ตัวอย่าง คำอธิบายรายวิชา ดนตรี นาฎศิลป์ ทัศนศิลป์ ระดับประถมศึกษา


คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

 

กลุ่มสาระ  ศิลปะ                                                                                                สาระการเรียนรู้  พื้นฐาน

รายวิชา  ดนตรี   นาฏศิลป์  ทัศนศิลป์                                                           ชั้นประถมศึกษาปีที่  1

จำนวนเวลา  2  ชั่วโมง/สัปดาห์                                                                       จำนวน  80  ชั่วโมง/ปี

 

ดนตรี

                รู้แหล่งกำเนิดของเสียงธรรมชาติ  เสียงมนุษย์  และเสียงดนตรี  ขับร้องและเคาะจังหวะ  การอ่านภาษา-ดนตรี  รู้ลักษณะทางโครงสร้างของเครื่องดนตรี  แสดงออกถึงการรับรู้เรื่องเสียง  การสร้างสรรค์ทางดนตรี  แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงที่ได้ยิน  รู้ความเป็นมา  วิวัฒนาการ   สนใจ  และเห็นคุณค่าดนตรีพื้นบ้าน  ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาไทย

ศึกษาเพื่อให้มีความรู้พื้นฐานทางด้านนาฏศิลป์ไทย  โดยมีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  ด้าน

 

นาฏศิลป์

เคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างอิสระ  การเคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างมีรูปแบบด้วยท่าทางลีลาความงาม  การรับรู้จังหวะ  การใช้เสียง  บทบาทสมมติและภาษาในการแสดงออก  การใช้ภาษาท่าทางนาฏยศัพท์  การแสดงนาฏศิลป์  ประเภทรำ  ระบำ  ฟ้อน  เบื้องต้น  การเป็นผู้ชมก็ดี  และแสดงออกท่าความคิด  ความรู้สึก  เกิดความรัก  ชื่นชม  รับรู้  นาฏศิลป์อันเป็นมรดกไทย

 

ทัศนศิลป์

ศึกษา  สังเกต  เปรียบเทียบ  ปฏิบัติ  สร้างสรรค์ศิลปะ  วัฒนธรรม  ประเพณี  ภูมิปํญญาท้องถิ่น  สื่อความคิด  และถ่ายทอดความงามของงานทัศนศิลป์  วิธีการใช้และการเก็บรักษาอุปกรณ์อย่างถูกต้องและปลอดภัย  บรรยายความรู้สึก  และวิธีการสร้างงานทัศนศิลป์  นำความรู้ด้านทัศนศิลป์มาประยุกต์ใช้กับสาระอื่น  และในชีวิตประจำวัน  ทำงายร่วมกับผู้อื่นด้วยความสนุกสนาน เพลิดเพลิน  และมีความสุข

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชา

 

กลุ่มสาระ  ศิลปะ                                                                                                สาระการเรียนรู้  พื้นฐาน

รายวิชา  ดนตรี   นาฏศิลป์  ทัศนศิลป์                                                           ชั้นประถมศึกษาปีที่  2

จำนวนเวลา  2  ชั่วโมง/สัปดาห์                                                                       จำนวน  80  ชั่วโมง/ปี

 

ดนตรี

                รู้แหล่งกำเนิดคุณสมบัติของเสียงมนุษย์  เสียงธรรมชาติ  เสียงการขับร้องและปฏิบัติเครื่องดนตรี  อ่านโน้ตดนตรี  เก็บรักษาเครื่องดนตรีอย่างถูกต้องปลอดภัย  หลักการฟังโดยใช้องค์ประกอบของดนตรี  ประยุกต์ใช้บูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆศึกษาความเป็นมาของดนตรีไทย  ภูมิปัญญาของดนตรีไทย

 

นาฏศิลป์

ศึกษาและฝึกปฏิบัติเพื่อให้มีความรู้พื้นฐานการนาฏศิลป์ไทย  โดยการใช้ประสบการณ์ด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5  การเคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างอิสระ  การเคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างมีรูปแบบ  ด้วยท่าทางลีลาอย่างสง่างาม  การรับรู้จังหวะ  การใช้ภาษาท่าทาง  นาฏยศัพท์  การแสดงนาฏศิลป์  การแต่งกายประเภทรำ  ระบำ  ฟ้อน  การเป็นผู้ชมที่ดีมีสมาธิ  มีมารยาท  และแสดง

ความรู้สึกของตนเองอย่างมีเหตุผล  การเลียนแบบธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย์  การแสดงพื้นเมือง  การแสดงบทบาทสมมติ  และภาษาในการแสดงออก  ถ่ายทอด  ความคิด  ความรู้สึก  จินตนาการ  และเกิดความรัก  ชื่นชม  รับรู้  นาฏศิลป์อันเป็นมรดกไทย

 

ทัศนศิลป์

ศึกษา  สังเกต  สำรวจ  เปรียบเทียบ  บรรยาย  ลักษณะรูปร่าง  รูปทรง  สี  ขนาด  สัดส่วนพื้นที่  และความงามของสิ่งแวดล้อม  และปรากฏการณ์ในธรรมชาติ  มีความรับผิดชอบในการเก็บรักษาวัสดุ  อุปกรณ์ได้อย่างปลอดภัยและถูกขั้นตอน  สามารถมีวิธีการสร้างงาน  ความเป็นมาของงานทัศนศิลป์ที่อยู่รอบตัว  และภูมิปัญญาท้องถิ่น  นำเสนอผลงานทัศนศิลป์ของคนให้ผู้อื่นรับรู้  และนำไปใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น  และในชีวิตประจำวัน  ทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยความสนุกสนาน  เพลิดเพลิน  และมีความสุข

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชา

 

กลุ่มสาระ  ศิลปะ                                                                                                สาระการเรียนรู้  พื้นฐาน

รายวิชา  ดนตรี   นาฏศิลป์  ทัศนศิลป์                                                           ชั้นประถมศึกษาปีที่  3

จำนวนเวลา  2  ชั่วโมง/สัปดาห์                                                                       จำนวน  80  ชั่วโมง/ปี

 

ดนตรี

                เข้าใจแหล่งคุณสมบัติในเรื่องเสียง  การขับร้อง  การบรรเลงดนตรี  ใช้องค์ประกอบของดนตรี  การใช้เครื่องดนตรีอย่างถูกต้องปลอดภัย  แสดงออกถึงการรับรู้ความไพเราะของเสียงมีความคิดเห็นเดียวกับเสียงในธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  เสียงขับร้อง  เสียงเครื่องดนตรีของตนเองและ      บูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆกับสังคม  รู้ความเป็นมาของดนตรีสากลและภูมิปัญญาของดนตรีสากล

 

นาฏศิลป์

ศึกษาและฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้พื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย  ใช้ประสบการจากประสาทสัมผัสทั้ง 5  การเคลื่อนไหวเพื่อแสดงเป็นตัวละครตามจินตนาการ  การแสดงบทบาทสมมติ  ให้มีการสื่อความสอดคล้องตามเรื่องราวที่แสดง  การสำรวจรับรู้ถึงเรื่องราวความรู้สึกและจินตนาการที่เกิดจากการใช้เสียงอย่างสร้างสรรค์  การใช้ภาษาเพื่อสื่อความรู้สึก  ความคิดเห็น  ความต้องการเกี่ยวกับการแสดงของตนเองและผู้อื่น  การสร้างผลงานทางพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม  การเคลื่อนไหวอย่างอิสระและมีรูปแบบประกอบแสดงเบื้องต้น  การใช้ภาษาท่าการแสดงนาฏศิลป์ประเภทรำ  ระบำ  เต้น  ฟ้อน  การแสดงออกทางความรู้สึก  ความคิดเห็น  และการใช้เหตุผลด้วยเอกคติที่สร้างสรรค์  การรับฟังความคิดเห็น  แนะนำและเสนอแนวค่าปรับปรุงเพื่อพัฒนา  การเข้าชมและการมีส่วนร่วมในศิลปะ วัฒนธรรมไทยถ่ายทอด  ความคิด  ความรู้สึก  จินตนาการ  และเกิดความรักชื่นชม  รับรู้นาฏศิลป์อันเป็นมรดกไทย

 

ทัศนศิลป์

ศึกษา  วิเคราะห์  บรรยาย  ปฏิบัติ  นำเสนอ  เกี่ยวกับ  รูปร่าง  รูปทรง  สีพื้นผิว  ปรากฏการณ์ต่างๆตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  แยกแยะประเภท  ชนิดต่างๆของวัสดุ  อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมศิลปะตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ  เพื่อการเรียนรู้สาระอื่นและในชีวิตประจำวัน  สำรวจค้นคว้า  เพื่อจัดทำโครงงานความเป็นมาของงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น วิพากย์  วิจารณ์  ผลงานของตนให้ผู้อื่นรับรู้ได้  ตระหนักในคุณค่าของงานศิลปะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น  และ  ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างประทับใจ  สนุกสนาน  เพลิดเพลิน  และมีความสุข

คำอธิบายรายวิชา

 

กลุ่มสาระ  ศิลปะ                                                                                                สาระการเรียนรู้  พื้นฐาน

รายวิชา  ดนตรี   นาฏศิลป์  ทัศนศิลป์                                                           ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

จำนวนเวลา  2  ชั่วโมง/สัปดาห์                                                                       จำนวน 80  ชั่วโมง/ปี

 

ดนตรี

                ศึกษาการบรรเลงเครื่องดนตรีพื้นบ้านทั้งบรรเลงเดี่ยวและวง  การขับร้องประกอบเครื่องดนตรีพื้นบ้าน  การใช้และการเก็บรักษาเครื่องดนตรีพื้นบ้าน  แสดงความรู้สึกเกี่ยวกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านตามความเข้าใจ  แสดงความคิดเห็นเรื่ององค์ประกอบของดนตรีพื้นบ้าน  บอกเล่าถึงแหล่งที่มาของดนตรีพื้นบ้าน  เข้าใจโอกาสในการนำไปใช้  และการใช้ภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์

ดนตรีพื้นบ้าน  ดนตรีพื้นบ้านกับวัฒนธรรม

 

นาฏศิลป์

ศึกษาและฝึกปฏิบัติเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับ  การแสดงบทบาทสมมติ  ภาษาท่า  นาฏยศัพท์  การใช้ภาษานาฏศิลป์  การแสดงนาฏศิลป์ตามแบบแผน  การประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลง  การแสดงพื้นเมือง  การเป็นผู้ชมที่ดี  การเปรียบเทียบรูปแบบการแสดงพื้นบ้าน  นำประสบการณ์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์กับกลุ่มสาระอื่น  การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ตระหนักและเห็นคุณค่าของกิจกรรมนาฏศิลป์เพื่อบ่งบอกถึงค่านิยม  ประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรม

 

ทัศนศิลป์

มีความประทับใจจากความชำนาญของธรรมชาติ  และสิ่งที่พบเห็นและนำมาจินตนาการและสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลป์  (  พัฒนศิลป  )  ได้อย่างสวยงามด้วยวิธีการต่างๆได้  นำทัศนธาตุและเทคนิคใหม่ๆสร้างสรรค์งานทัศนศิลปะได้อย่างมั่นใจและสนุกสนานด้วยความเป็นอิสระ

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชา

 

กลุ่มสาระ  ศิลปะ                                                                                                สาระการเรียนรู้  พื้นฐาน

รายวิชา  ดนตรี   นาฏศิลป์  ทัศนศิลป์                                                           ชั้นประถมศึกษาปีที่  5

จำนวนเวลา  2  ชั่วโมง/สัปดาห์                                                                       จำนวน  80  ชั่วโมง/ปี

ดนตรี

                ศึกษาเพื่อให้รู้ประวัติและวิวัฒนาการทางดนตรีไทย การสืบทอดดนตรีไทยที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเภทของเครื่องดนตรีไทย  สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบของเครื่องดนตรีไทย  ฝึกปฏิบัติให้มีทักษะในการขับร้องเพลงไทยและบรรเลงดนตรีไทย  เพื่อสื่อความคิด จินตนาการ  ความรู้สึกประทับใจและเห็นคุณค่าไปสร้างสรรค์งานทางดนตรีไทย  ตลอดจนนำความรู้และหลักการทางดนตรีไทยไปใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆและชีวิตประจำวัน  ยอมรับในภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทยที่เกี่ยวข้องกับดนตรีไทย

 

นาฏศิลป์

ศึกษาเพื่อให้มีความรู้พื้นฐานการละคร  ฝึกเทคนิคการแสดงเลียนแบบอย่างอิสระและจินตนาการ  หลักการแต่งเรื่องสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ 

                ศึกษาเพื่อให้มีความรู้พื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย  การฝึกปฏิบัติ  การเลียนแบบท่าทางอย่างอิสระ  จินตนาการ  และมีรูปแบบของการแต่งเรื่องจากประสบการณ์  การเคลื่อนไหวอย่างมีอิสระและมีรูปแบบเพื่อสื่อสารทางนาฏศิลป์โดยการใช้ภาษาท่า  นาฏยศัพท์มาประดิษฐ์ท่ารำ  การแสดงนาฏศิลป์ไทยอย่างมีแบบแผน  หลักความงามทางนาฏศิลป์  สู่การสร้างสรรค์ผลงาน  ทั้งนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน  การเป็นผู้ชมที่ดี  มีสมาธิ  นำประสบการณ์เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน  และตระหนักในคุณค่าของจัดกิจกรรมนาฏศิลป์  เพื่อบ่งบอกถึงค่านิยม  ประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทย

ทัศนศิลป์

ถ่ายทอดความคิดจินตนาการ  ความรู้สึก  ความประทับใจจากความงามของธรรมชาติ  ด้วยการสร้างสรรค์ทัศนศิลป์  โดยใช้ทัศนธาตุให้เป็นรูปร่าง  รูปทรงต่างๆ  ตามความสนใจด้วยการใช้อุปกรณ์  เป็นการสร้างสรรค์งานอย่างปลอดภัย

                บอกความรู้สึกในการรับรู้ความงามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความงามของทัศนธาตุ รูปร่าง  รูปทรงต่างๆ  ในธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม  สามารถใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์งานให้เกิดการเรียนรู้  รวมทั้งบอกความเป็นมาและความชื่นชมในผลงานศิลปะในท้องถิ่นที่เป็นภูมิปัญญาไทย  และภูมิปัญญาท้องถิ่น

คำอธิบายรายวิชา

 

กลุ่มสาระ  ศิลปะ                                                                                                สาระการเรียนรู้  พื้นฐาน

รายวิชา  ดนตรี   นาฏศิลป์  ทัศนศิลป์                                                           ชั้นประถมศึกษาปีที่  6

จำนวนเวลา  2  ชั่วโมง/สัปดาห์                                                                       จำนวน  80  ชั่วโมง/ปี

 

ดนตรี

                ศึกษาเพื่อให้รู้ประวัติและวิวัฒนาการของดนตรีสากล  การสืบทอดดนตรีสากลที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม  ประเภทของเครื่องดนตรีสากล  สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบของเครื่องดนตรีสากลและเพลงไทยสากล  ฝึกปฏิบัติให้มีทักษะในการขับร้องเพลงไทยสากล  อ่านโน้ตเพลงสากลและบรรเลงเพลงสากล  เพื่อสื่อความคิดและจินตนาการ  ความรู้สึกประทับใจและเห็นคุณค่า  นำไปสร้างสรรค์งานดนตรีสากล  ตลอดจนนำความรู้และหลักการทางดนตรีสากลไปใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ  และในชีวิตประจำวัน  ยอมรับในภูมิปัญญาไทยที่เกี่ยวข้องกับดนตรีสากล

 

นาฏศิลป์

ศึกษาและฝึกปฏิบัติ  เพื่อให้มีความรู้และความสามารถ  เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานด้านนาฏศิลป์และละครสร้างสรรค์  ด้วยการพัฒนาทักษะการสังเกต  การปฏิบัติภาษาท่านาฏยศัพท์  การแสดงนาฏศิลป์ไทย  การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง  การแสดงละครสด  ละครหน้ากาก  รูปแบบการแสดงโขน  สามารถเปรียบเทียบการแสดงในรูปแบบต่างๆ  การเป็นผู้ชมที่ดี  นำประสบการณ์ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน  และตระหนักในคุณค่าของนาฏศิลป์  วัฒนธรรม  ประเพณี  ภูมิปัญญาไทย  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และภูมิปัญญาสากล

 

ทัศนศิลป์

สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์  โดยใช้เทคนิคใหม่ๆอย่างมั่นใจ  สนใจและเลือกวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมทัศนศิลป์ได้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบแสดงความรู้สึก และความคิดเห็นเกี่ยวกับความงามและความประทับใจและความคิดสร้างสรรค์   นำความรู้ความสามารถ

ทางทัศนศิลป์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  รู้ความเป็นมาเห็นความสำคัญและภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทย  และภูมิปัญญาสากล

หมายเลขบันทึก: 421067เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2011 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ฝันยังไกลใจยังหนาว

เรียน ป.บัณฑิตวิชาชีพครูเหมือนกันค่ะ ตอนนี้อยู่ในช่วงฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เทอมสุดท้ายใกล้จบแล้ว ต้องเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชานี้...ก็เลยหาตัวอย่างแนวทางในการเขียน..........ขอบคุณมากนะคะสำหรับข้อมูลเป็นสิ่งที่ตรงและดีมากๆเลยขอให้สร้างสรรค์ผลงานต่อไป..นะคะ

ปรับใช้ ประยุกต์ให้ตรงกับท้องถิ่นครับ การศึกษาเน้นการใช้จริงในท้องถิ่นของแต่พื้นที่นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท