ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

“คอรัปชัน : กับขบวนการโคตรโกงในยุคทุนนิยมของสังคมไทย” ตอน2


“การทรราษฎร์” ตามที่ผมได้นำเสนอเกี่ยวกับการคอรัปชัน (Corruption) เมื่อวานนี้นั้น ในวันนี้จึงอยากให้พี่น้องชาว KM ได้รับทราบข้อมูล

คอรัปชัน : กับขบวนการโคตรโกงในยุคทุนนิยมของสังคมไทย ตอน2

           การทรราษฎร์  ตามที่ผมได้นำเสนอเกี่ยวกับการคอรัปชัน (Corruption) เมื่อวานนี้นั้น ในวันนี้จึงอยากให้พี่น้องชาว KM ได้รับทราบข้อมูลต่อครับว่าการคอรัปชัน ในเมืองไทยเรานั้นเป็นอย่างไร จากที่ CPI (Corruption Perceptions Index) ได้มีการสำรวจและวิเคราะห์ทั่วโลกมีผลดังนี้

               ๒๕๔๘ ไทยติดอันดับ ๕๙ ของโลก       CPI (Corruption Perceptions Index)ล่าสุดในปี ๒๕๔๘ สำรวจจาก ๑๕๙ ประเทศทั่วโลก พบว่า ไอซ์แลนด์เป็นประเทศมีความโปร่งใสมากที่สุดเป็นอันดับ ๑ จากที่เคยอยู่ในอันดับ ๓ เมื่อปี ๒๕๔๗ โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ ๕๙ ด้วยคะแนน ๓.๕ ขยับขึ้นจากอันดับที่ ๖๔ ซึ่งได้ คะแนน ๓.๖ เมื่อปี ๒๕๔๗ 

ตาราง แสดงดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์ปัญหาคอรัปชั่นของประเทศไทย (๒๕๓๘ - ๒๕๔๘)  

ปี CPI จำนวนแหล่งข้อมูล อันดับ จำนวนประเทศ
๒๕๓๘ ๒.๗๙ ๓๔ ๔๑
๒๕๓๙ ๓.๓๓ ๑๐ ๓๗ ๕๔
๒๕๔๐ ๓.๐๖ ๓๙ ๕๒
๒๕๔๑ ๓.๐๐ ๑๑ ๖๑ ๘๕
๒๕๔๒ ๓.๒๐ ๑๒ ๖๘ ๙๙
๒๕๔๓ ๓.๒๐ ๑๑ ๖๘ ๙๘
๒๕๔๔ ๓.๒๐ ๑๒ ๖๑ ๙๑
๒๕๔๕ ๓.๒๐ ๑๑ ๖๔ ๑๐๒
๒๕๔๖ ๓.๓๐ ๑๓ ๗๐ ๑๓๓
๒๕๔๗ ๓.๖๐ ๑๔ ๖๔ ๑๔๖
๒๕๔๘ ๓.๘๐ ๑๓ ๕๙ ๑๕๙

  

  

   

ที่มา: www.econnews.orgw'w

ww.ec

        อย่างไรก็ตามนี่เป็นตัวเลขของปี 2548 นะครับแต่หากเป็นปี 2549 ผมเชื่อว่าของประเทศไทยเราจะมีอันดับที่มีตัวเลขน้อยกว่านี้ แล้วผมจะนำเรียนให้ทราบต่อไป

           แนวทางป้องกันการคอรัปชัน  เมื่อวาน รศ.ดร. สังศิต   พิริยะรังสรรค์ ได้สรุปทิ้งท้ายว่าในการป้องกันการคอรัปชันนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องยากเนื่องจากมันฝังรากลึกมานานแล้ว แต่ก็มีแนวทางแก้ไขคือการที่มีรัฐบาลที่ดี (Good Government) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวท่านนั่นแหละ เป็นคนกำหนด ดังนั้นในการเลือกคนเข้ามาในการบริหารบ้านเมืองเมื่อท่านเลือกคนดีเข้ามาทำงานก็จะส่งผลให้มีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี หรือที่เราเรียกว่า ธรรมาภิบาล(Good Governance) ปัญหาการคอรัปชันก็จะสามารถลดลงได้

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

31 ก.ค.2549

 

หมายเลขบันทึก: 41858เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2006 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 02:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เนื่องจากไม่ค่อยจะรู้เรื่องในตัวเลขของไทยเท่าไรก็เลยมีปัญหานิดน่อยในการที่จะรู้ทางด้านสถิติแต่ก็พอจะดูออกหรือสรุปว่าข้อนข้างน่าเป็นห่วงสมควรขนาดประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความจะเรีญก้าวหน้ากว่าถ้าสมเทียบกับประเทศในภูมิพากแถบๆเอเชย ถ้าหากมีการดำเนินการสำรวจจริงเหมือนประเทศไทยผมคิดว่าตัวเลขคงคาคเครื่อนกันมากกว่านี้ (ขอบคุณครับ)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท