การประชุมโซนใต้ประจำเดือนกรกฎาคม (6)


วันนี้เรามาอ่านกันต่อดีกว่าค่ะว่าการประชุมประจำเดือนกรกฎาคม  2549 ของกลุ่มโซนใต้เป็นอย่างไร  ในส่วนนี้ขอบอกใบ้สักนิดค่ะว่าเนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ  เรื่องของคณะกรรมการ 

             คุณภีม  ตั้งประเด็นคำถามขึ้นมาว่า  เมื่อเรามีเป้าหมายแล้วว่าเราจะขยายสมาชิกให้ได้ครบทุกตำบล  เราจะพัฒนาคุณภาพกลุ่มเดิมทั้งในแง่ของจำนวนและคุณภาพชีวิต  เพราะฉะนั้นเราจะมีวิธีการทำอย่างไร?  ซึ่งยุทธวิธีหนึ่งก็คือ  เราต้องพัฒนาคณะกรรมการ  คนทำงานของเราให้มีความเก่งมากขึ้น  ยุทธวิธีที่สอง  คือ  การเข้าไปร่วมงานกับหน่วยงานราชการ  ซึ่งเราต้องวิเคราะห์แบบฟันธงเลยว่าเราควรจะทำงานอย่างไร  บอกวิธีการมาเลย  ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็จะมีธรรมชาติ  มีวิธีการที่เราจะทำงานด้วยไม่เหมือนกัน

             คุณบัณฑิต  แสดงความคิดเห็นว่า  คณะกรรมการยังไม่ได้ซึมซับคุณธรรม  ความรู้  ความเข้าใจ  เข้าไปในสายเลือด  รู้แค่ว่ามาทำงานได้วันละ 130 บาท  เรื่องอื่นเขาไม่คิด  เขาไม่คิดว่ามันดียังไง  มันไปยังไง  ต่อไปในอนาคตจะเป็นอย่างไร  เขายังไม่ได้เข้าถึงในสายเลือด  อย่างผมเองก็เหมือนกัน  ผมยอมรับว่าเมื่อก่อนผมก็ไม่ได้ซึมซับเข้าไปในสายเลือด  ผมก็ไม่ได้คิด  ผมก็แค่อยากเข้ามาลองดูว่ามันเป็นยังไง  แต่พอผมเข้ามาศึกษา  ผมได้มีโอกาสไปตราด  ไปสงขลา  ผมไปตราดไปฟังพระอาจารย์สุบินพูดก็มาหน่อยนึงแล้ว  พอไปสงขลา  กลับมาผมมานั่งคิดจนปวดสมองเลย  ตอนนี้ผมมานั่งคิดว่าอีก 10 ปีข้างหน้า  คือ  ปี 2556  กองทุนจะต้องหาเงินมาออมใส่ไว้ในกองทุนชราภาพเท่าไหร่  ที่คิดออกมาได้  คือ  ประมาณ 160,000 บาท  เราจะทำอย่างไรจึงจะหาเงินในส่วนนี้ได้  แล้วอีก 15 ปี  ซึ่งถึงเวลาที่จะต้องจ่ายบำนาญในกองทุนชราภาพสำหรับผู้ที่อายุ 75 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป  และออมมาครบ 15 ปี อีกประมาณ 1,000,000 กว่าบาท  เราจะทำอย่างไร  แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือ  คนที่เข้ามาเป็นคณะกรรมการต่อจากรุ่นเราเขาจะเข้าใจไหม  มันจะเข้าไปในสายเลือดของเขาหรือไม่  ไม่อยากให้เขาต้องเข้ามารับภาระต่อจากเรา  มันจะเหมือนเป็นตราบาป  สิ่งที่ผมคิดต่อไปก็คือ  จะทำอย่างไรที่จะดึงคนให้เข้ามาสมัครได้  โดยเฉพาะคนที่มีอายุน้อยๆ   นอกจากนี้แล้วยังต้องทำธุรกิจเพื่อก่อให้เกิดดอกออกผล  พอไปสงขลา  ผมได้มีโอกาสเห็นของครูชบ  ในส่วนของการจ่ายเงินชราภาพ  เห็นว่าเขามีการกำหนดเป็นขั้นบันใด  คนที่ออมครบ 60 ปี  และอายุครบ 60 ปี  จะได้บำเหน็จ 1,200 บาท/เดือน  ในส่วนนี้ผมเห็นว่าถ้านำมาปรับใช้กับของเรา  เราต้องทำให้คนเห็นความสำคัญ  อย่าทำให้เขาคิดว่าจะได้เงินเดือนละ 1,200 บาท  แต่ทำอย่างไรให้เขาคิดว่าไม่ต้องเสียดายเงินบาท  เพื่อให้เขาสมัครเข้ามาเป็นสมาชิก  เมื่ออย่างนั้นกองทุนจะมีปัญหาคุณยุพิน  เสนอความคิดต่อว่า  จะทำอย่างไรให้กองทุนนี้โตเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม  เราจะทำอย่างไรให้เงินน้อยๆมันเพิ่มพูนขึ้นหรือทำให้มันออกดอกออกผล

              คุณภีม  ถามต่อว่า  ในตอนนี้คุณบัณฑิตรู้สึกว่ามีพลังในการทำงานต่อไปไหม?

              คุณบัณฑิต  ตอบว่า  ตอนนี้เต็มร้อยเลยครับ  ผมก็เลยบอกกับประธานว่าต่อไปเราจะต้องทำสถิติอายุว่าในปีนี้มีเด็กอายุเท่าไหร่เข้ามาเป็นสมาชิกบ้าง  เข้ามากี่คน   

              .ธวัช  เสริมว่า  ตอนนี้ผมกำลังทำสถิติเปรียบเทียบอยู่  หมายความว่า  หมู่ 1 ของเรามีคนอยู่ทั้งหมดกี่คน  เข้ามาเป็นสมาชิกของกองทุนกี่คน  แต่ละช่วงอายุเข้ามาเป็นสมาชิกเท่าไหร่

              คุณภีม  ถามต่อว่า  เมื่อเราย้อนกลับไป  อย่างคุณบัณฑิต  ซึ่งตอนแรกก็ไม่สนใจ  แต่แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาในตัวเอง  เราจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดอย่างนี้ขึ้นกับคนอื่นๆบ้าง

              คุณบัณฑิต  ตอบว่า  ผมคิดว่าทำได้  คือ  เราจะทำอย่างไรที่จะปลูกฝังคนที่เข้ามาเป็นคณะกรรมการให้ได้  ผมเคยปรึกษากับอ.ธวัชว่า  จะทำอย่างไรให้คณะกรรมการมาทำงานและมาประชุมครบกันทุกเดือน  ถ้าเขาไม่สนใจ  เราก็ต้องพยายามหาคนใหม่เข้ามาเรื่อยๆ 

              .ธวัช  เสริมว่า  เรื่องนี้ก็ทำให้ผมท้อแท้ใจเหมือนกัน  อย่างเวลานัดเรามีคณะกรรมการทั้งหมด 12 คน  แต่พอมาจริงๆมาแค่ 7 คน  ที่เหลือไม่รู้หายไปไหน  ทั้งๆที่ผมย้ำตั้ง 2-3 รอบ  เขาก็รับปาก  แต่พอถึงเวลาจริงๆก็ไม่มา

              คุณบัณฑิต  กล่าวต่อว่า  นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าจะเอาการจัดการความรู้มาใช้อย่างไรที่จะทำให้เขามีจิตสำนึก 

              คุณภีม  ขยายความในเรื่องนี้ว่า  มันมีอยู่ 2 แนว  คือ  การที่เราจะเติบโตได้  คนของเราข้างในจะต้องมีอุดมการณ์  มีความใฝ่ฝัน  อย่างคุณบัณฑิตซึ่งมีความคิดก้าวไปข้างหน้า  มีความฝัน  ซึ่งจริงๆแล้วเราต้องยอมรับว่าเราไม่สามารถทำให้ทุกคนเก่งได้หมด  แต่เราต้องมีผู้นำที่มีความเข้าใจ  เป็นกลุ่มที่มีความมั่นคง  แล้วค่อยๆสร้างคนขึ้นมา  ทีนี้สูตรในการทำอย่างของพ่อชบ  คือ 1 ต่อ 50   หมายความว่า  ถ้ามีผู้นำ 1 คน  ดูแลสมาชิก 50 คน  ก็จะพากันไปรอด  เราก็เอาสูตรนั้นมาใช้  เราต้องเอาคนเหล่านั้นมาฝึกให้มีอุดมการณ์  ให้มีความฝันร่วมกัน  ก็ถือว่าเป็นการจัดการความรู้อย่างหนึ่งว่าจะทำอย่างไรให้คนที่มาเป็นผู้นำคนอื่นมีความฝัน  มีฝีมือ  มีความสามารถ  มีความคิด  สามารถที่จะทำงานร่วมกันเป็นทีม  เราจะมีวิธีการอบรมอย่างไร  ทำอย่างไร  หรือจัดกระบวนการอย่างไร 

              .ธวัช  บอกว่า  เห็นด้วยกับคุณภีม  ตัวเองอยากเห็นว่าทุกคนรู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของกองทุน  ไม่ใช่ว่ากองทุนเป็นของคนใดคนหนึ่ง  ผมอยากให้เขามีความคิดอย่างนี้  แต่ผมดูๆแล้วตอนนี้ยังไม่ใช่อย่างนั้น  เขาคิดไม่เหมือนเรา  ส่วนมากเข้ามาเพราะผลประโยชน์

              คุณยุพิน  กล่าวเสริมว่า  ที่ผ่านมาชาวบ้านได้รับการปลูกฝังในเรื่องการได้รับมากจนเกินไป  เราไม่ได้บอกว่านโยบายของกองทุนหมู่บ้านไม่ดีนะคะ  อย่างเรื่องกองทุนหมู่บ้าน  คนที่เข้ามาเป็นคณะกรรมการ  เขาจะได้รับเบี้ยประชุม  ได้รับค่าตอบแทนในการทำงาน  ถามต่อว่ามาทำงานกองทุนสวัสดิการได้รับตรงนี้ไหม  ตัวเองบอกเลยว่าต้องทำด้วยใจ 

              คุณภีม  ถามต่อว่า  มาทำงานกองทุนได้รับค่าตอบแทนไหม?

              .ธวัช  ตอบว่า  ได้วันละ 130 บาท  แต่ได้วันเดียว  คือ  วันออม  แต่วันอื่นๆที่เราเชิญมาประชุมจะไม่ได้

              คุณภีม  สรุปว่า  แสดงว่าต้องมีทั้งเรื่องมูลค่าและคุณค่าประกอบกันไป 

              .ธวัช  แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า  ตัวเองเคยพูดกับประธานเครือข่ายฯว่าคนที่มาทำงานทุกคนท้องไม่ได้ตัน  ยังกลวงอยู่  เขายังต้องการอาหาร  ปัจจัยการยังชีพ  เวลาเขามาทำงานหรือมาประชุม  ทำไมไม่ให้ค่าตอบแทนกับเขา  การที่ให้มาทำงานฟรีๆ  ใครจะเข้ามาทำงานให้  นี่คือสิ่งที่ทำให้งานไม่เดิน  แต่พอเสนออะไรไปก็ยังเหมือนเดิม  ผมเคยเสนอให้ในแต่ละเดือนจ้างคนมาทำงานให้  แต่ไม่ต้องทำทั้งเดือน  อาจทำสัก 1 อาทิตย์ให้เสร็จ  เขาก็ไม่ทำ 

              คุณภีม  สรุปว่า  สูตรของเราคือ  การขยายฐานสมาชิกให้ไปสู่รุ่นเด็ก  และต้องสร้างมูลค่าเพิ่มของเงินออม  เพื่อที่จะได้นำมาเป็นสวัสดิการให้คนทำงานให้สามารถทำได้อย่างไม่หนักหนาสาหัสนัก

              คุณยุพิน  กล่าวต่อไปว่า  หลักที่บ้านดอนไชยลองทำกับร้านค้าชุมชน  คือ  เมื่อก่อนตอนตั้งใหม่ๆนั้นลำบาก  เพราะ  ยังไม่มีระบบ  แต่เราก็ต้องค่อยๆเรียนรู้ไปเอง  ถ้าเรียนรู้แล้วเอาไปปลูกฝังให้คนทำงานว่าต้องมีความรับผิดชอบ  ต่อไปเขาก็จะรู้ตัวของเขาเอง  อย่างวันนี้ตัวเองมาประชุมอย่างนี้ก็ต้องมีคณะกรรมการคนอื่นมาอยู่แทน  หากมีคนติดภารกิจ  อีกคนหนึ่งต้องมาทำแทนหรือมาอยู่แทน  เพื่อให้งานไม่สะดุด  หรือถ้าเราต้องไปสัมมนาซึ่งตรงกับวันออม  ไม่ใช่ว่าเราต้องหยุดกิจกรรมการออม  แต่เราต้องหาคนมาทำแทนเรา  ดังนั้น  ตอนนี้ที่ดอนไชยเราจึงต้องพยายามดึงคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วม  ตัวเองประกาศบอกไปว่าเด็กที่พิมพ์คอมเป็น  เวลาทำรายงานไม่ต้องไปเช่าเครื่องคอมที่ร้าน  ที่กองทุนมีเครื่องคอมตั้ง 3 เครื่อง  ที่ต้องใช้มีอยู่ 2 เครื่อง  อีกเครื่องหนึ่งยังว่างอยู่  ให้เข้ามาใช้ได้เลย  เด็กเหล่านี้แหละที่เราจะเอาให้การศึกษา  ให้เขามาเรียนรู้  เดี๋ยวเขาก็จะรู้ไปเอง  เราจะพยายามให้เขาเข้ามาตรงนี้ให้ได้  โดยพยายามมอบสิ่งที่ดีให้เขา  อย่างเด็กบางคนที่บ้านไม่มีเครื่องคอม  แต่เขาต้องพิมพ์งานไปส่งอาจารย์  เราก็ดึงเขาเข้ามา  ไม่ต้องให้เขาไปจ่ายค่าเช่าเครื่องที่ร้านเป็นชั่วโมง  ตอนนี้พอเราบอกไปแล้ว  พ่อแม่ก็ดีใจ  เพราะ  ไม่ต้องเสียเงินให้ลูกไปเช่าเครื่อง  มีคนถามว่าไปเอาเงินที่ไหนมาซื้อคอม  เราก็ตอบไปว่าก็เงินของชาวบ้านนั่นแหละ 

                คุณภีม  ถามต่อว่า  ตอนที่ไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ศูนย์ลำปาง  .ตุ้มเอาเรื่องครูใหญ่มาฉายให้ดูรู้สึกอย่างไรบ้าง? ถ้าทำจริงๆคงไม่ง่ายอย่างนั้น

                คุณยุพิน  บอกว่า  คณะกรรมการทุกคนก็คือครูใหญ่นั่นแหละ

                คุณภีม  กล่าวต่อว่า  ผมคิดว่ามันต้องมีเทคนิคหลายๆอย่าง  เช่น  ฉายหนังให้ดู  ไปฟังพระอาจารย์สุบิน  เป็นต้น  เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นให้ได้

                .นวภัทร์  บอกต่อว่า  เนื่องจากตัวเองเป็นประธานกลุ่มพัฒนาอาชีพของบ้านเหล่าด้วย  เราต้องขอขอบคุณกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ได้ให้ยืมเงินไปลงทุนเพื่อสร้างงานให้คนในชุมชน  โดยเอาไปลงทุนสร้างโรงอิฐบล็อกสามารถสร้างงานให้คนในชุมชนได้ 10 กว่าคน  ต่อไปเราจะขยายสาขา 2 ก็คงจะสามารถสร้างงาน  สร้างอาชีพให้คนในชุมชนได้มากกว่านี้

               คุณภีม  ถามต่อว่า  กลุ่มของอาจารย์มีปัญหาเรื่องคณะกรรมการไหม?

               .นวภัทร์  ตอบว่า  ไม่มี  เราจะเทคนิควิธีค่อยๆซึมเข้าไปเรื่อยๆ  ชาวบ้านก็นิยมชมชอบกองทุนนี้  เพราะ  ช่วยสร้างความเจริญ

               คุณยุพิน  กล่าวต่อไปว่า  เราน่าจะสร้างกองทุนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 

               คุณภีม  บอกว่า  เราน่าจะมีการสร้างหลักสูตร  ไม่ใช่การอบรมครั้งเดียวแล้วจบ  แต่เป็นการถอดบทเรียนความรู้ที่เราประสบมา  อย่างเช่นของคุณบัณฑิต  หรือสิ่งที่เราค้นพบ  เพื่อสร้างทีมงานที่เข้มแข็งขึ้นมา  โดยใช้กระบวนการของหลักสูตรในขั้นตอนต่างๆ  เหมือนกับนักเรียน

คุณฐิติพร  เล่าในเรื่องนี้ว่า  ตอนนี้ทาง กศน. จะเอาชาวบ้านที่สนใจในเรื่องการปลูกข้าวมาทำกิจกรรมนี้แล้วเก็บหน่วยเอาไว้  มีการเทียบหน่วย

คุณภีม  บอกว่า  เป็นสิ่งที่ดี  ได้งานขึ้นมาอีกหนึ่งอย่าง  แต่การทำงานชุมชนเป็นสิ่งที่ยาก  บางครั้งสิ่งที่รัฐบาลปรารถนาดีส่งลงมาให้ชุมชนก็มาสร้างสิ่งที่เรียกว่า ลัทธิหวังผลรอบันดาล

ขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะคะ  แล้วจะเข้ามาเล่าต่อค่ะ

  

หมายเลขบันทึก: 41833เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2006 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท