KM ที่รัก ตอนที่34 " พุทธเศรษฐศาสตร์ กับวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เราคุ้นชิน"


ความสามารถ ในการเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง ตามความเป็นจริง= ปัญญา
  
พุทธเศรษฐศาสตร์ต่าง กับเศรษฐศาสตร์ทั่วไปอย่างไร???
                          พุทธเศรษฐศาสตร์ ต่างจากวิชา เศรษฐศาสตร์ ทั่วไปอย่างไร                วิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไป

                            เป็นวิชาที่เริ่มต้นจากการสมมุติ ไม่ได้ศึกษาจากสภาพจริง..เป็นการสมมุติโดยเอาข้อมูลจากความคิดของคน มาเข้าสู่ระบบทางคณิตศาสตร์เพื่อปั่นเอาคำตอบที่เป็นตัวเลข  โดยกิจกรรม ตามแนวคิดวิชาเศรษฐศาสตร์  ที่เราคุ้นชินกัน คือใช้ทุนเป็นปัจจัยการผลิตหลัก ,กระจายผลผลิต,มุ่งสู่การตอบสนองความพึงพอใจ(Pleasure) ของผู้ผลิตที่เป็นปัจเจกบุคคล และสังคมโดยเชื่อว่า สังคมจะมีความสุข  การสร้างความน่าเชื่อถือของวิชาเศรษฐศาสตร์แบบเดิมคือ การใช้วิชาทางสถิติ เขามาช่วย  วิชาสถิติ ก็เหมือน ตาบอด คลำช้าง หรือวิชา เดาอย่างมีระบบ(อ.อภิชัย) จึงเป็นวิชาแห่งโลกสมมุติ ไม่ได้สัมผัสกับความจริงของสรรพสิ่ง ซึ่งผลของการเดินตามเศรษฐศาสตร์ที่เราคุ้นชิน คือ ความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรี ถูกทำลายลงอย่างราบคาบ

 วิชาพุทธเศรษฐศาสตร์                          พุทธเศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาเศรษฐศาสตร์ ที่ได้แนวคิดของพระพุทธเจ้า มาเป็นแนวทางของวิชาเศรษฐศาสตร์  เป็นแนวคิดที่เป็น วิทยาศาสตร์ที่สุด ทุกอย่าง สามารถปฏิบัติได้ และเกิดผลได้จริง   กิจกรรมทางเศรษฐกิจของ พุทธเศรษฐศาสตร์  คือ กระบวนการผลิตที่เน้นทุนทางปัญญา , การกระจายผลผลิต , และการบริโภค ซึ่งเน้นเพื่อให้   ปัจเจกบุคคลและสังคมบรรลุศานติสุข(Happiness)

                          ที่น่าสนใจคือระบบเศรษฐกิจ ของพุทธเศรษฐศาสตร์ เป็นระบบปัญญานิยม ซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกัน ของสังคมมนุษยโลก  ที่จะอยู่รอดอย่างมีความสุขร่วมกัน อย่างยั่งยืน  (sustainable development with  happiness) ซึ่งต่างจากการผลิต(modeof production) แบบทุนนิยมที่มุ่งเพียงเน้นตอบสนอง ความต้องการของผู้บริโภคอย่างเดียว

                          

        ปัญญา(panna)   หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตาม ความจริง       ความสุข (happiness)  หมายถึง มีทุกข์น้อย

                           ความทุกข์ (pain)            หมายถึง มีสุขน้อย  
หมายเลขบันทึก: 42024เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2006 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท