จับตาปัจจัยเสี่ยงน้ำมันพุ่งต่อ ธปท. ปรับลดจีดีพี"49 เหลือ 4-5%


จับตาปัจจัยเสี่ยงน้ำมันพุ่งต่อ ธปท. ปรับลดจีดีพี"49 เหลือ 4-5%
ธปท. ปรับลดประมาณการจีดีพีปี 49 ลง 0.25% จาก 4.25-5.25% เหลือ 4.0-5.0% เหตุราคาน้ำมันกดดัน ด้านเงินเฟ้อทั่วไปครึ่งปีหลังอาจลงช้ากว่าประมาณการเดิม คาดทั้งปีจะอยู่ที่ 5.0-5.8% มองปีนี้ยังต้องใช้ส่งออกขับเคลื่อน หลังการลงทุนภาครัฐและเอกชนร่วมใจกันชะลอตัว คาดการบริโภคในประเทศกลับมาหนุนไตรมาส 1/50 หลังเงินเฟ้อลดลงกำลังซื้อกลับมา จับตาความเสี่ยงระยะต่อไปต้องจับตาราคาน้ำมัน ความล่าช้างบประมาณรายจ่ายภาครัฐ และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของปี 2549 จาก 4.25-5.25% เหลือ 4.0 - 5.0%  และจีดีพีปี 2550 ปรับลงเหลือ 4.0-5.3% จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ 4.5-6.0% ซึ่งประเด็นความเสี่ยงที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อระยะต่อไป คือ ราคาน้ำมันดิบ ความล่าช้าของการพิจารณางบประมาณรายจ่ายภาครัฐ และการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า   ทั้งนี้ การประชุมของคณะกรรมการ    ครั้งล่าสุด ได้เปลี่ยนแปลงการประมาณการในหลายส่วนจนส่งผลให้ต้องปรับประมาณการจีดีพี และตัวเลขเงินเฟ้อ หลัก ๆ ได้แก่ ราคาน้ำมัน โดยปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบปี 2549 จาก 61.5 ดอลลาร์/บาร์เรล เป็น  66.2 ดอลลาร์/บาร์เรล และกรณีเลวร้ายสุดราคาน่าจะอยู่ที่ 84.5 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น       ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในครึ่งปีหลังอาจปรับตัวลงช้ากว่าที่คาด จากเดิมคาดเงินเฟ้อทั่วไปปี 2549 อยู่ที่       4.0-5.0% เป็น 5.0 - 5.8% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในกรอบ 2.0 - 3.0% ปัจจัยต่อมาคือ การขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่จะมีผลต่อการส่งออกไทยนั้น โดยรวมปี 2549 คาดว่าจะยังคงเร่งตัวได้ จากข้อมูลจริงในไตรมาส 1/49 ที่ขยายกว่าที่คาดการณ์เดิมจาก 4.5% เป็น 4.7%     แม้จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็ตาม แต่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐ อาจไม่ได้แข็งแกร่งในระยะต่อไป ขณะแนวโน้มของค่าเงินแม้ระยะที่ผ่านมาจนขณะนี้จะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์จากเศรษฐกิจสหรัฐยังขยายตัวดีกว่าตลาด แต่ระยะต่อไปค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียรวมถึงเงินบาทยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น   ทั้งนี้ ธปท. ได้เปลี่ยนแปลงข้อสมมติฐานทิศทางนโยบายการเงินของสหรัฐ ที่จากเดิมคาดว่า     มีการหยุดดอกเบี้ยที่ 5.0% แต่ประมาณการครั้งนี้คาดว่าปีนี้เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกและไปหยุดที่ 5.50%   ปัจจัยเสี่ยงที่อาจมีต่อภาวะเศรษฐกิจอีกประการหนึ่ง คือ การล่าช้าของการพิจารณางบประมาณรายจ่ายภาครัฐ  ทั้งนี้ทำให้ ธปท. ได้ประมาณการว่าภาครัฐอาจเบิกจ่ายงบประมาณลงทุน ปี 2550 ล่าช้าออกไป 9 เดือน แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะไม่ล่าช้าถึง 9 เดือนก็ได้ ซึ่งจะทำให้ภาพรวมการลงทุนรวมของภาครัฐและเอกชน       

ลดลงเหลือ
4.5 - 5.5% ในปี 2549 จากเดิมที่คาดว่าจะมีการลงทุนรวมกันขยายตัว 7.5 - 8.5% และปี 2550     จากเดิม     ที่ประเมินว่าทั้งรัฐและเอกชนจะลงทุนขยายตัวรวมกันที่ 8.0 - 9.0% ปรับลดลงเหลือ 6.0 - 7.0% ซึ่งการลงทุนภาครัฐขยายตัวเพียง 3.5 - 4.5% ขณะเอกชนลงทุน 7 - 8%
ปัจจัยที่คาดจะมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี 2550 นอกจากส่งออกแล้ว คือ การบริโภคภายในประเทศ สังเกตจากตัวเลขอุปโภคภาคเอกชนที่ยังอยู่ระดับ 3-4% ประกอบกับไตรมาส 1/50 เงินเฟ้อที่เคยบั่นทอนอำนาจซื้อประชาชนจะปรับตัวลดลงด้วย    "แม้ดูเหมือนว่าตัวเลขจากภาครัฐจะลดลง แต่ เศรษฐกิจยังขับเคลื่อนได้ด้วยการบริโภค ส่วนการส่งออกก็ยังไปได้เพราะเศรษฐกิจโลกปีนี้ปีหน้าไม่ต่างกันมากนักแม้จะมีปัจจัยน้ำมัน และถ้าน้ำมันเป็นไปตามที่คาดก็หมายถึงน้ำมันที่เคยดึงอำนาจซื้อประชาชนจะไม่มีอีกแล้ว นักลงทุนก็จะเริ่มมองเห็นทิศทางต้นทุนที่ชัดเจนและกล้าลงทุน"

ประชาติธุรกิจ  31  ก.ค.  49

คำสำคัญ (Tags): #จีดีพี
หมายเลขบันทึก: 41919เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2006 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท