Review Appropriate Inquiry Chapter 17 (Part I)



Organization Inquiry Model for Global Social Change Organizations

  

Jane Magruder Watkins

Watkins & Kelly

David Cooperrider

Case Western Reserve University

 

         การเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่จะไม่ส่งผลต่อสิ่งใดในอนาคต สถานภาพและสิ่งต่าง ๆ จะไม่จีรังยั่งยืนกับหนทางที่ดีที่จะเกิดขึ้นภายภาคหน้า  พวกเรากำลังเริ่มต้นสู่ยุคของความเหลวไหลไร้สาระ จะเกิดขึ้นอีกนาน จะเกิดขึ้นในพื้นที่อีกมากมายขนาดไหน สิ่งเหล่านั้นก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะเสกสรรค์ปั้นแต่งอนาคตของเราโดยเราและเพื่อพวกเรา เวลาที่เราทำนายหรือพยากรณ์สิ่งต่างๆ  ที่จะเกิดขึ้นแต่เพียงอย่างเดียว คือ ไม่ยืนยันที่จะเกาะติดความจริง เพราะฉะนั้นสำหรับความคิดที่กำลังคมชัดขึ้นในชีวิตที่อิสระของสาธารณะชน สำหรับความคิดที่กังคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรองในสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้รวมถึงกำลังทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมและขาดสติ เราจะเป็นอย่างไร

  

             จากการทบทวนเพื่อศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับรูปแบบขององค์กรสำหรับการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกนั้น ผู้เขียนได้ทำการอธิบายและอ้างถึงสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่สังคมโลกเป็นอยู่ในปัจจุบันในหลากหลายพื้นที่ โดยการทบทวนรูปแบบที่เกิดขึ้นขององค์กรตามยุคสมัยและนักวิชาการต่าง ๆ เพื่ออธิบายให้เห็นถึงวาทกรรมที่เสกสรรค์ปั้นแต่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่ออธิบายปัจจุบัน รวมทั้งทำนายและพยากรณ์อนาคต ความคิดที่ไม่น่าเป็นไปได้ รวมทั้งเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นที่จะเกิดขึ้นกับสังคมโลก โดยได้พูดถึงผู้นำขององค์กรต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญหน้ากับ การจัดการเวลาแห่งความโกลาหลและวุ่นวาย ดังนั้นผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องเตรียมฝึกหัดและฝึกฝนตนเองให้พร้อม ตามวิธีการ ระบบกลไก เทคนิคลำดับขั้น รากฐานที่อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี ของ F.W. Taylor* ที่เรียกว่า การจัดการทางวิทยาศาสตร์

  

            แนวความคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์ ทำให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในยุคสมัยนี้เกิดขึ้นจากการจัดแบบวิทยาศาสตร์ นับและวัดปริมาณรวมถึงมีสมมติฐานหรือข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า องค์กรต้องมีเหตุมีผลเชิงวิทยาศาสตร์ในการปฏิบัติงาน รวมถึงการแก้ไขปัญหาและการสรุปคำตอบต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนออกมาในเชิงปริมาณ

 

             ในส่วนแรก ของบทความนี้ เป็นการพูดโดยย้อนถึงร่องรอยประเด็นทางประวัติศาสตร์และเครื่องมือของการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก องค์กร กระบวนการพัฒนา วิวัฒน์การจากองค์ช่วยเหลือขององค์กรธุรกิจด้านการบริการ และนำเสนอในเรื่องของความมีอิทธิพลของประเทศผู้บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ ในช่วงเวลาแห่งความหายนะ ซึ่งปรากฎให้เห็นถึงรูปแบบของความเป็นหุ้นส่วนกันของโลก ซึ่งยังไม่แน่ว่ารูปแบบขององค์กรที่เกิดขึ้นทั้งหมดในสังคมหรือชุมชนโลกนี้จะเป็นไปได้ในอนาคต

             ในส่วนที่สอง ผู้เขียนจะชี้แนะแนวทางในส่วนของแนวคิด GSCO โดย เครือข่าย เครื่องมือที่ใช้ในการพิจารณาไตร่ตรอง สำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลัก ๆ โดยอธิบายส่วนประกอบที่สมบูรณ์ขององค์กรภายใต้ความต้องการและความร่วมมือในทุก ๆ ระดับ

              ในส่วนสุดท้าย สุดท้ายผู้เขียนจะนำเสนอรูปแบบการศึกษาองค์กร  เรียกว่าการวินิจฉัยองค์กรในวิธีการจัดการตามประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติ ซึ่งสิ่งนั้นจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการสืบเสาะรูปแบบที่จะสร้างความเข้าใจสำหรับความเป็นองค์กร รวมทั้งหลักการพื้นฐานสำคัญสำหรับปลายทางของแนวคิดในการพัฒนาองค์กรนานาชาติ


  

วิเคราะห์ส่วนแรก

            ผู้เขียนได้พูดถึง ความหลากหลายของสิ่งแวดล้อมและมิติทางวัฒนธรรมนั้น ทำให้เกิดการพัฒนาองค์กรนานาชาติบนประเด็นเรื่องของความยากจน การถูกกดขี่ การเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม และการคุ้มครองเด็ก ซึ่งต่างๆ ที่กล่าวมานี้ได้เกิดขึ้นและมีอยู่จริงในสังคมโลก จนกระทั่งการเดินทางเข้ามาของนักแสวงบุญที่อยู่ภายใต้ชื่อของคำว่า นักพัฒนา (เพื่อที่จะให้เขาพัฒนาหรือเสมอภาคกัน) เพื่อจัดการและสร้างวัฒนธรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นบนดินแดนที่ถูกมองว่าเสื่อมโทรมและล้าหลังเหล่านั้น ซึ่งนำเข้ามาในรูปของ ศาสนา การศึกษาและการแพทย์เมื่อครั้งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคVSผู้รับบริจาค ฯลฯ

              ซึ่งนักพัฒนาที่อยู่ภายใต้ชื่อขององค์กรและสถาบันต่าง ๆ ได้พยายามใช้เทคนิคและกระบวนการในการจัดระเบียบสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นความรู้และความจริง โดยเฉพาะในเรื่องของ การศึกษา

              นักพัฒนาจากประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศทางตะวันตก  ได้พยายามสร้างรูปแบบการศึกษาต่าง ๆ เพื่อเข้ามาครอบงำและจัดระเบียบประเทศโลกที่สามหรือประเทศที่ด้อยพัฒนาเหล่านั้น ภายใต้ชื่อของแขนงวิชาที่เรียกกันว่า อาณาบริเวณศึกษา อาทิเช่น เอเชียศึกษา หรือว่าไทยศึกษา โดยยึดสภาพการณ์ต่าง ๆ ของความด้อยพัฒนาของประเทศโลกที่โลกที่สามนั้นเป็นศูนย์กลาง ซึ่งทำให้เกิดการผูกขาดในการสร้างกฎเกณฑ์มาตรฐานทางด้าน ความรู้ และ ความจริง ของประเทศด้อยพัฒนาต่าง ๆ เหล่านั้น รวมทั้งพูดอวดอ้างสรรพคุณของตนเองอีกว่า เขามีวิธีการในการแก้ไขปัญหาด้อยพัฒนาเหล่านั้น ซึ่งเป็นการจัดการช่องว่างต่าง ๆ ทำให้ไม่มีที่เหลือว่างให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมพื้นบ้าน รวมทั้งกีดกันปิด แทนที่ด้วยระบบความรู้ชุดใหม่ที่เรียกว่า การพัฒนา ซึ่งความรู้ชุดนี้จุดสำคัญอยู่ที่การพยายามปราบราบและกำจัดความด้อยพัฒนาให้หมดสิ้นไปในประเทศโลกที่สาม

                จากการพยายามปราบปรามสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้นี่เองทำให้เกิดสถาบันหรือองค์กรต่าง ๆ เกิดขึ้นเพื่อจัดการสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดความชอบธรรมในสิ่งที่เขากำลังจะจัดการ ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารโลก องค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ ศูนย์การศึกษาและพัฒนาระหว่างประเทศ ฯลฯ ซึ่งได้ส่งทีมสำรวจเพื่อทำการศึกษาและพัฒนา รวมทั้งวางแผนการพัฒนาให้กับประเทศต่าง ๆ มิหนำซ้ำ ยังทำการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในประเทศของตนเอง (ประเทศที่พัฒนาแล้ว) โดยให้ทุนหรือออกนโยบายให้รัฐบาลของประเทศด้อยพัฒนาต่าง ๆ เหล่านั้นให้ทุนการศึกษาเพื่อนำปัญญาชนจากประเทศด้อยพัฒนาเหล่านั้นมาเรียนกันอย่างมากมาย

                 ซึ่งการจัดตั้งหลักสูตรหรือจัดชั้นความด้อยพัฒนา กำลังพัฒนา หรือพัฒนาแล้วนั้น ได้นำเอากฎเกณฑ์ของประเทศทางตะวันตกมาเป็นมาตรวัด รวมทั้งพยายามสร้างมาตรวัดในเรื่องของเศรษฐกิจและที่สำคัญก็คือ สร้างมาตรวัดการพัฒนาในเรื่องของการเมืองการปกครอง

                 ผลลัพธ์ของระบบการพัฒนาแบบนี้ ทำให้มนุษย์ในประเทศโลกที่สามเหล่านั้น เป็นมนุษย์ที่ไม่มีจิตวิญญาณ ถูกมองว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพและเป็นมนุษย์ที่ขัดขวางการพัฒนา เป็นบุคคลที่โง่เขลา ขี้เกียจ ขาดทักษะและขาดความรับผิดชอบ จะต้องได้รับการควบคุม จัดระเบียบและพัฒนาอย่างเร่งด่วน โดยออกนโยบายการวางแผนชีวิตและครอบครัวลงมาให้อีก ซึ่งทำการโดยผ่านสถาบัน อาทิ การจัดตั้งสถาบันประชากรศาสตร์ขึ้นในประเทศต่าง ๆ

                 การจัดการที่เป็นระบบต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ประเทศโลกที่สามโดยเฉพาะคนในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา มีแนวความคิดที่ปลูกฝังสืบต่อกันมาในเรื่องของความสยบนบนอบความต้อยต่ำของตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นและบทพิสูจน์ความสำเร็จของการสถาปนาความสัมพันธ์เชิงอำนาจของสังคมโลกในปัจจุบัน

 

                 นอกเหนือจากนั้นยังทำการปิดกั้นกระบวนการสร้างความรู้และความเจริยญโดยไม่ยอมรับความรู้ความคิดเห็นของคนจากประเทศด้อยพัฒนา พิจาณาในเรื่องของศักดิ์ศรีและความไม่เท่าเทียมกันในการเป็นมนุษย์ โดยมองคนในประเทศโลกที่สามว่าเป็นคนที่มีแนวความคิดล้าหลัง มีการคิดและตัดสินใจอย่างไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ทำให้มีความเป็นมนุษย์ที่ด้อยกว่าประเทศทางตะวันตก  ซึ่งจะต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นโดยเฉพาะความคิดความเชื่อต้องอยู่บนพื้นฐานที่สามารถวัดได้ พิสูจน์ได้ในเชิงวิทยาศาสตร์เท่านั้น  ดังนั้นจึงเป็นการตัดขาดชาวบ้านจากกระบวนการสร้างองค์ความรู้โดยปริยาย

 

                   จากแนวความคิดเหล่านั้นเองทำให้ประเทศที่ด้อยพัฒนาที่มีความอยากเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว พยายามชูอุดมการณ์ต่าง ๆ ตามมาตรวัดต่าง ๆ ที่เหล่าประเทศทางตะวันตกกำหนดมาให้ ไม่ว่าจะเป็น ชูอุดมการณ์ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสาธารณูปโภคให้ทันสมัยอย่างตะวัน รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน ผูกขาดการทำงานด้านการพัฒนาให้อยู่ในอำนาจของรัฐมากกว่าประชาชนและองค์กรเอกชน รวมถึงสร้างมาตรฐานวัฒนธรรมต่าง ๆ สู่การพัฒนาโดยมุ่งเน้น GDP เป็นหลัก

                    โดยรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นจะถูกรัฐบาลประเทศตะวันตกเข้ามาควบคุมจัดระเบียบในทุก ๆ ด้าน โดยมีสูตรสำเร็จที่จะสามารถรักษาความยากจนและความด้อยพัฒนานั้นโดยการ "เยียวยาแบบเบ็ดเสร็จ" นำความรู้ทั้งชุดเข้ามาระบบความคิดของประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งทำให้เกิดความซาบซึ้งของระหว่างผู้ให้และผู้ซับ รวมทั้งยอมรับโดยดุษฎีถึงความด้อยพัฒนาของตนเอง

               

ทิ้งท้ายส่วนแรก

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้กำลังเกิดขึ้นในสังคมโลก องค์กรต่าง ๆ ได้สร้างเหตุการณ์และกฎเกณฑ์ขึ้นมาใช้กับสรรพสิ่งโดยเฉพาะประเทศโลกที่สาม อำนาจความรุนแรงที่แสดงออกมาในรูปของการปฏิบัติจริงในสังคม ไม่ได้ออกมาในรูปของปืนและสงครามอีกต่อไป แต่ออกมาในรูปของการควบคุม จัดสรร จัดระบบและแจกจ่ายภายใต้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้มองเห็นหรือมองไม่เห็นบางสิ่งและบางอย่าง ห้ามคิด ห้ามพูดในสิ่งนั้นหรือสิ่งนี้ตามแต่เจ้าของหรือผู้ที่เหนือกว่าในสังคมโลกเป็นผู้กำหนด

ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นมิได้ถูกมองในสิ่งที่ไม่ดีอีกต่อไป แต่สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นถูกขัดเกลาออกมาให้อยู่ในรูปของสิ่งสวยงามที่เรียกว่า ความรู้ ความรู้แบบเบ็ดเสร็จที่ถูกสร้างและสังคมจนกลายเป็นสิ่งที่ประเทศโลกที่สามรวมถึงประเทศที่กำลังพัฒนายอมรับโดยดุษฎีว่า คุณมีความรู้และฉันไม่มีความรู้” "คุณพัฒนาแต่ฉันด้อยพัฒนา" ความสำเร็จของการพัฒนาเหล่านี้นั้นสิ่งสำคัญมิใช่เกิดขึ้นในรูปของอำนาจเชิงโครงสร้างหรืออำนาจในการใช้กำลัง แต่เป็นการสร้างอำนาจทางความรู้ผ่านกฎเกณฑ์และจารีตที่ซึมลึกเข้าสู่จิตใจของสิ่งที่เรียกว่า มนุษย์


 

*Taylorium ทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของ Federick W. Taylor (ได้รับการยกย่อง  ว่าเป็น บิดาของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์”)

ซึ่งทฤษฎีดั้งเดิม(Classical Approaches)ทางการบริหารแบ่งออกเป็น 4 ประการหลัก ๆ ได้แก่

การจัดการแบบวิทยาศาสตร์  (Scientific Management)

หลักการบริหาร  (Administrative Principles)

การจัดองค์การแบบทางการ (Bureaucratic Organization)

 การบริหารแนวพฤติกรรมศาสตร์  (Behavioral Approach to Management

การจัดการแบบวิทยาศาสตร์  (Scientific Management)

*   Taylor ต้องการค้นพบระบบการจัดการ    ที่เป็นเลิศ

*   เห็นว่าการทำงานในอดีตมักเป็นไปตามแนวทางที่ทำมาแต่เดิม และความเคยชิน

*   ผู้ปฏิบัติงานไม่มีแรงจูงใจให้ทำงานอย่างเต็มที่

*   วัตถุประสงค์หลักของการจัดการ คือ  การสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่นายจ้าง  ควบคู่ไปกับการสร้างประโยชน์สูงสุดของลูกจ้าง

*   การจัดการที่ดีสามารถค้นพบและศึกษาได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่การค้นหากฏเกณฑ์ ระเบียบ  และวิธีการ

*   ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานเกิดจากการทำงานที่มีแบบแผน และเป็นไปตามแบบแผนที่กำหนดไว้

*   แบบแผนของงานสามารถค้นพบได้โดยวิเคราะห์หน้าที่ (Task)  ระยะเวลา (Time) และการเคลื่อนไหวของการทำงาน (Work Motion) ออกเป็นส่วน

*   หน้าที่ (Task) และการเคลื่อนไหวของการทำงาน (Work Motion) ได้รับการพัฒนาแต่ละส่วนให้ดีที่สุด  นำไปสู่การค้นพบและสร้าง  วิธีที่เป็นเลิศในการจัดการ

*   ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องได้รับการคัดเลือกตามความเหมาะสม  และได้รับการอบรมในหลักการเหล่านี้

หลักการแบบวิทยาศาสตร์ของ   Federick W. Taylor

*   ต้องมีการพัฒนาวิทยาการ (Science) ของงาน ประกอบด้วย

  กฏเกณฑ์ของการเคลื่อนไหว (Rules of Motion)v     การปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน (Standardized Work Implementation)

สภาวะการทำงานที่เหมาะสม (Proper Work Conditions)

*   การคัดเลือกพนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน

*   มีการฝึกอบรมพนักงานอย่างดีก่อนการปฏิบัติงาน

*   เน้นให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของวิทยาการของงานและผลสำเร็จของงาน

*   สร้างระบบการสนับสนุนการทำงานของพนักงานเพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานทำงานได้ดีที่สุดหลักการ Scientific Management ในปัจจุบัน

*   ระบบการตอบแทนตามผลงานที่ทำ

*   การออกแบบงาน

*   การคัดเลือกบุคลากรทีเหมาะสมกับงาน

*   การฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับการทำงาน

*   ระบบอำนวยความสะดวกในการทำงานของพนักงาน

 

ในส่วนสุดท้ายขออนุญาตนำเสนอหลังจากที่ได้รับฟังการ Review AI ของทางสคส.ในวันที่ 28 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมาครับ

ความหมายของ "แก๊งค์ Gang"

1. กลุ่มคนที่มีความชอบเหมือน ๆ กัน

2. กลุ่มคนที่มีลักษณะเหมือน ๆ กัน

3. กลุ่มคนชอบแสดงออกในสิ่งต่าง ๆ เหมือน ๆ กัน

4. กลุ่มคนที่ถูกอีกสิ่งหนึ่งหรืออีกกลุ่มคนหนึ่งเกลียดหรือชอบเหมือน ๆ กัน

5. กลุ่มคนที่มีจุดยืนเหมือน ๆ กัน

6. กลุ่มคนที่มีการเรียกร้องความสนใจเหมือน ๆ กัน

7. กลุ่มคนที่มีนิสัยเหมือน ๆ กัน

8. กลุ่มคนที่ขาดโอกาสจากสังคมในการที่ยอมรับ ไม่เชื่อถือว่าเขาทำได้ ทำดี เหมือน ๆ กัน

9. กลุ่มคนที่ถูกสังคมจัดกลุ่มไว้อีกชนชั้นหนึ่งของสังคม

 

จากการที่ฟังวันนั้นก็พอจะสรุปได้ประมาณนี้ครับ ขออนุญาตนำเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ


และส่วนสุดท้ายขออนุญาตเพิ่มเติมทฤษฎีของมาสโลว์ที่ได้กล่าวถึงในวันนั้นเช่นเดียวกันครับ

 

Maslow’s Theory of Human needs

*   Maslow แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นตามลำดับ

v    ขั้นที่ 1: ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs)

8  เป็นความต้องการขั้นต่ำสุด            เพื่อการอยู่รอดและธำรงรักษาไว้ซึ่ง  ความต้องการทางชีววิทยา

8  ปัจจัย 4

v     ขั้นที่ 2:  ความต้องการในความ    ปลอดภัย (Safety Needs)

8  เป็นความต้องการด้านความมั่นคงในการดำรงชีวิตประจำวัน  ตลอดจนความปลอดภัยในชีวิตและ  ทรัพย์สิน

v     ขั้น 3:  ความต้องการทางสังคม    (Social Needs)

8  เป็นความต้องการในความรัก  ความผูกพัน  การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และความสัมพันธ์ต่าง ๆ กับคนในสังคม

v     ขั้นที่ 4:  ความต้องการในชื่อเสียง (Esteem Needs)

8  ความต้องการในชื่อเสียง การยอมรับจากบุคคลอื่น

8  ความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเอง

v     ขั้นที่ 5: การประจักษ์ตน (Self-actualization Needs)

8  เป็นความต้องการขั้นสุดท้ายของมนุษย์

เป็นความรูสึกที่สามารถใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่  มีความสำเร็จในชีวิต

Abraham Maslow’s Theory of Human needs*   หลักการของ Maslowv     มนุษย์มีความต้องการเรียงลำดับจากขั้นที่ 1 ไปสู่ขั้นที่ 5v     มนุษย์มีความต้องการ 2 ลักษณะ8  เพื่อเพิ่มพูนสิ่งที่ขาด  (Deficit Principle)  มนุษย์แสวงหาความต้องการเพื่อให้สมบูรณ์ตามที่ตนเองต้องการ  8  เพื่อแสวงหาสิ่งที่สูงขึ้น (Progressive Principle)  ความสมบูรณ์ของความต้องการในขั้นที่ต่ำกว่าสร้างให้เกิดความต้องการในขั้นต่อไป*   การนำทฤษฎีของ Maslow   ในการจัดการv     ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจถึงความต้องการของพนักงานในระดับต่าง ๆ  นำไปสู่การให้รางวัลและความช่วยเหลือที่  ถูกต้องเข้าใจถึงปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีต่อการทำงานของคน นำไปสู่การออกแบบงานที่สอดคล้องกับความต้องการ  (เช่น  งานการกุศลจะต่างจากงานประจำ)

คำสำคัญ (Tags): #review#appropriate#inquiry#สคส
หมายเลขบันทึก: 41827เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2006 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
หืมมม น่าสนใจ ๆ เดี๋ยวจะกลับมาอ่านต่อคะ ขอตัวไปสอนก่อนนะคะ..

แว็ปมาแบบนิว เห็นเรื่องน่าสนใจแต่ยาวจังค่ะ เดี๋ยวจะกลับมาอ่านตอนค่ำ แว็ปไปทำงานต่อนะคะ

ขอบคุณมาก ๆ ครับทั้งน้องนิวและคุณ IS

ขออภัยที่ยาวหน่อยครับ แต่ลองอ่านดูนะครับ แล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

ถ้าอะไรที่คุณรู้สึกว่ามันยาวยืดมากๆมันจะน่าเบื่อนะครับสรุปประเด็นแล้วลงดีใหมครับ

ขอบคุณมาก ๆ ครับคุณนรง

ถ้าอย่างไรจะสรุปประเด็นในบันทึกถัดไปนะครับ

ดิฉันมาเป็นอินเทอร์น คนที่ ๒ ของสตส. และได้รับมอบหมายงานให้อ่านหนังสือเล่มเดียวกับคุณ แต่เป็นบทที่ ๑๘ ซึ่งเป็นบทสุดท้าย  หลังจากที่นำเสนอแล้ว อาจารย์วิจารณ์แนะนำให้เขียนบันทึกเรื่องที่เสนอ ก็เขียนอยู่ตั้ง ๓ ตอน เพิ่งเสร็จเรียบร้อยเมื่อวานนี้เองค่ะ

อยากชวนให้คุณลองอ่านดู จะได้มาลปรร.อะไรกันต่อไปค่ะ

www.gotoknow.org/krumaimai

ตอนนี้ขอพักการเขียนใน "สร้างสังคมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน"ไปชั่วคราวก่อน เพราะอยากบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่สคส. เป็นหลักค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท