สัมมนาแนวทางงานส่งเสริมการเกษตร


งานใหม่ของกรมฯมี 3 ด้านเปรียบเสมือนสามเหลี่ยมด้านเท่า ด้านบนคือศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ด้านขวาล่างคืออาสาสมัครเกษตรและด้านซ้ายล่างคือวิสาหกิจชุมชน

     วันที่ 31 ก.ค.-2 ส.ค.2549 มีการสัมมนาจัดทำแนวทางการส่งเสริมการเกษตร  ณ โรงแรมโกลเด้นท์ดราก้อน 

      เริ่มต้นจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่ทำงานระดับพื้นที่เล่าให้ฟังถึงเป้าหมายการทำงาน วิธีการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผล การจัดทำแผนปฏิบัติงาน งบประมาณและปัญหาอุปสรรค  มีเจ้าหน้าที่ 5 คนจากจังหวัดนนทบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยาและชลบุรี 

      มีประเด็นที่น่าสนใจคือแต่ละท่านสังกัดสำนักงานเกษตรอำเภอและรับผิดชอบตำบล 1-3 ตำบล ทำงานทุกอย่างที่ภาคราชการมีเช่นแก้ไขปัญหาความยากจน น้ำท่วม ฝนแล้ง  สาธารณสุข  กศน.ฯลฯ ถ้าถามว่าทำงานอะไรบ้างก็ขอตอบว่าทำทุกงาน  ไม่มีงานอะไรเลยที่เราไม่ได้ทำ โดยเฉลี่ยที่แจงออกมาประมาณ20-30 งานเพราะเป็นส่วนราชการเดียวที่รับผิดชอบถึงตำบล การทำงานในลักษณะการประสานงานเช่นนี้มีค่าใช้จ่ายเช่นค่าน้ำมัน ค่าถ่ายเอกสาร ค่าโทรศัพท์มากมายซึ่งราชการให้น้อยมาก  ต้องควักเงินส่วนตัวแทบทั้งนั้น เงินเดือนมีเพียง 2 หมื่นกว่าบาทแทบจะไม่พอใช้จ่ายอยู่แล้ว  

     มีท่านหนึ่งกล่าวว่าภรรยาที่บ้านบ่นเพราะสามีต้องเลี้ยงดูคนตั้ง 2 ตำบลเพราะไปทำงานก็ต้องใช้เงินส่วนตัวทั้งนั้น  สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่นยานพาหนะ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ก็เป็นของส่วนตัวเช่นเดียวกัน  ในเดือนหนึ่ง ๆ มีเวลาทำการเพียง 22 วันแต่เราต้องทำงานมากกว่านั้น วันไม่พอ วันหนึ่งๆ มีหลายงาน บางครั้งก็ต้องเลือกไป ทำงานจนหัวเป็นน็อต ตัวเป็นเกลียว ท่านหนึ่งกล่าวว่าเดิมขับรถยนต์ก็ต้องหันมาขี่มอเตอร์ไซด์แทน แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดก็ต้องทำให้สนุกและไม่เครียด ไม่งั้นจะทำงานอะไรไม่ได้เลย

     จากนั้นท่านอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรให้นโยบายว่า จากที่ได้รับฟังปัญหาอุปสรรคในการทำงานจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ 48 แห่งที่สุพรรณบุรี  และจากการสัมมนาวันนี้ได้รับจากเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในพื้นที่   กรมฯจะได้นำไปวิเคราะห์จาก data เป็น information  เป็น knowledge และเป็น wisdom  เพื่อกำหนดเป็นทิศทางของกรมฯต่อไป 

      ท่านได้กล่าวถึงปัญหาในการทำงานที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ 4 M คือ Man(งานมาก คนน้อยฯลฯ ) Money (เบี้ยเลี้ยง น้ำมัน มือถิอฯลฯ) Material(หมึกพิมพ์ กระดาษ) Machine(รถยนต์ มอเตอร์ไซด์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ) จำเป็นต้องเอา M ที่ 5 มาใช้คือ Management  เพื่อให้ทั้ง 4 M สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ และทำงานได้

     งานใหม่ของกรมฯมี 3 ด้านเปรียบเสมือนสามเหลี่ยมด้านเท่า ด้านบนคือศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ด้านขวาล่างคืออาสาสมัครเกษตรและด้านซ้ายล่างคือวิสาหกิจชุมชน  รายละเอียดคือ

     พรบ.วิสาหกิจชุมชน มีงานหลักคือ 1.นายทะเบียน ขณะนี้จดไปแล้ว 3 หมื่นแห่ง  2.ส่งเสริมและสนับสนุน  งานนี้เป็นระดับ agenda ไม่ใช่ function

     อาสาสมัครเกษตร เมื่อก่อนมีหลายอาสาสมัครจากหลายกรมฯภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรฯ จึงรวมเป็นอาสาสมัครเกษตรโดยกระทรวงเกษตรฯได้ออกระเบียบแล้วมีการดำเนินการให้เสร็จภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2549 ตำบลละ 15 คน งานนี้รวมเอายุวเกษตรกรและต้นกล้าเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ด้วย

     ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  มติครม.ให้มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับตำบล เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2549 และจะลงถึงระดับหมู่บ้านในช่วงต่อไป

     งานทั้ง 3 เป็นงานหลักที่ต้องดำเนินการ และต้องอาศัยM ตัวที่ 5 เข้าไปบริหารจัดการ เพื่อไม่ให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างที่คำกล่าวว่า"เขียนโครงการ ผลาญเงินหลวง หลอกลวงประชาชน จนเหมือนเดิม"

     งานวิสาหกิจชุมชนจะสร้างทีม facililator เข้าไปในหมู่บ้าน ใช้เทคนิค RRA (  Rapid Rural Appraisal)  มีการปรับแก้แผนแม่บทชุมชนให้ทันสมัย ใน 75 จังหวัดๆ ละ 1 แห่ง

     การทำงานต้องทำในลักษณะสินทรัพย์ คือ ทำเป็น แต่ถ้าทำไม่เป็นจะเป็นภาระทันที นอกจากนี้ในการทำงานต้องแยกแยะงานเป็น3 ส่วนคือ งานง่าย งานปานกลางและงานยาก ต้องพิจารณาว่างานใดเป็นงานหลักและงานรองแล้วใช้หลักการบริหารมอบหมายอย่างเหมาะสมเพราะทรัพยากรมีจำกัด การทำงานจะต้องยึดหลัก PSA  งานในระดับตำบลนอกจากมีเกษตรตำบลแล้วยังต้องมีเคหกิจเกษตรด้วยเพื่อช่วยกันในการทำงานและต้องมีเจ้าหน้าที่ครบทุกตำบลจึงจะมีประสิทธิภาพมีผู้ถามมากว่าอาสาสมัครกับกรรมการศูนย์มีบทบาทเหมือนหรือต่างหรือขัดแย้งกันหรือไม่ เรื่องนี้สามารถตอบได้ว่า กรรมการศูนย์ฯ(15 คน)เปรียบเสมือน board of director  ถ้าเปรียบเทียบกับบริษัทต้องบริหารตามนโยบายบริษัทและกำกับดูแล ส่วนอาสาสมัคร(15 คน)เปรียบเสมือนเป็นผอ.แผนกผลิตต่าง ๆ ทั้งนี้เกษตรตำบลจะเป็นผู้เชื่อมโยงทั้ง 30 คน ให้ได้ 

     ท่านอธิบดีกล่าวอีกว่างานจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นกับทุกคนในองค์กรช่วยขับเคลื่อนภูเขาลูกนี้ด้วย ต้องถือได้ว่าขณะนี้เป็นโอกาสแล้ว สำหรับวิธีการทำงานจะมีการสื่อสารมากขึ้น ช่วยเหลือกันมากขึ้น หากมีอะไรให้ผู้บริหารช่วยเหลือก็ยินดี

     ดิฉันรู้สึกดีที่ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ระดับพื้นที่ได้นำเสนอภาพการทำงานที่เป็นจริงที่มีงานมาก คนน้อย ขวัญกำลังใจแทบไม่มีเลย ที่ยังอยู่ได้ทุกวันนี้ต้องนับถือทัพหน้าในพื้นที่ที่สามารถสร้างกำลังใจและแรงบันดาลใจให้กับตนเองในการส่งเสริมการเกษตร  แม้ว่าจะมีปัญหาก็ยังสู้ๆ ดิฉันขอส่งแรงใจไปช่วยด้วยคะ  และก็หวังว่าทุกคนในองค์กรคงส่งกำลังใจไปช่วย และแสงสว่างพอเริ่มมองเห็นแล้ว

หมายเลขบันทึก: 42014เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2006 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 07:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
มองถึงอาสาสมัครเกษตร กรมเรามีฐานเกษตรกรอยู่แล้วในกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มยุวฯ ถามว่าเมื่อมีอาสาสมัครเกษตร ได้มีการเน้นถึงการดึงทรัพยากรเหล่านี้มาใช้หรือไม่ หากไม่บอกเข้าใจว่าผู้ปฏิบัติหลายจังหวัดไม่บูรณาการ ...แน่นอน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท