6/82.8 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80/80 และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ และจากการศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้สื่อได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน และชุมชนพบว่า ผู้เรียนให้ความสนใจในการศึกษาความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากเป็นการนำเสนอความรู้ในท้องถิ่นของตน การนำเสนอเนื้อหาโดยบุคคลในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินรายการช่วยกระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียนเกิดความรู้ในการประกอบอาชีพ ความภูมิใจ และเห็นคุณค่าในการรักษาภูมิปัญญาดังกล่าวสืบไป ด้านผู้สอนพบว่าสื่อช่วยย่นระยะเวลานำเสนอเนื้อหาการนำเสนอเนื้อหาที่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ช่วยทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนยิ่งขึ้น ด้านชุมชนพบว่าสื่อนอกจากให้ความรู้กับผู้เรียนแล้วยังมีประโยชน์กับชุมชนในด้านการประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปได้รับข้อมูลเกี่ยวกับทุเรียนหลงลับแลและมองเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน------------------------------------------------------------------- งานวิจัยที่จัดบอร์ดการศึกษาและสำรวจพรรณพืชวงศ์ขิง ในเขตวนอุทยานแห่งชาติภูนาง จังหวัดพะเยาSurvey of Zingiberacae in Doi Phu Nang National Parkโดย ปรียานันท์  แสนโภชน์µµµµµµµµµµµµµµ บทคัดย่อ                จากการสำรวจพันธ์พืชวงศ์ขิง ในบริเวณเขตวนอุทยานแห่งชาติภูนาง จังหวัดพะเยา เขตอำเภอเชียงม่วน อำเภอปง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2547 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2548 ได้สำรวจและเก็บตัวอย่างพืชวงศ์ขิง จำนวน 7 สกุล 30 ชนิด คือ เผ่า Alpines ได้แก่ สกุล Alpinia  2 ชนิด  Amomum  2 ชนิด และ Etlinger  1 ชนิด เผ่า  Globbeae ได้แก่ Globba   5 ชนิด เผ่า Hedycheae ได้แก่ สกุล Boesenbergia 5 ชนิด และ Curcuma 5 ชนิด และเผ่า Zingiberaceae ได้แก่ สกุล Zingiber 7 ชนิด                 ตามลำดับพืชวงศ์ขิงที่ศึกษานำมาจัดทำคำบรรยาย ลักษณ์สกุลและชนิดรูปวิธานจำแนกสกุลรูปวิธานจำแนกชนิด พร้อมถ่ายภาพ และวาดลายเส้นประกอบบทนำ                 อุทยานแห่งชาติภูนางมีพื้นที่ประมาณ 861 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเชียงม่วน อำเภอปง และอำเภอดอกคำใต้ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ มียอดดอยภูนางเป็นยอดเขาสูงสุด มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร และมีสภาพป่าหลายประเภท ทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ จากการที่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ทำให้เกิดเป็นต้นน้ำธารน้ำลายสาย ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำยมและเป็นพื้นที่ ที่มีความหลากหลายของพรรณพืชวงศ์ขิงแห่งหนึ่ง                พรรณพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) เป็นพืชที่มีความสำคัญด้านเภสัชกรรมและเศรษฐกิจมาก โดยเฉพาะด้านสมุนไพร เพื่อปรุงอาหาร และบางชนิดนำมาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ และพรรณพืชวงศ์ขิงมีศูนย์กลางการกระจายพันธุ์อยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเทศไทยเองก็อยู่ในภูมิภาคดังกล่าว  จึงทำให้ประเทศไทยอาจพบพืชวงศ์ขิงมีได้มากกว่า 29 สกุล 250 ชนิด  จากที่คาดว่าทั่วโลกมีประมาณ 50 สกุล 1,500 ชนิด ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาในอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของพรรณพืชวงศ์ขิงและยังไม่มีการศึกษา สำรวจพรรณพืชวงศ์ขิงในพื้นที่อุทยานนี้วัตถุประสงค์                เพื่อสำรวจศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและตรวจสอบหาชื่อวิทยาศาสตร์ของพรรณพืชวงศ์พืช ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง จังหวัดพะเยาอุปกรณ์และวิธีการ                สำรวจเก็บตัวอย่างพรรณพืชวงศ์ขิงในอุทยานแห่งชาติภูนาง นำมาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา วาดลายเส้นและตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องโดยใช้รูปวิธานผลการศึกษา                จากการศึกษาพืชวงศ์ขิงในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง จังหวัดพะเยา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคา พ.ศ.2547 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2548 สำรวจพืชวงศ์ขิง 7 สกุล 30 ชนิด
เผ่า สกุล จำนวน
Alpinese Alpinia 2
  Amomum 2
  Etlingera 1
Globbeae Globba 5
Hedycheae Boesenbergia 5
  Curcuma 8
Zingiberaceae Zingiber 7
รวม 7 30
 YYYYYYYYYYYY
คำสำคัญ (Tags): #สรุปงานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 42276เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2006 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท