โรงพยาบาลรามัน : โรงพยาบาลวิถีมุสลิม


การปรับเปลี่ยนมุมมองการให้บริการแบบองค์รวม การวิเคราะห์บริบทอย่างเป็นองค์รวม (holistic approach) การปฏิบัติต่อผู้รับบริการมุสลิมนั้นสิ่งที่จะต้องคำนึงมากที่สุดคือมิติทางด้านจิตวิญญาณ เนื่องจากมุมมองด้านความเจ็บป่วยและภาวะสุขภาพของมุสลิมมีพื้นฐานมาจากความศรัทธาต่อองค์อัลเลาะห์ ความเจ็บป่วยและภาวะสุขภาพของมุสลิมมีพื้นฐานมาจากความศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์ ดังนั้นการให้ความสำคัญกับมิติจิตวิญญาณจึงเป็นการสร้างความมั่นใจ ความสุขของผู้รับบริการ มีพลังที่จะก้าวพ้นความเจ็บป่วยทางกายได้

โรงพยาบาลรามัน :

โรงพยาบาลวิถีมุสลิม

ความอ่อนไหวของสถานการณ์ชายแดนสามจังหวัดภาคใต้ กับความละเอียดอ่อนของชนมุสลิม หลักปฏิบัติที่เคร่งครัดในบริบทที่ผู้คนและชุมชนนับถือศาสนาอิสลามถึงร้อยละ ๙๖   ความท้าทายอย่างหนึ่งในบทบาทของระบบบริการสาธารณสุข คือการปรับระบบการบริการให้เป็นระบบที่รักษา “คน” ไม่ใช่รักษา “โรค” เป็นระบบสุขภาพที่มี “ความเป็นมนุษย์” (humanized health care)

 

ความละเอียดอ่อนในจารีตปฏิบัติของชนมุสลิม หากเริ่มต้นจากความไม่เข้าใจ เริ่มต้นจากการเพิกเฉยการคลี่คลายความรู้ที่ถูกต้องก็จะเกิดปรากฏการณ์การหลีกเลี่ยงที่จะใช้บริการสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ ทำให้ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามโดยเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาทางด้านสุขภาพสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ การให้บริการด้วยใจ การคลี่คลายปมข้อสงสัย การบริบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ทำให้ประชาชนรู้สึกสบายใจเมื่อต้องมารับบริการจากโรงพยาบาล เพราะเมื่อเขาเดินเข้ามารับบริการก็มั่นใจได้ว่า จะถูกต้อนรับทั้งความเข้าใจวิถีมุสลิมที่ละเอียดอ่อนและให้เกียรติในฐานะเป็นมุสลิมชน ลดความขัดแย้งและความรู้สึกแปลกหน้าต่อกัน โรงพยาบาลจึงได้ชื่อว่า พื้นที่ดูแล เยียวยาด้วยหัวใจอย่างแท้จริง

การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลที่อยู่ในใจของผู้คน วัดได้จากพื้นฐานง่ายๆ คือ การถูกยอมรับและศรัทธาจากผู้มาใช้บริการ ส่วนเรื่องการจัดการระบบต่างๆในโรงพยาบาลทั้งหลายเหล่านั้นล้วนแต่เป็นเรื่องรองทั้งสิ้น

เริ่มต้นที่ความเข้าใจ...เราเป็นส่วนหนึ่งของท่าน และท่านเป็นส่วนหนึ่งในเรา

 

รูกนอิสลาม (หลักปฏิบัติ)มีทั้งหมด ๕ ประการ  ถือว่าเป็นหลักปฏิบัติที่ควรเข้าใจในเบื้องต้น ได้แก่การปฏิญาณตนซึ่งเป็นตัวใจของชาวมุสลิม การละหมาด หลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของศาสนาอิสลาม การถือศีลอดเป็นสิ่งบังคับให้มุสลิมที่ไม่มีข้อจำกัดทางด้านสุขภาพ สตรีหลังคลอด สตรีที่อยู่ในระหว่างการมีประจำเดือน ต้องถือปฏิบัติปีละ ๑ เดือน การบริจาคทาน(ซากาด) และการประกอบพิธีฮัจญ์

ความสัมพันธ์กับพระผู้เป็นเจ้าตลอดเวลาของอิสลาม หมายถึงที่สุดของมิติทางจิตวิญาณที่มีความอิ่มเต็ม หากเรามองไปยัง สุขภาวะในทัศนะอิสลาม หมายถึงความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย สังคม จิตใจและจิตวิญญาณ โดยเน้นมิติทางจิตวิญญาณ (Spiritual Well being) อิสลามจึงมิได้เป็นเพียงศาสนาแต่เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต (Way of life) ดังนั้นมุสลิมจึงดำเนินชีวิตตามวิถีศาสนาตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย ตั้งแต่ลืมตาจนกระทั่งหลับตา มุสลิมจะดำเนินชีวิตไปตามกรอบของศาสนาอิสลามซึ่งบัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งเป็นพระดำรัสของอัลลฮ์ และฮัลฮาดิษ ซึ่งเป็นวจนะและแบบอย่างของท่านศาสดามูฮำหมัด เป็นธรรมนูญสูงสุดของมุสลิม ที่มีการบัญญัติเรื่องการเป็นอยู่ การกินและกิจวัตรทั่วไป ตลอดจนเรื่องสุขภาพอนามัย ที่ครอบคลุมมิติงานส่งเสริมสุขภาพ

 

การเปิดใจเรียนรู้ทำให้เราเข้าถึงความเป็นอิสลามมากขึ้น และการที่เข้าถึง เข้าใจ การจัดบริการทางด้านสุขภาพจึงต้องสอดคล้องกับวิถีที่ละเอียดอ่อนนี้ การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในวิถีของมุสลิมจึงให้ความสำคัญและใส่ใจการปฏิบัติต่อกันผ่านการให้และรับในมิติของการส่งเสริมสุขภาพและรักษาสุขภาพ

ความเข้าใจนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพ


การวิเคราะห์แบบองค์รวม (holistic Approach) ผ่านวิถีมุสลิมจะช่วยให้ “เข้าใจ เข้าถึง” วิถีวัฒนธรรมซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพและจัดบริการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตมุสลิม การเข้าใจบทบาทหน้าที่ในฐานะมุสลิม(Function) ที่พึงปฏิบัติต่อพระผู้เป็นเจ้า เป็นสิ่งที่ผู้ให้การรักษาพยาบาลต้องเข้าใจว่า “ผู้ป่วย” มุสลิมมีภารกิจที่สำคัญในการเป็น “มุสลิมที่ดี” การเอื้อหรือการช่วยให้ผู้ป่วยได้ทำละหมาด การปรับเปลี่ยนวิธีการรักษา การให้ยาในกรณีเดือนรอมฏอน การจัดมุมอาซานในเด็กแรกคลอด และการให้ความสำคัญกับศาสนกิจต่างๆ เป็นการลดคงวามกังวลของผู้มารับบริการและโรงพยาบาลก็เป็นโรงพยาบาลคุณภาพที่ได้รับการยอมรับ ศรัทธา มีความรักความเข้าใจ 

การเข้าใจโครงสร้างของสังคมมุสลิมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ทางโรงพยาบาลได้ให้สุขศึกษาผ่านผู้นำศาสนาหรือโต๊อีหม่าม  หากโต๊อีหม่ามเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน   จะช่วยให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น ในเงื่อนไขหลักที่ทุกคนกังวลคือ การรักษาพยาบาลจะขัดต่อหลักศาสนาหรือไม่?  เรื่องที่ละเอียดอ่อนไปมากกว่านั้นก็คือ

การเข้าใจความคาดหวัง (Expectation) ความคาดหวังสูงสุดของมุสลิมคือการได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮ์(ซ.บ.) ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า (โลกอาคีเราะฮ์) ความโปรดปรานในโลกนี้คือการได้มีชิวตอยู่ตามแนวทางของอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) ซึ่งจะส่งผลต่อการได้เข้าสรวงสวรรค์ในโลกหน้า เมื่อมีการเจ็บป่วยในมโนทัศน์ของมุสลิมก็คือการได้รับการบริบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และสอดคล้องต่อศาสนกิจ วิถีที่ไม่ขัดต่อแนวทางของ   อัลเลาะฮ์

โรงพยาบาลคุณภาพ : โรงพยาบาลวิถีมุสลิม

แม้ว่าการทุ่มเทพัฒนาโรงพยาบาลให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศ หรือการเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงอาจไม่ได้ตอบโจทย์ของการเป็นโรงพยาบาลในหัวใจของประชาชน หากเราจะวัดมาตรฐานคุณภาพของโรงพยาบาลรามัน สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือ การยอมรับ ศรัทธาของประชาชนที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นเรื่องยากและท้าทายในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลหากละเลยมิติอันอ่อนไหวเช่นนี้

การขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลจึงเน้น “การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” นอกจากจะเข้าใจบริบทมุสลิมตามที่ได้เกริ่นมาก่อนหน้านี้แล้วยังมีกระบวนการที่สำคัญดังนี้

การปรับกระบวนทัศน์ในการทำงาน

 

ความหลากหลายของสังคมหนึ่งๆ ประกอบด้วยส่วนย่อยและกลุ่ม ตลอดจนเครือข่าย โดยการออกแบบการทำงานคุณภาพจำเป็นต้อง เข้าใจ ยกระดับและปรับตัว เป็นสำคัญ

การปรับเปลี่ยนมุมมองการให้บริการแบบองค์รวม การวิเคราะห์บริบทอย่างเป็นองค์รวม (holistic approach) การปฏิบัติต่อผู้รับบริการมุสลิมนั้นสิ่งที่จะต้องคำนึงมากที่สุดคือมิติทางด้านจิตวิญญาณ เนื่องจากมุมมองด้านความเจ็บป่วยและภาวะสุขภาพของมุสลิมมีพื้นฐานมาจากความศรัทธาต่อองค์อัลเลาะห์ ความเจ็บป่วยและภาวะสุขภาพของมุสลิมมีพื้นฐานมาจากความศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์ ดังนั้นการให้ความสำคัญกับมิติจิตวิญญาณจึงเป็นการสร้างความมั่นใจ ความสุขของผู้รับบริการ มีพลังที่จะก้าวพ้นความเจ็บป่วยทางกายได้

การปรับเปลี่ยนการให้การบริการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต

 

การทบทวนวิธีการรักษาด้วยยาในช่วงรอมฏอน  การให้บริการในคลินิกเบาหวาน การให้สุขศึกษาในแต่ละช่วงประเพณี การจัดให้มีพื้นที่ละหมาด หรือแม้กระทั่งการอ่านอาซีน –อัลกุรอาน ในกระบวนการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย การดูแลหลังการตาย

การปรับเปลี่ยนวิธีการบริบาลให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการดูแลบริบาทผู้ป่วยตามมาตรฐานการรักษาพยาบาล จาก “สหวิชาชีพ”  การทบทวนบทเรียน การจัดการความรู้ผ่านประสบการณ์การเยียวยา รักษาของผู้ให้บริการเป็นความพยายามในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในภาพรวมให้ดียิ่งขึ้นไป พร้อมๆกับการขยับเข้าอยู่ในหัวใจของผู้มารับบริการ

 

หมายเลขบันทึก: 419145เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2011 07:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะน้องเอก

  • สารภาพว่าหลงใหลภาพงาม ๆ ของสาวมุสลิม ด้วยฝีมือการถ่ายภาพแบบมืออาชีพ
  • โรงพยาบาลคงเป็นที่พึ่งหนึ่งของพวกเขา คงเป็น
  • พื้นที่ดูแล เยียวยาด้วยหัวใจอย่างแท้จริง

"นางฟ้ารามัน" ครับ

 

ขอบคุณครับพี่ครูตาล (อิงจันทร์)

รอบรู้ทุกๆ เรื่องเลยนะครับพี่เอก..
ผมคิดว่าเรื่องศาสนาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก พี่เอกยังนำมาถ่ายทอดให้คนอ่านเข้าใจได้..

ขอบคุณมากครับ..

การจะเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งให้เข้าถึงใจ ย่อมต้องศึกษาและเตรียมข้อมูลมาก่อนเป็นอย่างดี ... ชื่นชมครับ ;)...

ตามมาจาก face book ค่ะ

ตามมาหา นางฟ้ารามัน

สวัสดีครับ

คนที่ทำงานบริการภาครัฐในสามจังหวัดชายแดนใต้

ชีวิตมีความเสียสละ และมีอุดมการณ์สูงส่งนัก

น่ายกย่องครับ

ขอบคุณที่นำเอาอีกมุมหนึ่งของสังคมมาบอกเล่าครับ

ฟาตีเม๊าะ จะปะกิยา

เป็นวิถีที่ดีเพราะในอิสลามต้องการให้มุสลิมและมุสลิมะฮฺบริการด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ต่ออัลลอฮฺอยู่เสมอ หากการบริการของเราตรงตามหลักการอิสลามแล้วก็นับว่าเป็นแนวทางดะวะห์อย่างหนี่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท