เรื่องเล่าเร้าพลัง : สานสายใจใส่สายยาง


บทบาทของการเยี่ยมบ้าน หากได้มีการประสานงานที่ดี พร้อมจัดระบบการสื่อสารและมีการประเมิน/ติดตามผลที่ดี ( PDCA ) ทั้ง ในโรงพยาบาล บ้าน และชุมชน จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ป่วยด้วย

                     วันนี้ได้มีโอกาสเข้าไปร่วม ลปรร  ในโครงการ เรื่อง เล่าเร้าพลังสานสายใจใส่สายยางของ  PCU   ซึ่งได้จัดขึ้นเนื่องจากพบปัญหาการชง  BD  (Blendera)  ให้แก่ผู้ป่วยที่บ้าน

  •  ผู้เข้าร่วมพูดคุยในวันนี้   ประกอบด้วย แพทย์และพยาบาลจาก  PCU / ผู้ช่วยพยาบาลพยาบาลจากหอผู้ป่วย  ผู้ตรวจการพยาบาล  หัวหน้าหอผู้ป่วย  โภชนากร เภสัชกร บรรยากาศเริ่มด้วยพยาบาลจากหน่วย PCU เล่าปัญหาที่พบให้ผู้เข้าร่วม กิจกรรมทราบ  พร้อมยกตัวอย่าง Case ผู้ป่วยที่พบให้พวกเราฟัง จำนวน  3 ราย คือ 
  • รายที่ 1      แพทย์สั่งการรักษาโดยให้ BD 1:1   400 cc x 4 มื้อ  เมื่อพยาบาล PCU ไปตรวจเยี่ยม  พบว่าผู้ดูแลชง BD ให้ในสัดส่วน 10  ช้อน ต่อน้ำ 400 cc ซึ่งน้อยกว่าปริมาณที่ควรได้รับจริง (ปริมาณที่พยาบาลคำนวณได้คือ 14.5 ช้อน/มื้อ)  เมื่อ สอบถาม ผู้ดูแลให้คำตอบว่า โภชนากรของโรงพยาบาล ได้สอนและให้เอกสารแล้ว แต่หาย  ข้อมูลที่พยาบาลทางหอผู้ป่วยให้ก็หาย   จำไม่ได้ เห็นฉลากหน้าซองของ BD  เขียนว่า 8 ช้อนตวง  ผสมน้ำ 160 cc x 4 มื้อ  ก็จะชงตามนั้น  แต่ผู้ดูแลจำได้ว่าเคยชง BD ในน้ำ 400 cc. จึงชง BD 8 ช้อนตวง ในน้ำ 400 cc. พบว่าใสกว่าปกติที่เคยชงให้  จึงเพิ่ม BD อีก 2 ช้อนเป็น 10 ช้อน  พบว่า BD มีความเข้มข้นขึ้น  จึงชงอย่างนั้นเรื่อยมา พยาบาล PCU ที่พบปัญหาได้คำนวณ BD ตามสูตรที่แพทย์สั่งการรักษา ปรากฎสัดส่วนที่ถูกต้องคือ 14.5 ช้อนตวง  ต่อน้ำ 400 cc. จึงอธิบายให้ผู้ดูแลทราบใหม่พร้อมเขียนสัดส่วนของ BD ที่ต้องชงให้ด้วย หลังจากนั้นไม่นาน ผู้ป่วยเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 
  • รายที่ 2     แพทย์ สั่งการรักษาโดยให้ BD (1.2 : 1) 300 x 4 มื้อ ( สัดส่วนที่ถูกต้องเท่ากับ 12 ช้อนตวง ต่อน้ำ 300 cc./มื้อ ) ใหม่ ๆ เมื่อผู้ป่วยกลับไปถึงบ้าน ผู้ดูแลชง BD ได้ถูกต้อง  แต่พอเห็นฉลากที่หน้าซอง BD  เขียนว่า 8 ช้อนตวง ผสมน้ำ 160 cc.  ผู้ดูแลจึงคิดคำนวณเองโดยเทียบบัญญัติไตรยางศ์ได้สัดส่วนเป็น 14 ช้อน ผสมน้ำ 300 cc. ทำให้ผู้ป่วยได้อาหารเกินความต้องการ  จึงพบว่าผู้ป่วยมีน้ำหนักมากเกินไป 
  • รายที่ 3                ผู้ป่วยเคยได้รับ BD มาตลอด ครั้งสุดท้ายต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ด้วยปัญหาการถ่ายเหลว และปอดอักเสบ  เมื่อจำหน่ายทางหอผู้ป่วยไม่ได้ส่งญาติไปเรียน  เนื่องจากผู้ป่วยเคยได้ BD ประจำอยู่แล้ว  แต่ได้ให้คำแนะนำวิธีการชงกับญาติ (ซึ่งไม่ใช่ผู้ดูแลประจำ)  เมื่อกลับถึงบ้านญาติได้อธิบายสัดส่วนการชงตามฉลากที่หน้าซอง BD  เขียนว่า 8 ช้อนตวง ผสมน้ำ 160 cc.  ผู้ดูแลประจำเห็นแล้วว่าไม่ใช่สัดส่วนที่เคยให้ แต่ไม่เอะใจด้วยคิดว่า แพทย์คงเปลี่ยนสูตรใหม่ให้ผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยถ่ายเหลว จึงทำให้มีการชงตามฉลากหน้าซอง BD เหมือนกัน 

 สรุป    ทุกรายที่พบให้ความสำคัญกับฉลากที่ หน้าซอง  BD   มากกว่าคำแนะนำหรือเอกสารที่ได้รับ ซึ่งไม่ตรงกับแผนการรักษาของแพทย์ 

 §         หลังจากทราบปัญหาแล้ว  พยาบาลที่หอผู้ป่วยก็ให้ความคิดเห็นว่า........ทำไมผู้ดูแลไม่โทรศัพท์มาถามนะ          ในเมื่อเราก็ให้เบอร์โทรศัพท์ไปกับผู้ดูแลแล้ว...........   โภชนากรเห็นด้วย พร้อมบอกว่า ทางโภชนากรก็ให้เบอร์โทรศัพท์ของตนไปด้วยเช่นกัน 

 ******ก็เพราะผู้ดูแลไม่ทราบนะซิว่าตนเข้าใจผิด.....โดยทั่วไปแล้วหน้าซองยา คือ การบอกวิธีรับประทานของผู้ป่วย         ถ้าเป็นอย่างนี้ เขาจะโทรศัพท์หาเราทำไม  

        §         ถ้าอย่างนั้น  เราต้องขอความร่วมมือจากแพทย์ล่ะซิว่า  หลังจาก   order สูตร  BD แล้ว  ขอช่วยท่านคำนวณสัดส่วน  การชง BD ตามสูตรที่สั่ง ด้วย 

******ต้องคิดก่อนว่า  การที่เราจะขอความร่วมมือจากแพทย์มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน  ในเมื่อปัจจุบันนี้ลำพังเฉพาะให้ท่านตรวจยังไม่ทันเลย  ถ้าเราจะขอช่วยโภชนากรคำนวณให้ โดยดูข้อมูลเดิมว่า ส่วนใหญ่แพทย์สั่ง BD สูตรอะไรมาก แล้วนำสูตรนั้นมาคำนวณเพื่อประสานงานกับเภสัชกร/เจ้าหน้าที่หน่วยคอมพิวเตอร์เพื่อปรับโปรแกรมการสั่ง BD จะดีกว่าหรือไม่ 

******ได้เลยค่ะพี่  ส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งประมาณ 4 สูตร  คือ BD 1 : 1 , 1.2 :1………….นอกนั้นก็จะมีรายละเอียดอีกเยอะ เช่น เพิ่มโปรตีน

 ******พวกที่มีรายละเอียด เราทำแบบเดียวกับการสั่งอาหารเฉพาะโรคได้มั้ย แยกต่างหากเพื่อให้แพทย์เติม.......ได้ค่ะพี่ 

******จังหวะเดียวกัน เภสัชกรก็ตอบว่า ถ้าอย่างนั้น โภชนากรคำนวณสูตรต่างๆได้แล้ว  นำมาให้หนูได้เลยค่ะ หนูจะประสานงานกับหน่วยคอมฯเอง เมื่อเสร็จแล้วเราสามารถแจ้งเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินการได้เลยโดยผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์......ดีเลย ถ้าอย่างนั้นทุกฝ่ายก็เริ่มดำเนินการ 

****** พี่ค่ะโภชนากรกล่าวต่อ หนูคิดว่า หนูจะปรับการให้บริการของงานโภชนาการใหม่ หลังจากหนูสอนผู้ดูแลเสร็จแล้ว อีกประมาณ 3 วัน หนูจะโทรศัพท์ติดตามผลว่าเขามีปัญหาหรือไม่ ......... ดีเลยค่ะ เป็นการทำงานเชิงรุก แทนการตั้งรับ (รอให้เขาถาม) หากว่าหนูติดตามแล้วพบว่ามีปัญหา อย่าลืมแจ้ง PCU ด้วยนะคะ เพื่อทาง PCU จะได้ตามไปเยี่ยมบ้าน.. ได้ค่ะพี่ 

******พี่ค่ะ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมถาม ถ้าไม่ใช่ case 30 บาท หากโภชนากรติดตามพบจะให้แจ้งใครคะ.......... อ้อ ก็แจ้งโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใกล้บ้านซิคะ  เดี๋ยวพี่จะนำรายชื่อหน่วยงานต่างๆให้น้องว่าหมู่บ้านไหนมีโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใดบ้าง แล้วน้องก็สื่อสารให้เขาทราบด้วยวิธีไหนก็ได้   ดีมั้ยคะ 

****** สำหรับ PCU พี่ขอว่า หากต่อไปน้องพบปัญหาอะไรก็แล้วแต่ ขอน้องช่วยแจ้งให้ทางหอผู้ป่วยทราบด้วยจะดีมั้ยคะ  เพื่อทางหอผู้ป่วยจะได้ทราบปัญหาและนำไปหาโอกาสพัฒนาต่อไป  ขณะเดียวกันน้องก็รวบรวมปัญหาทั้งหมดในแต่ละช่วงเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เหมือนอย่างวันนี้ด้วย...... ดีค่ะพี่

****** พี่ครับ แพทย์กล่าว ผมเห็นด้วยกับการ feedback ให้ทางหอผู้ป่วย แล้วผมจะพัฒนาส่วนนี้ให้เข้าไปอยู่ในคอมพิวเตอร์ เพื่อสะดวกต่อการติดตามผลและข้อมูลคงอยู่...... ดีเลยค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ 

สรุปแนวทางแก้ไข

§        ให้ทางโภชนากรคำนวณสูตร BD ที่แพทย์ใช้ในการรักษามากที่สุด ออกมาเป็นจำนวนช้อนตวง กรณีแพทย์ต้องการ BD เฉพาะโรค ให้พิมพ์แยกต่างหาก

§       โภชนากรส่งสูตรที่คำนวณได้ให้ทางเภสัชกร เพื่อประสานกับทางคอมพิวเตอร์ในการปรับโปรแกรมใหม่

§        เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยควรได้ประสานงานกับทางโภชนาการเพื่อทราบข้อมูลรายละเอียดของ BD สำหรับการเน้น แนะนำผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน

§        ทางพยาบาล PCU เมื่อตรวจเยี่ยมผู้ป่วยแล้ว พบปัญหา จะมีการแจ้งกลับให้หอผู้ป่วยทราบ

§         โภชนากร  จะมีการปรับการให้บริการ  โดยเพิ่มระบบการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยทางโทรศัพท์ เพื่อทราบปัญหาและให้คำแนะนำ พร้อมทั้งแจ้ง Case ที่มีปัญหาให้ทาง PCU ทราบ ส่วนกรณี Case ที่ไม่ใช่ผู้ป่วย 30 บาท หากพบปัญหาจะมีการส่ง Case ให้โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใกล้บ้านช่วยติดตามเยี่ยมบ้านให้

หมายเลขบันทึก: 42224เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2006 00:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • เข้ามาอ่านค่ะพี่
  • ขอบคุณมากค่ะ
พี่จุดคะ พี่จุดบันทึกอย่างไรจึงทำได้หมดจด ละเอียดละออขนาดนี้ โดยเฉพาะช่วงกลางที่มีดาวทั้งหลายนั่น คือหัวใจของการลปรร.เลยนะคะ

ยอดเยี่ยมจริงๆ สรรหาคำมาชมไม่ถูกเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับตัวอย่างของบันทึกเล่าเรื่องที่เยี่ยมๆแบบนี้นะคะ ยกให้หมดทุกนิ้วเลยค่ะ ไม่ใช่แต่นิ้วโป้ง
  • เป็นกิจกรรมที่ยอดเยี่ยมมากเลยค่ะ อยากรู้ที่มาที่ไปของกิจกรรมนี้จัง
  • บันทึกได้ยอดเยี่ยมมากเลยค่ะ  คงต้องขอทราบเคล็ดลับบ้างแล้วค่ะ  รวมทั้งเคล็ดลับการอำนวยกลุ่มในรูปแบบนี้ ทำอย่างไรให้ได้บรรยากาศเปิดแบบนี้

 

พี่จุดบันทึกได้ละเอียดมากๆเลยค่ะ
  • อ่านแล้วจับประเด็นได้ว่า  ต้นเหตุของปัญหาตัวสำคัญคือ ฉลากที่ซอง BD ไม่ตรงกับสัดส่วนอาหารจริงที่แพทย์ต้องการให้ผู้ป่วยได้รับ
  • ทีนี้เพราะไม่เคยเห็นซอง BD มาก่อน พี่เม่ยก็เลยสงสัยค่ะที่ว่า ฉลากที่หน้าซอง BD  เขียนว่า 8 ช้อนตวง ผสมน้ำ 160 cc. นั้น...
    • 1)เป็นฉลากที่สั่งพิมพ์ออกมาจากโปรแกรมคอมฯของ ร.พ.  หรือว่า.... 
      2) เป็นสัดส่วนมาตรฐานที่พิมพ์ติดมากับซอง BD ทุกๆซองอยู่แล้วคะ? 
  • ถ้าเป็นข้อ 1) พอแก้ไขโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างที่วางแผนกันแล้ว  สลากที่ซอง BD จะมีสัดส่วนที่ถูกต้องปรากฏอยู่อย่างชัดเจนเลยใช่ไหมคะ?
  • แต่ถ้าเป็น 2) ยังไงๆก็ยังมีสัดส่วนมาตรฐานเดิมนี้ติดอยู่ที่ซองอยู่ดี ปัญหาก็อาจเกิดซ้ำได้อีก
  • ไม่แน่ใจตัวเองค่ะ อาจจะเข้าใจอะไรผิดพลาดหรือเปล่า นี่ถ้าพี่จุดช่วยนำภาพมาเฉลยให้ได้ พี่เม่ยก็ถึงบางอ้อ....แน่ๆเลยค่ะ

มารับความรู้ครับ

เขียนบันทึกที่ละเอียดดีมากเลยครับ ทำให้เห็นภาพคนไข้ยาไปใช้ตอนกลับบ้านชัดเจน รวมทั้งความคิดเห็นของทุกฝ่าย ชอบวิธีเขียนของพี่จุฑารัตน์ครับ

 

ที่คุณเม่ยสงสัย ผมเองที่เป็นเภสัชกรรพ.ขอคาดเดาว่า

  • เป็นที่โปรแกรมตั้งค่า สลากยาดัวกล่าวไว้เช่นนั้นครับ
  • ถ้าทางพยาบาลหรือแพทย์ไม่ได้ระบุวิธีใช้ละเอียดให้เภสัชกร
  • ทางห้องยาก็จะพิมพ์วิธีใช้ดังกล่าวไปครับ
  • ซึ่งหลายฝ่ายได้เข้ามาร่วมแก้ไขให้ความรู้และหาวิธีแก้ไขกันทุกคน น่าชื่นชมมากครับ
  • ผมจะนำไปใช้เป็นแบบอย่าง
  • ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ

 

ขอบคุณ คุณจันทร์เมามายมากนะคะที่คาดเดาคำตอบให้พี่เม่ย เป็นอย่างนั้นจริงๆค่ะ กล่าวคือ ในโปรแกรม จะset คำเตือนไว้ว่า ถ้าให้ 8 ช้อนตวงในน้ำ160 cc. จะได้แคลอรี่ 225 แต่ส่วนใหญ่แพทย์ไม่ได้คำนวณให้ มัก key เฉพาะจำนวนซองที่ต้องการ เมื่อเภสัช print จึงออกเป็นข้อความ

    8 ช้อนตวง ผสมน้ำ 160 ซ๊ซี. ดื่มวันละ....ครั้งต่อวัน

ขอตอบคำถาม อ.ปารมีดังนี้ค่ะ

  • ที่มาของกิจกรรมนี้คือ คุณบุญเรียม หัวหน้าหน่วย PCU ได้เชิญพี่จุด ในฐานะประธานกรรมการ dischargr planning และคุณอุมา ซึ่งเป็น case manager ของโรค CVA มาประชุมเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาจากการไปเยี่ยมบ้านพบผู้ป่วยได้ BD ไม่ตรงตามแผนการรักษา  พี่จุดจึงเสนอให้มีการ ลปรร เพื่อจะได้ช่วยกันหาแนวทางแก้ปัญหา
  • บรรยากาศในการ ลปรร ดี อาจเนื่องจาก        1.  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่คือผู้เกี่ยว                                                                                                                                                                             ข้อง     และเป็นผู้ปฏิบัติเรื่องนี้โดยตรง

              2.  มีหัวหน้างานเข้าร่วมด้วย จึงช่วยให้มีการตัดสินใจแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น

              3.  พี่จุดซึ่งอาวุโส ช่วยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ช่วยชง/ตั้งประเด็น/สรุป/เป็นตัวเชื่อมแต่ละวิชาชีพ/ และเมื่อเห็นเภสัชไม่ได้เข้าประชุม  จึงเสนอให้น้องขอความร่วมมือจากเภสัชเพื่อเชิญเข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเภสัชเป็นอย่างดี

              4.  ต่างช่วยกันคิดสาเหตุและหาทางแก้ไข โดยไม่ได้คิดว่าเป็นความผิดของใคร

              5.  น้องพยาบาลจาก PCU เตรียมตัวมาดี มีการทำการบ้านมาก่อน โดยเตรียมตัวอย่าง case และภาพ เพื่อนำเสนอ

ส่วนวิธีการบันทึกนั้น ต้องขอบคุณ พี่เม่ย ซึ่งได้บอกพี่จุดว่า เวลาอ่านบันทึกของพี่จุดพี่เม่ยจะใส่ท่าทางและน้ำเสียงของพี่จุดเข้าไปด้วย

.......แล้วถ้าเป็นคนที่ไม่เคยได้ฟังเสียงหรือเห็นท่าทางพี่จุดเล่าล่ะ เขาจะ " อิน" กับการเล่าของพี่จุดในบล๊อคได้อย่างไร.........จึงเป็นเหตุให้พี่จุดเขียนเล่าในสไตล์นี้แต่คงใช้สไตล์นี้ไม่ได้ในทุกเรื่อง ขึ้นกับบรรยากาศของเรื่องนั้นๆด้วย

 

พี่จุดคะ โอ๋โหลดรูปพี่จุดที่ทำให้ขนาดพอดีใส่ในประวัติได้เลยมาไว้ที่ไฟล์อัลบั้มของโอ๋แล้วนะคะ พี่จุดแค่ copy link http://gotoknow.org/file/panothai/%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94120x160.jpg เอาไปแปะตรงที่ใส่ link ในประวัติได้เลยนะคะ แปลกใจนิดนึงว่า link มันย้าว ยาว ยังไงพี่จุดลากไปให้ครบนะคะ ตั้งแต่ http ไปจนหมดถึง jpg เลย

เอารูปมาแปะให้ดูตรงนี้ด้วยค่ะ

ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ ได้ความรู้เบื้องหลังกิจกรรมที่ให้ผลดีๆ ว่ามีปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้าง ขอบคุณค่ะ

คุณโอ๋คะ ชอบรูปพี่จุดที่ใช้ปัจจุบันมากกว่า พื้นเป็นธรรมชาติ ดูอบอุ่น สบายๆ ดีกว่าค่ะ

 

ขอบคุณมากค่ะคุณโอ๋ ขอโทษด้วยนะคะที่ตอบช้า ไป กทม.เพิ่งกลับมาค่ะ
เห็นด้วยกับอ.ปารมีค่ะ ดูอีกทีรูปที่ใช้อยู่ นอกจากพื้นหลังจะเป็นธรรมฃาติแล้ว พี่จุดยังยิ้มได้ "สุดๆ" กว่าด้วยค่ะ มองแล้วจะเผลอยิ้มตามไปด้วยทุกที

ขอบคุณค่ะ พี่จุดคงรูปเดิมนะคะ

             ตะกี้ส่งบันทึกไปโดยไม่ได้ใส่รหัสตัวเลข  ก็เลยมีเรื่องความเฉยของตัวเองมาเล่าสู่ให้ฟัง  เผื่อจะได้เผลอยิ้มตามอีกเป็นรอบสอง

             เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อพี่จุดกลับจาก กทม. ถึงบ้านหลังจากเก็บข้าวของให้เรียบร้อยก็รีบเปิด mail ทันทีด้วยใจคิดถึง เพราะไปเสียหลายวัน เมื่อตอบ mail เสร็จ จะใส่รหัสตัวเลข ก็เห็นรหัสไม่เหมือนเดิม มีตัวหนังสือบิดๆเอียงๆปนอยู่กับตัวเลขอยู่ด้วย  ก็พยายามเพ้งมองว่าคือตัวเลขอะไร ยื่นหน้าเข้าใกล้จอก็แล้ว ถอยหน้าออกก็แล้ว ยังมองไม่ชัดว่าเป็นตัวเลขอะไร ถ้าอย่างนั้นเดาดีกว่าว่าน่าจะเป็นตัวเลขอะไรบ้าง พิมพ์ตามที่เดา บันทึกไม่ไป เดาอยู่สองครั้ง ก็ยังไม่ไป ก็เลยตัดสินใจพิมพ์ตามที่เห็น.......ไปแง๊ะ......เกิดอะไรขึ้น ....... เพิ่งจะเข้าใจหลังจากได้อ่านบันทึกของ อ. จันทวรรณ  เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าอย่าฝังใจกับวิธืการเดิมๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท