การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย


         ผมได้รับเชิญจาก ม.นเรศวรให้ไปร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การจัดการความรู้ของเครือข่ายการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยเขตภาคเหนือ  ที่พิษณุโลก   วันที่ 7 ส.ค.49   โดยได้รับเชิญให้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย"

จึงขอสื่อสารกับคณะผู้จัดการประชุม   ว่าผมจะเสนอประเด็นต่อไปนี้
         - อย่าเน้นที่การจัดการความรู้   ให้เน้นที่การพัฒนาตัวนักศึกษาที่จะเป็นบัณฑิต   และจะเป็นผู้รับผิดชอบบ้านเมืองในภายหน้า
         - อย่าเริ่มที่การจัดการความรู้   ให้เริ่มที่การ "สร้างฝัน" ว่าบัณฑิตในอุดมคติของสถาบันเป็นอย่างไร   กำหนดไว้หลากหลายด้าน  หลากหลายแบบ   แล้วเสาะหาเรื่องราวของความสำเร็จหรือคุณลักษณะที่น่าภาคภูมิใจของ นศ. - บัณฑิตของตน   เชิญผู้เกี่ยวข้องมาร่วมกันตีความว่าความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร   จะใช้เรื่องราวนั้นเป็นตัวอย่างในการสร้างคุณลักษณะด้านอื่นได้อย่างไร
         หากมีการ ลปรร. ข้ามภาควิชา   ข้ามคณะวิชา  หรือข้ามมหาวิทยาลัยก็จะยิ่งเป็นประโยชน์
         - ย้ำว่า "บัณฑิตในอุดมคติ" มีได้หลากหลายแบบ
         - อย่าเน้นที่การเข้าไป "ดำเนินการพัฒนา"  แต่ให้เน้นการส่งเสริมเกื้อหนุนให้นักศึกษาพัฒนาตัวเอง  พัฒนากันเอง  คือเน้นให้ นศ.เป็น actor ให้มาก ๆ   ไม่ใช่มองนักศึกษาเป็น "ฝ่ายรับ" การดำเนินการของสถาบัน
         - ควรเน้นการฝึกให้ นศ.หัดเป็นผู้ใหญ่   ฝึกความรับผิดชอบโดยมีการร่วมกันตั้งกฎกติกา  และตรวจสอบการปฏิบัติที่ไม่ล้ำเส้นร่วมกัน
         - ควรส่งเสริมให้ นศ.แต่ละคนได้รู้จักตนเองและพัฒนาจุดเด่นของตนเอง   เพื่อให้เกิดความมั่นใจ  เคารพตนเอง  และเคารพผู้อื่น   ฝึกการจัดการอารมณ์ของตนเองและของเพื่อน   ฝึกทักษะที่ส่งเสริมความเจริญงอกงามของสมองอย่างสมดุล   โดยที่ในปัจจุบันการศึกษาโดยทั่วไปเน้นการพัฒนาสมองซีกซ้าย   ละเลยการพัฒนาสมองซีกขวา   จึงควรพัฒนากิจกรรม นศ.ขึ้นมาลดช่องว่างนี้
         เท่ากับว่าควรมีระบบที่ช่วยพัฒนา นศ. - บัณฑิตในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย   และส่งเสริมการพัฒนาคุณลักษณะหลากหลายด้าน
         - แต่ละสถาบันควรหาจุดยืนหรือจุดเด่นของตนในการพัฒนานักศึกษา - บัณฑิตของตน   โดยที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับของสถาบันอื่น
         - ควรใช้ KM เป็นเครื่องมือ ลปรร.วิธีการ  เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยและเคล็ดลับในการพัฒนา นศ. - บัณฑิต
         - ในการ ลปรร. อาจใช้เวที ลปรร. นวัตกรรมในการดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะของ นศ. - บัณฑิตหรืออาจใช้เครื่องมือ "เพื่อนช่วยเพื่อน" (peer assist)
         - การทำ KM อย่าทำเฉพาะในกลุ่มอาจารย์ - เจ้าหน้าที่   ให้เอานักศึกษาและบัณฑิตมาร่วมทำ KM ด้วย

วิจารณ์  พานิช
 2 ส.ค.49

หมายเลขบันทึก: 42245เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2006 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียน  ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ที่เคารพ

  • เนื่องจากผู้เข้าร่วมสัมมนาจะเริ่มทยอยเดินทางมาถึงที่จ.พิษณุโลกตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 6 ซึ่งส่วนมากจะเดินทางมาถึงในเช้าวันที่ 7 ทำให้อาจจะยังไม่สะดวกที่จะเข้ามาอ่านบันทึกของอาจารย์ทาง gotoknow จึงเรียนขออนุญาตอาจารย์ทำสำเนาบันทึกนี้เพื่อมอบให้กับผู้เข้าร่วมได้อ่านก่อนเริ่มการสัมมนาค่ะ
  • ในการสัมมนามีช่วงเวลาในการแนะนำและสาธิตการใช้ Gotoknow ประมาณครึ่งชั่วโมง (ค่อนข้างน้อยเนื่องจากเวลาค่อนข้างจำกัดค่ะ) จึงคาดว่าหลังจากการสัมมนาจะมีการสื่อสารกันของผู้เข้าร่วมผ่าน Gotoknow มากขึ้นค่ะ

     ด้วยความเคารพค่ะ
     เจนจิต รังคะอุไร

เรียน ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์

  • ท่านอาจารย์วิบูลย์ เดา (คาดการณ์) ไว้ว่า คงจะต้องมีอะไรดีๆ จากท่านอาจารย์หมอแน่ๆ เลยครับ
  • และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ
  • เรามีการทำ BAR กันก่อนแล้วครับ
  • ได้ข้อเขียนของท่านอาจารย์หมอ ทำให้หัวปลาชัดขึ้นครับ
  • ทางทีมงานมน. พยายามจะเอื้ออำนวยให้เกิดบรรยากาศการ ลปรร. แบบนี้ครับ

เรียน อ. ผึ้งหนุ่ม และคุณตูน

พิมพ์แจกได้เลยครับ    เป็นความตั้งใจอยู่แล้ว

วิจารณ์

เรียน อาจารย์หมอวิจารณ์...ยอดเยี่ยมเลยค่ะ ขอไชโยแทนนักศึกษานะคะ อ่านแล้วได้กำลังใจ และขอเป็นกำลังใจค่ะ...ขอบคุณค่ะ
พัชราภรณ์ ทศพะรินทร์

เรียนอาจารย์ที่เคารพ เนื่องจากดิฉันกำลังหาข้อมูลเพื่อเขียนบทความ ให้งานแนะแนวอาชีพ 3 เรื่อง คือ

1. การเตรียมความพร้อมสู่โลกอาชีพ

2. เทคนิคการสมัครงานและแนวทางหางาน

3. พัฒนาบัณฑิตใหม่สู่ภาคอุตสาหกรรม

  จึงขอความอนุเคราะห์ข้อมูลจากอาจารย์เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเขียนบทความด้วยค่ะ

กราบขอบพระคุณอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท