workshop R2R


อย่าไปยึดติดกับชื่อ จับconcept สำคัญกว่า

หลังจากทำงานกับทีม ศิริราชมากว่า 2 ปี อจ วิจารณ์ อจ ธาดา กับผมก็เห็นตรงกันว่า เราน่าจะลองจัดประชุมคนที่สนใจทำงานแบบ R2R กันซะหน่อย เพราะทราบมาว่าตอนนี้มีคนทำงานแบบ R2R แยะ

คนที่ไม่คุ้นเคยผมก็ขออธิบายสั้นๆว่า R2R เป็นคำพูดเลียนแบบวัยรุ้นที่ อจ วิจารณ์ตั้งขึ้นมาแทนคำว่า routine to research ซึ่งแปลว่า การทำงานวิจัยจากงานประจำ (หรือทำงานประจำจนเป็นงานวิจัย) พูดง่ายๆคือ เป็นคำที่พยายามสื่อแนวคิดที่ว่าการทำงานที่ดีต้องมีการวิจัยควบคู่ไปด้วย และแนวคิดนี้ก็สำคัญมากสำหรับคนที่ทำงานสาธารณสุข  อจประเวศเองบอกว่า คนที่เป็นหมอที่ดีจะต้องทำงานวิจัยจากงานประจำ เพราะการดูแลคนไข้จะเจอแบบใหม่ๆตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็นคนไข้โรคเดียวกัน เวลารักษาไปแล้วถ้ามีโอกาสมาดูย้อนหลังหรือประมวลหาข้อสรุปเป็นระยะๆก็จะช่วยให้ดูแลคนไข้ประเภทเดียวกันดีขึ้นในอนาคต

เพราะฉะนั้นกรุณาอย่าไปยึดติดกับชื่อ จับ concept จะดีกว่า เพราะแม้ อจ วิจารณ์จะเริ่มใช้คำนี้กับการทำงานที่ศิริราช (ซึ่งลวทุนถึงกับทำเป็นโครงการ R2R ระยะ 3 ปี มีการตั้งทีมมาบริหารจัดการเต็มเวลา และมีงบประมาณสนับสนุน) แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องทำแบบที่ศิริราช จึงจะเรียกว่า R2R

และเพราะเหตุนี้ ประกอบกับทราบมาว่ามีหลายแห่งที่เริ่มทำงานแบบ R2R ทางมสช กับศิริราชก็เลยตกลงกันว่าจะจัด workshop R2R ครั้งแรก โดยมีเป้าหมายเพื่อรวมพลคนสนใจ R2R เอาเฉพาะคนที่เริ่มทำอะไรไปบ้างแล้ว ไม่เอาพวกอยากรู้แต่ยังไม่ได้ลงมือทำ

ไม่ว่าจะทำมาก ทำน้อย ทำนาน แล้วหรือเพิ่งทำ เราก็อยกาให้มา ลปรร กัน

ผมเลยถือโอกาสประชาสัมพันธ์ผ่านตรงนี้ซะเลย ถ้าที่ไหนมีการลวมือทำR2R แม้ว่าจะอยู่ในขั้นแค่เริ่มตั้งทีม หรือมีแผนและเพิ่งเริ่มทำ ก็ไม่เป็นไร

ตอนนี้รวบรวมได้มา 3-4 แห่ง แล้วและคงจัดครั้งแรกโดยเอาแค่ 3-4 ทีมมาคุยกัน แต่ถ้ามีทีมที่เริ่มแยะ และ อยาก ลปรร เราอาจจะลองทำอีกกลุ่ม (3-4 ทีม) ก็ได้นะครับ 

เท่าที่คาดไว้แต่ละทีมน่าจะมีสัก 4 คน ประกอบด้วยผู้บริหารที่สนับสนุนงาน R2R (อย่างที่ศิริราชก็เป็นทั้งตัวคณบดี และรองคณบดีฝ่ายวิจัย) ผู้จัดการ (ซึ่งของศิริราชตอนนี้มีทีมอาจารย์มาร่วมกันเป็นทีมจัดการกลาง 3 ท่าน คือ อจ อัครินทร์ อจ เชิดชัย  อจ กุลธร) และอีกสองคนน่าจะเป็นคนที่ทำวิจัยในลักษณะ R2R 

ใครสนใจจะลองเขียนเข้ามาก็ได้นะครับ 

หมายเลขบันทึก: 42043เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2006 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
     น่าสนใจนะครับ ที่ รพ.ยโสธร เกิด R2R CoP และกำลังเดินหน้าอยู่ (R2R ใน รพ.ยโสธร) แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นเป้าหมายที่อาจารย์กล่าวถึงหรือยังนะครับ

เรียน...อาจารย์หมอสมศักดิ์

ทางโรงพยาบาลได้รับการทาบทามจาก อาจารย์ลัดดาแล้วคะ...และนำเรียนปรึกษาท่านผู้อำนวยการ ท่าน นพ.พิสิฐ อังศุวัชรากร แล้วท่านยินดีเข้าร่วมและดิฉันได้เรียนไปที่ท่านลัดดา แล้วคะ

ขอบพระคุณคะ

(เพิ่มเติม)...โรงพยาบาลยโสธรคะ...
ตามคุณชายขอบมา พี่ยุ่งๆช่วงนี้ ที่ มอ.ได้ประธานคุณอำนวยแล้ว "น้องโอม" พี่จะส่งที่อยู่ พร้อม email มาให้ ทำเตรียมไว้แล้วค่ะ good night ค่ะ
กราบขอโทษ อ.สมศักดิ์ค่ะ  หนูตามมาผิด blog เข้าใจว่าเป็นบันทึกนี้ค่ะ R2R ที่โรงพยาบาลยโสธร  เลยกดตามเร็วไปหน่อย ขอโทษอีกครั้งค่ะ ไหนๆ ก็ตามมาแล้วขออ่านและทำหน้าที่พิสูจน์อักษรให้เป็นการไถ่โทษนะคะ  
(ซึ่งลวทุนถึงกับทำเป็นโครงการ R2R ระยะ 3 ปี......)

ถ้าที่ไหนมีการลวมือทำR2R 

ไม่ว่าจะทำมาก ทำน้อย ทำนาน แล้วหรือเพิ่งทำ เราก็อยกาให้มา ลปรร กัน

เข้าใจว่าน่าจะเป็น  
   ว. กับ ล. แป้นอยู่ติดกัน 
อยากให้มา ลปรร กัน 
ตั้งแต่ไปประชุมกับทางศิริราช กลับมาก็มาขาย idea กับ ดร.สง่า เขาก็เห็นด้วยและทำเลย และให้เขาเป็นแกนนำ และเขาเองอยู่ในคณะกรรมการจริยธรรมของรพ.ด้วย ทางรพ.เองก็ให้งบสนับสนุนทำวิจัย
น่าสนใจมากเลยค่ะไม่ได้อยู่แวดวงการแพทย์นะคะ  และเพิ่งจะเข้ามาในgo to know ไม่นาน กำลังทำวิทยานิพนธ์กฎหมายอยู่ค่ะ และเป็นลูกศิษย์ของอ.แหวว (รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์  สายสุนทร กาญจนะจิตรา -ม.ธรรมศาสตร์ ; www.archanwell.org ) มาเห็นคำว่า R2R คือ routine  to research  ก็รู้สึกชอบคำนี้มากเลยค่ะ เพราะความจริงแล้วอาจารย์แหววพยายามตีก้นให้ลูกศิษย์ทุกคนทบทวน ไตร่ตรอง ในงานที่ทำแต่ละวัน ซึ่งอาจออกมาในรูปของบันทึกต่างๆ โดยเฉพาะชลจะเป็นลูกศิษย์ที่ดื้อมาก เพราะไม่ค่อยบันทึกถึงหลายสิ่งที่ได้ทำไป มีประสบการณ์ทั้งดีและไม่ดี สำเร็จและไม่สำเร็จ หรือ กระทั่งความคืบหน้าของงาน ทุกวันเป็นresearch ของเราได้ค่ะ และเสียดายวันเวลาที่ผ่านมาที่ไม่ค่อยได้บันทึกไว้ ตอนนี้ก็พยายามจะบันทึกและวิเคราะห์สิ่งที่ทำให้มากขึ้นแต่ก็ยังไม่ค่อยทันกับเวลาที่มีอยู่ไม่รู้ว่าออกตัวมาผิดที่ผิดประเด็นหรือเปล่า แต่อยากจะบอกว่า R2R นำมาใช้กับงานกฎหมาย หรือ งานวิจัยอื่นๆ ในชีวิตประจำวันได้เหมือนกัน และชอบชื่อนี้จัง  วงการแพทย์ไทยพัฒนาอย่างก้าวหน้า เพราะมีบุคลากรที่ทรงคุณภาพ สามารถพัฒนาตัวเองได้ตลอดเวลา ชื่นชมค่ะ

 อ้อ...go to know ดียังนี้เองอาจารย์แหววถึงพยายามไล่ทุกคนไปเข้า go to know เป็นประจำ ชลเป็นคนที่ถูกถามบ่อยที่สุดมากๆ ว่าเมื่อไหร่จะเข้าไปเปิดบล็อก เพราะเป็นคนที่ไม่ค่อยยอมบันทึกงาน สุดท้ายวันนั้นอ.ยื่นคำขาดไม่ให้ออกจากบ้านอาจารย์ถ้ายังเขียนบทความสักหนึ่งบทความและเข้าไปเปิดบล็อกในโกทูโนไม่เสร็จ (น่าอายจัง)  ตอนหลังๆ ชลก็เพิ่งยอมเข้ามาโดยดี ก็จะพยายามเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่ดีที่มีอยู่ในgotoknow ค่ะ

 

อีกเรื่องหนึ่ง ขอบคุณgotoknow นะคะ ที่ทำให้ฝันเราเป็นจริง เพราะเมื่อตอนชลเข้ามาทำงานกับอาจารย์แหววใหม่ๆ 2-3 ปีที่แล้ว  อาจารย์แหววก็มีโครงการที่จะทำwebsite สำหรับเป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้บนอินเตอร์เน็ตเรียกโครงการ E- libraly / E-society สำหรับให้ E- professor และ E - student ต่างๆ มาเป็นเจ้าของ เรียนรู้แลกเปลี่ยนกันได้ ส่วนหนึ่งอาจารย์เชิญชวนอาจารย์ท่านอื่นดูจากความคล่องตัวของอาจารย์ในการสอนหนังสือนักศึกษาและสอนหนังสือสังคม และมีห้องเรียนกับคนอื่นๆ ในอินเตอร์เน็ตที่อาจารย์มีเว็บไซต์ของอาจารย์อยู่แล้ว และเปิดเว็บไซต์อาจารย์แหววดอทเน็ต ให้ลูกศิษย์ลูกหาเข้าไปแขวนงาน 

 

แต่ลูกศิษย์ลูกหาอาจารย์อยู่ดอยซะมาก แล้วก็พวกที่ทำวิจัยด้านไอทีก็งานหนักพอตัว ไม่มีใครมาเป็นแสดงตัวเจ้าของเจ้าของงานตัวเอง แต่อาจารย์แหววก็ยังไม่วายเอางานขึ้นให้ลูกศิษย์และอาจารย์ท่านอื่นๆ เองเป็นประจำด้วยความยินดี ทั้งๆ ที่อาจารย์งานหนักและเยอะมากกว่าพวกเราอีก (โอ๊ย...ละอายใจอีกแล้ว-ดู www.archanwell.net ค่ะ)

 

ตอนนี้พอมีโกทูโน งานเรื่องการจัดการระบบซึ่งเรายังกระท่อนกระแท่นมาตลอด ( จริงๆ ชลก็ไม่ค่อยทราบเรื่องเพราะให้ความสนใจน้อย แต่รู้ว่าอาจารย์คงคุยกันไปได้ไกลแล้วกับทีมงานของกระจกเงา ) ก็มาได้ gotoknowจัดการให้ อาจารย์แหววก็ชื่นชมใหญ่เลย และไล่พวกเราทุกคนให้มาเขียนงานในอินเตอร์เน็ตและเจอสังคมอื่นๆ ใน gotoknow บ้าง

 กำลังพยายาม เปิดกะลา อยู่แล้วบ้างเหมือนกันนะคะอาจารย์
ดิฉันเรียก R2R ว่า ทฤษฎีหมาวัดค่ะ เป็นการเรียนรู้ตามธรรมชาติ
สนใจคะ รพร,สรแก้ว กำลังจะเริ่ม R2R สนใจ กำลังมองหาระบบที่จะเริ่มโดยไม่มี 3ก.เป็นอุปสรรค

เป็นพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียงค่ะ สนใจที่จะเริ่มปฏิบัติการ R2R เคยรับการอบรม work shop จากอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง แต่มีความรู้สึกว่า สิ่งที่เราได้จากการอบรมครั้งนี้ ยังไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ (ไม่ต่างจากการเรียนวิจัย) เลยกลับมาทบทวนตัวเองอีกครั้ง และเริ่มศึกษา R2R จากสำนักต่างๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท