ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่พัฒนากระบวนการคิด


แผนการเรียนรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน

มาร่วมสร้างประชาคมการสอนภาษาไทย ให้มีหลักการ มีทฤษฎี และมีชีวิต

 

เฉลิมลาภ ทองอาจ

         แผนการจัดการเรียนรู้หรือแผนการสอนเป็นหลักสูตรฉบับนำไปใช้ (taught curriculum) ที่พัฒนาขึ้นจากหน่วยการเรียนรู้  การเขียนแผนจัดการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design) ซึ่งครูภาษาไทยและนักสอนภาษาไทยควรอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญ  และดำเนินการออกแบบอย่างประณีต  เพราะการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความคงทนในการเรียนรู้ ยั่งยืนในความคิดและมีสมรรถนะจริงๆ นั้น จะต้องออกแบบขึ้นจากทฤษฎีซึ่งมีการวิจัยและหลักการที่รองรับ การสอนที่ครูเริ่มนึกถึงกิจกรรม (activities) ก่อนพิจารณาว่า อะไรคือสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้และ  ปฎิบัติได้นั้น ย่อมเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนยิ่ง เช่น หากครูจะต้องสอนการอ่าน จุดเน้นในการออกแบบการสอนก็คือกระบวนการสร้างความเข้าใจ ในการอ่าน  (process of readind comprehension) (ศึกษาได้จากบทความที่ได้เขียนก่อนหน้านี้)  มิใช่การใช้กิจกรรมสนุกสนานต่างๆ เพื่อจูงใจให้นักเรียนอ่านเท่านั้น เพราะเรายังตอบไม่ได้ว่า ผู้เรียนอ่านเข้าใจหรือไม่จากกิจกรรมนั้น อะไรคือกระบวนการในการตีความ ขยายความ แปลความ ตั้งคำถาม ทำนาย ฯลฯ ที่เกิดขึ้นในโครงสร้างปัญญาของผู้เรียน ที่สำคัญคือผู้สอนวัดจากอะไร และทราบได้อย่างไรว่าผู้เรียนอ่านแล้วเข้าใจ มิใช่การท่องจำไปตอบ ประเด็นเหล่านี้จึงต้องอาศัยครูภาษาไทยและนักการสอนภาษาไทยทุกท่าน ซึ่งล้วนแต่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมาช่วยกันพัฒนา อย่างไรก็ตาม ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของแผนการจัดการเรียนรู้ "การคัดลายมือ"ที่ผู้เขียนได้แสดงการใช้ยุทธศาสตร์ในการออกแบบการเรียนการสอน ที่เน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการคิด โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง ยุทธศาสตร์ที่นำมาใช้ในที่นี้ เป็นยุทธศาสตร์ในการออกแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นโดย รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งต้องขอกราบขอบพระคุณท่านที่ได้เมตตาให้ความรู้เพื่อพัฒนาครูภาษาไทย นักสอนภาษาไทย และนักหลักสูตรและการสอน มา ณ โอกาสนี้ 

 

 

แผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง

หน่วยการเรียนรู้  นิราศภูเขาทอง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1  เรื่อง  การคัดลายมือ         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1                                                                                         เวลา  2  ชั่วโมง

สอนโดย อ.เฉลิมลาภ  ทองอาจ                               โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม

__________________________________________________________________________

1.  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

          มาตรฐาน ท 2.1  ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ       

                   ตัวชี้วัด      

                   ท 2.1 ม.1/1  คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด

2.  จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด

          1)  อธิบายหลักการและขั้นตอนการคัดลายมือได้ 

          2)  คัดอักษรไทยตัวบรรจงครึ่งบรรทัดได้ถูกต้องตามรูปแบบมาตรฐาน

          3)  เห็นคุณค่าของการคัดลายมือ และมีเจตคติที่ดีการเขียนตัวอักษรตามรูปแบบที่ถูกต้อง 

3.  สาระสำคัญ

          ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการคัดลายมือหรือการเขียนตัวษรไทยแบบบรรจง ซึ่งเป็นการเขียนตัวอักษรไทยตามรูปแบบมาตรฐาน  และลงมือปฏิบัติการคัดลายมือ  โดยใช้ทักษะการสังเกต การเลียนแบบและการฝึกหัดปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชำนาญ และใช้วิธีการประเมินด้วยการตรวจผลงานการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ด้วยเกณฑ์การประเมินตามสภาพจริง 

4.  สาระการเรียนรู้

          4.1  ความรู้

          การคัดลายมือ หมายถึง การเขียนตัวอักษรไทยให้มีรูปแบบที่ถูกต้องสวยงาม  และตรงตามรูปแบบตัวอักษรไทยมาตรฐาน  ซึ่งมีกำหนดไว้ 2  รูปแบบที่สำคัญ ได้แก่ 

                   1.  ประเภทตัวเหลี่ยม  ได้แก่ แบบอักษรอาลักษณ์  แบบอักษรพระยาผดุงวิทยาเสริม

แบบอักษรของสาขาวิชาประถมศึกษา  คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

                   2.  ประเภทตัวมน  ได้แก่  แบบอักษรของกระทรวงศึกษาธิการ  แบบอักษร          ขุนสัมฤทธิ์วรรณการ  แบบอักษรของราชบัณฑิตยสถาน 

          หลักการคัดลายมือ

                   1. นั่งตัวตรง เขียนด้วยมือขวา ส่วนมือซ้ายวางบนกระดาษที่จะเขียนเพื่อมิให้กระดาษเลื่อนไปมา  ข้อศอกขวาวางบนโต๊ะขณะที่เขียน สายตาห่างจากกระดาษที่เขียนประมาณ 1 ฟุต

                   2. จับดินสอหรือปากกาให้ถูก โดยดินสอหรือปากกาจะอยู่ที่นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้และนิ้วกลาง  และนิ้วนางกับนิ้วก้อยงอไว้ในฝ่ามือ

                   3. การเขียนตัวอักษรให้เขียนให้ถูกส่วน ตัวอักษรตั้งตรง การเขียนพยัญชนะไทยทุกตัวต้องเริ่มเขียนหัวก่อน ยกเส้นตัว ก และ ธ ซึ่งไม่มีหัว เว้นช่องไฟและวรรคตอนให้พองาม และวางเครื่องหมายต่างๆ  ให้ถูกต้องตามตำแหน่ง

                   4. การวางพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ สระทุกตัวมีตำแหน่งซึ่งสัมพันธ์กับพยัญชนะ เช่น

                             4.1  สระที่อยู่หน้าพยัญชนะ ได้แก่ เ- แ- โ- ใ- ไ-

                             4.2  สระที่อยู่หลังพยัญชนะ ได้แก่ -ะ -า

                             4.3  สระที่อยู่เหนือพยัญชนะ ได้แก่ - ิ - ี - ึ - ื

                             4.4  ไม้หันอากาศ ( - ) ไม้ไต่คู้ ( -  ) นิคหิต ( - ํ ) จะวางเหนือพยัญชนะ   ตรงกลาง

                             4.5  สระที่อยู่ใต้พยัญชนะ ได้แก่ - ุ - ู

          4.2  ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด

                    1.  ทักษะการสังเกต

                   2.  ทักษะการเขียนตัวอักษรไทยแบบบรรจง

                   3.  กระบวนการเขียน  (การเตรียมการเขียน  การลงมือเขียน  การปรับปรุงการเขียน)

          4.3  คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                    1.  เห็นคุณค่าของการคัดลายมือ

                   2.  มีเจตคติที่ดีการเขียนตัวอักษรตามรูปแบบที่ถูกต้อง 

5.  ชิ้นงานหรือภาระงาน  (หลักฐาน ร่องรอยแสดงความรู้)

                   ผลงานการคัดลายมือหรือการเขียนอักษรไทยตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ตามรูปแบบ     ตัวอักษรไทยมาตรฐานที่นักเรียนเลือก

6.  คำถามสำคัญ

                   1.  การคัดลายมือหรือการเขียนตัวอักษรให้สวยงามเป็นระเบียบมีคุณค่าอย่างไร 

                   2.  การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดมีวิธีการและขั้นตอนอย่างไร

7.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  (ยุทธศาสตร์  4ส  2ว  2ส+สสส)

     ขั้นนำ

          1. ครูให้นักเรียนสังเกตแถบข้อความ  ซึ่งเป็นคำประพันธ์จากเรื่องนิราศภูเขาทอง ที่เขียนด้วยการคัดลายมือตัวบรรจงและที่เขียนด้วยลายมือหวัดหรือไม่สวยงาม  จากนั้นสนทนากับนักเรียนในประเด็นคำถามพัฒนาการคิดดังนี้  (สิ่งเร้า  สังเกต)

                   คำถามพัฒนาการคิด

                             1)  ลายมือหรือตัวอักษรที่ครูนำเสนอทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร และนักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อมองเห็นตัวอักษรลักษณะเช่นนี้

                             2)  การคัดลายมือหรือการเขียนตัวอักษรให้ถูกต้องตามรูปแบบและอักขรวิธีมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร

               ครูกล่าวเชื่อมโยงเพื่อให้ผู้เรียนตระหนักในประโยชน์ของการคัดลายมือว่า การเขียนตัวอักษรไทยให้มีความสวยงามและถูกต้องตามรูปแบบ จะทำให้งานเขียนมีระเบียบ ชัดเจนและน่าอ่าน นอกจากนี้ยังส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้เขียนว่า เป็นผู้มีภูมิรู้ทางภาษาและใช้ภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ขั้นสอน

          คาบที่  1 

          2. ครูให้นักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็น  เกี่ยวกับรูปแบบของตัวอักษรไทยที่ถูกต้องจากประสบการณ์เดิม  แล้วให้นักเรียนทดลองคัดลายมือ โดยเขียนคำประพันธ์จากเรื่องนิราศภูเขาทองตอนใดตอนหนึ่งจำนวน 2 บท  แล้วครูสนทนากับนักเรียนโดยใช้คำถามพัฒนาการคิดดังนี้ (สงสัย)

                   คำถามพัฒนาการคิด

                             1)  อักษรที่นักเรียนเขียน  มีลักษณะเหมือนกับแบบอักษรไทยมาตรฐานหรือไม่  อย่างไร 

                             2)  แบบอักษรไทยมาตรฐานมีอะไรบ้าง และนักเรียนจะมีหลักการหรือขั้นตอนในการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดอย่างไร 

          3.  ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน จากนั้นแต่ละกลุ่มอภิปรายแสดงความคิดเห็น  โดยใช้ครูเทคนิคการอภิปรายแบบ think-pair-share  ในประเด็นหลักการคัดลายมือจากประสบการณ์เดิมของตนเองว่า  การคัดลายมือหรือการเขียนอักษรควรมีหลักการและขั้นตอนการเขียนอย่างไร  เพื่อให้ได้ตัวอักษรที่ถูกต้อง สวยงามและตรงตามรูปแบบ  (สมมติฐาน)

          4.  ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนเพื่อศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม  เกี่ยวกับหลักการ  และขั้นตอนการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด  และรูปแบบของตัวอักษรไทยมาตรฐานจาก        แหล่งเรียนรู้ต่างๆ อาทิ เว็บไซต์  หนังสือเรียน  เอกสารประกอบการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ ที่ครูแนะนำเพิ่มเติม  จากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปหลักการและขั้นตอน          การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด  แล้วจัดทำแผนผังกราฟิกแสดงหลักการและขั้นตอนเพื่อนำเสนอหน้าชั้น  ครูและเพื่อนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม  (วางแผน  วิเคราะห์  สื่อความหมาย)

          5.  ครูให้นักเรียนช่วยกันสรุปหลักการและขั้นตอนการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด         ลงในสมุดบันทึก  แล้วครูอธิบายเพิ่มเติม 

          คาบที่  2

          6.  ครูให้นักเรียนทบทวนหลักการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดจากการเรียนรู้ในคาบที่แล้ว  จากนั้นนักเรียนฝึกหัดคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดตามหลักการ  โดยเลือกใช้รูปแบบตัวอักษรมาตรฐานตามความสนใจ  และใช้คำประพันธ์จากวรรณคดีเรื่องนิราศภูเขาทองเป็นต้นแบบการคัด จำนวน  4  บท  ระหว่างการฝึกปฏิบัติ  ครูสังเกตการเขียนของนักเรียนและให้คำแนะนำนักเรียนเพื่อปรับปรุงแก้ไขเป็นรายบุคคล  (สรุปผล) 

          6.  ครูให้นักเรียนจัดทำป้ายคำขวัญ  ข้อความรณรงค์หรือคติข้อคิดเตือนใจ  เพื่อนำไปติดไว้ในสถานที่ต่างๆ  ของโรงเรียน   โดยใช้หลักการคัดลายมือตัวบรรจง  (สร้างสรรค์ผลงานสู่สังคม)

          ขั้นสรุป

          ครูให้นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่องหลักการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดเพื่อสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการคัดลายมือ จากนั้นครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นในประเด็นคำถามพัฒนาการคิดต่อไปนี้ 

          คำถามพัฒนาการคิด

                   1)  หลักการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดมีอะไรบ้าง และนักเรียนมีวิธีการฝึกปฏิบัติอย่างไรให้เกิดความชำนาญ

                   2)  การคัดลายมือให้สวยงามและถูกต้องตามรูปแบบมีความสำคัญหรือก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไร

8.  การจัดบรรยากาศเชิงบวก

          ครูจัดเตรียมแหล่งเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนได้ค้นคว้าเกี่ยวกับหลักการคัดลายมืออย่างเพียงพอ อาทิ ตัวอย่างแบบอักษรไทยมาตรฐานแบบต่างๆ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำหรับสืบค้นข้อมูล   

          การประเมินและปรับแก้ไขผลงานการคัดลายมือของนักเรียนควรทำความด้วยเป็นมิตร        มุ่งการพัฒนา  ไม่ใช้การลงโทษหรือใช้การตำหนิ 

9.  สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

          1.  เว็บไซต์   หนังสือเรียน  เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องหลักการคัดลายมือตัวบรรจง

          2.  แถบข้อความคำประพันธ์จากเรื่องนิราศภูเขาทอง

          3.  ตัวอย่างแบบอักษรไทยมาตรฐานแบบต่างๆ

          3.  อุปกรณ์สำหรับทำป้ายข้อความ 

10.  การประเมินการเรียนรู้

          สิ่งที่ประเมิน

                    1.  ความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการและขั้นตอนการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด

                   2.  ผลงานการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดจากวรรณคดีเรื่อง นิราศภูเขาทอง

          วิธีการประเมิน

                   1.  การตรวจแผนผังกราฟิกแสดงหลักการและขั้นตอนการคัดลายมือตัวบรรจง                              ครึ่งบรรทัด

                   2.  การตรวจผลงานการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดจากวรรณคดีเรื่อง                          นิราศภูเขาทอง

 

          เครื่องมือ  (เกณฑ์การประเมินตามสภาพจริง)

 

                         ระดับคะแนน

 

     สิ่งที่ประเมิน

3  ดี

2 พอใช้

1 ต้องปรับปรุง

  1. แผนผังกราฟิกแสดงหลักการและขั้นตอนการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด

    แผนผังกราฟิกเสนอหลักการและขั้นตอนการคัดลายมือครบถ้วน               จัดองค์ประกอบ ของแผนผังได้ชัดเจน สื่อความหมายได้เข้าใจดีมาก

    แผนผังกราฟิกเสนอหลักการและขั้นตอนการคัดลายมือขาดไปบางหลักการหรือขั้นตอน                จัดองค์ประกอบของแผนผังและสื่อความหมายได้ดี

   แผนผังกราฟิกเสนอหลักการและขั้นตอนการคัดลายมือไม่ครบถ้วน           จัดองค์ประกอบของแผนผังไม่ชัดเจน ไม่สามารถสื่อความหมายได้ 

 

  2. ผลงานการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดจากวรรณคดีเรื่อง นิราศภูเขาทอง

    เขียนตัวอักษรได้ถูกต้องตรงตามรูปแบบทุกตัว เว้นช่องไฟเหมาะสม และสะอาด

    เขียนตัวอักษรได้ถูกต้องตรงตามรูปแบบเป็นส่วนใหญ่  มีตัวอักษรที่เขียนไม่ถูกตามรูปแบบบ้าง  เว้นช่องไฟเหมาะสมและสะอาด

   เขียนตัวอักษรส่วนใหญ่ยังไม่ถูกต้องตามรูปแบบ       เว้นช่องไฟไม่เหมาะสมและ ไม่สะอาด

 

11.  ผลการจัดการเรียนรู้

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

12.  ปัญหาและอุปสรรค

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

13.  แนวทางแก้ไข 

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

หมายเลขบันทึก: 422189เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2011 00:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณค่ะสำหรับการสร้างคนให้คิดเป็น จะนำไปเผยแพร่ให้ครูภาษาไทยค่ะ...ตนเองสอนเคมีค่ะ

เป็นแผนการสอนที่ดีมากค่ะ

 

นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ครุศาสตร์ จุฬา

ขอบพระคุณ อ.เฉลิมลาภ ที่มีตัวอย่างแผนการสอนที่มีคุณภาพ หนูได้เรียนรู้อะไรๆขึ้นอีกมากมายเลยค่ะ และสามารถนำไปใช้จริงๆกับนักเรียนที่กำลังฝึกสอนอยู่ด้วย เป็นกำลังใจให้อ.ลาภ นำความรู้ที่ดีๆอย่างนี้มาเป็นตัวอย่างให้กับคนที่สนใจอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆเลยนะคะ

^^ NFE EDU

สวัสดีครับ นิสิตฯ

ครูยินดีที่นิสิตได้มาศึกษาตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ฯ ก็คิดว่าที่ได้นำเสนอไว้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งนะครับ ที่จริงแล้วแผนการสอนที่สมบูรณ์สำหรับครู ควรจะเป็นแผนที่เราใช้เวลาในการออกแบบร่วมกันกับผู้เรียนของเรา เสียงเล็กๆ ของเขาจะนำไปสู่การสอนและการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่

ครูขอเป็นกำลังใจให้นิสิตประสบความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ และมีกำลังใจที่ดีในการที่จะพัฒนาผู้เรียนของนิสิตให้มีคุณภาพและเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ต่อไป

ครู...

ขอบคุณมากคะ เป็นวิทยาทาน มีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท