แนวทางการเขียนสังเคราะห์งานวิจัยทีมกะหรอ จ.นครศรีฯ


"หัวใจของโครงการคือการปฏิบัติแล้วถอดออกมาจากการปฏิบัติ"
เมื่อวาน(๑๓.๐๐-๑๔.๐๐)ได้เข้าร่วมพูดคุยกับทีม อ.หญิง อ.โรจน์ อ.บัว นักวิจัยม.วลัยลักษณ์ ที่ดำเนินการโครงการการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน และรัตน์ผู้ช่วยนักวิจัย ในประเด็นการเขียนสังเคราะห์งานวิจัยจะเขียนออกมาในทิศทางไหน อย่างไร โดยทีมก็ได้นำเสนอตัวร่าง เนื้อหาที่จะเขียนงาน และพูดคุยซักถามในประเด็นที่ยังไม่เข้าใจกับคุณภีม ผู้ประสานงานโครงการ ได้เป็นคำตอบร่วมกันว่า๑)      ให้เขียนเล่ากระบวนการดำเนินงานที่ทีมได้ใส่ Input ลงไปที่กะหรอ เกิดผลอย่างไร มีข้อจำกัดในเรื่องใดบ้าง เขียนออกมาจากภาพที่เป็นจริง ส่วนหนึ่งที่อ.โรจน์ได้ออกแบบไว้ในเรื่องของแนวการเขียนอธิบายกระบวนการจัดการความรู้พร้อมบอกเล่าการดำเนินงาน-          กระบวนการจัดการความรู้ตามวิถีเดิมบทเรียนจากการดำเนินงานของเครือข่ายในอดีต-          กระบวนการจัดการความรู้ตามสมมติฐาน-          กระบวนการจัดการความรู้ แบบแข็งทื่อตามทฤษฎี ใช้กระบวนการจัดการความรู้ตามทฤษฎีเป็นแนวทาง-          กระบวนการจัดการความรู้ แบบยืดหยุ่น ใช้กระบวนการจัดการความรู้ตามความต้องการของคุณกิจ-          การขยายผลกระบวนการจัดการความรู้แบบยืดหยุ่น๒)    วิเคราะห์ Case ตัวอย่างที่เด่นชัดโดยเฉพาะเรื่องของกองทุนจัดสวัสดิการฟังจากที่อ.หญิง ได้ตอบคำถามในประเด็นที่พี่ภีมซักถามแล้ว เช่น เรื่องของหน่วยงานสนับสนุน กศน.จะไม่ค่อยได้เข้าไปสัมผัสเท่าไหร่ พช. ก็ดี แต่ส่วนมากหน่วยงานสนับสนุนเหล่านี้เขาก็ยังมีกรอบ ยึดติดในกรอบของเขาอยู่ การที่จะดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ก็ต้องสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางของหน่วยงานเขาเอง และออมสิน  เขามีนโยบายสนับสนุนให้เกิดสถาบันการเงินปีละ 1 แห่ง ซึ่งเขาก็จะเลือกชุมชนที่อยู่ใกล้เข้าไปพูดคุยกับประธานแล้ว เห็นว่ามีประสิทธิภาพก็จะลงไปดำเนินการและสนับสนุนให้เกิดสถาบันการเงินตามเป้าที่เขาวางไว้ปีละ 1 แห่ง เป็นต้น การเชื่อมกับ อบต.  เราได้ใส่ Input ในเรื่องของเมื่อมีการประชุมก็ได้ใช้สถานที่ของ อบต.ถือเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ หากมาเรียบเรียงคำพูด และบันทึกเป็นตัวอักษรก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสังเคราะห์งานวิจัย 

เมื่อย้อนกลับมาทบทวนเป้าหมายการจัดการความรู้และตัวชี้วัดที่ทีมนครศรีฯ เขียนไว้ในโครงการ ระดับเครือข่าย ระดับกองทุน และระดับสมาชิก....ตอนนี้ก็ถือว่ายังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นัก แต่พี่ภีมก็ได้กล่าวไว้ว่า หัวใจของโครงการ คือ การปฏิบัติแล้วเราก็ถอดความรู้ออกมาจากการปฏิบัติจริง

คำสำคัญ (Tags): #ทรงพระเจริญ
หมายเลขบันทึก: 42250เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2006 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เห็นด้วยครับว่าหัวใจ คือ การปฏิบัติแล้วเราก็ถอดความรู้ออกมาจากการปฏิบัติจริงนั้น งานอื่นก็ทำนองเดียวกันใช่ไหมครับ จึงจะเรียกกว่าถอดบทเรียน นำบทเรียนนั้นมาเป็นประโยชน์ใช้เรียนรู้งานใหม่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท