วิเคราะห์บทบาทของครุฑในวรรคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


วิเคราะห์บทบาทของครุฑในวรรคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

วิเคราะห์บทบาทของครุฑในวรรคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

          นายฉัตรชัย  สุขุม  รหัส ๕๒๒๐๖๓๐๑

บทนำ

                ความเป็นมาของปัญหา

                   ไทยรับความเชื่อเกี่ยวกับครุฑมาจากอินเดีย ซึ่งถือว่าครุฑเป็นสัญลักษณ์ของพระนารายณ์ ด้วยเหตุนี้เราจึงนำรูปครุฑใช้เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระมหากษัตริย์เพราะเราเชื่อกันว่ากษัตริย์เป็นผู้ทรงฤทธิ์เหมือนพระรามที่เป็นกษัตริย์ที่ดีและเป็นพระนารายณ์อวตารลงมาและยังนำรูปครุฑมาเป็นตราแผ่นดิน

                                ครุฑในวรรณคดีไทยนั้น เสถียรโกเศส กล่าวว่าเป็นครุฑตัวเดียวกับครุฑในลัทธิฮินดู ดังปรากฏในบทละครเรื่องอุณรุท ว่าพญาครุฑเป็นพาหนะของพระจักกฤษณ์ซึ่งเป็นพระนารายณ์อวตารลงมา ว่า

                                                ครุฑเอยครุฑทรง                 เทียบพงศ์ทั่วภพไม่มีสอง

                                คู่นารายณ์เคยณรงค์รณคะนอง                         เผ่นทะยานผ่านผยองโพยมบน

                   ครุฑเป็นตัวละครที่ปรากฏในวรรณคดีไทยเสมอและมีบทบาทเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสังคมไทยและวัฒนธรรมไทยในด้านต่างๆโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในวรรณคดีไทยหลายเรื่องได้มีการพรรณนาความงามของครุฑไว้ เช่น ในปุณโณวาทคำฉันท์ของพระมหานาค  วัดท่าทราย มีคำบรรยายว่า

                               พ่างพื้นที่ฐานบัทฐ์                              เป็นครุฑอัดอุราผาย

                กรกุมสุกรีกราย                                                    จะกระหยับเผยอบิน

                                จึงทำให้ผู้ศึกษาสงสัยว่าตัวละครครุฑนั้นมีบทบาทอย่างไรในวรรณคดีไทยนอกกจากส่วนที่เป็นการพรรณนาความงามของครุฑตามจิตกรรมฝาผนังหรือปฏิมากรรม

                วัตถุประสงค์

                          เพื่อศึกษาบทบาทของครุฑในวรรณคดีไทยสมัยรัตรนโกสินทร์ตอนต้น

 

 

 

          ขอบเขตของการศึกษา

                   วรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มีครุฑเป็นตัวละครปรากฏ  ได้แก่เรื่อง  บทละครเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ฉบับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  กากีคำกลอนของพระยาพระคลัง(หน)  โคบุตรของสุนทรภู่ รวมทั้งสิ้น ๔ เรื่อง

                วิธีดำเนินการค้นคว้า

                   การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ผู้ศึกษาใช้วิธีการอ่าวิเคราะห์ข้อมูลจากพฤติกรรมของตัวละครครุฑแล้วเสนอผลแบบพรรณนาวิเคราะห์        

 

แนวความคิดเกี่ยวกับครุฑที่ปรากฏในวรรณคดีบาลีและสันสกฤต

                คติความเชื่อเกี่ยวกับครุฑที่ปรากฏในวรรรคดีทั้งวรรณคดีบาลีและวรรรคดีสันสกฤตสามารถนำมาศึกษา มีอยู่หลายประการ  ในวรรรคดีสันสกฤตได้แสดงความเรื่องราวของครุฑไว้อย่างเด่นชัดและนับได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดเรื่องราวของครุฑ พาหนะของพระวิษณุซึ่งเป็นสัตว์พันทางอันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ครุฑในวรรรคดีสันสกฤติจังมีเพียงตัวเดียวแต่มีชื่อและฉายานามจำนวนมากซึ่งมีที่มาจากแห่งต่างๆ

                สำหรับครุฑหรือที่ภาษาบาลีเรียกว่า ครุฬ หรือ สุปัณณะ (สุปฺณณ) นั้น มีเป็นจำนวนมากแต่คำที่ใช้เรียกมีน้อยกว่าในวรรณคดีสันสกฤติ โดยมากเป็นคำเรียกชื่อกลุ่มครุฑ ดังนี้

                ชื่อที่ใช้เรียกชื่อครุฑโดยทั่วไป                         :        ครุฬ , สุปัณณะ (สุปณฺณ)

                ชื่อที่ใช้เรียกพญาครุฑ                                        :              สุปัณณราช  (สุปณฺณราช)

                ชื่อพระญาครุฑจำพวกหนึ่ง                              :        ครุฬเวนไตย  (ครุฬเวนฺเตยฺย)

                                                                                                :        จิตรสุปัณณะ (จิตฺรสุปณฺณ)

                ลูครุฑ                                                                     :              สุปัณณโปดก  (สุณฺณโปดก)

ครุฬโปดก (ครุฬโปดก)

                ชาวอิเดียมีความเชื่อต่อครุฑว่า ครุฑมีอำนาจสามารถช่วยให้ปลอดภัยจากงูทำให้เรื่องราวของครุฑมีปรากฏแพร่หลายทั้งในวรรณคดีสันสกฤตและบาลี แต่อย่างไรก็ตามคติความเชื่อเกี่ยวกับครุฑ ตามคติวรรณคดีทั้งสองมีลักษณะทั้งเหมือนและต่างกัน ดังจะได้นำเสนอต่อไปนี้

 

 

 

 

ครุฑในวรรณคดีสันสกฤต

                ๑. กำเนิดของครุฑ

                                ๑.๑ สาตุที่ทำให้เกิดครุฑ เรื่องราวโดยละเอียดเกี่ยวกับครุฑปรากฏขึ้นใมหากาพย์มหา      ภารตะ อาทิบรรพตอนที่เกี่ยวกับฤาษีอาศตีกะ (Astika)  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการช่วยนาคทั้งปวงให้รอดชีวิตจากพิธีผลาญงูของพระเจ้า ครุฑเป็นเรื่องราวหนึ่งที่แทรกอยู่ นอกจากนั้นก็มีตำนานเรื่องการกวนเกษียรสมุทรและความเป็นมาของม้า อุจไจหสวัส ซึ่งในมหากาพย์ มหาภารตะ ซึ่งในบรรพนี้ได้แสดงสาเหตุการเกิดครุฑสรุปได้ ๓ ประการ คือ

                                                ๑.๑.๑ สืบเนื่องมาจากการสาปแช่งพระอินทร์ของฤาษี วาขิลยะ เพื่อให้เป็นผลตอบแทนความผิดของพระอินทร์ที่ประทำต่อพวกตนในอดีต ความขัดแย้งอันรุนแรงระหว่างพระอินทร์และฤาษีวาลขิลยะ โดยจะสร้างพระอินทร์เจ้าแห่งทพเจ้าทั้งปวงขึ้นมาอีกองค์หนึ่งที่สามารถไปได้ทั่วทุกแห่งตามที่ตั้งใจ มีพลังและก่อความกลัวให้เกิดขึ้นในใจของพระอินทร์องค์ปัจจุบัน

                                                ๑.๑.๒ อำนาจแห่งการบำเพ็ญตบะของพวกฤาษีวาลขิลและฤาษีกัศยปะ ในการสาปแช่งพระอินทร์ครั้งนั้น การที่จะสร้างพระอินทร์ขึ้นมาอีกองค์หนึ่งนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่เพื่อที่จะให้สำเร็จตามต้องการ จึงควรขอให้มีพระอินทร์เจ้าแห่งนกกำเนิดขึ้นมาองค์หนึ่ง โดยให้มีกำลังมหาศาลมาแต่กำเนิด มีความกรุณาเอื้อเฟื้อมาถึงพระอินทร์องค์ปัจจุบันนี้ด้วย

                                                ๑.๑.๓ การขอพรของนางวินตาที่จะให้บุตรชายของนางเป็นผู้มีอำนาจและมีกำลังมหาศาล

                ๒. การสืบเชื้อสายของครุฑ  วรรณคดีภาษาสันสกฤตหลายเล่มได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในกาพย์มหาภารตะกล่าวว่า พระกัศยะซึ่งเป็นบิดาของครุฑ เป็นบุตรชายคนหนึ่งของ มารีจี ซึ่งเป็นบุตรที่เกิดขึ้นจากสติปัญญาของพรหม

๓. ลักษณะของครุฑ

                                ๓.๑ ขนาดรูปร่าง ครุฑเป็นนกขนาดใหญ่ จำพวกนกอินทร์ มีดวงตาสีเหลืองกลม  มีปีกกว้างใหญ่และทรงพลัง ขาทั้งสองข้างใหญ่และมีกรงเล็บที่แข็งแรงมากสามารถใช้จับช้างและเต่าได้ ตลอดจนงูขนาดใหญ่ได้ ในมหาภารตะและรามารยณะได้แสดงรูปร่างและลักษณะของครุฑไว้ว่า อวัยวะแต่ละส่วนนั้นมีประสิทธิภาพเป็นเลิศและมีอานุภาพเหนือทั้งปวง

                   ๓.๒ คุณสมบัติพิเศษหรืออานุภาพของครุฑ เนื่องด้วยลักษณะต่างๆที่สำคัญของครุฑนี้เองในมหาภารตะจึงได้กล่าวถึงอานุภาพของครุฑว่า สามารถที่จะเดินทางไปได้ทั่วทุกหนทุกแห่งตามที่ต้องการ มีความเร็วเทียบเท่ากับความคิด สามารถแปลงร่างให้มีขนาดและรูปทรงต่างๆได้ มีพละกำลังและอำนาจมหาศาล กระทำในสิ่งที่ผู้อื่นทำไม่ได้ มีฤทธิ์อำนาจซึ่งไม่อาจบรรยายได้

                ๓.๓ อุปนิสัย  ในวรรณคดีสันสกฤตได้กล่าวถึงอุปนิสัยต่างๆ ของครุฑพอจะสรุปได้ดังนี้

                                                ๓.๓.๑  รักอิสรภาพ จากการที่ครุฑเห็นมารดาต้องตกเป็นทาสและถูกรังแกจากหมู่นาคทำให้เกิดความเสียใจและปวดร้าวอย่างลึกซึ้ง ประกอบกับความไม่พอใจที่มารดาต้องทนทุกข์ทรมาน จึงไม่อาจทนต่อสภาพนั้นได้ ต้องหาหนทางที่จะไถ่ถอนมารดาและตนเองให้เป็นไทแก่ตัว ดังนั้นภายหลังเมื่อทราบเงื่อนไขของนาค ครุฑจึงบางเกิดมีพลังผลักดันให้มุ่งมั่นทำงานอย่างถวายชีวิต เพราะมองเห็นอิสรภาพเป็นรางวัลที่มีค่ายิ่งใหญ่ที่สุด

                                                ๓.๓.๒ มีความเฉลียวฉลาดและปฏิภาณดีเยี่ยม  ครุฑใช้ความเฉลี่ยวฉลาดของตนในการต่อสู้เผด็จศึกจนได้ชัยชนะจากหมู่ทวยเทพ

                                                ๓.๓.๓ เป็นผู้มีอัธยาศัยดี  มีความเมตตากรุณา อ่อนน้อมต่อตนและมีน้ำใจเอื้ออารี

                                                ๓.๓.๔ เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ ด้วยความสื่อสัตย์ของตนนี้เองที่ทำให้ครุฑได้รับความพอใจจากพระวิษณุ ถึงกับให้พรครุฑตามที่ครุฑขอ ครุฑจึงกลายเป็นพาหนะของพระวิษณุ มีความเป็นอมตะ  โดยไม่ต้องดื่มน้ำอมฤต

                                                ๓.๓.๕ เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที  โดยเฉพาะต่อนางวินตา มารดาของตน

                                                ๓.๓.๖ เป็นผู้มีความอาฆาตพยาบาทรุนแรงมาก ความรู้สึกนี้รุนแรงมากจนทำให้ครุฑทำลายและกลายป็นศัตรูฉกรรจ์ของนาค

                ๔. ความเป็นอยู่ของครุฑ

                                 ที่อยู่ของครุฑ  ในมหากาพย์ภารตะ รามายาณะและปุราณะต่างๆ บางเล่ม กล่าวถึงที่อยู่ของครุฑ คือ ครุฑอาศัยอยู่ที่ยอดเขาหิมวัด เขาไวกัณถะ หิรัญมวรรษ ทำรังอยู่บนต้นตาลมลิ หรือต้นงิ้ว

                ๕. บทบาทและความสัมพันธ์ของครุฑ

                                ๕.๑ บทบาทและความสำคัญของครุฑกับมารดา ในวรรณคดีสันสกฤตได้เน้นบทบาทของครุฑในฐานะลูกได้เด่นชัดมาก และเป็นการแสดงให้เห็นว่า ครุฑเป็นผู้มีความกตัญญูเป็นที่น่าเอาแบบอย่าง

                                ๕.๒ ความสัมพันธ์ของครุฑกับพระนารายณ์หรือพระวิษณุ ที่มาของความสัมพันธ์ ระหว่างครุฑกับพระวิษณุนี้ มีขึ้นครั้งแรกปรากฏในรื่องราวในมหากาพย์ภารตะ ครุฑจึงเป็นผู้รับใช้ส่วนหนึ่งของพระวิษณุ

                                ๕.๓ ความสัมพันธ์ระว่างครุฑกับนาค  เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าความเป็นปรปักษ์ของครุฑกับนาคนั้นรุนแรงมาก วรรณคดีสันสกฤตจึงมักกล่าวถึงเรื่องระหว่างครุฑกับนาค เช่น  ในลิงคปุราณะตอนหนึ่งกล่าวถึงชลันธรอสูรได้อวดอ้างฤทธิ์อำนาจของตนว่า นาคทั้งหลายไม่อาจต่อต้านได้แม้กลิ่นของพญานกหรือครุฑ ฉันใด พรอิน์ พระอัคนิ พระยม ท้าวกุเวร พระวายุ พระอรุณและเทพเจ้าองค์อื่นๆ ก็ไม่มีใครสามารถต้านฤทธิ์เราได้ฉันนั้น

                                สาเหตุที่ทำให้ครุฑและนาคกลายเป็นศัตรูกันตามที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีสันสกฤตนั้นคงเนื่องมาจากสาเหตุที่พอสรุปได้ดังนี้ คือ

                                                ๑. เนื่องมาจากความอิจฉาริษยาและแก่งแย่งชิงดีกันเสมอระหว่างนางกัทรูและนางวินตา  ดังความสว่างกับความมืดโดยครุฑกับนางวินตาถูกเปรียบความสว่าง ในขณะที่นางกัทรูกับนาคเป็นความมืด

                                                ๒. เนื่องจากสภาพธรรมชาติส่วนตัวของเหล่านาคและนางกัทรูมารดาของนาคเองที่มีนิสัยอันโหดร้าย ใจบาป เจ้าเล่ห์ ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวในมหาภารตะที่กล่าวถึงการสาปแช่งหมู่นาคของนางกัทรู ให้ต้องถูกฆ่าตายอย่างทนทุกข์ทรมาน ด้วยพิธีผลาญงูของพระเจ้าชนเมชยะ

 

ครุฑในวรรณคดีบาลี

                เรื่องราวของครุฑในวรรณคดีบาลี มักจะมีเรื่องแทรกอยู่ในพระไตรปิฎกและชาดก ต่างๆ เป็นการตรัสเล่าของพระพุทธเจ้าเมื่อมีภิกษุบางรูปทูลถามเรื่องบางอย่าง ซึ่งเป็นเหตุการณ์หรือคำถามนั้นจะเปรียบเทียบได้เป็นนิทานที่ก่อให้เกิดกปัญญาขึ้น ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงนำเรื่องราวของครุฑมาตรัสเป็นอุทาหรณ์ประกอบพระพุทธโอวาทแก่ภิกษุอยู่เสมอ หรืออาจกล่าวได้ว่าชาดกที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของสัตว์นั้นเป็นสื่อกลางนำไปสู่ความเข้าใจ ในปรัชญาระดับสูง ในที่นี้จะกล่าวถึงเรื่องราวของครุฑที่ปรากฎในชาดกและพระไตรปิฎก ตามประเด็นต่อไปนี้

                ๑. กำเนิดครุฑ

                สาเหตุที่ทำให้เกิดครุฑ  ในวรรรคดีบาลี ถือกำเนิดขึ้นด้วยเหตุผลของอำนาจบุญเมื่อครั้งอดีตชาติตามคติพระพุทธศาสนา ดังที่ปรากฏในพระสุตตันปิฎกก สังตนิกาย สุปัณณสังยุตต์ ตอนหนึ่ง และชาตกัฏฐกถา ภาค ๑๐ มหานิบาต ตอนหนึ่ง โดยแสดงถึงตอนที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงเหตุผลและปัจจัยแห่งกำเนินครุฑนั้น ว่า บุคคลใดที่ปรารถนาจะเกิดเป็นครุฑประเภทใดย่อมต้องตั้งใจไว้ แล้วสร้างทานบารมีเมื่อสิ้นชีวิต บุคคลนั้นย่อมจะถือกำเนิดเป็นครุฑตามประเภทที่ตนตั้งความปรารถนาไว้  ในคติพุทธศาสนาได้จำแนกกำเนิดครุฑเป็น ๔ ประเภท ซึ่งในสี่ประเภทนี้ จัดว่าเป็นกำเนิดของสัตว์ดิรัจฉาน

 

 

๑.     ครุฑประเภทอัณฑชะ  ครุฑพวกที่กำเนิดจากฟองไข่

๒.    ครุฑประเภทชลาพูชะ  ครุฑพวกที่มีกำเนินในครรภ์หรือกำเนินแต่สัมภาวะแห่งบิดามารดาเป็นตัวตั้งแต่อยู่ครรภ์มารดา

๓.    ครุฑประเภทสังเสทชะ  ครุฑที่มีกำเนิดในเถ้าไคล หรือเกิดแต่เกสรดอกไม้ใบไม้

๔.    ครุฑประเภทโอปปาติกะ  ครุฑพวกที่กำเนิดขึ้นเอง ควรจะใหญ่เท่าใดก็จะใหญ่เท่านั้น ขณะเกิดขึ้นมา

คติทางพุทธศาสนาได้ย้ำว่า ครุฑทั้งหลายที่กำเนิดขึ้นด้วยอานิสงค์แห่งกุสลกรรมในอดีตชาติ

 

๒. การสืบเชื้อสายของครุฑ

เนื่องจากครุฑในวรรณคดีภาษาบาลี แบ่งเป็นกลุ่ม ในวรรณคดีบาลีปรากฏมีครุฑเป็นจำนวนมาก

ตามคติทางพระพุทธศาสนา จึงมีความแตกต่างจากครุฑในวรรณคดีสันสกฤต  ครุฑในวรรณคดีบาลี  เป็นเรื่องราวของครุฑหลายตัว ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มสัตว์จำพวกหนึ่ง ที่ถือกำเนิดมาจากนิรัจฉานโยนิ ดังนั้นการเรียกครุฑในวรรณคดีบาลีจึงหมายถึงสัตว์จำพวกหนึ่ง

                ๓. ลักษณะของครุฑ

                                ๓.๑ ขนาดรูปร่าง  มีลักษณะรูปร่างแบบนกทั่วไป คือ มีขน ปีก หาง จงอยปากและกรงเล็บแต่มีขนาดรูปร่างใหญ่โต ปีกแข็งแรงขนาดใหญ่และขนปีกหนาทึบมีผิวพรรณงดงามและมีสายตาดีเลิศสามารถมองเห็นได้ไกล พญาครุฑมีรูปร่างใหญ่กว่าครุฑทั้งหลาย คือ มีขนาดประมาณ ๑๕๐ โยชน์ หางยาง ๖๐ โยชน์  ส่วนคอยาว ๓๐ โยชน์ ศราะยาว ๙ โยชน์ เท้าทั้งสองข้างยาว ๑๒ โยชน์  จึงเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นนกที่ใหญ่ที่สุด

                                ๓.๒  อานุภาพหรือคุณสมบัติพิเศษ  เป็นผู้มีรูปร่างแข็งแรง มีอานุภาพมหาศาลสามารถกระพือปีกบันดาลให้เกิดเป็นพายุใหญ่

                ๔. อุปนิสัย

                อุปนิสัย ส่วนใหญ่ครุฑในวรรณคดีบาลีจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีคุณธรรมและมีสุภาพอ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ มีความเคารพต่อเพศบรรชิต

                ๕. ที่อยู่อาศัย

                ครุฑมีที่อยู่อาศัยที่เชิงเขาสิเนรุราชโดยอาศัยอยู่บนต้นฉิมพลี (งิ้ว) ริมมหาสมุทรและต้นฉิมพลี    รุกขพิมาน ซึ่งเป็นที่ที่ครุฑส่วนใหญ่นิยมไปอยู่เป็นจำนวนมาก  แม้ว่าจะมีสถานที่อื่นที่แตกต่างกันไปเพราะครุฑมีเป็นจำนวนมาก            

ลักษณะของครุฑตามคติความเชื่อของคนไทย

                ครุฑในคติความเชื่อของคนไทย ครุฑ คือ พญานก เป็นสัตว์หิมพานต์ มีรูปลักษณะผสมผสานระหว่างมนุษย์กับนก คือ ตัวและแขนขาเป็นอย่างคน ส่นศีรษะ จงอยปาก ปีก และเล็บเป็นอย่างนกอินทรี โดยมีหน้าสรขาว ปีกแดง และกายสีทอง บางคัมภีร์ เช่น ศิลปะรัตน์ อธิบายลักษณะ ต่างออกไปอีกบางประการ กล่าวคือ มีสีเหลือง อย่างสีทอง ตั้งแต่เท้าถึงเข่า สีขาวจากเข้าถึงสะดือ สีเลือดหมูจากสะดือถึงคอ สีดำจากคอถึงหัว สีตาเหลือง จงอยปากสีนำเงิน

                ครุฑ มีร่างใหญ่โตถึง ๑๕๐ โยชน์ ปีกซ้ายขวายาว ๑๕๐ โยชน์ หาง ๖๐ โยชน์ คอยาว ๓๐ โยชน์ ปากยาว ๙ โยชน์ ตีนหลังทั้งสองข้างยาว ๑๒ โยชน์ เมื่อกางปีกในอากาศจะยาวถึง ๗๐ โยชน์ เวลาเหยียดปีกเต็มที่จะได้ถึง ๘๐๐ โยชน์

 

บทบาทของครุฑในวรรณคดีไทย

          จาการศึกษาเรื่องของครุฑที่ปรากฏในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ๔ เรื่อง คือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ฉบับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  กากีคำกลอนของพระยาพระคลัง(หน)  โคบุตรของสุนทรภู่ สรุปบทบาทของครุฑ ได้ดังนี้

๑.     บทบาทของครุฑในการช่วยเหลือตัวละครฝ่ายดี

ครุฑเป็นตัวละครประเภทอมนุษย์มักปรากฏขึ้นมาเพื่อช่วยตัวละครฝ่ายดีให้รอดพ้นจากอันตราย

ดังปรากฏในวรรณคดีเรื่อง  บทละครเรื่องรามเกียรติ์  และเรื่อง  บทละครเรื่อง อุณรุท  ดังต่อไปนี้

ในบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ มีครุฑที่มีบทบาท ๓ ตัว คือ สัมพาที สดายุและอีกตัวไม่ทราบชื่อแต่

เรียกว่าพระญาครุฑ ซึ่งมีบทบาทสำคัญดังนี้

๑. ช่วยเหลือทหารของพระรามคือ องคต หนุมานและชมพูภาน โดยการบินพาไปยังกรุงลงกา

                                ๒. เข้าขวางทศกัณฐ์และเร่งให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดา

                                ๓. สู้กับทศกัณฐ์จนทศกัณฐ์ใกล้จะเสียที สดายุเผลอตนเยาะเย้ยทศกัณฐ์ ว่าตนไม่กลัวใครนอกจากพระผู้เป็นเจ้าและแหวนที่สวมนิ้วก้อยนางสีดาเป็นแหวนพระอิศวรเท่านั้น  พอทศกัณฐ์ได้ฟังจึงแย่งถอดแหวนจากนิ้วนางสีดาและขว้างสดายุทันที แหวนนั้นจึงสำแดงทฤธิ์ 

                                                รัศมีโชติช่วงทั้งอากาศ                       ต้องสดายุราชดั่งใจหมาย

                                เพียงคมจักรแก้วแพรวพราย                             ทำลายชีวิตสกุณี

 

                                                เมื่อนั้น                                                  พระยาสดายุราชปักษี

                                ครั้นต้องแหวนแก้วพระศุลี                               เจ็บทั่วอินทรีย์โลมา

สองปีกหักสลักอก                                               ตกลงมาจากเวหา

ปากคาบธำรงค์อลงการ์                                      เอาใจไว้ท่าประจักรี

แม้ว่าสดายุจะบาดเจ็บสาหัสแต่ก็อุตส่าห์คาบแหวนไว้และเมื่อพบกับพระราจึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังและสิ้นชีวิต

๔. ช่วยพระรามรบกับอินทรชิต คราวเมื่ออินทรชิตไปทำพิธีชุบศรนาคบาศโดยการบังคับให้นาคมาคลายพิษใส่ถึงแม้จะถูกทำลายพิธีแต่เมื่ออินทรชิตแผลงศรนาคบาศไปก็ทำให้วานรและพระลักษณ์บาดเจ็บและถูกนาครัดไว้ พิเพกจึงทูลให้พระรามแผลงศรพลายวาต

                                บัดนั้น                                   ฝ่ายพระยาสุบรรณปักษี

เห็นศรสำแดงทฤธี                                              สกุณีก็แจ้งกิจจา

ว่างองสมเด็จพระอวตาร                                    มีพระโองการให้หา

ออกจากวิมานรัตนา                                            บินมาด้วยกำลังฤทธิรุทร

ครั้นใกล้สมรภูมิชัย                             แลไปเห็นนาคยักษา

รวมรัดมัดองค์พระอนุชา                                   กับหมู่โยธาวานร

จึงสำแดงเดชากล้าหาญ                                     ด้วยกำลังชำนาญชาญสมร

ถามถาราลงยังดินดอน                                       กางกรเข้าจิกนาคี

                                เมื่อนาคหนีไปหมดแล้วทั้งไพร่พลและพระลักษมณ์ฟื้นคืนสติทั้งหมด

ในบทละครเรื่อง อุณรุท  ครุฑมีบทบาทในการช่วยพระอุณรุทให้รอดพ้นความตาย ในเรื่องอุณรุทครุฑนั้นไม่ถูกกับนาค เมื่อเห็นนาคจะต้องจับกินเป็นอาหาร เช่นเมื่อพญาครุฑเห็นท้าวกำพลนาครัด        พระอุณรุทอยู่ ครุฑจึงตรงเข้าจะจับนาคกิน ดังคำกลอนที่ว่า 

                                เห็นมนุษย์ขี่ครุฑบินมา                      จิกจับนาคาในเวหน

                ๒. บทบาทในการเป็นพาหนะของพระจักรกฤษ

                ในเรื่องอุณรุท ครุฑมีบทบาทเป็นพาหนะทรงของพระจักรกฤษ คือ พญาครุฑ ตอนที่พระะจักรกฤษซึ่งเป็นพระนารายณ์อวตารลงมา  ดังคำกลอนที่ว่า

ครุฑเอยครุฑทรง เทียบพงศ์ทั่วภพไม่มีสอง

                                คู่นารายณ์เคยณรงค์รณคะนอง                         เผ่นทะยานผ่านผยองโพยมบน

                และเมื่อพระจักรกฤษณ์จะเสด็จไปบำเพ็ญพรตที่ป่าหิมพานต์ พญาครุฑก็เป็นพาหนะทรง

                                                                เมื่อนั้น                                  ฝ่ายพระยาสุบรรณราชปักษี

สถิตยังวิมานฉิมพลี                            เป็นที่แสนสุขภิรมยา

แจ้งด้วยโสตทิพศักดาเดช                  ว่าพระวงศ์เทเวศถวิลหา

ก็ออกจากวิมาลรัตนา                          รีบร่อนเร็วมาดังลมพาน

          ๓. บทบาทเป็นตัวละครฝ่ายร้าย

ในเรื่องกากีคำกลอน  ครุฑมีบทบาทเป็นตัวละครฝ่ายร้ายคือ  ครุฑแปลงกายเป็นมานพหนุ่มมาเล่นสกากับพระเจ้าพรมทัตและได้ลักพาตัวนางกากีไปเป็นภรรยาของตน ซึ่งเป็นการแสดงบทบาทฝ่ายร้ายของครุฑ

๔. บทบาทของครุฑเป็นเรื่องราวสอนพระโคบุตร

ในเรื่องโคบุตร  ครุฑถูกใช้เป็นเรื่องราวที่เล่าเพื่อสอนพระโคบุตรตอนที่ พระโคบุตรกริ้วนางอำพัน ทำเสน่ห์ใส่ตน ถึงกับจะจับนางและญาติวงศ์ของนางประหารชีวิต  ยักษ์ที่เป็นข้าช่วงใช้จึงทูลทัดทานไว้โดยยกเป็นนิทานขึ้นมาเปรียบเทียบกับเรื่องราวของพระโคบุตร ซึ่งทำให้พระโคบุตรได้สติไม่ประหารนางอำพัน ดังคำกลอนที่ว่า

                                ขอพระองค์ทรงพระอนุกูล                               จะกราบทูลตามนิทานบูราณมา

                ว่ายังมีวาสุกรีหนึ่งกำแหง                                                  ไม่เกรงแรงครุฑราชปักษา

                ให้พวกนาคปากอมก้อนศิลา                                             ขึ้นลอยเล่นยมนาชโลธร  

                สุบรรณโลภโฉบฉวยข้างเศียรนาค                                  เล็กกระชากปากขยิกจิกเอาหงอน

                จะพาบินหินถ่วงลงสาคร                                                  ก็ม้วยมรณ์ชีวาด้วยนาคิน

                ครั้นนานมาชีเปลือยมันกล่าวแจ้ง                                    ภูชงค์แรงเพราะโอษฐ์นั้นอมหิน

                ครุฑประจักษ์หัทยาในนาคิน                                            ครั้นจะกินบินฉวยหางภุชงค์

                สำรอกหินสิ้นแรงเจ้ากรุงนาค                                          ครุฑกระชากฉวยได้ดังประสงค์

                บรรดาฝูงนาคราชพระญาติวงศ์                                       เห็นภุชงค์ฤทธิ์หย่อนเหมือนก่อนมา

 

 

 

 

 

สรุปผลการศึกษา

               

หมายเลขบันทึก: 422092เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2011 14:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 00:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท