คำไทยและคำไทยที่มาจากภาษาต่างประเทศ


หลักสังเกตคำไทยและคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ

1.  หลักสังเกตคำไทย

                                  1. คำไทยแท้จะต้องเป็นคำพยางค์เดียวหรือที่เรียกว่า "คำโดด" ได้แก่คำที่ออกเสียงพยางค์เดียวมีความหมายในภาษาได้แก่กลุ่มคำที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

        -คำที่เรียกเครือญาติในภาษาสามัญ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก หลาน เหลน เป็นต้น

        -คำที่ใช้เรียกอวัยวะในภาษาสามัญ เช่น ตา หู คอ ดั้ง แขน ขา เป็นต้น (คำว่า "จมูก"

เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร ตรงกับคำไทยว่า "ดั้ง")

        -คำกริยาในภาษาสามัญ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด เป็นต้น

        -คำที่บอกจำนวนนับ เช่น หนึ่ง สอง สาม ...

        -คำที่ใช้เรียกสิ่งของใช้ในบ้านทั่ว ๆ ไป เช่น จาน ชาม ถ้วย แก้ว หม้อ ไห เป็นต้น

                                  2. คำไทยแท้จะไม่มีเครื่องหมายทัณฑฆาต หรือ การันต์ (อ์) เช่น กัน มัน สัน                       เป็นต้น

        หมายเหตุ  คำไทยมีคำที่ใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต 3 คำ คือ

        ผี้ว์    แปลว่า ถ้าว่า หากว่า แม้นว่า มาจากคำว่า ผิว  มาห์   แปลว่า ผี ยักษ์ อมนุษย์ ดิรัจฉาน  เยียร์  แปลว่า งามยิ่ง งามเพริศพริ้ง (คำเหล่านี้จะพบได้เฉพาะในวรรณคดีเก่า ๆ เท่านั้น)

                                                                (จาก หนังสือหลักภาษาไทย ของ กำชัย  ทองหล่อ หน้า 94)

                                  3. คำไทยแท้จะสะกดตรงตามมาตรา คือ มีเสียงสะกดในมาตราใดก็ใช้ตัวนั้นสะกด เช่น มาก จาก คบ สาด คด น้อย เป็นต้น คำว่า เลข สรรพ คต ญาณ ไม่เป็นคำไทยเพราะสะกดไม่ตรงมาตรา

                                  4. คำที่ใช้สระ ใอ ทั้งหมดเป็นคำไทย

                                  5. คำที่ใช้ ไอ ส่วนมากก็เป็นคำไทยโดยดูที่คำนั้นจะมีพยางค์เดียวและไม่มีเครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น ไป ไหน ไกล ไว ไว้ เป็นต้น

                                  6. คำไทยที่ใช้ ตัว "ษ" มีเพียงคำเดียวคือ ดาษ กระดาษ ดาษดา

                                  7. คำไทยที่ใช้ตัว ศ มีเพียงคำว่า ศึก ศอก เศิก เศร้า เท่านั้น นอกจากนั้นคำใช้ "ศ" มาจากภาษาต่างประเทศทั้งสิ้น (คำว่า เศิก เป็นคำแผลงมาจาก ศึก พบได้ในวรรณคดีเท่านั้น)

       หมายเหตุ  การที่จะพิจารณาว่าคำใดเป็นคำไทยหรือไม่นั้นจะต้องใช้กฎเกณฑ์หลาย ๆ ข้อประกอบกัน จะใช้กฎเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้นจะไม่ได้  บางทีก็ต้องใช้ความรู้จากการศึกษา
ภาษาต่างประเทศด้วยเพราะมีคำที่มาจากภาษาต่างประเทศบางคำที่มีการเขียนแบบเดียวกับคำไทย
เช่น แยม หรีด รีม วิก ซึ่งต่างก็เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษทั้งหมดแต่เขียนแบบคำไทย       

2.  หลักสังเกตคำไทยที่มาจากภาษาเขมร    คำเขมรที่เรารับมาใช้ในภาษาไทยส่วนมากมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเสียใหม่ ทั้งนี้เป็นเพราะมีคำเขมรอยู่เป็นจำนวนมากที่เขียนรูปอย่างหนึ่งแต่อ่านออกเสียงอีกอย่างหนึ่ง ไม่ตรงกับรูปที่เขียน ถ้าเราจะเขียนตามเสียงพูดก็จะไม่ตรงกับตัวเขียนเดิมในภาษาของเขา และบางคำก็เขียนตามเสียงที่เราอ่านถนัด
ปากในภาษาไทย แต่ก็มีหลักบางประการที่จะให้สังเกตคำเขมรในภาษาไทยได้ คือ

                                1. ภาษาเขมรมักจะเป็นคำหลายพยางค์และเขียนในรูปอักษรควบกล้ำและอักษรนำ เช่น

กระบือ ตรวจ โขมด เกลอ สไบ ประทม ตริ ขจัด สนอง ผลาญ เปรอ เสวย จรวด กรม กระทรวง

สดับ เป็นต้น

                                2. คำเขมรมักจะมี "ประ" "บรร" "กระ" บัน" "บำ" นำหน้า โดยเฉพาะคำที่มี "บรร"

นำหน้าที่แผลงเป็น "ประ" ได้จะเป็นคำที่มาจากภาษาเขมรทั้งหมด เช่น ประจุ บรรจุ ประชุม ประแกก

 (วิวาท) บรรสาน ประสาน บรรเลง กระลา กระเวน กรรเชียง กระจอก กรรบิด กรรแทก กระแทก

 เป็นต้น

                หมายเหตุ  คำที่มีลักษณะนี้บางคำก็ไม่ได้มาจากภาษาเขมร เช่น ประทาน บรรยากาศ บรรพต บรรพชิต เป็นต้น

                                3. คำเขมรมีการสร้างคำกริยาให้เป็นคำนามโดยการเติมคำเติมกลาง "อำ" และ "อำน" เช่น

        ตริ      เป็น        ดำริ         อาจ        เป็น        อำนาจ

        ตรัส     เป็น        ดำรัส        จง         เป็น        จำนง

        เปรอ    เป็น        บำเรอ       สาง        เป็น        สำอาง

        ตรวจ    เป็น        ตำรวจ       ไกร        เป็น        กำไร

                                   เป็นต้น                 

                                4. คำเขมรในภาษาไทยเมื่ออ่านออกเสียงสะกดในแม่ "กน" มักจะใช้ตัว ญ ร ล เป็นตัวสะกด เช่น กังวล ขจร จาร กำธร ทหาร หาญ บันดาล เป็นต้น

                หมายเหตุ  คำที่ใช้ตัวสะกดเหล่านี้ส่วนมากก็มาจากภาษาอื่น เช่น กาล กล กมล การ

สาร มาร ปัญญา ปัญหา ศาล กาญจน์ เป็นต้น

                                5. คำเขมรในภาษาไทยเมื่ออ่านออกเสียงสะกดในแม่ "กด" มักจะใช้ตัว ส และ จ สะกด เช่น

เผด็จ เสด็จ ตรัส ตรวจ โปรส (โปรด) โสรจ กาจ อาจ เป็นต้น

3.  หลักสังเกตคำไทยที่มาจากภาษาบาลี

1.  คำภาษาบาลีจะมีตัวสะกดและตัวตามตามกฎเกณฑ์ที่แน่นอน"

ทำอธิบาย "ตัวสะกด" หมายถึงพยัญชนะที่ออกเสียงตามหลังสระของพยางค์ เช่น

        สุนทร    ตัว น เป็นตัวสะกด

        ตัณหา    ตัว ณ เป็นตัวสะกด

        "ตัวตาม" หมายถึงพยัญชนะที่ตามหลังตัวสะกด เช่น

        สุนทร    ตัว ท เป็นตัวตาม

        ตัณหา                    ตัว ห เป็นตัวตาม

        ในภาษาบาลีเมื่อมีตัวสะกดจะต้องมีตัวตามเสมอ

กฎเกณฑ์เกี่ยวกับตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลีมีดังนี้

        1. เมื่อพยัญชนะแถวที่ 1 ของวรรคใดวรรคหนึ่งเป็นตัวสะกดพยัญชนะแถวที่ 1 และแถวที่ 2

ของวรรคนั้นเป็นตัวตามเสมอ เช่น

        -พยัญชนะแถวที่ 1 เป็นตัวสะกดพยัญชนะแถวที่ 1 เป็นตัวตาม ตัวอย่าง

                ตัว ก สะกดตัว ก ตาม เป็น กก เช่น จัก (จกฺก) ตัก (ตกฺก)

                ตัว จ สะกดตัว จ ตาม เป็น จจ เช่น นิจ (นิจฺจ) กิจ (กิจฺจ)

                ตัว ฏ สะกดตัว ฎ ตาม เป็น ฏฏ เช่น วัฏ (วฏฺฏ)

                ตัว ต สะกดตัว ต ตาม เป็น ตต เช่น อัตตา จิต (จิตฺต)

                ตัว ป สะกดตัว ป ตาม เป็น ปป เช่น กัป (กปฺป) สัปปิ

หมายเหตุ  ตัวสะกดและตัวตามตัวเดียวกันในภาษาบาลีถ้าตัวตามไม่มีสระกำกับเมื่อมาถึงภาษา
ไทยเราจะตัวตัวตามออกเหลือเพียงตัวเดียวเช่นตัวตัวอย่างที่ยกมาทั้งหมด ในวงเล็บคือคำที่เป็นภาษาบาลีเดิม 

        -พยัญชนะแถวที่ 1 เป็นตัวสะกดพยัญชนะแถวที่ 2 เป็นตัวตาม เช่น

                ตัว ก สะกด ตัว ข ตาม เป็น กข เช่น ทุกข์ ปักข์

                ตัว จ สะกด ตัว ฉ ตาม เป็น จฉ เช่น ปัจฉา มิจฉา

                ตัว ฎ สะกด ตัว ฐ ตาม เป็น ฏฐ เช่น อิฐ (อิฏฺฐิ) โอฐ (โอฏฺฐ)

หมายเหตุ  เมื่อมาถึงภาษาไทยเราจะตัดตัว ฏ ออก

                ตัว ต สะกด ตัว ถ ตาม เป็น ตถ เช่น วัตถุ วิตถาร

                ตัว ป สะกด ตัว ผ ตาม เป็น ปผ เช่น บุปผา เป็นต้น

2. เมื่อพยัญชนะแถวที่ 3 เป็นตัวสะกด พยัญชนะแถวที่ 3 และ แถวที่ 4 เป็นตัวตาม  เช่น

        -พยัญชนะแถวที่ 3 เป็นตัวสะกดพยัญชนะแถวที่ 3 เป็นตัวตาม เช่น

                ตัว ค สะกดตัว ค ตาม เป็น คค เช่น อัคคี บุคคล

                ตัว ช สะกดตัว ช ตาม เป็น ชช เช่น วิชา (วิชฺชา)  เวชชา

                ตัว ฑ สะกดตัว ฑ ตาม เป็น ฑฑ เช่น ฉุฑฑะ

                ตัว ท สะกดตัว ท ตาม เป็น ทท ไม่ค่อยมีใช้

                ตัว พ สะกดตัว พ ตาม เป็น พพ เช่น ปัพพาชนีย์ ลัพ

        -พยัญชนะแถวที่ 3 เป็นตัวสะกดพยัญชนะแถวที่ 4 เป็นตัวตาม เช่น

                ตัว ค สะกดตัว ฆ ตาม เป็น คฆ เช่น พยัคฆา (เสือ)

                ตัว ช สะกดตัว ฌ ตาม เป็น ชฌ เช่น มัชฌิม (กลาง)

                ตัว ฑ สะกดตัว ฒ ตาม เป็น ฑฒ (เรามาใช้เป็น ฒ ตัวเดียว) เช่น วุฒิ (วุฑฒิ)

                ตัว ท สะกดตัว ธ ตาม เป็น ทธ เช่น สิทธิ์

                ตัว พ สะกดตัว ภ ตาม เป็น พภ เช่น ลัพภ์

3. เมื่อพยัญชนะแถวที่ 5 เป็นตัวสะกดพยัญชนะทุกแถวในวรรคเดียวกันเป็นตัวตามได้ เช่น

                ตัว ง สะกดตัว ก ข ค ฆ ง เป็นตัวตาม (ตัว ง สะกดตัว ง ตาม ไม่มีใช้) เช่น

                     ปงกช สังขาร อังคาร สงฆ์

                ตัว ญ สะกดตัว จ ฉ ช ฌ ญ เป็นตัวตาม เช่น สัญจร ปุญฉนะ  อัญชลี ปัญญา

                ตัว ณ สะกด ตัว ฎ ฐ ฑ ฒ ณ เป็นตัวตาม เช่น ตัณฏกะ กัณฑ์ ปัณณะ

                ตัว น สะกด ตัว ต ถ ท ธ น เป็นตัวตาม เช่น อันตะ คันถะ นันท์ สนธิ อันนะ

                ตัว ม สะกดตัว ป (บ) ผ พ ภ ม เป็นตัวตาม เช่น สัมปทาน สัมผัส อัมพร   เป็นต้น

4.  คำบาลีจะใช้ตัว ฬ ในขณะที่ในภาษาสันสกฤตใช้ตัว ฑ เช่น ครุฬ

5.  คำบาลีจะใช้ตัว ส เพียงตัวเดียวแต่ภาษาสันสกฤตจะใช้ ศ  ษ  ส โดยมี

หลักการใช้ ศ  ษ  ศ (ของภาษาสันสกฤต) ดังนี้

        -ตัว ศ จะใช้ร่วมกันพยัญชนะวรรค จ คือ จ ฉ ช ฌ ญ เช่น พฤศจิก อัศจรรย์ เป็นต้น

        -ตัว ษ จะให้ร่วมกับพยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ (ฎ) ฐ ฑ ฒ ณ เช่น พฤษภา และตามหลังตัว

                ก เช่น เกษตร กษัตริย์ เป็นต้น

        -ตัว ส จะใช้ร่วมกับพยัญชนะวรรค ต คือ ต (ด) ถ ท ธ น เช่น วัสดุ พิสดาร เป็นต้น

                    6.  คำบาลีจะมีสระใช้เพียง 8 เสียง คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ถ้าพบคำที่ใช้สระอื่นนอกจากนี้จะไม่ใช้คำที่มาจากภาษาบาลี (อาจจะมีคำที่มาจากภาษาบาลีที่มีการเปลี่ยนสระบ้าง เช่น จิร เป็น เจียร เป็นต้น)

4.  หลักสังเกตคำไทยที่มาจากภาษาสันสกฤต 

1.  คำที่มาจากภาษาสันสกฤต จะไม่มีการใช้ตัวสะกดและตัวตามตามหลักเกณฑ์ที่แน่นอนเหมือนในภาษาบาลี คือ การใช้ตัวสะกดและตัวตามในภาษาจะไม่แน่นอน เช่น ตัวสะกดเป็นพยัญชนะวรรคตัวตามจะเป็นพยัญชนะเศษวรรคบ้าง เช่น จักร มัธยม มิตร เป็นต้น ตัวสะกดเป็นพยัญชนะเศษวรรค  ตัวตามเป็นพยัญชนะวรรคบ้าง เช่น พิสดาร พัสดุ กัลป์ เป็นต้น

2.  คำที่ใช้ตัว ฑ ส่วนมากจะมาจากภาษาสันสฤต ส่วนใช้ตัว ฒ ส่วนมากจะมาจากภาษาบาลี

3.  คำที่ใช้ตัว ศ มีที่มาดังนี้

                        1) ที่เป็นคำไทย 4 คำ คือ ศึก ศอก เศิก เศร้า

                        2) มาจากภาษาเขมร 5 คำ คือ เพริศ พิศ พิศวง ศอ (คอ) ศก (ผม)

                        3)  มาจากภาษาตะวันตกเช่น อังกฤษ ไอศกรีม โปลิศ ออฟฟิศ ฝรั่งเศส

                        4) นอกจากนั้นมาจากภาษาสันสกฤตทั้งหมด

4.  คำที่ใช้ ษ มาจากภาษาตะวันตก 1 คำ คือ อังกฤษ และไม่ทราบที่มาคือ ดาษ
ดาษดา กระดาษ นอกจากนั้นมาจากภาษาสันสกฤตทั้งหมด

5.  คำในภาษาสันสกฤตมักจะเป็นคำควบกล้ำซึ่งการควบกล้ำอาจจะอยู่ในตำแหน่งต้นพยางค์ เช่น ไปรษณีย์ ปราศรัย เป็นต้น หรืออยู่ในตำแหน่ง ท้ายพยางค์ซึ่งเมื่อรับเข้ามาสู่ภาษาไทยเราจะใช้เป็นตัวสะกดแต่ก็คงรักษารูปศัพท์เดิมเอกไว้ เช่น มิตร จันทร์ จักร เป็นต้น

6.  คำที่ใช้ รร (ร หัน) มีที่มา 3 อย่าง คือ

                        1) มาจากคำไทยที่เราแผลงมาจากคำว่า "กระ" เช่น

                กระเช้า     เป็น         กรรเช้า

                กะโชก      เป็น         กรรโชก

                กระเจียก    เป็น         กรรเจียก

                          เป็นต้น

                        2) มาจากภาษาเขมรส่วนมากจะเป็นคำว่า "บรร" ที่แผลงกับคำว่า "ประ" ได้ เช่น

                ประจบ      เป็น         บรรจบ

                ประทัด      เป็น         บรรทัด

                ประจุ       เป็น         บรรจุ

                        3) คำที่ใช้ "รร" นอกจากนี้จะมาจากภาษาสันสกฤตทั้งหมด

7.  คำหลายพยางค์ที่ใช้ สระ ไอ และ สระ เอา ส่วนมากจะมาจากภาษาสันสกฤต เช่น
ไพบูลย์ ไปรษณีย์ เอารส เอาฑาร เป็นต้น

8. คำที่ใช้สระ ฤ มีในคำไทยไม่กี่คำ เช่น ฤ ฤา ที่แปลว่า หรือ  ฤชา  ที่แปลว่า ค่าธรรมเนียม มาจากภาษาตะวันตกคือคำว่า อังกฤษ นอกจากนั้นมาจากภาษาสันสกฤตทั้งหมด

5.  หลักสังเกตคำไทยที่มาจากภาษาจีน 

1. คำที่มาจากภาษาจีนที่เรารับมาใช้ส่วนมากจะเป็นคำที่เป็นชื่อของอาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึงแป๊ะซะ เป็นต้น

2. คำไทยที่รับมาจากภาษาจีนส่วนหนึ่งเป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตึก เก้าอี้ ฮวงซุ้ย เก๋ง เป็นต้น

3. คำไทยที่รับมาจากภาษาจีนส่วนหนึ่งเป็นคำที่เกี่ยวกับการค้าและการจัดระบบทางการค้า เช่น กุ๊ย เจ๋ง บ๋วย เป็นต้น

4. คำไทยที่รับมาจากภาษาจีนส่วนมากจะใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ตรีและจัตวา เช่น ตุ๊ย เก๋ง อู๋ เป็นต้น

เรื่อง หลักสังเกตภาษาตะวันตกในภาษาไทย

                                ภาษาตะวันตก หมายถึงภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน โปรตุเกส กรีก ลาติน เรารับมาใช้ในภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาส่วนมากเรารับมาโดยผ่านทางการรับสิ่งของเครื่องใช้และวัฒน-ธรรมต่าง ๆ ซึ่งเรารับของเขามาใช้ มีหลักสังเกตดังนี้

                                1. เขียนเหมือนตัวสะกดในภาษาเดิมตามหลักการถอดพยัญชนะและสระ แต่ในเวลาอ่านออกเสียงเราอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ แตกต่างไปจากอักษรไทยที่เราเขียน เช่น

            เมตร(Metre)          ควรเขียนมีไม้ไต่คู้

            ออฟฟิศ (Office)       ควรมีวรรณยุกต์ตรีที่   ออฟ                                      

            ดอกเตอร์ (Doctor)     ควรมีวรรณยุกต์ตรีที่ตัว ด และควรมีวรรณยุกต์ โท ที่ตัว ต

            เทคนิค (Technic)      ควรมีวรรณยุกต์โทที่ตัว  เทค

                ยุโรป (Europe)        อ่านเป็น ยุ - โหรบ                  เป็นต้น

                                2. เปลี่ยนเสียงและคำให้ผิดไปจากเดิม เช่น เซ็น (Sign) หรีด (Wreath)

แป๊ป (pipe)  ปอนด์ (pound) เป็นต้น

                                3. เติมเครื่องหมายทัณฑฆาตที่พยัญชนะตัวสุดท้ายของคำเพื่อไม่ต้องออกเสียง เช่น ไมล์ (mile) ออนซ์ (onze) ดอลล่าร์ (Dollar) คาร์บอน (Carbon) เป็นต้น

                                4. เติมเครื่องหมายทัณฑฆาตกลางคำเพื่อแสดงว่าไม่อ่านออกเสียงพยัญชนะตัวนั้น เช่น ชอล์ค (chalk) บาล์ม (Balm) เป็นต้น

                                5. ตัดตัวที่เป็นพยัญชนะตัวเดียวกันกับตัวสะกดออกตามหลักการใช้ตัวสะกดและ
ตัวตามของภาษาบาลีที่ เราเรียนมาแล้ว เช่น ฟุตบอล (Football) สวิส (Swiss) เป็นต้น

                                6. เติมเครื่องหมายวรรณยุกต์เพื่อให้อ่านออกเสียงชัดเจนและแสดงความแตกต่าง
จากคำอื่น ๆ เช่น โน้ต (Note)  เซ็น (Sing)  เช็ค Cheque) ก๊าซ (Gas) เชิ้ต (Shirt) สบู่ (Saboo) เป็นต้น 

                                7. ใช้ตัวสะกดและการอ่านตรงตามคำในภาษาเดิม เช่น คลินิก (Clinic) เทอม (Term) แยม (Jam)ฟุต (Foot)  เบนซิน (benzene) ไอศกรีม (Ice-cream) เป็นต้น

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 420056เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2011 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

มีแบบเรียนแบบโปรแกรมด้วยครับ ใครต้องการใช้ขอมาได้เลยครับ

ครูประเสริฐ

นางสาวพรนิภา ราชธานี

เลขที่13 ม.5/2

นางสาวเพ็ญธิดา เลิศไกร ม.5/2 เลขที่ 33

ขอบคุณคะอาจารย์ที่ทำให้หนูมีความรู้เพิ่มเติม

นางสาวเจนจิรา ปัญญาใส

ม.5/2 เลขที่ 38

น.ส.ศิริลักษณ์ ทองใหม่ ม.5/4 เลขที่ 3

นางสาวกรกช สีเจริญวัฒนา ม.5/2 เลขที่ 37

นางสาวกรกช  สีเจริญวัฒนา  ม.5/2  เลขที่ 37

น.ส.วรรณิศา จันทโกมุท ม.5/2 เลขที่ 34

น.ส.วรรณิศา จันทโกมุท ม.5/2 เลขที่34

น.ส.ยุวภา  เอี่ยมวงศ์  เลขที่  39 ม.5/2

นาย กำธร สุกรี

ม.5/4 เลขที่ 1

ขอบคุณค่ะทีอาจารย์ที่ให้ความรู้

น.ส.นภารัตน์  เผื่อชาติ

เลขที่ 4  ม.5/2

ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่ให้ความรู้เพิ่มเติมมากมาย

น.ส.เสาวลักษณ์  รัตนาคร

เลขที่ 6 ม.5/2

นางสาว จิตรานุช งิ้วใหญ่

ม.5/2 เลขที่ 12

น.ส.สกุลรัตน์ บาลจ่าย

ได้สาระดีมาก

น.ส.สกุลรัตน์ บาลจ่าย

เลขที่ 22 ม . 505

 

ภาษาต่างประเทศที่ไทยนำมาใช้เช่น คอมพิวเตอร์ คำ เตอร์ ไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่อ่านออกเสียงโท ในขณะที่ แป๊บน้ำ มีรูปวรรณยุกต์กำกับ ตามหลักภาษาไทย มีหลักการอ่าน การเขียนคำต่างประเทศเหล่านี้อย่างไรคะ

เย้..... การบ้านเสร็จแล้ว

ขอบคุณค่ะ

ได้ความรุ้มากเลยครับ

นายณัฐกรณ์ พิทักษ์วงศ์ ม.5/2 เลขที่3

ยากจังค่ะ

นางสาวปาริชาติ พัฒนศิลป์

ม.5/2 เลขที่15

ดีเดี๋ยวไปเรียนมั้งดีกว่้า

อยากจะถามว่า ประเสริฐ มาจากภาษาอะไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท