แนวทางการพัฒนาโรงเรียนแห่งความสุข ( ๑ ) : จุดเริ่มต้นของความคิด


คณะผลิตครูได้ตัดสินใจเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู รุ่นที่ ๒ รหัส ๕๒ ซึ่งห่างหายไปจากสารบนมานานหลายปี เนื่องจากหลักสูตรเดิมนั้นยังไม่มีใครปรับปรุงและหลักสูตรที่พัฒนาใหม่ต้องรอฟังเสียงของคุรุสภาว่า หลักสูตรนั้นผ่านการรับรองจากคุรุสภาแล้ว

ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อว่า บุคคลที่มีความต้องการจะปรับเปลี่ยนตัวเองมาเป็นครูจะคับคั่งเกินกว่าจะรับได้ไหว ซึ่งในรุ่นที่ ๒ วิทยาเขตเชียงใหม่นี้ ต้องเปิดหมู่เรียนถึง ๘ หมู่เรียน ๆ ละ ๖๐ คนเป็นอย่างน้อย (เป็นโครงการพิเศษ สควค. อีก ๑ หมู่เรียน) วิทยาเขตแม่สะเรียงอีก ๒ หมู่เรียน และวิทยาเขตแม่ฮ่องสอนอีก ๒ หมู่เรียน

ขณะนี้นักศึกษา ป.บัณฑิตฯ เหล่านี้ได้เดินทางมาถึงเวลาที่จะต้องจบหลักสูตรเต็มที เพราะฝึกประสบการณ์วิชาชีพอยู่ในโรงเรียนเป็นภาคเรียนที่ ๒ พร้อมยังต้องลงทะเบียนเรียนในวันเสาร์-อาทิตย์ไปด้วยพร้อม ๆ กัน

การที่ให้นักศึกษาที่ไม่ได้เรียนจบวิชาชีพครู ให้มาเรียนครู ๑ ปี แล้วจะเป็นครูที่ดีได้เลยนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ ขนาดคนที่เรียนจบครู ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้างยังเป็นครูที่ไร้ศรัทธาตั้งเยอะตั้งแยะ ทำให้ทางผู้บริหารหลักสูตรของคณะผลิตครูเล็งเห็นว่า นอกจากเนื้อหา ตำราเรียนที่เรามอบความรู้ไว้ให้พวกเขาแล้ว เราควรจะมอบทักษะอื่น ๆ ให้กับเขาไปด้วย ก่อนที่เขาจะจบหลักสูตร

 

แนวคิดดังกล่าวทำให้เกิดเป็นโครงการย่อย ๆ ทั้งหมดประมาณ ๓ โครงการ ได้แก่

  • โครงการ "แนวทางการพัฒนาโรงเรียนแห่งความสุข"
  • โครงการ เกี่ยวกับ "คุณธรรม จริยธรรมความเป็นครู"
  • โครงการ เกี่ยวกับ "การนำความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดมานำเสนอเป็นนิทรรศการ"

ซึ่งอย่าเพิ่งตกใจกับชื่อที่ไม่แน่นอน เพราะผมก็จำชื่อไม่แม่นยำนัก แต่ได้ให้แต่ความคิดรวบยอดเอาไว้ก่อนนะครับ

 

ผมก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองโชคดีหรือโชคไม่ดีที่มีโอกาสไปรวมคิดกับทีมงานหลักของคณะที่ให้ความไว้วางใจในสิ่งที่ผมมี สิ่งที่ผมคิด และสิ่งที่ผมเป็น

 

 

 

 

โครงการ "แนวทางการพัฒนาโรงเรียนแห่งความสุข" เป็นชื่อที่ผมเป็นตั้งก่อนว่า "โรงเรียนแห่งความสุข" แล้วค่อยมาเพิ่มคำหน้าทีหลังโดยรองคณบดีฝ่ายวิชาการ

"โรงเรียนแห่งความสุข" เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ผมนึกถึงประสบการณ์ของตัวเองที่ครั้งหนึ่ง เคยมีโอกาสแนะนำโรงเรียนแห่งความสุขให้กับผู้ค้นหาข้อมูล คือ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ที่ทำให้กับมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ในการค้นหาโรงเรียนต้นแบบทั่วประเทศที่สอนนักเรียนแล้ว นักเรียนมีความสุข ไม่ใช่ เดินตามระบบกระแสหลักของกระทรวงศึกษาธิการที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมในหลาย ๆ เรื่อง

 

โรงเรียนที่ผมเสนอไป คือ "โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก" อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนที่ไม่มีใครรู้จัก เป็นโรงเรียนที่สอนให้เด็กทำนา

จากบันทึก "โรงเรียนเล็ก ๆ แต่หัวใจไม่เล็ก" (โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก โรงเรียนสอนเด็กทำนา)

ทำให้คุณเอกเดินทางมาเชียงใหม่ เพื่อให้ผมได้นำพาไปโรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็กด้วยตัวเอง และนั่นคือ โอกาสแรกที่ผมได้ทำงานร่วมกับคุณเอก จตุพร และในโอกาสต่ออีกมากมายอย่างน่าอัศจรรย์

หลังจากนั้น คุณเอกก็ได้เดินทางไปทั่วประเทศ และได้มีการต่อยอดความรู้ ประสบการณ์ในเรื่องมากมาย

 

ซึ่งเหตุผลเริ่มต้นดังกล่าว โครงการ "แนวทางการพัฒนาโรงเรียนแห่งความสุข" จึงเกิดขึ้น ผมเสนอเข้าที่ประชุมแล้วได้รับการตอบรับอย่างดี ทุกคนเห็นด้วยกับคำว่า "ความสุข" ของคนที่เป็นครู

 

 

ผมอยากให้นักศึกษา ป.บัณฑิตฯ ได้รับประสบการณ์และรู้จักความสุขจากคุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

เมื่อผมเสนอไป คุณเอกสนใจมาก ขณะที่ปรารถว่า "อาจารย์ไม่ต้องให้ค่าตอบแทนผมก็ได้นะ ผมจะไปให้ฟรี ไปด้วยใจ"

คุณเอก เชื่อว่า โครงการนี้คือโครงการที่มีคุณค่าในการสร้างคน สร้างคนที่กำลังจะออกไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้ ซึ่งผมเองก็เชื่อเช่นนั้น

ซึ่งคุณเอกใช้เวลาตัดสินใจไม่นานก็ตอบตกลงกลับ แต่ขอให้ผมเชิญวิทยากรร่วมอีก ๒ ท่าน ได้แก่

ท่านอาจารย์แผ่นดิน แห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ

ท่านอาจารย์พิศมัย เทวาพิทักษ์ แห่งโรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก

 

คุณเอก แจ้งกลับมาว่า "หากโครงการไม่ค่อยมีเงินมากนัก จะให้ค่าวิทยากรผมน้อย ๆ ก็ได้ แล้วแบ่งให้กับท่านอาจารย์อีกสองท่านด้วย"

ผมตอบกลับไปว่า ถึงแม้โครงการผมจะงบประมาณไม่มากนัก แต่สำหรับเรื่องนี้ผมคงยอมเช่นนั้นไม่ได้ครับ ทุกท่านให้เกียรติมา ผมและทีมงานก็ต้องให้เกียรติกลับไปครับ

ตอนนี้เราจึงได้วิทยากรถึง ๓ ท่าน ดังที่เห็นครับ

 

 

 

เนื่องจากผมเป็นผู้เสนอโครงการนี้ เสนอวิทยากร ผมจึงกลายเป็น "ผู้ประสานงานโครงการ" โดยปริยาย ซึ่งผมก็ยินดีที่จะทำหน้าที่ด้วยความเต็มใจ เพราะผมรู้สึกถึงความเป็นกัลยาณมิตรอย่างจริงใจ หัวใจพองโต และสามารถทำได้โดยไม่ต้องมีการสั่งการ

คุณเอก ยังแซวเลยว่า โครงการนี้น่าจะชื่อว่า "วิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยผลิตครูไม่ได้สอน" ล้อตามที่หนังสือขายดี

ผมก็ว่าจริง ๆ ด้วย ;)

ผมต้องการแบบนั้นจริง ๆ ไม่ต้องเอาสิ่งที่เรียนในห้องแล้วมาให้เรียนรู้อีก มันควรจะเป็นสิ่งที่เขาไม่เคยคิดถึงมาก่อนสำหรับการเป็นครู

"ความสุข" จึงเป็นเป้าหมายสำคัญครับ

 

 

ไม่ว่าโครงการจะดีหรือไม่ดีแค่ไหน เราไม่อาจจะคาดหวังสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตของครูเหล่านี้ ดังนั้น ผมบอกทีมงานทุกคนว่า เราจะทำหน้าที่ผู้ให้ ผู้นำสิ่งดี ๆ มามอบให้เขาให้ดีที่สุด ส่วนเขาจะรับหรือไม่รับนั้น เป็นเรื่องของตัวเขาเอง

เราเลือกที่จะมอบโอกาสดี ๆ กับวิทยากรที่จิตใจที่ดีเหล่านี้แล้ว เขาต่างหากต้องเป็นคนตัดสินใจว่า จะทำอย่างไร

 

นี่คือ เรื่องเล่าถึงจุดเริ่มต้นของโครงการ "แนวทางการพัฒนาโรงเรียนแห่งความสุข" ให้ทุก ๆ ท่านได้ฟังครับ ;)

 

ส่วนวันเวลาและสถานที่ที่ผมต้องเชิญวิทยากรร่วมเดินทางไปกับผม มี ๒ ช่วงเวลา คือ เราจะเดินทางไปที่วิทยาเขตแม่สะเรียง (๙๐ คน) ก่อน แล้วตามด้วยวิทยาเขตแม่ฮ่องสอน (๙๗ คน) ซึ่งงานนี้ผมพาวิทยากรไปหานับโค้ง ๑,๘๖๔ โค้งวงรอบพอดีครับ

อีกช่วงหนึ่งคือ เราจะกลับมาที่วิทยาเขตเชียงใหม่ (๓๗๙ คน) ซึ่งจะใช้พื้นที่โรงแรมใหญ่หน่อยเพราะปริมาณนักศึกษาค่อนข้างเยอะ

 

 

 

 

หากมีประเด็นอื่น ๆ ต่อไป จะนำมาเล่าให้ฟังอีกนะครับ ;)

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)

 

 

 

.............................................................................................................

 

บันทึกที่เกี่ยวข้องกัน ...

 

บันทึก โดย คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

 

บันทึก โดย คุณ แผ่นดิน แห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

บันทึก โดย ผมเอง

 

หมายเลขบันทึก: 421634เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2011 01:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)

จากการเป็นครูมา 28 ปี ขอแสดงความเห็นว่า

การเป็นครูดีไม่ได้อยู่ที่จำนวนปริญญา หรือ จำนวนปีที่เป็นครู

นักศักษา ป. บัณทิตฯ ทั้งหลายน่าเห็นใจมาก

ไหนจะงาน ไหนจะเรียน และก็ต้องขอบคุณท่านอาจารย์ฝ่ายผลิต

ที่พยายามป้อนสิ่งดีๆให้ น้องเอกใจบุญจริงๆนะคะ

จากโครงการดีๆ ของท่าน นักศึกษาคงได้แนว ได้แบบ ได้วิถีความเป็นครูที่ดีมากพอค่ะ

เป็น "ความคิด ของ จุดเริ่มต้น" ที่ดีครับ

...แนวทาง การพัฒนาโรงเรียน ให้เป็น แหล่งความสุข... ;-)

นักศึกษาที่ได้ตัดสินใจมาเรียนแล้ว ย่อมต้องทราบศักยภาพตนเองก่อนครับว่า ตนเองสามารถจะบริหารเวลาได้มากน้อยแค่ไหน การเตรียมตนและเตรียมใจจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดครับ

ขอบคุณครับ คุณ ครู ป.1 ;)...

ขอบคุณมากครับ คุณ sr ;)...

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

อ.วัส

ผมเพิ่งมาได้อ่านบันทึกนี้ครับ...

ขอรวบรวมความคิดก่อนที่จะมาเขียนต่อนะครับ

ขอบพระคุณมากๆครับที่ให้เกียรติผม

รับทราบครับผม คุณเอก ;)...

มาชื่นชม โครงการดี ๆ ที่จะทำให้เกิด "โรงเรียนแห่งความสุข" ขยายต่อไปมาก ๆ ครับ

ขอบคุณมากครับ ท่านอาจารย์  Panda ;)...

วันนี้เพิ่งอบรมนักศึกษา ป.บัณฑิตฯ วิทยาเขตเชียงใหม่ครับ

มาชม มาเชียร์ โรงเรียนเล็ก แต่หัวใจโต๊ โต ค่ะอ. เสืออวบอารี อ๋อ ครานี้ที่เวียง คิดแต่ว่าเมืองสามหมอก ๕ ๕

วิทยากรสองหนุ่ม ครานี้เรียบร้อยจัง นั่งท่าเทพธิดา กะท่าเทพบุตร ส่งกำลังใจผู้ปสง. กับภารกิจครูด้วยหัวใจนะเจ้า :)

สถานที่ใช้ห้องประชุมในโรงแรมน่ะครับ คุณ poo ;)...

ดูกว้างดีทีเดียวเชียว

ขอบคุณครับ ;)

เป็นบุญวาสนาโดยแท้ครับที่ผมได้ร่วมในกระบวนการเหล่านี้ 

หากมหาวิทยาลัยหลายแห่งมีกระบวนการเช่นนี้ให้มากๆ ผมเชื่อว่าผู้เรียนจะคิดเอง..สังเคราะห์เอง และมีทักษะที่ดีในการตัดสินใจ  รวมถึงการมี "แรงบันดาลใจ"  ในการเรียนรู้และก้าวข้ามไปสู่การเป็น "คุณครู" ของนักเรียน และ "คุณครู" ของแผ่นดิน...

ผมกำลังทะยอยเขียนบันทึกนะครับ   จะทยอยลงในบล็อกไปเรื่อยๆ..

 

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ แผ่นดิน ;)...

มิเป็นบุญ "วาสนา" มิได้หรอกครับ เพราะมันเป็นนามสกุลของอาจารย์อยู่แล้ว อิ อิ

กระบวนการคิดเริ่มต้นจากผมก็จริง แต่ต้องขอบคุณทีมงานที่เห็นดีด้วย

ขอบคุณวิทยากรที่เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างที่จะร่วมกันช่วยผลักดัน "แรงบันดาลใจ" และความเป็นครูแท้ ๆ ให้กับเหล่าลูกศิษย์ของผม

ผมดีใจที่อาจารย์กลับมาเขียนบันทึก ณ ที่แห่งนี้อีกวาระหนึ่งครับ

ถึงแม้จะไม่สะดวกในบางด้าน ก็มิเป็นไรนะครับ

ขอบคุณมากครับ ;)...

ป้าครู ป.1 เป็นครูมา28 ปี ครูใหม่น้อยกว่า ไป 10 ปี

สารภาพก่อนว่า เป็นครู เพราะ พ่อ แม่ ลุงป้า น้า ญาติ ส่วนใหญ่ เป็นครู แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่รู้จะทำงานอะไรเลยเป็นครูนะคะ

คิดสอบเข้าโครงการคุรุทายาท ตั้งแต่อยู่ ม. 4 เลยคะ

รักที่จะเป็นครู ค่ะ อาจารย์

"รักที่จะเป็นครู ค่ะ อาจารย์"

คุณ ครูใหม่  ครับ ... คำพูดนี้นุ่มนวลและมุ่งมั่นด้วยแรงศรัทธาเป็นที่สุดครับ

ขอบคุณมากครับ ;)

เมื่อคืนหาลิงค์นี้ไม่เจอ (55) ..จริงๆ ครับ สารภาพแบบไม่อาย...

ผมเชื่อว่าบันทึกนี้คือจดหมายเหตุของภาควิชาฯ เชียวนะ...

มิเป็นไรครับ คุณ แผ่นดิน ;)...

ทุกอย่างย่อมแก้ไขได้เสมอ เพียงแค่เรามองเห็นมัน ถึงแม้จะเล็กนิดเดียว

ขอบคุณนะครับที่วิทยากรแวะมาทิ้งร่องรอยเอาไว้ในบันทึกต้นนี้

จะมีภาคต่อไปอย่างแน่นอนครับ

*เข้ามาทักทายแล้วนะคะ
*จบมน.รุ่นแรกค่ะและ มศว.พิษณุโลกรุ่นสุดท้าย
*ชอบบล็อกนี้ น่าจะบริบทเดียวกับ โรงเรียนชายขอบนะคะ

สวัสดีครับ พี่ ทะเลภูเขา ;)...

ยกเลิกการเรียกตำแหน่งบริหารครับ อิ อิ

ผมเข้ามาเป็น มศว. และ รับปริญญา มน.รุ่นที่ ๓ ครับ

รุ่นน้องพี่สองปีหรือนี่ โอ้ ... ;)

"โรงเรียนแห่งความสุข" ยังไม่ใกล้เคียงกับโรงเรียนชายขอบครับ

เพราะความสุขนี้เป็นความสุขของว่าที่คุณครูที่จะออกไปเป็นครู

"โรงเรียนชายขอบ" มีปัจจัยในด้านการบริหารอีกมากมาย

ขอบคุณครับ ท่านพี่ ;)

ขอบคุณมากครับ พี่ ✿อุ้มบุญ✿ ;)...

โครงการเล็ก ๆ ของคนหัวใจเล็ก ๆ

  • นอกจากจะปรุงอารมณ์ได้ดีแล้ว ยังปรุงความรู้สร้างเวทีที่งดงามให้เราได้ชมกันอีกด้วยค่ะ แค่เห็นก็อิ่มบุญแล้วค่ะ

ขอบคุณมากครับ ท่านอาจารย์นพลักษณ์ศาสตร์ ๙ Sila Phu-Chaya ;)...

พึงทำดี พึงมีสุข ครับ

ยิ่งอ่านยิ่งเพลินดีครับ ได้แง่คิดใหม่ๆ สุดยอดจริงๆ ไว้เข้ามาอ่าน งานชิ้นเก่าๆ ของอาจารย์ใหม่นะครับ ^^

ขอบพระคุณมากครับ ท่านอาจารย์ ครูgisชนบท ;)...

ตามมาขุด รากเหง้าแห่งความสุขค่ะอ.วัส

ขอขอบคุณเป็นยิ่งนัก

ยินดียิ่งนักเช่นกันครับ คุณ Tawandin ;)...

ยังข้องใจเล็กน้อยค่ะครู

ห้องประชุมโรงแรม มีเวที มีเสื่อยาวบริการแบบนี้ด้วยหรือคะ?

นึกว่ามีแต่พรมปูหรูๆนิ จัดแบบในวัดในโบสถ์เลย ดีจัง

สถานที่ที่เห็นนั้นเป็นห้องประชุมโรงเรียนครับ คุณ Tawandin ;)...

เรายืมเสื้อจากวัดมาใช้ ;)...

มาแซวที่วัดไม่มีเสื้อครับ  มีแต่เสื่อ 555

ว่าแล้ว อุตส่าห์พลาด กะว่าปล่อยผ่าน

ไม่ผ่านเสียแล้ว 555

ขอบคุณครับ อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง  ;)...

..."สถานที่ใช้ห้องประชุมในโรงแรมน่ะครับ คุณ poo ;)...

ดูกว้างดีทีเดียวเชียว"...

อ่านความเห็นนี้ของอ.วัส เลยเข้าใจผิดนิ

สรุปว่า การใช้สถานที่ มีสองช่วง สองตอนมังนะ

"ห้องประชุมโรงเรียน...ยืมเสื่อวัดมาใช้" ขอตามหักคะแนนคุณครู :))

มิได้ครับ คุณ Tawandin ;)...

เรามีการจัด ๓ สถานที่ ๒ จังหวัดครับ

โรงเรียน ๑

วิทยาลัย ๑

โรงแรม ๑

;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท