เสวนาจานส้มตำ ๖ : พลิกจุดด้อยจากการเปิดดู gotoknow ให้เป็นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ


ถ้ารู้จุดด้อย ก็พัฒนาจุดด้อยให้เป็นจุดเด่นขึ้นมา มีเวลาจำกัด ก็ต้องพยายามอ่านให้เร็วขึ้น

การเสวนาแบบลูกทุ่งขณะแซบกับส้มตำในตอนนี้   เป็นเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลใน gotoknow ครับ หลังจากที่ได้แนะนำ gotoknow ให้ผู้ร่วมเสวนาได้รู้จักมาได้สักระยะหนึ่ง ก็พบข้อจำกัดขึ้นมาทันที

คู่สนทนา 1 – “เท่าที่สังเกตใน gotoknow คนที่เขียนบันทึก และเขียนข้อคิดเห็น จะเป็นคนที่มีโอกาส มีเวลา และไร้ข้อจำกัด ทำให้สามารถเปิด gotoknow ได้บ่อยครั้งเท่าที่ใจต้องการ แต่พวกเรากลับเป็นคนที่ด้อยโอกาส”

คู่สนทนา 2 – “หลายท่านจะใช้ internet จากที่ทำงาน จากคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เปิดดู net ได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่พวกเราต้องเปิดดูที่ร้าน internet café ชั่วโมงละ 15 บาท แค่นั่งอ่านได้ไม่กี่บันทึก ก็ปาเข้าไปรเกือบชั่วโมงแล้ว และจอคอมพิวเตอร์ที่ร้าน จ้องแล้วแสบตามากๆ พื้นที่ก็แคบ ร้านก็เล็กๆ เลยต้องนั่งจ้องชิดจอ”

คู่สนทนา 1 – “ เห็นหลายคนเขียนข้อคิดเห็น ก็อยากจะเขียนบ้าง แต่คงต้องมีเวลามากกว่านั้น ร้าน net เปิดตอน 9 โมงเช้า ปิดตอน 3 – 4 ทุ่ม บางช่วงเครื่องก็ไม่ว่าง ถ้าจะร่วมเขียนข้อคิดหรือเขียนบันทึก เปิดบล็อกเป็นของตัวเองบ้าง วันๆคงไม่ต้องไปทำมาหากินอะไรแล้วล่ะมั้ง ดูแล้วพวกเราเป็นคนที่ด้อยโอกาสมากกว่าสมาชิกของ gotoknow หลายท่านจริงๆ”

นายบอน – “เคยได้ยินไหม ที่ว่า พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส พลิกจุดด้อยให้เป็นจุดเด่นน่ะ พี่เองก็ใช่ว่าจะมีเวลามาก และเข้าเวบ gotoknow ได้ตลอดทั้ง 24 ชั่วโมงหรอกนะ พี่ก็ไปใช้ net ที่ มมส.มั่ง ร้านnet มั่ง  ”

คู่สนทนา 1 - “แต่พี่เขียนบันทึกซะกระจายเลย บางวันโผล่มาตั้งหลายบันทึก พี่เปิดดู gotoknow วันหนึ่งนานแค่ไหนกัน กี่ชั่วโมง วันหนึ่งๆเปิดดูกี่ครั้ง แล้วพลิกวิกฤติเป็นโอกาสยังไงครับ”

นายบอน – “โดยปกติก็ 1 ชั่วโมง ถ้าไปที่ มมส. มากที่สุดก็ราวๆ 2 ชั่วโมง และเข้าไปดูได้วันละครั้งเท่านั้น ที่บ้านไม่ได้ต่อ net ต้องมาใช้ที่ร้าน net เหมือนกัน เมื่อมีโอกาสเข้า net ได้น้อยกว่าชาวบ้าน แต่อยากเขียนบันทึกเยอะๆ คนอื่นเวลาจะเขียน ก็เข้า gotoknow แล้วเขียนกันสดๆ แต่พี่ทำแบบนั้นไม่ได้  ช่วงว่างๆ ก็เขียนร่างๆเอาไว้ พอเข้า gotoknow ก็พิมพ์ที่ร่างๆเอาไว้นั่นแหละ เพิ่มบันทึกเข้าไปเลย ภายในเวลาที่ใช้ internet อาจจะมีเวลาพอที่จะได้อ่านบันทึกของคนอื่นๆ ได้เขียนข้อคิดเห็นอยู่บ้าง แต่ก็มักจะ save กลับไปอ่านต่อที่บ้านอยู่บ่อยๆ ถ้าที่บ้านต่อ net คงได้เข้ามาเขียนข้อคิดเห็นบ่อยๆเหมือนหลายๆคน”

คู่สนทนา 1 - “ แต่พวกเราแค่เปิดเข้าไปอ่านเฉยๆ มีบันทึกที่น่าสนใจเยอะมากๆ เวลาไม่พอ จะทำยังไงดีครับถึงจะพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้”

นายบอน – “ถ้ารู้จุดด้อย ก็พัฒนาจุดด้อยให้เป็นจุดเด่นขึ้นมา มีเวลาจำกัด ก็ต้องพยายามอ่านให้เร็วขึ้น ถ้าตัวอักษรขนาดเล็กจะอ่านได้ช้า สังเกตที่มุมขวา จะเห็น  อักษร: เล็ก ใหญ่่  คลิกที่ใหญ่ เพื่อเพิ่มขนาดตัวอักษรให้อ่านได้เร็วขึ้น อ่านๆไป ก็จะสนใจอยากจะติดตามอ่านบล็อกไหนบ้าง  คลิกดูตามแพลนเนต คลิกที่ป้าย เพื่อเกาะติดบันทึกในแนวทางที่สนใจอ่านนั้น “

คู่สนทนา 2 – “ผมจะใช้วิธีเปิดดูแล้วเลือกหัวข้อที่อยากจะเปิดอ่านก่อน นั่งอ่านไป จนใกล้จะหมดเวลาว่าง ก็จะสั่ง print บันทึกนั้น เอาไปอ่านต่อครับ”

นี่คือ เสวนาจานส้มตำ ความคิดเห็นท่ามกลางรสเผ็ดนิดๆของตำไทยจากตลาดโต้รุ่งเมืองกาฬสินธุ์นะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 41795เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2006 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขออนุญาตเป็นคู่สนทนาที่ 3 นะครับ

ของผมใช้เทคนิค "แล้วแต่ดวง"น่ะครับ สำหรับการสุ่มอ่านบันทึก ที่นอกเหนือจากแพลนเนทน่ะครับ

สุ่มแบบไม่ได้ตั้งใจน่ะครับ ไม่มีหลักการ แล้วแต่บุญพาวาสนาส่งว่าจะได้ไปพบเจอของใครที่เด็ด ๆ น่ะครับ

ขออนุญาตห้ามนำไปเผยแพร่นะครับ เดี๋ยวนักวิชาการเขาบอกว่า "ไร้ทฤษฎีและหลักการครับ"

ถ้าออกนอกกรอบเสียบ้าง จะได้พบอะไรใหม่ๆอีกเยอะเลยครับ หลา่ยเรื่องนั้น หลักกการก็ใช้ไม่ได้เสมอไป การที่สุ่มอ่านบันทึก ถ้าได้เจอเรื่องที่ไม่คาดคิดว่าจะเจอ ก็ถือว่าเป็นรสชาติของชีวิตนะครับ

แต่ละคนมีหลักการที่ต่างกัน  "ไร้ทฤษฎีและหลักการ" ที่นักวิชาการบางท่านว่าไว้ สิ่งนั้นอาจจะเป็นหลักการที่ยอดเยี่ยม สำหรับอีกหลายคนนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท