รายการสายใย กศน. 24, 31 ม.ค., 7, 14, 21 ก.พ. 54


24 ม.ค. 54 เรื่อง “การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”, 31 ม.ค.54 เรื่อง “การเรียนการสอนออนไลน์ e-Learning”, 7ก.พ.54 เรื่อง “โครงการศูนย์การเรียนชุมชนต้นแบบประเทศเพื่อนบ้าน (สปป.ลาว)”, 14 ก.พ.54 เรื่อง “การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการศึกษาตลอดชีวิตกับ กศน.สิงห์บุรี”, 21 ก.พ.54 เรื่อง “กศน. กับการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่ 2”

รายการสายใย กศน. วันที่  21  กุมภาพันธ์  2554

 

         เรื่อง “กศน. กับการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่ 2”

         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - ดร.ชัยยศ  อิ่มสุวรรณ์  รองเลขาธิการ กศน.


         ประเทศไทยปฏิรูปการศึกษาในยุคปัจจุบัน 2-3 ครั้งแล้ว  ครั้งแรกประมาณปี 2517-2518 มีการศึกษานอกโรงเรียนขึ้นในประเทศไทย เพราะการศึกษาในระบบไม่พอเพียง  และตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียนในปี 2522-2523  ต่อมา พ.ศ.2540 เกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งระบบการศึกษาเป็นสาเหตุหนึ่ง จึงมีการปฏิรูปการศึกษาตั้งแต่ปี 2542 เรื่อยมา  โดยออก พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร รวม+แยกกระทรวงศึกษาธิการ ยุบ กศน. จากกรมเป็นสำนัก มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ซึ่ง กศน.ต้องใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544  และเกิด สมศ., สทศ.
         หลังจากการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 1 ( 2542-2551 ) พบว่า มีปัญหาคุณภาพของผู้เรียน วิชาหลักยังมีผลสัมฤทธิ์อยู่ที่ประมาณ 50 % , สถิติการอ่านต่ำ, ความสามารถในการอ่านของเด็กไทยอยู่ที่เพียงระดับ 2 ( อ่านคล่องเขียนคล่อง ) จาก 5 ระดับ ( ยังไม่ถึงขั้นอ่านจับประเด็นได้ ), ครูต้องทำงานมากขึ้น มีภาะหนี้สิน คนไม่อยากเป็นครู, การผลิตนักศึกษาไม่ตอบสนองความต้องการพัฒนาประเทศ, คนไม่เรียน ปวช. ปวส.  ขาดแรงงานที่มีฝีมือ ต้องใช้คนต่างประเทศ คนต่างด้าว,  ประชากรวัยแรงงาน 37 ล้านคน มีวุฒิไม่เกิน ม.ต้น  เกิดวิกฤติการณ์กำลังคน
         ส่วนผลดีคือ มีเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ก้าวหน้า คนมีโอกาสที่จะเรียนมากขึ้น คนเริ่มตระหนักเรื่องการศึกษาตลอดชีวิต ( แต่ยังไม่เป็นเอกภาพ )

         คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดเมื่อ 5 ส.ค.2552 ให้ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 โดยกำหนดวิสัยทัศน์ว่า “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ” โดยต้องทำ 3 พันธกิจ

         1. เพิ่มโอกาสทางการศึกษาเรียนรู้ให้มากขึ้นอีก โดยเฉพาะโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
         2. คุณภาพและมาตรฐานของการศึกษาเรียนรู้
         3. การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ต่อการจัดการศึกษา

 

         โดยกำหนดเป็น 4 ยุทธศาสตร์
         1. สร้างคนไทยยุคใหม่  ( ใฝ่รู้ใฝ่เรียน คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น วิเคราะห์เป็น มีความเป็นสากล )
         2. ปรับเปลี่ยนขบวนการเรียนรู้ใหม่  ( ปรับหลักสูตรลดการเรียนในห้องเรียน เพิ่มรูปแบบการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล )
         3. สร้างครูยุคใหม่
         4. สร้างสถานศึกษายุคใหม่


         มีกลไกการขับเคลื่อนการปฏิรูปโดยคณะรัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 คณะ

         1. คณะกรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ( กนป. )  มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

         2. คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ( กขป. )  มี รมว.ศธ. เป็นประธาน

         และตั้งอนุกรรมการ ขึ้นมาอีก 5 คณะ ให้ครอบคลุมการจัดการศึกษาของทุกภาคส่วน คือ

         1. คณะอนุกรรมการ กนป. ด้านการเพิ่มโอกาสการเรียนรู้  มีคุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา เป็นประธาน
         2. คณะอนุกรรมการ กนป. ด้านการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา  มี ดร.วรากร  สามโกเศศ เป็นประธาน
         3. คณะอนุกรรมการ กนป. ด้านยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม  มี ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นประธาน

         4. คณะอนุกรรมการ กนป. ด้านปฏิรูปคุรุศึกษาแห่งชาติ 

         5. คณะอนุกรรมการ กนป. ด้านการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง

 

         กำหนดพื้นที่นำร่องไว้ 4 จังหวัด คือ นครสวรรค์ นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ อุดรธานี เป็นตัวแทนแต่ละภาค  โดยคณะอนุกรรมการกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการในพื้นที่นำร่องเพื่อกำหนดรูปแบบ

 

         สำนักงาน กศน. ได้ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ( พ.ศ.2552-2561 ) ในเรื่องต่าง ๆ ประกอบด้วย
         1) การปฏิรูปครู กศน.

              ครูต้องลงไปที่ กศน.อำเภอ ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอน มีแผนการสอนที่ได้รับอนุมัติจาก ผอ. มีบันทึกการสอน มีผลสัมฤทธิ์   ครู กศน. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ ( ไม่ใช่สอน )   การเรียนรู้ที่ดีที่สุดไม่ได้เกิดจากการสอนที่ดีที่สุด แต่เกิดจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด  การสอนที่ดีที่สุดคือการสอนที่น้อยที่สุด ครูต้องวางแผนอย่างดีที่สุดเพื่อให้ผู้เรียนกระเสือกกระสนขวนขวายหาความรู้  ครูรู้จักผู้เรียนของตนแต่ละคน สอนผู้เรียนให้คิดเป็น
             1.1) พัฒนาระบบการคัดเลือกครู ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์
             1.2) เร่งฝึกอบรมครู เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา

         2) การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอน
             2.1) จัดให้มีวิธีเรียนที่หลากหลาย สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของผู้เรียน ทั้งหลักสูตรขั้นพื้นฐานและหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง   ขบวนการเรียนเน้นการเรียนด้วยตนเอง
             2.2) พัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม และหลักสูตรระยะสั้นอื่น ๆ ให้มีความหลากหลาย ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
             2.3) ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งการเทียบระดับในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การทำ SAR รายบุคคลแบบ Portfolio   การจัดทำ Credit Bank System

             2.4) พัฒนาระบบการวัดผลและประเมินผล ให้มีความหลากหลายและสอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้เรียน   ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองเป็นหลัก จึงแยกระบบการวัดผลประเมินผลออกจากการสอน เป็นระบบทดสอบกลาง ( ไม่ใช่ใครสอนใครสอบ เพราะครู กศน. ไม่ได้สอน )
             2.5) กำหนดมาตรฐานการศึกษานอกระบบ ในแต่ละหลักสูตร
         3) การปฏิรูปฐานปฏิบัติงาน กศน.

             ตัวขับเคลื่อนการศึกษาตลอดชีวิต คือ กศน.ตำบล   ฐานปฏิบัติการคือ กศน.ตำบล  โดย กศน.ตำบลเป็นห้องเรียนหนึ่งของ กศน.อำเภอ  ( กศน.ตำบล ไม่ใช่สถานศึกษา )
             3.1) เน้นการดำเนินงานที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยใช้ กศน.ตำบลเป็นฐานปฏิบัติการ ขยายการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และส่งเสริมการเชื่อมโยงคนในชุมชนกับความรู้ภายนอกชุมชน
             3.2) ใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาและกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
             3.3) ส่งเสริมการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ดังนี้
                    (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น  โดยส่งเสริมให้มีส่วนร่วมโดยการเป็นอาสาสมัคร กศน.  อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน
                    (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  โดยส่งเสริมให้ร่วมสนับสนุนการจัดการศึกษาและกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
                    (3) องค์กรพัฒนาเอกชน ( NGOs )  โดยส่งเสริมให้มีการดำเนินงานร่วมกันในรูปแบบที่หลากหลาย

         4) การปฏิรูประบบสนับสนุนการทำงาน
             4.1) ปรับระบบการจัดสรรงบประมาณ ที่สนับสนุนให้หน่วยงานในพื้นที่สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ( งบล่ำซำ ปี 2554 ตำบลละ 75,000 บาท)
             4.2) ทบทวนและปรับแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน

         5) ปฏิรูปการศึกษาตามอัธยาศัย

 


 

รายการสายใย กศน. วันที่  14  กุมภาพันธ์  2554

 

         เรื่อง “การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการศึกษาตลอดชีวิตกับ กศน.จังหวัดสิงห์บุรี”

         อัญชิษฐา  บุญพรวงค์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - นายสุประณีต  ยศกลาง  ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดสิงห์บุรี

         - นายสาธิต  ทองสุพรรณ์  ผอ. กศน.อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี
         - ลุงยุ้ย  ปานทอง  ปราชญ์ชาวบ้านด้านสมุนไพร
         - น้ำทิพย์  เหมือนม่วง  ผู้ใหญ่บ้าน บ.วังกะจับ ต.คอทราย อ.ค่ายบางระจัน
         - ทิพรัตน์  พุ่มเนียม   หัวหน้า กศน.ต.คอทราย


         ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นภาคีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับ กศน. มาตลอด และ พรบ.กศน.2551 เน้นเครือข่ายในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะเครือข่ายที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน
         ที่ จ.สิงห์บุรี มีภูมิปัญญามาก เช่นที่ อ.ค่ายบางระจัน มีภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ ทุกตำบล คือ
         - ต.ท่าข้าม มีภูมิปัญญาด้านการแสดงลิเก
         - ต.โพสังโฆ มีภูมิปัญญาด้านการทำน้ำมันสมุนไพรเคี่ยวกลั่น
         - ต.หนองกระทุ่ม มีภูมิปัญญาด้านหมอชาวบ้าน การกวาดยา
         - ต.บางระจัน มีภูมิปัญญาด้านการผลิต ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว
         - ต.โพทะเล มีภูมิปัญญาด้านการจักสาน
         - ต.คอทราย มีภูมิปัญญาด้านสมุนไพรพื้นบ้าน คือลุงยุ้ย  ปานทอง  อยู่ที่หมู่บ้านวังกะจับ  หมู่ 1

 

         ลุงยุ้ยเป็นภูมิปัญญาด้านการใช้สมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรคต่าง ๆ เช่น ไข้ป่าไข้ป้างไข้จับสั้น, อหิวา ( ใช้สมุนไพรฤทธิ์ร้อน ), ความดัน-หวัด ( ใช้ฟ้าทะลายโจรเป็นหลัก และสมุนไพรอื่น ๆ อีกมาก ), ถ่ายพยาธิ ( ใช้น้ำมะเกลือกับกะทิอย่างละ 1 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว ดื่ม ), ปากเปื่อย, หญิงให้นมลูกเป็นงาแซง ฯลฯ  รวมทั้งสมุนไพรเพื่อการเกษตร เช่นใช้สมุนไพรรสขมกำจัดเพลี้ยกระโดด
         ลุงยุ้ยจำมาจากปู่ยาตายาย   การต้มสมุนไพรต้องต้มด้วยหม้อดิน ถ้าหม้อเป็นโลหะจะดูดตัวยาออกไป   และให้รินใส่แก้ว ไม่ใช้ขันโลหะ
         ที่บ้านลุงยุ้ยปลูกสมุนไพรต่าง ๆ ไว้ในบริเวณบ้าน  และจัดสรรให้คนในชุมชนปลูกสมุนไพรส่ง โดยมีที่มาจากการวางแผนชุมชน   ให้คนในชุมชนปลูกสมุนไพรต่าง ๆ เช่น ไพร ขมิ้น ตะไคร้ ข่า มะขาม ส้มปล่อย มะกรูด ฯลฯ  ( ส่งให้โรงพยาบาลทำลูกประคบด้วย )   ปัจจุบันมีเครื่องบดสมุนไพร ผลิตเป็นแคปซูล จำหน่ายทั่วประเทศแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ อบต. http://wangkrajab.moobanthai.com/  2 ชนิด คือ
         - ตัวเขียว สรรพคุณ แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต หอบ ไซนัส ฯลฯ (รสขมมาก )
         - ตัวเหลือง สรรพคุณ แก้วัณโรค ภูมิแพ้ ปวดตามข้อ ฯลฯ
         ลุงยุ้ยจ้างเยาวชนและผู้สูงอายุช่วยกันหั่นสมุนไพรในวันเสาร์อาทิตย์    มีผู้มาศึกษาดูงานจากทั่วประเทศ รวมทั้ง สปป.ลาว   ทำให้หมู่บ้านวังกะจับเป็นหมู่บ้านต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดสิงห์บุรี    ลุงยุ้ยรับรักษาและแนะนำในช่วงบ่ายถึงเย็น โดยไม่เก็บเงินค่ารักษา  ผู้ที่มาศึกษาดูงานจะมีความพึงพอใจ ติดใจ

 

         กศน.ต.คอทราย จัดการศึกษาตามความต้องการของชุมชน เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   ครู กศน. นั่งประจำอยู่ใน กศน.ตำบล ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน  นอกเหนือจากการจัดการศึกษาพื้นฐานแล้ว มีการจัดการศึกษาต่อเนื่องต่าง ๆ  เช่นให้ความรู้เรื่อง การทำน้ำปลา สมุนไพร การทำน้ำยาล้างจาน-สบู่จากสมุนไพร น้ำดื่มสมุนไพร ( ตะไคร้ อัญชัน ว่านกาบหอย )  ฯลฯ   มีการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ  ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมเช่น กลองยาว ทำซอ เล่นอังกะลุง

 

         กศน.จ.สิงห์บุรี จะจัดอบรมเสริมทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้ให้ภูมิปัญญาของจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 250 คน

        ถ้าสนใจจะศึกษาดูงาน ติดต่อประสานงานได้ที่
         - สนง.กศน.จ.สิงห์บุรี  036-512170   http://sing.nfe.go.th/
         - กศน.อ.ค่ายบางระจัน  036-535426


 


รายการสายใย กศน. วันที่  7  กุมภาพันธ์  2554

 

         เรื่อง “โครงการศูนย์การเรียนชุมชนต้นแบบประเทศเพื่อนบ้าน (สปป.ลาว)”

         อัญชิษฐา  บุญพรวงค์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - อัจฉรา  สากระจาย  ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดหนองคาย

         - นายสไว  จันทะวงษ์  หัวหน้า กศน.เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว
         - นายฉลอง  แก้วดวงสี  ประธาน ศรช.บ้านสิมมะโน เมืองหาดทรายฟอง
         - กงสนิท  วรบุตรดา  นักวิชาการ ศรช.บ้านสิมมะโน


         กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบประเทศเพื่อนบ้าน ใน 4 ประเทศ คือ สปป.ลาว เวียตนาม เมียนมาร์ และกัมพูชา  มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2552  เพราะไทยได้รับการยอมรับในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันว่า ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาผู้ใหญ่หรือการศึกษานอกโรงเรียน เป็นต้นแบบได้

         สนง.กศน. มอบให้ สนง.กศน.จังหวัด ที่มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นผู้ดำเนินการ  โดยให้ประเทศเพื่อนบ้านนำคณะมาศึกษาดูงาน-ฝึกอบรม แล้วกลับไปสำรวจสภาพ+ความต้องการ ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพในประเทศของตน

         กศน.ของ สปป.ลาว มี ศรช. 300 กว่าแห่ง  คัดเลือกเข้าโครงการ ศรช.ต้นแบบ 3 แห่ง ๆ หนึ่งคือ ศรช.บ้านสิมมะโน เมืองหาดทรายฟอง  ซึ่งมีบุคลากร 7 คน เป็นผู้ที่มีเงินเดือน 4 คน และเป็นอาสาสมัครที่ไม่มีค่าตอบแทน 3 คน  จัดการศึกษาทั้งสายอาชีพและสายสามัญ โดยสายสามัญจัดถึง ม.ปลาย ให้ผู้ที่อายุไม่เกิน 35 ปี เรียนได้ถึง ม.ปลาย ( กศน.เมืองหาดทรายฟอง มี ศรช. 2 แห่ง ที่บ้านสิมมะโน กับบ้านหอม )

         สปป.ลาว ร่วมกับ สนง.กศน.จ.หนองคาย ดำเนินการโดย

         1. นำคณะ 27 คน จาก 3 ศรช.ต้นแบบ มาศึกษาดูงานที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย 3 แห่ง

         2. ฝึกอบรมกระบวนการบริหารและการจัดการ ศรช.

         3. ฝึกอบรมวิชาชีพ  โดยร่วมกันสำรวจสภาพและความต้องการของชาวบ้านก่อน เช่น สำรวจสภาพบ้านสิมมะโนพบว่ามีการปลูกกล้วยน้ำว้ามาก   เมื่อฝึกอบรมวิชาชีพที่เหมาะสมแล้ว กลับไปจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่ ศรช.ต้นแบบ ใน สปป.ลาว

 

         อาชีพที่ฝึกอบรมไป คือ

         1. การทำอาหาร ( การแปรรูปจากกล้วย กล้วยฉาบ กล้วยอบเนย กล้วยทอดกรอบ, ปาท่องโก๋, ซาลาเปา )

         2. ซ่อมเครื่องยนต์เล็ก

         3. ช่างซ่อมโทรศัพท์มือถือ ( เปิดรับซ่อมใน ศรช. )

         4. การปลูกต้นแก้วมังกร

         5. การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า  ( ชาวบ้านนำไปประยุกต์ประกอบอาชีพ รายได้ดีกว่าช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็ก )
         6. การทำปุ๋ยชีวภาพ


         สำนักงาน กศน. มีนโยบายจะดำเนินการต่อ แม้งบประมาณกระทรวงการต่างประเทศจะหมดโครงการแล้ว  โดยจะหาเงินสนับสนุนทั้งจากประเทศไทยและ สปป.ลาว เพื่อขยายไปยังเมืองต่าง ๆ ของ สปป.ลาว


 



รายการสายใย กศน. วันที่  31  มกราคม  2554

 

         เรื่อง “การเรียนการสอนออนไลน์ e-Learning”

         อัญชิษฐา  บุญพรวงค์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - อ.ทองจุล  ขันขาว  ครูชำนาญการพิเศษ  สถาบัน กศน.ภาคกลาง
         - อ.นฤมล  อันตะริกานนท์  ครูชำนาญการพิเศษ  สถาบัน กศน.ภาคกลาง


         เดิม ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค เป็นศูนย์วิจัยพัฒนา เช่นวิจัยพัฒนาหลักสูตรและอบรมพัฒนาบุคลากร  เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบัน กศน.ภาค ยังเป็นสถานศึกษา มีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง แบบทางไกล และทำการวิจัยสนับสนุนต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำแบบทดสอบหลักสูตร กศน.ขั้นพื้นฐาน

         ในส่วนของการจัดหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคกลาง (สถาบัน กศน. ภาคกลาง)  จ.ราชบุรี http://central.nfe.go.th/ มีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เกือบ 70 วิชา เป็นหลักสูตรสั้น ๆ จบในตัว ใช้ประโยชน์ได้ สนองความต้องการของประชาชนและการเปลี่ยนแปลงของโลก

         มีวิธีเรียนหลายรูปแบบ คือ

         - เรียนด้วยตนเองตามอัธยาศัย ( เรียนฟรี ) ที่ http://www.crnfe.ac.th/  มีทั้งแบบไม่ต้องลงทะเบียนเรียน และแบบต้องลงทะเบียนเรียน เช่น หลักสูตร การสร้างบทเรียน Online ด้วย Adobe Captivate 5, การสร้างเว็บเพจด้วย Dreamweaver , การทำเว็บบล็อกด้วย BlogSpot, การตัดต่อวิดีโอเผยแพร่บนเว็บไซต์ YouTube, การสร้างเว็บไซต์ ด้วยระบบสำเร็จรูป CMSMS, สร้าง VCD ด้วย ProShow Gold, เทคนิค การแต่งภาพด้วย Gimp ฯลฯ

         - เรียนด้วยตนเองผ่านเว็บ + ขอสอบ ( ได้รับวุฒิบัตร ) ค่าใช้จ่าย 310 บาท
         - เรียนด้วยตนเองผ่านเว็บ + สื่อ + ฝึกทักษะเพิ่ม
         - เรียนด้วยตนเองจากสื่อ + เว็บ + สัมมนา เช่นหลักสูตรการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ค่าใช้จ่าย 1,500 บาท มีการสัมมนา 2 วัน 1 คืน ดูรายละเอียดได้ที่เว็บศูนย์แนะแนว กศน.ภาคกลาง http://guidance.crnfe.ac.th

         - เรียนด้วยตนเองผ่านเว็บ + สื่อ + เข้าค่าย  กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษา กศน. เน้นทักษะการอ่าน+การค้นคว้าทาง ICT+ทดลองออกอากาศรายการโทรทัศน์


         หลักสูตรต่าง ๆ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ

         1. หลักสูตร e-Learning  มี 53 หลักสูตร ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และมีเรื่องอื่น ๆ เช่น ความรู้พื้นฐานด้านสถิติ, เรียนภาษาอังกฤษ   มีผู้เรียนแล้วประมาณ 17,000 คน
         2. หลักสูตร e-Trainning  มี 8 กลุ่มวิชา เช่น กลุ่มวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระทักษะการดำเนินชีวิต กลุ่มสาระการพัฒนาสังคม  รวม 14 วิชา เช่น การใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 51

         3. หลักสูตร tailor-made  จัดตามความต้องการของผู้รับบริการเฉพาะกลุ่ม


         นอกจากนี้ยังมีบริการ

         - ให้สำเนา VCD/CAI
         - คลังหลักสูตรระยะสั้น http://curbase.crnfe.ac.th
         - ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมต่าง ๆ เช่น โปรแกรมกองทุนหมู่บ้าน โปรแกรมธนาคารโรงเรียน


 

 

รายการสายใย กศน. วันที่  24  มกราคม  2554

 

         เรื่อง “การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”

         อัญชิษฐา  บุญพรวงค์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - ผอ.นลินี ศรีสารคาม จันทร์ตรี  ผู้อำนวยการสถาบัน กศน.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
         - อ.อรัญญา  บัวงาม  เลขานุการชมรมผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

         - อ.วราพร  เจริญประเสริฐ  ครูชำนาญการพิเศษ สถาบัน กศน.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


         สถาบัน กศน.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีบทบาทสำคัญมากอย่างหนึ่งคือการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่จะทำให้คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ อันเกิดจากลักษณะการกินและความเครียดของการทำมาหากินรวมทั้งการผลิตที่ปนเปื้อนและภาวะโลกร้อน   ซึ่งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดให้สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพชุมชน ให้คนในชุมชนอยู่อย่างมีความสุข ซึ่ง สถาบัน กศน.ภาค ตอ./น. ได้ดำเนินการหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการเกษตรปลอดสารพิษผักสวนครัวรั้วกินได้ มาแล้ว  ในการปฏิรูปรอบสองจะต่อยอดโดยใช้ศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนเองแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีธรรม ที่สวนป่านาบุญ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร ( คุณหมอเขียว หรือคุณหมอใจเพชร  กล้าจน และโรงพยาบาลอำนาจเจริญ เป็นภูมิปัญญาเผยแพร่การดูแลสุขภาพ ) ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชื่อเสียงมาก   ร่วมกันจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น สุขภาพพึ่งตนเองแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีธรรม ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” โดยให้ผู้ที่มีความสนใจในการพัฒนาหลักสูตรของ สำนักงาน กศน.จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครบทั้ง 19 จังหวัด ๆ ละ 10 คน ( 50 % เป็นผู้บริหาร กศน.อำเภอ ส่วนหนึ่งเป็นข้าราชการครูและครู ศรช. รวม 197 คน )  เข้าไปเรียนรู้เนื้อหาสาระ เมื่อ 15-19 ธ.ค. 53  รวมทั้งชมรมผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ส่งทีมงานเข้าไปเรียนรู้และร่วมทำหลักสูตรด้วย  เป็นการพัฒนาสุขภาพพึ่งตน เน้นประหยัด เรียบง่าย แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ทำได้ด้วยตนเอง

         และช่วยกันร่างหลักสูตรขึ้นมา สำหรับไปเผยแพร่แก่นักศึกษา กศน. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปีนี้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 7 รอบ 84 พรรษา จำนวน 1 แสน 5 หมื่นคน  ช่วงนี้ผู้พัฒนาหลักสูตรกำลังทดลองด้วยตนเองและปรับปรุงหลักสูตร มีการตรวจน้ำตาลในเลือด ความดัน การเต้นของหัวใจ รอบเอว ก่อนและหลังดำเนินการ ดูการเปลี่ยนแปลง

 

         กรอบสาระของหลักสูตรประกอบด้วยเนื้อหา 9 เรื่อง ( ยา 9 เม็ด )
         1. การรับประทานสมุนไพรปรับสมดุล  ใช้สมุนไพรที่มีในท้องถิ่น เช่นทำน้ำสมุนไพรจากย่านาง อ่อมแซบ ( เบญจรงค์ ) ใบเตย ใบบัวบก ผักบุ้ง เสลดพังพอน, ทานผักผลไม้ที่มีฤทธิ์ร้อนหรือเย็นที่เหมาะสมกับร่างกาย
         2. การทำกัวซา ( ใช้ไม้กับยาหม่องหรือน้ำย่านางหรือน้ำอุ่น ขูดพิษสะสมในร่างกายออกทางผิวหนัง )
         3. การสวนล้างลำไส้ใหญ่ ( ดีท็อกซ์โดยใช้สมุนไพรชนิดเย็นหรือปัสสาวะ ทำทุกเช้าหรือสามวันครั้ง )
         4. การแช่มือแช่เท้าในน้ำสมุนไพร เช่นน้ำใบหนาด ใบมะขาม แช่วันละ 3 ครั้ง
         5. การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ ด้วยสมุนไพรที่ถูกกันกับภาวะร้อนเย็นที่มีในร่างกายของแต่ละคน เช่นถ่านบดละเอียดผสมดินสอพอง
         6. การออกกำลังกาย การกดจุดลมปราณ โยคะ  ( ออกกำลังตอนเช้า เช่นเดินด้วยเท้าเปล่า )
         7. การทานอาหารปรับสมดุลร่างกาย ( น้ำ ผลไม้ ส้มตำสมุนไพร งดทานพริก แล้วทานอาหารปกติ ตามด้วยน้ำซุปธัญพืช )
         8. การใช้ธรรมะ ทำใจให้สบาย ผ่อนคลายความเครียด  ( ใช้พรหมสี่หน้า เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา )
         9. การรู้เพียรรู้พักให้พอดี  ( ทำให้ดีที่สุดเท่านั้น ให้ความสำเร็จเป็นเพียงผลที่ตามมา รู้จักพัก )

         ( หมอที่ดีที่สุดในโลก คือตัวเราเอง เริ่มที่ตน และสอนคนที่ศรัทธา)

         ( ในรายการ มีการสาธิตในแต่ละข้อ )

         ถ้าประชาชนสุขภาพดี ประเทศชาติจะเข้มแข็ง

 

หมายเลขบันทึก: 422364เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2011 06:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอบคุณอ.เอกนะคะ ที่ชมรายการแล้วยังสรุปให้น้อง ๆ ด้วย

ครับ เป็นเพียงการสรุปสั้น ๆ ไม่ครอบคลุมทุกประเด็นหรอกนะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ เอก มีแนวทางการอบรมการนำเสนอรายการ....บ้างไหมค่ะ

ไม่มีครับ
"การนำเสนอรายการ" มันเป็นยังไง รายการอะไรหรือ
ครับ

อาจารย์ไม่ขึ้นสายใย กศน. วันที่ 21 ก.พ 54 ให้อ่านด้วย

ขึ้นสายใย กศน. วันที่ 21 ก.พ.54 แล้วนะครับ

ขอขอบคุณมาก ที่แบ่งปันให้กับพี่น้อง ชาว กศน.

ขออนุญาตติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของอ.เอกชัยด้วยครับ..มีอะไรชี้แนะผมไมตรี กศน.นนทบุรีด้วยครับอาจารย์

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ คุณกมลนันท์ และ Ico48

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท