มาตรฐานยาใน 'บัญชียาหลัก'


มาตรฐานยาใน 'บัญชียาหลัก'
ที่ผ่านมายาใน 'ระบบบัญชียาหลักแห่งชาติ' ถูกมองว่าเป็นยาที่ไม่ทันสมัย ด้อยประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับยาชนิดใหม่ จึงทำให้เกิดการเบิกจ่ายยานอกบัญชียาหลักที่มีราคาแพง ซึ่งแท้จริงแล้วอาจมีประสิทธิภาพไม่ต่างจากยาในบัญชีหลัก และอาจเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากยาด้วยเหตุนี้ เมื่อกระทรวงสาธารณสุขได้มีการเสนอนโยบายให้มีการใช้ยาในบัญชียาหลักแบบเดียวกัน      ในทุกระบบประกันสุขภาพ เพื่อให้เกิดมาตรฐานเดียวกันในการใช้ยา และเป็นการควบคุมงบประมาณการจัดซื้อยา จึงทำให้เกิดความเข้าใจว่านโยบายนี้จะไปลดทอนสิทธิในการเบิกจ่ายยาและเป็นประเด็นปัญหาสังคม เพราะฉะนั้นการทำความเข้าใจในเรื่องคุณภาพยาใน ระบบบัญชียาหลักแห่งชาติจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในงานเสวนาวิชาการเรื่อง 'บัญชียาหลักสู่มาตรฐานการใช้ยาของประเทศ' โดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นอีกหนึ่งเวทีที่ร่วมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบัญชียาหลักมากขึ้น รวมถึงทางออกของปัญหาที่หลายคนกังวล ผศ.ดร.สุพล ลิมวัฒนานนท์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยว่าจากการศึกษาวิจัยเรื่อง 'แนวโน้มการใช้ยาตามนโยบายบัญชียาหลักแห่งชาติของโรงพยาบาลในปัจจุบัน' โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่าปัจจุบันยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่มากที่ว่า ยาในบัญชียาหลัก          เป็นยาที่ต่ำกว่าคุณภาพ จากการศึกษาพบว่าในความเป็นจริงแล้วบัญชียาหลักตั้งแต่ฉบับที่ 47 ยาในบัญชียาหลักล้วนมีความสมเหตุสมผลทั้งในเรื่องของวิชาการ และความเหมาะสมกับประเทศไทย ประสิทธิภาพการรักษา ยาในบัญชียาหลักดังกล่าวมีทั้งที่ราคาสูงและไม่สูง เช่น ยาพ่นสำหรับรักษาโรคหอบหืด หรือยารักษาโรคหัวใจบางตัว   ถ้าหากเทียบต้นทุนกับประสิทธิภาพแล้วได้ผลการรักษาที่ไม่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับยาที่ใช้อยู่ในบัญชียาหลัก ขณะนี้คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์บัญชียาหลักแห่งชาติกำลังพยายามให้ความเข้าใจในเรื่องนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มประกันสังคมที่คิดว่าการใช้ยาในบัญชียาหลักไม่มีความยุติธรรมต่อผู้ประกันตนจากกรณีศึกษาการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในโรงพยาบาล พบว่ามีความไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้ป่วยที่ใช้สิทธิการรักษาพยาบาลประเภทต่าง ๆ โดยผู้ป่วยที่ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการมีโอกาสได้รับยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง  โดยเฉพาะยาที่อยู่นอกบัญชียาหลัก ทำให้แนวโน้มการเติบโตของค่าใช้จ่ายด้านยาของไทยสูงขึ้น ซึ่งแนวทางแก้ไขหน่วยงาน  ที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันตรวจสอบความเหมาะสมในการสั่งใช้ให้มากขึ้น เพื่อให้การใช้จ่ายยาของผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการเกิดประสิทธิภาพและคุ้มค่ายิ่งขึ้นผศ.ดร.สุพล กล่าวด้าน ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ กล่าวว่าบัญชียาหลักถ้ามีการใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้วเชื่อว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์กับระบบสวัสดิการทั้ง 3 ประเภท ทั้งประกันสังคม ข้าราชการ และ 30 บาทรักษาทุกโรค เพราะคนที่มารักษา       ทั้งประเภท ต้องมีสิทธิที่จะมีชีวิตรอดเท่ากัน ดังนั้นจุดยืน 3 จุด ต้องมายืนอยู่ร่วมกัน   "ในส่วนของยา        ที่ต้องคำนึงถึงคุณภาพของยาที่เพิ่มเติมเข้ามาในบัญชียาหลักเพราะว่ามีความจำเป็นต้องใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
เพราะฉะนั้นสิ่งที่พิจารณาอย่างแรก คือความจำเป็นของคน ๆ นั้นที่จะรอดชีวิต และความจำเป็นของความคุ้มค่า  


ที่จะเกิดขึ้นในประเทศ ระบบบัญชียาควรเป็นบัญชีที่เหมาะกับสถานการณ์เพราะไม่ว่าจะเป็นใครก็มีสิทธิที่จะมีชีวิตรอดเท่ากัน ถึงแพงเท่าไร ถ้าช่วยชีวิตคนได้ก็ต้องอยู่ในบัญชียา"
ขณะที่ น.พ.เทียม อังสาชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์สระบุรี (ประธานชมรม รพศ.รพท.) กล่าวว่า แม้จะอยู่ในตำแหน่งผู้บริหาร แต่ในฐานะที่เป็นแพทย์คิดว่าไม่มีหมอคนไหนที่จะไม่รักษาคนไข้แม้ว่าจะไม่มีเงินรักษา "เราต้องการให้ระบบบ้านเมืองเป็นไปในทางที่ดี เรื่องหลักประกัน 30 บาทรักษาทุกโรค สิ่งหนึ่งที่คิดว่ามีประโยชน์มากคือการกำหนดกรอบจำนวนยาประเภทยาในแต่ละโรงพยาบาล และไม่ว่าจะเป็นผู้รักษารายไหนก็ไม่มี    ความแตกต่างกัน  แต่ยอมรับว่าในด้านการบริการ ความสะดวกสบาย ยังมีความแตกต่างบ้าง   ในประเด็นเรื่องการใช้ยานั้นถ้าสามารถแปลงจากการใช้ยาแก้ปวดเมื่อยมาเป็นการนวด โดยใช้ภูมิปัญญาไทยจะเป็นการ    ช่วยลดพิษจากยา เป็นการรักษาที่ได้ผลเช่นเดียวกันและเกิดผลข้างเคียงน้อยด้วย"ส่วน น.พ.วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า    ระบบบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นระบบที่ดีอยู่แล้ว  แต่หากแพทย์พิจารณาแล้วว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยานอกระบบบัญชียาหลักก็ห้ามเก็บส่วนต่างกับผู้ป่วย ทั้งนี้ควรมีบัญชียาหลักซึ่งเป็นปัจจุบันเพียงระบบเดียวแล้วสามารถใช้ได้ครอบคลุมทั้งหมด   "จริง ๆ แล้วยาในบัญชียาหลักหรือนอกบัญชียาหลักอาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ที่เป็นประเด็นปัญหาอาจเป็นเรื่องของยาที่ผลิตในประเทศไทยกับยาที่ผลิตจากต่างประเทศ ซึ่งทั้งคู่อยู่ในบัญชียาหลักทั้งนั้น ทางโรงพยาบาลเลือกที่จะใช้ยาที่ผลิตภายในประเทศเพราะว่าต้นทุนน้อยกว่า  ทาง สปสช. คำนึงว่าถึงแม้  ยาในบัญชียาหลักจะผลิตที่ไหน ก็ต้องมีการกำกับคุณภาพของยาเหมือนกัน"ด้าน สุวิภา สุขวณิชนันท์ ผู้อำนวยการกลุ่มสวัสดิการการรักษาพยาบาล กรมบัญชีกลาง เผยว่ากรมบัญชีกลางไม่ได้ให้ใช้ยาแตกต่างจากสิทธิอื่น ๆ ให้ใช้ยาตามหลักเกณฑ์ที่ให้เบิกยาในบัญชียาหลัก  แต่มีข้อยกเว้นว่าหากมีความจำเป็นต้องใช้ คณะกรรมการโรงพยาบาลจะเป็นผู้พิจารณาให้ใช้ได้ เมื่อมีข้อยกเว้น    จึงมีความเห็นที่แตกต่างกันและเกิดปัญหาขึ้น เพราะโรงพยาบาลบางแห่งอาจมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน คนไข้   ก็ต้องลำบากในการวิ่งรอกไปโรงพยาบาลอื่นเมื่อ อย. มีการพัฒนาบัญชียาหลักขึ้นมาเมื่อปี 2547 กรมบัญชีกลางก็เกิดความกังวลหากว่าในบัญชี     ยาหลักมี แต่ยาของกรมบัญชีกลางไม่มี   "เราต้องดูว่าต้องใช้ยาอย่างมีคุณภาพและคุ้มค่า ทางกรมบัญชีกลางจึงได้มีการส่งบัญชียาให้ทาง อย. ช่วยกันดู ว่าจะมีทางออกอย่างไร เมื่อ 3 กองทุนต้องใช้ยาในบัญชีหลักเหมือนกัน จึงต้องมีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อการบริหารภาษีของประชาชนอย่างคุ้มค่า" สุวิภา กล่าวจากรายงานการวิจัยที่ทำให้เข้าใจว่าระบบประกันสุขภาพ  30 บาท มีการจ่ายยาที่มีคุณภาพ และบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นสิ่งที่มีพัฒนาการต่อเนื่อง สามารถครอบคลุมความต้องการและโรคส่วนใหญ่ของคนไทย   ที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลแต่ละระดับ    ทั้งนี้ ยาที่มีการใช้มากและยาสำหรับโรคเรื้อรังบางโรคจะมีประเด็นปัญหาเรื่องความเท่าเทียมของการใช้ยา   อย่างไรก็ตามแสดงให้เห็นว่ายาบางชนิดที่มีราคาแพงและอยู่นอกบัญชียาหลัก ไม่ได้หมายความว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพมากกว่ายาที่อยู่ในบัญชียาหลัก และยาในบัญชียาหลัก  มีคุณภาพมาตรฐานที่จะใช้รักษาคนไข้ได้ทุกระดับกรุงเทพธุรกิจออนไลน์  2  ส.ค.  49
คำสำคัญ (Tags): #บัญชียาหลัก
หมายเลขบันทึก: 42242เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2006 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท