การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ทรวงอกหลังการรักษาในผู้ป่วยหลอดเลือดแดงโป่งพองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์


Post TEVAR

การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ทรวงอกหลังการรักษาในผู้ป่วยหลอดเลือดแดงโป่งพองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 

Computed Tomographic Angiography of Thoracic Aorta Post TEVAR

วิษนุกร อุ้มทรัพย์     วท.บ. รังสีเทคนิค

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 วิษนุกร อุ้มทรัพย์. การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ทรวงอกหลังการรักษาในผู้ป่วยหลอดเลือดแดงโป่งพองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2553; 4(1):  22-7

 

CTA Thoracic Aorta Post Thoracic Endovascular Aortic Aneurysm Repair (TEVAR) เป็นการตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ทรวงอก เพื่อดูสภาพการไหลของเลือดหลังจากการรักษาโดยการใส่ Stent หรือที่เรียกว่า TEVAR ในผู้ป่วยที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ทรวงอกโป่งพองแล้วมาทำการตรวจติดตามผลการรักษา

          ภาพเอกซเรย์ที่ได้จากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามารถนำมาสร้างภาพในแนวระนาบต่างๆ รวมถึงภาพแบบ 3 มิติ

สำหรับขั้นตอนการตรวจ CTA Thoracic Aorta Post TEVAR สามารถทำการตรวจคล้ายกับการตรวจ CTA Thoracic Aorta ตามปกติ เพื่อดูการไหลของเลือดที่ผ่านหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ทรวงอก แต่จะเพิ่มการตัดภาพซ้ำอีกครั้งที่เวลา 2 นาทีนับแต่เริ่มการฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการรั่วไหล (Leakage) ของเลือดออกมานอก Stent ที่ใส่ไว้หรือไม่

สำหรับความเข้มข้นของสารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจ CTA Thoracic Aorta Post TEVAR โดยมากมักใช้เหมือนกับการตรวจ CTA ส่วนอื่นๆ คือมีความเข้มข้นที่ 320-370 mg/ml จะทำให้ได้ภาพ CTA ที่คมชัดและนำมาสร้างภาพได้ดีเพียงพอต่อการวินิจฉัย

วิธีการตรวจ CTA Thoracic Aorta Post TEVAR ต้องตัด Pre Contrast ก่อนทุกราย จากนั้นเลือกสไลด์ที่จะทำการดูภาพในระหว่างการฉีดสารทึบรังสี โดยประมาณอยู่ตรง Aortic Arch

จากนั้นทำการตัดซ้ำๆที่เดิมตรงสไลด์ที่เลือกไว้หลังจากเริ่มฉีดสารทึบรังสีประมาณ 10 วินาที โดยแต่ละครั้งของการตัดจะห่างกันประมาณ 3 วินาที แล้วดูความเข้มข้นของสารทึบรังสีที่ฉีดเข้าไป หรือตั้งเป็นออโตเมติกให้เครื่องวัด HU ได้ประมาณ 100 ก็ทำการตัด Phase CTA เรียกเทคนิคการตัดนี้ว่า Smart prep. จากนั้นรอเวลาจนถึง 2 นาทีหลังการฉีดสารทึบรังสีจึงทำการตัดอีกครั้งหนึ่งจะได้ภาพ CTA Delay และภาพของสารทึบรังสีที่อาจมีการ leak อยู่ด้านนอก Stent ที่ใส่ให้ผู้ป่วยทำให้ทราบแน่ชัดว่ามีเลือด leak ออกนอก Stent จริงหรือไม่

 

การสร้างภาพ 

1. ภาพที่ได้หลังจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นภาพ Axial 1.2-1.25 mm. และ 5-7.5 mm.

2.  สร้างภาพ MPR และ MIP สำหรับดูภาพในแนวระนาบต่างๆสามารถปรับมุมและความหนาของภาพตามต้องการ

3. สร้างภาพ VR เป็นการแสดงภาพตามค่า Histogram ที่ตั้งไว้และแสดงออกในเฉดสีที่ต่างกัน

 

ข้อบ่งชี้ 

ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองที่ทรวงอก

 

ค่าพารามิเตอร์ในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 

Scan Setting 120-140 KVp   250-300 mA
การหายใจ หายใจเข้า กลั้นใจนิ่ง
Rotation time 0.5 sec
Slice Thickness helical 1.2 - 1.25 mm.
Pitch 1.5
Reconstruction 5-7 mm.
ขอบเขต base of neck to celiac region
IV contrast concentration 320-370 mg/ml
IV contrast volume 80-100 ml
flow rate 4 ml/sec
scan precontrast
  smart prep CTA
  delay 2 mins CTA
reconstruction technique phase CTA for Volume Rendering
  phase Delay for MIP

 

การเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการตรวจและการดูแลหลังการตรวจ 

 

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ

1.  ให้ผู้ป่วยงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ เนื่องจากต้องได้รับการฉีดสารทึบรังสี (Contrast Media) ขณะทำการตรวจ

2.  ผู้ป่วยที่มีประวัติโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ โรคไต เบาหวาน หรือมีประวัติแพ้อาหารทะเลและสารทึบรังสี ควรแจ้งพยาบาลประจำห้องตรวจให้ทราบ เพื่อรายงานแพทย์ในพิจารณาการใช้สารทึบรังสี

3. เปลี่ยนใส่ชุดของทางโรงพยาบาล และถอดเครื่องประดับ

4.  แทงเข็มเปิดหลอดเลือดดำบริเวณข้อพับแขนข้างขวา โดยใช้ Surflo No.18G  เพื่อเตรียมในการฉีดสารทึบรังสี

 

การดูแลผู้ป่วยหลังการตรวจ

1.  หลังการตรวจเสร็จให้สังเกตอาการแพ้สารทึบรังสี เช่น มีตุ่มนูนแดง ผื่นลมพิษ การหายใจผิดปกติควรแจ้งให้ทราบโดยด่วน เพราะจำเป็นต้องได้รับการรักษาก่อนกลับบ้าน

2.  ดื่มน้ำประมาณ 1-2 ลิตร ภายใน 24 ชั่วโมง แล้วไปปัสสาวะทิ้งบ่อยๆ เพื่อเป็นการขับสารทึบรังสีออกจากร่างกายทางปัสสาวะ และรับประทานอาหารได้ตามปกติ

 

สรุป 

การตรวจ CTA Thoracic Aorta Post TEVAR สามารถทำได้โดยพิจารณาค่าพารามิเตอร์ให้เหมาะสม สามารถทำการตรวจคล้ายการตรวจ CTA Thoracic Aorta ทั่วไป เพียงแต่ต้องเก็บภาพใน Phase ที่เห็นเส้นเลือดชัดเจน และ Phase Delay เพื่อจะดูว่ามีการไหลออก Leakage นอก Stent ที่ใส่ไว้ในหลอดเลือดหรือไม่ ภาพที่ได้ต้องสามารถนำมาสร้างเป็นแนวในระนาบต่างๆกัน รวมถึงภาพแบบ 3 มิติ ในตอนหลังซึ่งสามารถแสดงผลและช่วยในการตัดสินใจรักษาผู้ป่วย และมีความเสี่ยงในการตรวจน้อยกว่าการตรวจด้วยวิธีอื่นๆรวมถึงค่าใช้จ่ายในการตรวจไม่แพงเกินไป

 

บรรณานุกรม 

  1. McGuinnes G, Naidich DP. Multislice computed tomogra-
    phy of the chest; In Silverman PM. Editor. Multislice computed tomography. Lippingcott Williams Wilkins, Philadelphia, 2002: p117-154
  2. Rubin GD. Multislice imaging for three-dimensional examinations; In Silverman PM. Editor. Multislice computed tomogram
    phy. Lippingcott Williams wilkins, Philadelphia, 2002: p317-336
  3. Castaner E, Andreu M, Gallardo X, et al. CT in nontraumatic acute thoracic aortic disease: typical and atypical features and complications. Radiographics, 2003; 23: s93-s110
  4. Worawong Slisatkorn et al. Thoracic Endovascular Aortic Aneurysm Repair (TEVAR). Siriraj medical journal, 2008; 60 (3) : 148-151.
  5. จุฑา ศรีเอี่ยม, ตองอ่อน น้อยวัฒน์, อภิชาต กล้ากลางชน, คง บุญคุ้ม. การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดแดงใหญ่ทรวงอกด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์. วารสารรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2552; 3(1) : 41-47 
คำสำคัญ (Tags): #CTA#post TEVAR
หมายเลขบันทึก: 420254เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2011 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท