สหบทตอนที่1


สหบท

บทที่ ๒ 

 

การวิเคราะห์ลักษณะการสร้างสหบท

           

การศึกษาลักษณะการสร้างสหบท ในนวนิยายเรื่อง กรูกันออกมา  ของปริทรรศ หุตางกูรเป็นวรรณกรรมร่วมสมัยของไทยที่มีพัฒนาการสู่ลักษณะความเป็นวรรณกรรมแนวหลังสมัยใหม่ กล่าวคือ มีการใช้กลวิธีการเล่าเรื่องแบบงานเขียนหลังสมัยใหม่ ในลักษณะการสร้างความเป็นสหบท (Intertextuality) สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทต่างๆที่ปริทรรศ  หุตางกูร ได้สัมผัสมากับการแต่งนวนิยาย เรื่อง กรูกันออกมา  สอดคล้องกับเสาวณิต  จุลวงศ์ (๒๕๕๐) กล่าวไว้ว่า  วรรณกรรมมิได้มีความเป็นเอกเทศหรือเอกภาวะ หากแต่มีความเชื่อมโยงกับสิ่งที่มีมาก่อนหน้าอย่างปฏิเสธไม่ได้

 

ในบทนี้  ผู้วิจัยได้ศึกษานวนิยายเรื่อง กรูกันออกมา  ของ ปริทรรศ  หุตางกูร ในลักษณะการสร้างความเป็นสหบท โดยแบ่งประเด็นการศึกษา ๒ ประเด็น คือ  ลักษณะการสร้างความเป็นสหบทจากการกล่าวถึงตัวบทอื่น  กับ การสร้างความเป็นสหบทจากการใช้ชุดสัญญะทางวัฒนธรรม

 

๒.๑  ลักษณะการสร้างความเป็นสหบทจากการกล่าวถึงตัวบทอื่น

 

สหบท (intertextuality) หมายถึง การพิจารณางานประพันธ์เป็นตัวบท (text) ที่ประกอบสร้างขึ้นจากตัวบทอื่นๆหรือรหัสทางวัฒนธรรมต่างๆที่ปรากฏก่อนแล้วในวรรณกรรม ในงานศิลปะแขนงต่างๆ  และในบริบทสังคมวัฒนธรรม การประกอบสร้างความหมายของตัวบทใหม่ขึ้นอยู่กับการตีความหรือการอ่านโดยเชื่อมโยงรหัสทางวัฒนธรรมเข้าด้วยกันของผู้อ่าน

 

ลักษณะความเป็นสหบทจากการกล่าวถึงตัวบทอื่น คือ   การนำตัวบท(text) อื่นที่ปรากฏก่อนแล้วในบริบททางสังคมของผู้แต่ง เช่น ตัวบทวรรณกรรม     ตัวบทภาพยนตร์   ตัวบทงานศิลปะ  ตัวบทเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์  ตัวบทคำกล่าวของบุคคล  และตัวบทเพลง มากล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ในงานเขียน

 

๒.๑.๑  ลักษณะความเป็นสหบทจากตัวบทที่ปรากฏในวรรณกรรม

 

ลักษณะความเป็นสหบทจากตัวบทที่ปรากฏในวรรณกรรม คือ ตัวบท(text) ที่ผู้แต่งนำมาจากวรรณกรรมที่สร้างขึ้นก่อนหน้ามากล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่งในงานเขียนใหม่ (fiction)

ในนวนิยายเรื่อง  กรูกันออกมา  ปริทรรศ  หุตางกูร ใช้ลักษณะความเป็นสหบทจากที่ตัวบทปรากฏในวรรณกรรมก่อนเพื่อสร้างหรือบอกบุคลิกลักษณะนิสัยของตัวละคร

 

          ลักษณะความเป็นสหบทในลักษณะนี้  ปริทรรศ ใช้เพื่อการสร้างบุคลิคลักษณะของตัวละครจนกลายเป็นอัตลักษณ์ของตัวละคร คือ หม่อมเจ้ากุสุมา  ระดวงเดือน (หม่อมแม่) และหม่อมกู้แก้ว ระดวงเดือน (หม่อมกู้) เจ้าของบริษัทกู้แก้วพิกเจอร์ โดยใช้ตัวบทวรรณกรรม  คือตัวชี้วัดการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสำนักงานการประเมินและรับรองคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นเกณฑ์การให้คะแนนของผู้เข้าแข่งขันการประกวดพล็อตเรื่องภาพยนตร์ ในโครงการ “เดอะไพเร็ตอะวอร์ดส์”  ของบริษัทกู้แก้วพิกเจอร์

 

 “นี่เป็นใบกรอกคะแนนโดยประเมินตามช่องพวกนี้”   หม่อมแม่กล่าว

                                ดร.พิศเมรีดูใบกรอกคะแนน   เธอมึนสุดขีดเมื่อพบรายละเอียดบ้าเลือด

ว่าด้วยส่วนที่ ๑   คือ   เป้าหมาย   วิสัยทัศน์   พันธกิจ   ที่ต้องกรอกเป็นตัวหนังสือ 

 และส่วนที่ ๒   ความเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่แยกย่อยเป็นเรื่องการสร้าง

ภูมิปัญญาแก่สังคม   การพัฒนาคุณธรรม   การสร้างสรรค์   ขีดความสามารถ

ในการแข่งขัน   และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม   ที่ต้องทำเครื่องหมายตามช่อง

(กรูกันออกมา  หน้า  ๑๘)

 

ตัวอย่าง รูปแบบการให้คะแนนของคณะกรรมตัดสินการประกวดพล็อตบทภาพยนตร์ โครงการ

              เดอะไพเร็ตอะวอร์ดส์

 

ความเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ต่าง ๆ

 

หม่อมแม่

ดีมาก

ดี

พอใช้

ไม่มี

การสร้างภูมิปัญญา

 

 

 

การพัฒนาคุณธรรม

 

 

 

การสร้างสรรค์

 

 

 

ขีดการแข่งขัน

 

 

 

การทำนุศิลปวัฒนธรรม

 

 

 

สร้างความล่อแหลม

 

 

 

 

 

 

 

หม่อมกู้

ดีมาก

ดี

พอใช้

ไม่มี

การสร้างภูมิปัญญา

 

 

 

การพัฒนาคุณธรรม

 

 

 

การสร้างสรรค์

 

 

 

ขีดการแข่งขัน

 

 

 

การทำนุศิลปวัฒนธรรม

 

 

 

สร้างความล่อแหลม

 

 

 

 

ดร.พิศเมรี

ดีมาก

ดี

พอใช้

ไม่มี

การสร้างภูมิปัญญา

 

 

 

การพัฒนาคุณธรรม

 

 

 

การสร้างสรรค์

 

 

 

ขีดการแข่งขัน

 

 

 

การทำนุศิลปวัฒนธรรม

 

 

 

สร้างความล่อแหลม

 

 

 

 

(กรูกันออกมา  หน้า  ๒๐ - ๒๑)

 

            จากตัวบทข้างต้น  ปริทรรศ  ใช้ตัวบทวรรณกรรม คือ ตัวชี้วัดการประเมินคุณภาพการศึกษาของสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพื่อสร้างบุคลิกลักษณะนิสัยของหม่อมเจ้ากุสุมา  ระดวงเดือน(หม่อมแม่) ผู้เป็นเจ้าของโครงการการประกวดพล็อตบทภาพยนตร์ที่มีแนวคิดล้ำยุคสมัย  เป็นบุคคลที่มีแนวคิดเก่า (หัวเก่า) เพราะในรายการการประเมินโครงร่างบทภาพยนตร์ของหม่อมแม่ แสดงให้เห็นความต้องโครงร่างบทภาพยนตร์ที่ดีนั้นต้องสร้างภูมิปัญญา พัฒนาคุณธรรม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยใช้ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นรายการการประเมินและการประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินภายใต้แนวคิดที่ว่าวรรณกรรมหรือภาพยนตร์ต้องสร้างสรรค์สังคม ทำหน้าที่สั่งสอน อบรมคุณธรรมให้กับเยาวชนในสังคม จึงกล่าวได้ว่าตัวละครหม่อมแม่ ใช้เกณฑ์การประเมินดังกล่าว ปริทรรศต้องการแสดงให้เห็นกรอบแนวคิดของหม่อมแม่ เป็นคลที่มีแนวคิดกลุ่มขั้วเก่า

            นอกจากนี้การให้คะแนนโครงเรื่องบทภาพยนตร์เรื่องซือนามิมันนี่ ของพิมพ์โรจน์  ของกรรมการแต่ละคนให้คะแนนที่แตกต่างกันมาก แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างขั้วแนวคิดเก่า กับ ใหม่ ได้อย่างชัดเจน  กล่าวคือ  หม่อมเจ้ากุสุมา  ระดวงเดือน ให้คะแนนเรื่อง  การสร้างภูมิปัญญาแก่สังคม   การพัฒนาคุณธรรม   การสร้างสรรค์   และขีดความสามารถการแข่งขัน ในระดับ ไม่มี แต่ให้คะแนนสร้างความล่อแหลมในระดับ ดีมาก แสดงให้เห็นว่าเป็นขั้วแนวคิดเก่าที่ยึดติดกับกรอบแนวคิดที่ว่าวรรณกรรมหรือภาพยนตร์ต้องสร้างสรรค์สังคมหรือต้องอบรมสั่งสอน ให้ข้อคิดเตือนใจกับผู้อ่านหรือผู้ชมได้  ส่วน ดร.พิศเมรี นั้นให้คะแนนการสร้างภูมิปัญญาแก่สังคม   การพัฒนาคุณธรรม   การสร้างสรรค์   ขีดความสามารถในการแข่งขัน ในระดับ ดีมากและให้คะแนนสร้างความล่อแหลมในระดับ ไม่มี แสดงให้เห็นว่าเป็นบุคคลที่มีแนวคิดใหม่หรือกลุ่มขั้วใหม่ และในการให้คะแนนของหม่อมกู้แสดงให้เห็นลักษณะของบุคคลที่อยู่ระหว่างกลางของขั้วแนวคิดเก่ากับใหม่แต่มีแนวโน้มเอียงไปทางขั้วแนวคิดเก่า

 

ลักษณะความเป็นสหบทจากตัวบทที่ปรากฏในวรรณกรรม ปริทรรศ ใช้ตัวบทในลักษณะนี้ในการบอกลักษณะนิสัยของตัวละครหม่อมกู้ ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้เรื่องวรรณกรรมไทยและสำนวนไทย เพราะหม่อมกู้พูดสำนวนไทยและคำประพันธ์ได้และสามารถนำมากล่าวได้เหมาะสมกับเหตุการณ์  ย่อมเป็นบุคคลที่มีความรู้เรื่องของไทยเป็นอย่างดีและยังสามารถตีความได้ว่าผู้พูดสำนวน ดินพอกหางหมู ต้องเป็นคนมีอายุวัยผู้ใหญ่เพราะเป็นช่วงวัยที่นิยมพูดสำนวนไทยมากกว่าช่วงอายุอื่นๆดังนั้น การที่ปริทรรศ ใช้สำนวนไทยจึงช่วยบอกให้ผู้อ่านเข้าใจถึงบุคลิกลักษณะนิสัยของตัวละครอย่างหม่อมกู้ ว่าอายุอยู่มนช่วงวัยผู้ใหญ่และมีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ไทยและวรรณกรรมไทยเป็นอย่างดี

 

สำหรับเรื่องนี้ผมยังมองเห็นสิ่งที่ดี ๆ อยู่นะหม่อมแม่  เขาพูดถึงอะไรก็ตาม 

ถ้ามันได้โอกาสเพาะเชื้อให้เจริญเติบโตขึ้น  นั่นแหละคืออันตรายใหญ่หลวง   

เหมือนดินพอกหางหมู

(กรูกันออกมา  หน้า  ๔๑)

 

“เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง        นกบินเฉียงไปทั้งหมู่

ตัวเดียวมาพลัดคู่                                  เหมือนพี่อยู่เพียงเอกา

ร่ำร่ำใจรอนรอน                                     อกสะท้อนอ่อนใจข้า

ดวงใจไยหนีหน้า                                    โถแก้วตามาหมางเมิน

                                                                                                                                (กรูกันออกมา  หน้า ๑๑๒)

 

                จากตัวบทข้างต้น ปริทรรศ ใช้ตัวบทเป็นบทกวีนิพนธ์  เรื่องกาพย์เห่เรือ ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร เพื่อเน้นย้ำให้เห็นถึงลักษณะนิสัยของหม่อมกู้ ที่มีความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์และวรรณกรรมไทย

 

การใช้ความเป็นสหบทที่ปรากฏในวรรณกรรมเพื่อแสดงลักษณะนิสัยของตัวละครอีก คือ พิมพ์โรจน์  ผู้เข้ารอบสุดท้ายการประกวดโครงเรื่องบทภาพยนตร์ของบริษัทกู้แก้วพิกเจอร์

 

 ในการประกวดโครงเรื่องบทภาพยนตร์ของกู้แก้วพิกเจอร์ เรื่องแรกที่ถูกเชิญมาให้นำเสนอเป็นคนแรกคือ เรื่องซือนามิมันนี่ ของ พิมพ์โรจน์ เพชรจันทร์ ก่อนการเริ่มการเล่าโครงเรื่องบทภาพยนตร์ ดร.พิศเมรี อ่านประวัติของพิมพ์โรจน์จากใบสมัครและมีการซักถามกันทัศนคติและประวัติส่วนตัว

 

“คุณพิมพ์โรจน์   เพชรจันทร์   ในใบสมัครบอกเรียนไม่จบศิลปกรรม

ประสานมิตร   เหตุผลที่แจงไว้เพราะต้องการตามหาอาละดิน   ฮ่ะฮ่ะ ๆ ๆ ๆ

ขอโทษที่หัวเราะ   เหตุผลคุณพร่ำเพ้อดี   นี่หมายความว่าอะไรค่ะ”

                                พิมพ์โรจน์อายุราว ๆ ๒๔   เธอดูตื่นเต้น   ยิ้มประหม่าตอบ

                “คือฉันอยากนั่งพรมไปกับอาละดินเที่ยวแคว้นแคชเมียร์   ฉันว่าเปเปอร์มาเช่ที่นั้น

สวยที่สุด   พวกเขาเขียนลวดลายประดับดอกไม้ด้วยเส้นขนเล็ก ๆ ที่ดึงจากแขน

ของตัวเอง   ฉันอยากเรียนกับเขา   และอยากรู้ว่าถ้าเป็นขนหน้าแข้ง   เส้นผม  

หรือขนอื่น ๆ   ลายเส้นจะเป็นยังไง”

(กรูกันออกมา  หน้า  ๕)

 

            ปริทรรศ ได้ใช้ตัวบทที่เป็นนิทานเรื่องอาละดินโดยให้พิมพ์โรจน์ฝันอยากนั่งพรมของอาละดิน ทำให้เห็นบุคลิกลักษณะนิสัยของพิมพ์โรจน์ว่าเธอเป็นคนช่างฝัน มีจินตนาการสูง ถึงขั้นกับรู้สึกได้ว่าเธอเป็นคนช่างเพ้อฝัน แต่การใช้นิทานเรื่องอาลาดินเป็นความฝันของพิมพ์โรจน์มาเสนอใหม่ในเรื่องนี้ ช่วยสร้างให้เห็นแนวการสร้างหนังตามโครงการเดอะไพเร็ตอะวอร์ดส์ที่ต้องเป็นแนวคิดล้ำยุคล้ำสมัย มากที่สุด

                                       

            จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นสรุปได้ว่า ลักษณะความเป็นสหบทจากตัวบทที่ปรากฏในวรรณกรรม  ปริทรรศ ใช้เพื่อสร้างบุคลิกลักษณะนิสัยของงตัวละคร ทั้งการใช้ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพการศึกษาของสมศ.และการให้คะแนนของกรรมการทั้งสามคน  แสดงให้เห็นลักษณะนิสัยของหม่อมแม่เป็นตัวละครที่มีแนวคิดยุคเก่า ส่วน ดร.พิศเมรีเป็นตัวละครที่มีแนวคิดยุคใหม่ นอกจากนี้ยังมีการนำตัวบทที่เป็นนิทานเรื่อง อาละดินมานำเสนอเพื่อแสดงบุคลิกลักษณะของพิมพ์โรจน์ว่าเธอเป็นตัวละครที่มีแนวคิดล้ำยุคสมัย

 

 

ลักษณะความเป็นสหบทจากตัวบทที่ปรากฏในวรรณกรรมนอกจากปริทรรศ หุตางกูร ใช้เพื่อสร้างบุคลิกลักษณะให้กับตัวละครดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีการใช้ตัวบทจากวรรณกรรมเพื่อช่วยในการดำเนินเรื่อง เช่น  เพื่อแสดงแนวคิดของหม่อมเจ้ากุสุมา  ระดวงเดือน ที่ผู้แต่งเลือกที่จะใช้ตัวบทเป็นพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ ๕) มากล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

 

ในวันประกาศผลรางวัลเดอะไพเร็ตอะวอร์ดส์ ก่อนที่หม่อมแม่จะเดินทางไปยังโรงแรมที่จัดงานประการผลรางวัล หม่อมแม่ได้อ่านกระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า

 

๖.๓๐ น.   วันที่  ๘ สิงหาคม  ๒๕๕๓  ณ  วังของหม่อมแม่

“..........บัดนี้เราเห็นว่าเป็นเวลาอันสมควรแล้ว  แลพร้อมด้วย

ความเห็นชอบแห่งผู้ซึ่งเป็นที่ปรึกษาราชการทั้งหลายของเรา   จึงได้กำหนด

เวลาที่จะออกจากพระราชอาณาจักรของเราไปในเร็ว ๆ นี้

“ก็การที่เราจะไปในครั้งนี้เป็นระยะทางไกลและเป็นนานเวลา 

 จึงเป็นการจำเป็นที่จะต้องคิดจัดการป้องกันรักษาพระราชอาณาจักรนี้  

ไม่แต่มิให้มีเหตุอันตรายเสื่อมทรามเท่านั้น   จะต้องจัดการให้ราชการทั้งปวง

ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ   การเปลี่ยนแปลงอันใดที่เราได้จัดแล้วหรือได้เริ่ม

ขึ้นใหม่ให้ดำเนินไปโดยดีตามความมุ่งหมาย   เพื่อให้เป็นที่มั่นคงใน

การปกครองรักษาและระวังกิจสุขทุกข์ของราษฎรทั้งปวงให้ปกติเวลาเราอยู่..........

(กรูกันออกมา   หน้า   ๑๗๓)

 

            จากตัวบทพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๕ แสดงให้เห็นแนวคิดของหม่อมแม่ว่าต้องรักษาเอกลักษณ์และเสริมสร้างความเข้มแข็งของบริษัทกู้แก้วพิกเจอร์ ให้คงอยู่ต่อไป ดังนั้นการอ่านพระราชดำรัสดังกล่าวจึงเป็นเสมือนตัวแทนแนวคิดของหม่อมแม่ที่ยังคงต้องการรักษาแนวความคิดที่จะสร้างภาพยนตร์เพื่อสร้างสรรค์สังคมต่อไป โดยเฉพาะช่วงที่ว่า “การเปลี่ยนแปลงอันใดที่เราได้จัดการแล้วหรือได้เริ่มขึ้นใหม่ให้ดำเนินไปโดยดีตามความมุ่งหมาย เพื่อสร้างความมั่นคงในการปกครองรักษา...”  แสดงให้เห็นถึงแนวคิดของหม่อมแม่อย่างชัดเรื่องความต้องการักษาชื่อเสียงของบริษัทต่อไปและช่วยให้การดำเนินเรื่องชัดเจน

 

            ในตัวบทประเภทลักษณะความเป็นสหบทจากตัวบทที่ปรากฏในวรรณกรรมที่ ปริทรรศ นำมาใช้เพื่อการดำเนินเรื่องอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ การกล่าวเพื่อให้กำลังใจในความรักของหม่อมกู้กับนางอรุณโดยตัวละครที่ออกมาปรากฏจริงจากเรื่องเล่าของวานพ ชื่อ เรืองรัตน์ ว่า

 

                                “ความรักเหมือนโรคา บันดาตาให้มืดมน  ไม่ยินและไม่ยล อุปสัคคะใดๆ “

 

                                                                                                                                (กรูกันออกมา หน้า ๑๘๙)

 

            ตัวบทดังกล่าวข้างต้นนั้น ปริทรรศ นำมาจากวรรคดีเรื่อง มัทนะพาทา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ ๖)  คือคำพูดของนางมัทนาทที่พูดโต้ตอบจอมเทพสุเทษ ซึ่งตามตัวบทเดิมนางมัทนากล่าวเพื่อต้องการบอกถึงโทษของความรักของจอมเทพสุเทษต่อนาง แต่ปริทรรศใช้ตัวบทนี้เพื่อให้กำลังใจในความรักของหม่อมกู้กับนางอรุณ ช่วยให้การดำเนินเรื่องไปสู่ความคลี่คลายความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละครอย่างหม่อมกู้ได้บริบูรณ์

           

๒.๑.๒  ลักษณะความเป็นสหบทจากตัวบทที่ปรากฏในภาพยนตร์

 

ลักษณะความเป็นสหบทจากตัวบทที่ปรากฏในภาพยนตร์ คือ ตัวบทที่ผู้แต่งนำมาจากตัวบทที่ปรากฏก่อนแล้วในภาพยนตร์ ทั้งจากชื่อเรื่อง ตัวละคร และฉาก

 

ในนวนิยายเรื่อง กรูกันออกมา ปริทรรศ หุตางกูร นำตัวบทในลักษณะดังกล่าวมาใช้เพื่อบอกลักษณะนิสัยของตัวละคร

 

          การประกวดพล็อตบทภาพยนตร์ ในโครงการ “เดอะไพเร็ตอะวอร์ดส์” ของบริษัทกู้แก้วพิกเจอร์ โดยมีหม่อมแม่(หม่อมเจ้ากุสุมา  ระดวงเดือน)และ หม่อมกู้(หม่อมกู้แก้ว  ระดวงเดือน) เป็นเจ้าของบริษัท  มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการค้นหาผู้ที่มีแนวคิดที่ล้ำยุค  หม่อมกู้จึงต้องหากรรมการที่มีแนวคิดล้ำยุคเช่นกันมาร่วมเป็นกรรมการตัดสินรางวัลไพเร็ตอะวอร์ดส์  เขาจึงตัดสินใจ เลือก ดร. พิศเมรี  เพ็ญพยัคฆ์ มาร่วมเป็นกรรมการตัดสินในครั้งนี้

 

หม่อมตัดสินใจเลือก ดร. พิศเมรีมาร่วมงาน   เธอเป็นนักวิชาการ

และนักออกแบบที่ถวิลแนวคิดซาดิสต์ – ไซไฟ   เขาลือกันอย่างนั้นจริง ๆ  

รวมทั้งที่เคยมีประสบการณ์ร่วมทีมภาพยนตร์แอนิเมชั่น “เดอะไฟนอลแฟนตาซี”

ทั้งสองภาค   กับประสบการณ์สร้างสรรค์เกมประเภททำลายล้างยอดฮิต  

“เดอะคิงออฟคิลเลอร์”   ก่อนจะมาถึง “เดอะควีนออฟคิลเลอร์”  

(กรูกันออกมา  หน้า  ๓)

 

            จากตัวบทข้างต้น ปริทรรศ ใช้ตัวบทที่เป็นชื่อบทภาพยนตร์แอนนิเมชั่น ชื่อดัง คือ“เดอะไฟนอลแฟนตาซี”  และชื่อเกมชื่อดัง คือ “เดอะคิงออฟคิลเลอร์ มากล่าวซ้ำเพื่อ แสดงให้ผู้อ่านได้รับรู้ลักษณะนิสัยของ ดร. พิศเมรี  เพ็ญพยัคฆ์  ว่าเธอมีความสามารถและแนวความคิดเป็นอย่างไร  จากชื่อภาพยนตร์และชื่อเกมดังกล่าวแสดงให้เห็นลักษณะนิสัยของ ดร. พิศเมรี ว่าเป็นผู้หญิงที่มีความสามารถทางด้านงานแอนนิเมชั่น เพราะภาพยนตร์เรื่องเดอะไฟนอลแฟนตาซีสร้างขึ้นจากแอนนิเมชั่นที่สวยงามทั้งเรื่อง  ส่วนเกม“เดอะคิงออฟคิลเลอร์”   เป็นเกมชื่อดังที่มีแนวคิดเน้นการทำลายล้างขั้นสูง สะท้อนให้เห็นลักษณะนิสัยอีกประการของ ดร. พิศเมรี ว่านอกจากเธอจะเป็นผู้หญิงเก่ง มั่นใจในตนเองสูงแล้ว เธอยังมีแนวคิดซาดิสต์  นิยมความรุนแรง

 

          นอกจากนี้ ปริทรรศ ยังแสดงให้เห็นบุคลิกลักษณะนิสัยของ ดร. พิศเมรีโดยใช้ตัวบทเป็นชื่อภาพยนตร์ Fahrenheit  9/11 ของไมค์มัวร์  อีกด้วย

 

การประกวดพล็อตภาพยนตร์ของโครงการ เดอะไพเรตอะวอร์ดส์ หลังจากที่ผู้เข้าแข่งขันเล่าเรื่องจบ จะเป็นการให้คะแนนและการถกเถียงกันของคณะกรรมการ เมื่อพิมพ์โรจน์ผู้เข้าแข่งขันคนแรกเล่าเรื่องจบจึงเป็นการให้คะแนนและถกเถียงกันของคณะกรรมการ คือ หม่อมแม่กับดร. พิศเมรี ซึ่งเป็นผู้ที่มีแนวคิดขัดแย้งกันอย่างรุนแรง  จึงมีข้อถกเถียงกันถึงคะแนนที่ดร.พิศเมรี ให้พิมพ์โรจน์ 

 

หม่อมแม่ คะแนนคุณ  ดร. พิศนี่  เดี๊ยนว่ามันเชียร์ออกนอกหน้านะ  มีเนื้อหาตรงไหน

บ้างตามที่คุณใส่คะแนนคือดีมาก  ช่องสร้างภูมิปัญญาสังคม  รวมทั้งคะแนนสร้างสรรค์

ที่ให้ระดับดีมาก

ดร.พิศเมรี :  พิศมีเหตุผลค่ะ  หม่อมแม่  คะแนนไม่ได้ให้ชุ่ยๆ  เรื่องซือนามิมันนี่

ของพิมพ์โรจน์มีบางอย่างที่คล้ายกับ  Fahrenheit  9/11 ของไมค์มัวร์  มันไม่จำเป็นต้อง

เน้นตัวพระเอกนางเอก  แต่มีการเลี้ยงประเด็นให้ขบคิดทางปัญญามากกว่า  พิศชอบ

ความคิดว่าเงินคืองูพิษที่ฉกกล้ามเนื้อของเมืองจนง่อยเปลี้ย  ซึ่งนั่นต้องอาศัยการ

สร้างสรรค์ชั้นเลิศ  บทหนังของพิมพ์โรจน์กำลังตั้งประเด็นให้สังคมได้ขบคิดว่า 

แท้จริงเงินอาจเป็นงูเห่าในอ้อมกอดชาวนา

(กรูกันออกมา  หน้า  ๒๑)

 

            การที่ผู้แต่งใช้ตัวบทที่เป็นชื่อภาพยนต์กับ  Fahrenheit  9/11 ของไมค์มัวร์  เพื่อเป็นการยกตัวอย่างอธิบายเหตุผลของตัวละครอย่างดร.พิศเมรี นั้น ปริทรรศใช้เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะนิสัยของดร. พิศเมรีและแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างเรื่องของพิมพ์โรจน์กับ Fahrenheit  9/11 ของไมค์มัวร์  ว่ามีลักษณะคล้ายกันจึงส่งผลให้เรื่องเล่าของพิมพ์โรจน์มีลักษณะความเป็นสากล อีกด้วย

 

          ลักษณะบุคลิกนิสัยของ ดร.พิศเมรีในการเป็นผู้หญิงที่เป็นนักต่อสู้ปริทรรศ ใช้ตัวบทที่เป็นชื่อภาพยนตร์และชื่อตัวละครนำเสนอลักษณะดังกล่าวของดร.พิศเมรี

 

จากการตัดสินเรื่องพล็อตเรื่องซือนามิมันนี่  ที่ดร.พิศเมรี กับหม่อมแม่มีการถกเถียงกันถึงความเหมาะสมของคะแนนที่ให้แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว หลังจากตัดสินจบดร.พิศเมรีจึงขึ้นไปสูบบุหรี่บนดาดฟ้าและคิดว่าตัวเองต้องเป็นนักต่อสู้และต้องต่อสู้กับความคิดเก่าๆของหม่อมแม่  ดังที่เธอกล่าวว่า

 

เธอคิดว่าหม่อมกู้ใจกว้างกว่าในแนวทางเนื้อหาที่แตกต่าง  เธออัดเฮือกสุดท้าย

ก่อนขยี้ด้วยปลายรองเท้าบู๊ตส้นสูงหัวแหลม  และคิดว่าคงต้องสวมวิญญาณเดอะไบรด์

ในภาพยนตร์เรื่อง  คิลบิล เพื่อฟาดฟันอย่างตรงไปตรงมา

(กรูกันออกมา  หน้า  ๒๕)

            ตัวบทข้างต้น ผู้แต่งใช้ตัวบทที่เป็นชื่อตัวละครและชื่อภาพยนตร์เพื่อแสดงให้เห็นการต่อสู้ความแตกต่างของขั้วแนวคิดเก่ากับใหม่ คือ การต่อสู่ของตัวละครอย่างดร.พิศเมรีซึ่งมีแนวคิดขั้วใหม่กับหม่อมแม่ซึ่งมีแนวคิดขั้วเก่า  ต้องเข้มข้นและต้องเอาชนะความคิดเก่าให้ได้

 

            จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นแสดงให้เห็นว่าปริทรรศใช้ลักษณะความเป็นสหบทจากตัวบทที่ปรากฏในภาพยนตร์เพื่อแสดงลักษณะนิสัยของตัวละคร จากการใช้ชื่อภาพยนตร์และชื่อตัวละครในภาพยนตร์

 

๒.๑.๓  ลักษณะความเป็นสหบทจากตัวบทที่ปรากฏในศิลปะ

 

 ลักษณะความเป็นสหบทจากตัวบทที่ปรากฏในศิลปะ  คือ ตัวบท(text) ที่เป็นชื่องานศิลปะ รวมถึงการนำรูปแบบของการนำเสนองานศิลปะมากล่าวซ้ำในงานเขียน(fiction )อีกครั้งหนึ่ง

 

ในนวนิยาย เรื่อง กรูกันออกมา  ปริทรรศ หุงตางกูรใช้สหบทในลักษณะนี้เพื่อสร้างฉากในเรื่องให้มีความชัดเจนและเพื่อสร้างความขัดแย้งของตัวละคร 

 

ปริทรรศ  ใช้สหบทลักษณะนี้เพื่อสร้างฉากให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในตอนที่หม่อมกู้พานางอรุณไปส่งที่โรงพยาบาล ขณะหม่อมกู้นั่งรออยู่หน้าห้องฉุกเฉินนั้น เห็นภาพความวุ่นวายของโรงพยาบาล ทั้งคนป่วย หมอ พยาบาล มีคนป่วยร่างกายเต็มไปด้วยเลือด วัยรุ่นถูกฟัน คนเป็นโรคไต โรคเอดส์  โรคมะเร็ง ขณะที่คิดไปนั้นราวกับว่าตนเองกำลังจะบรรลุธรรม แต่หม่อมกู้ก็ทนต่อสภาพเช่นนั้นไม่ไหว จึงเดินไปแผงหนังสือใกล้ๆ และเลือกหยิบนิตยสารหัวนอกชื่อ FHM มีรูปนางแบบกำลังโพสท่าในชุดบิกินี่อย่างเย้ายวน หม่อมกู้จึงซื้อและเดินถือกลับมาอ่านนั่งที่เดิมอย่างสบายใจ แต่อ่านได้ไม่นาน  ก็มีเสียง คนเจ็บ คนป่วยร้องไห้ไม่หยุด และอีกฟากหนึ่งของอาคารมีการก่อสร้างอาคารใหม่เสียงดังอึกทึก หม่อมกู้จึงอุทานออกมาว่า

 

                        “มันอะไรกันวะ  ที่นี่เหมือนนั่งอยู่ในฉากสงคราม  หรือในภาพเกอร์นิกา

ของปีกัสโซ”

(กรูกันออกมา  หน้า  ๖๖)

 

 

 

 

 

 

 

                        รูปที่ ๑ แสดงภาพผลงานของ Picasso ชื่อภาพ เกอร์นิกา(Guernica)

ที่มา: สมเกียรติ ตั้งนโม. [ออนไลน์]. URL:http://www.smarttoday.com/board/home/      

         space.php?uid=21&do=blog&id=26 เข้าถึงเมื่อ วันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๔

 

            คำอุทานของหม่อมกู้  ปริทรรศ ได้ใช้ตัวบทเป็นชื่องานภาพเขียนอันโด่งดัง ชื่อว่า เกอร์นิกาของปีกัสโซ” มากล่าวเพื่อเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่าการตีความตัวบทนั้นขึ้นอยู่กับผู้อ่านมิได้ขึ้นอยู่กับที่ผู้เขียนเสนอเพียงผู้เดียวเพราะใน  ภาพเกอร์นิกาของปีกัสโซ” เราสามารถตีความได้ถึงความวุ่นวายของโรงพยาบาลกับความวุ่นวายของสงครามในภาพเป็นอย่างเดียวกันแต่ผู้อ่านจะเข้าใจได้ดีนั้นจำเป็นต้องเคยเห็นภาพดังกล่าวมาก่อน การใช้ตัวบทที่เป็นชื่อภาพวาดทางศิลปะมากล่าวนั้นช่วยให้ผู้อ่านตีความและจิตนาการฉากและบรรยากาศที่วุ่นวายของโรงพยาบาลวุ่นวายของโรงพยาบาลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

ปริทรรศ  หุตางกูร ใช้ลักษณะสหบทที่เป็นการกล่าวอ้างถึงตัวบทที่เป็นรูปแบบการนำเสนอของศิลปะเรื่อง การจัดวาง (Installation  Art)   เพื่อดำเนินเรื่องไปสู่ความขัดแย้งของตัวละคร โดยเรื่องเริ่มจากการ เรื่องเล่าของนิตย์กำลังเล่าถึงตอนที่ท่านเศรษฐีต้องไปออกรายการที่ตัวเองคิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการอยากดังของตัวเอง ขณะเดียวกันภรรยา (เมียเด็ก) ของท่านเศรษฐีหาได้สนใจตามคำขอของท่านเศรษฐีที่ต้องการให้เธอรอรับโทรศัพท์จากรายการเกมโชว์ของท่านอยู่ที่บ้าน แต่เธอกลับออกไปช็อปปิ้งตามปกวิสัยของเธอ ระว่างทางไปช็อปปิ้งนั้นรถเกิดยางแตก หน้าหอศิลปะและเธอได้เดินเข้าไปในหอศิลป์

 

ในหอศิลป์โอ่โถงโล่งใหญ่ไฟสลัวกำลังมีงานแบบจัดวาง  (Installation  Art)  

เธอเข้าไปก็รู้สึกงุนงงเมื่อพบร่างขอทานถูกนำมาวางตั้งเรียงรายตามจุดต่าง ๆ

 มีทั้งคนแก่หญิง   ชาย   เด็กแขนขาด้วน   เธอเหลือบอ่านป้ายชื่อนิทรรศการ

ชื่อ “ขอ ขอ ขอ เมื่อเธอเดินเข้ามาอีก   ขอทานที่นั่งนิ่งตามมุมห้องในตอนแรก

เริ่มขยับส่งเสียงขอเงิน

คำสำคัญ (Tags): #สหบท
หมายเลขบันทึก: 422090เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2011 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท