ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์(ประยุกต์)


การวางตัวเกินขอบเขตของผู้บังคับบัญชาก่อให้เกิดผลกระทบต่อการงาน

ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ของ อัลคินดี         เป็นการผิดกฎกติกาหรือธรรมเนียมใดๆหรือไม่กับการนำทฤษฎีทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ความหมายเพื่อใช้กับการปกครองภายในหน่วยงานเล็กๆที่เรียกว่าสถานศึกษา ที่มีบุคลากรเพียงไม่กี่คน ทฤษฎีต่อไปนี้เป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ซึ่ง เจ้าของทฤษฎีอันนี้คือ อัล คินดี เป็นนักปรัชญาเชื้อสายเผ่าคินดะฮฺ ในประเทศเยเมน  เป็นหลานของซอฮาบะฮฺนบีคนหนึ่ง ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ในหลายสาขาวิชา ทั้งทางโลกและทางธรรม เช่น สาขาดาราศาสตร์  ดนตรี แพทย์ จิตวิทยา คณิตศาสตร์ และการเมืองการปกครอง เป็นต้น          และผมเองได้ศึกษาหลักทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ของท่าน จึงได้นำมาประยุกต์ใช้ และนำมาบูรณาการเข้ากับการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาภายในสถานศึกษา ที่ผมเป็นผู้อำนวยการอยู่ในเวลานี้ ส่งผลเลิศต่อตัวผม หยั่งผลประทับใจมาสู่ตัวเอง และยังจะยึดเป็นเอกลักษณ์ เป็นแนวทางแห่งการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาต่อไป ผมจึงปรารถนาที่จะขยายผลให้สมาชิกบล็อกทุกท่านได้อ่านและนำไปเป็นข้อคิด ขอใช้บ้างก็จะดี แต่จะส่งผลลัพธ์ออกมาเช่นใดท่านเท่านั้นจะร้ ทฤษฎีดังกล่าวนั้น กล่าวไว้ว่า         สองสิ่ง(หมายถึงผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา)จะเท่ากัน(หมายถึงการอยู่ร่วมกันอย่างฉันท์มิตร วางตัวเสมอกันและจะยั่งยืนได้) ก็ต่อเมื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด(หมายถึงผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใต้บังคับบัญชา วางตัว) ไม่โต (ไม่ทำตัวพองโต)กว่าสิ่งหนึ่ง(หมายถึงผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใต้บังคับบัญชา) เมื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด(หมายถึงผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใต้บังคับบัญชา) ดังกล่าวถูกเพิ่มจำนวน(หมายถึงแรงเหลิง, ถือตัว, ดูถูก,เยียดหยาม,กดขี่,ข่มเหง,รังแก,อิจฉาริษยากัน)มากขึ้น สองสิ่งนี้(ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา)จะไม่เท่ากัน(ความเป็นมิตรจางหายไป จะส่งผลลบแก่กันในที่สุด) การนำทฤษฎีดังกล่าวมาบูรณาการกับการปกครองบุคลากรในโรงเรียนของผม ส่งผลดีค่อนข้างมาก คือทำให้เรามีความสามัคคี มีความรักใคร่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความผูกพัน เป็นกันเองต่างคนต่างก็มีจุดหมายอันเดียวกัน คือทำให้การเรียนของนักเรียนมีประสิทธิภาพ สนุก บุคลากรทุกคนมีความสุขกับงานเพราะไม่มีแรงลบใดๆมาเบียดเบียน ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของการศึกษา และคุณภาพของชุมชน จนเรามีสโลแกนประจำองค์กรของเราว่า เรียนสนุก สุขกับงาน สานสู่คุณภาพ 

หมายเลขบันทึก: 41875เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2006 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
รู้จักนำมาประยุกต์ และตีความเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม ดี ดี ขอชมเชย
     ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความสามารถในการนำ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ  หลายคนบอกว่าการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้น ควรจะต้องเริ่มต้นด้วย วิสัยทัศน์ที่ชัดและจูงใจ ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะนั่นคือการกำหนดทิศทาง เป็นการวางเป้าหมาย สำหรับอนาคต  แต่ในสายตาของ ผู้เขียน กลับเห็นว่า การสร้างศรัทธา ต่างหาก ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่จะทำให้การนำสำเร็จ  เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผู้เขียน พบว่าแม้ วิสัยทัศน์ ที่สร้างขึ้นมานั้นจะดึงดูดและชวนให้ตื่นตาตื่นใจ สักเพียงใดก็ตาม แต่หากคนทั่วไปไม่ยอมรับนับถือ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว  วิสัยทัศน์ ที่วางไว้นั้น ก็มักจะไร้ความหมาย ไม่มีน้ำหนัก  แต่ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้วิสัยทัศน์ หรือเป้าหมาย ที่กำหนดไว้อาจจะดูไม่ดึงดูดใจเท่าที่ควร  แต่ถ้าหากคนมีความชอบ ความเชื่อ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว  การนำ มีโอกาสที่จะสำเร็จได้มากทีเดียวคำถามที่มักตามมาก็คือ  ศรัทธาเหล่านี้มาจากไหน เราจะสามารถพัฒนามันขึ้นมาได้อย่างไร หากจะกล่าวโดยรวมแล้ว ศรัทธาเป็นเรื่องของ ความชอบ ความเชื่อ เป็นเรื่องของ การยอมรับ เป็น เรื่องของใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเหตุมีผลกำกับเสมอไป โดยหลักแล้ว การที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะเป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั่วไป  บุคคลนั้นก็คงต้องมีอะไรที่เหนือ หรือโดดเด่นอยู่บ้าง  บางคนก็ให้ความสำคัญกับเรื่อง คุณวุฒิ วัยวุฒิ ในขณะที่บางคนกลับให้ความสำคัญกับเรื่อง ความรู้ความสามารถเป็นหลักแต่มีสิ่งหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเห็นพ้องต้องกันว่าสิ่งนี้ คือ ปัจจัยหลัก ในการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ในตัวผู้นำ สิ่งนั้นก็คือ การเป็น ผู้ให้  เราจะพบว่า ผู้นำที่แท้คือ ผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน   แน่นอนที่สุด หากเรามองว่า ธุรกิจคือการแข่งขัน เป้าหมายของการแข่งขันก็คือ ชัยชนะ ผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคน ล้วนแต่ต้องการ ชัยชนะ ด้วยกันทั้งนั้น  แต่สำหรับ ผู้นำ ที่แท้จริงแล้ว  ชัยชนะที่เขาต้องการนั้น เขามองมันในฐานะที่เป็น "รางวัล" สำหรับทุกคน  มิใช่เพียงเพื่อ ตัวเขาเท่านั้น ผู้นำที่แท้ ต้องการจะเห็นคนทุกคนที่ก้าวเดินไปพร้อมกับเขา มีความสุข ได้รับชัยชนะ  ถึงแม้ว่าสายตาของเขาจะจับจ้องอยู่ที่ชัยชนะ แต่ก็เป็นชัยชนะเพื่อคนทุกคน เขาจะเป็นบุคคลที่คิดถึงตัวเองเป็นคนสุดท้ายเสมอ                หากเราลองตั้งคำถามว่า ในโลกนี้มี ผู้นำประเภทที่กล่าวมานี้ด้วยหรือ ?   คำตอบก็คือ  มี  เพราะเราก็ยังคงพบเห็นคนประเภทนี้อยู่ในทุกยุคทุกสมัย  เพียงแต่ว่าในปัจจุบันอาจจะมีให้เห็นไม่มากนัก  เพราะผู้นำที่เราพบกันโดยทั่วไปมักจะเป็นผู้นำที่มา โดยตำแหน่ง เป็นส่วนใหญ่  การที่ผู้นำจำเป็นต้องเป็น  ผู้ให้นั้น เท่ากับเป็นการตอกย้ำให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นว่า ผู้นำที่แท้จะต้องไม่เห็นแก่ตัว จะ ต้องไม่มองประโยชน์เฉพาะส่วนของตน  หากผู้ใด ยึดประโยชน์ส่วนของตนเป็นที่ตั้ง ย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจน ว่าคนผู้นั้นย่อมมิใช่ผู้นำที่แท้จริง  ผู้นำจำเป็นจะต้องมี ความเสียสละ ภาวะผู้นำกับเรื่องการเสียสละ เป็นสิ่งที่ถือว่าคู่กัน ไม่มีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ใดๆ จะเกิดขึ้นได้ หากปราศจากซึ่ง การทุ่มเทและ การเสียสละ    มีนักปรัชญาชาวอเมริกันคนหนึ่ง ได้กล่าวไว้ว่า ในขณะที่เราให้หรือเสียอะไรบางอย่างไป เราก็มักจะได้อะไรบางอย่างมา   และในขณะที่เราได้บางสิ่งบางอย่างมา เราก็มักจะต้องเสียบางสิ่งบางอย่างไปเสมอ    จากคำกล่าว นี้เราจึงพบว่า ผู้ที่ให้มักจะเป็นผู้ที่ได้รับอะไรๆ อยู่เสมอ ทั้งๆ ที่ตัวเขาเองก็มิได้คาดหวังอะไรเป็นสิ่งตอบแทน เข้าทำนองที่ว่า ยิ่งให้ก็ยิ่งได้รับ   ซึ่งส่วนหนึ่งของสิ่งที่เขาได้รับนี้ก็คือ    ศรัทธา  อันเป็นผลเนื่องมาจากความสามารถที่จะ ซื้อใจ ผู้ตามได้นั่นเอง                                                            ***JasmiN*** 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท