โรงเรียนชาวนา


การร่วมคิดร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ ร่วมตัดสินใจ และร่วมกันใช้หลัการชูรอสำหรับหลักการชูรอในศาสนาอิสลามาจจะแตกต่างจากหลักประชาธิปไตยตรงที่การร่วมคิดร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ ร่วมตัดสินใจ และร่วมกันได้รับผลตอบแทนจะต้องตั้งบนพื้นฐานของหลักศาสนาเท่านั้นมติที่ประชุมถึงแม้จะมีคะแนนเสียงมากกว่าก็ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้
เรียน ศ.นพ.วิจารณ์                         จากการที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับโรงเรียนชาวนานั้นผมได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้มากมายจากการศึกษาพบว่า การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ได้ดีควรที่จะมีการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ ร่วมตัดสินใจ และร่วมกันได้รับผลตอบแทน การร่วมกันดังกล่าวจะต้องมีการร่วมกันทุกภาคส่วนไม่ว่าชาวนา ชาวบ้าน องค์กรเอกชน รัฐและผู้นำจิตวิญญาน                             จากบทบาทการสมมุติของนศ.ทั้ง 12 คน จะเห็นได้ว่าทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี หากทุกคนมีจิตสำนึกในหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบอย่างบริสุทธิใจ  และรูจักบทบาทหน้าที่และการประสานงาน การจัดการความรู้ที่ดีต้องสามารถบูรณาการระหว่างวัตถุกับจิตวิญญานให้สามารถหลอมรวมอย่างกลมกลืนให้จงได้                            คุณค่าทางด้านจิตวิญญานจะเป็นพลังคลับเคลื่อนหลักในการดำเนินทุกกิจกรรม  หลักทางด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมจะต้องสามารถนำไปสู่วิถีชีวิต และหลักคิดในทุกกิจกรรม  สิ่งที่ได้รับจากโรงเรียนชาวนาเกี่ยวกับ การร่วมคิดร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ ร่วมตัดสินใจ และร่วมกันได้รับผลตอบแทนน่าจะตรงกับหลักชูรอในสังคมมุสลิมซึ่งพระเจ้าได้ดำรัสในคัมภีร์อัลกุอานและท่านศาสดาได้เคยทำเป็นแบบอย่าง                          ดังนั้นการจัดตั้งโรงเรียนชาวนาเป็นเพียง วิธีการหนึ่งเท่านั้นที่ต้องการปฏิรูปวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้กับสังคมโดยผู้เรียนหรือผู้ร่วมโครงการอาจจะไม่รู้ตัว  สำหรับสังคมมุสลิมหากต้องการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ควรทราบจุดแข็งของสังคมมุสลิมซึ่งโดยธรรมชาติแล้วสังคมมุสลิมจะเทิดทูนศรัทธากับคำสอนที่มากจากคัมภีร์อัลกุรอานและวัจนศาสดา(ถึงแม้บางคนอาจจะไม่ปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวแต่พอยกหลักฐานจากทั้ง2 แหล่งเขาจะนิ่งเงียบ)                           ดังนั้นสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งต้องสามารถบูรณาการกับหลักการศาสนาที่มาจาก 2 แหล่ง ที่สำคัญ     ในสังคมมุสลิมจะไม่มีนักบวช ดังนั้นทุกคนจะต้องปฏิบัติตามหลักการศาสนาเหมือนกันไม่ว่าจะเป็นโต๊ะอิหม่าม โต๊ะครู อุสตาซ  ผู้ว่า  อบต. แม่บ้าน ชาวนา ข้าราชการ วัยรุ่น แพทย์ คนจน คนรวย  สถานที่ปฏิบัติศาสนกิจในศาสนาอิสลามเช่นมัสยิด หรือบะลาเซาะ(เล็กกว่ามัสยิด)สามารถเป็นศูนย์ชูรอในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับกิจกรรมการจัดการความรู้และอื่นๆเช่นโรงเรียนชาวนาได้เช่นกันและเป็นการดีเสียอีกเพราะแต่ละกิจกรรมจะต้องสอดคล้องกับหลักการศาสนาที่ปราศจากอบายมุขแต่หากจัดกิจกรรมที่อื่นไม่แน่ว่าอาจมีกิจกรรมที่มีอบายมุขผสมปนเปอยู่ด้วย และผู้ร่วมกิจกรรมเองก็จะมีจิตสำนึกอยู่ตลอดว่าอยู่ในศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์หากคิดไม่ดี                           ตัวอย่างการบูรณาการหลักศาสนาอิสลามกับการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้-          การร่วมคิดร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ ร่วมตัดสินใจ และร่วมกันใช้หลัการชูรอสำหรับหลักการชูรอในศาสนาอิสลามาจจะแตกต่างจากหลักประชาธิปไตยตรงที่การร่วมคิดร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ ร่วมตัดสินใจ และร่วมกันได้รับผลตอบแทนจะต้องตั้งบนพื้นฐานของหลักศาสนาเท่านั้นมติที่ประชุมถึงแม้จะมีคะแนนเสียงมากกว่าก็ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้-          การร่วมเรียนรู้ในศาสนาอิสลามนั้นมิได้จำกัดอายุ รูปแบบ สถานที่แต่สนับสนุนให้ทุกคนเรียนรู้ตลอดชีพ ดั่งวัจนะศาสดาได้กล่าวว่าท่านศึกษาหาความรู้ตั้งแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพ-          หลักการประเมินในทุกกิจกรรมศาสดาก็เคยสั่งใช้โดยท่านกล่าวว่าท่านจงประเมินตนเองก่อนที่ท่านจะถูกประเมินในโลกหน้า-          นี่เป็นเพียงตัวอย่างการบูรณาการหลักการศาสนามาใช้ในกิจกรรมต่างๆและทุกกิจกรรมหากสามารถนำหลักจากคัมภีร์อัลกุรอาน  วัจนศาสดาและหลักการศาสนามาเสริมจะทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมมีขวัญกำลังใจในการทำงานได้-          สิ่งที่เราได้รับอีกอย่างหนึ่งในเรื่องความรู้เราจะพบว่าความรู้ที่ชาวนาได้รับเป็นความรู้ที่สัมผัสได้ผ่านการ  ทดลอง สรุปเป็นความรู้ที่ไม่ใช่ได้จากบอกเล่า  ไม่ใช่ทุติยภูมิความรู้ดังกล่าวเกิดจากความทำความเข้าใจเองหรือร่วมทำความเข้าใจดังนั้จะคงทนและสามารถถ่ายทอดให้กับผู้อื่นแต่ผู้เขียนก็ไม่สามารถปฏิเสธความรู้ทุติยภูมิที่บางเรื่องจำเป็นต้องมีเป็นพื้นฐานที่สามารถต่อยอดได้                        สิ่งที่ท้าทายเกี่ยวกับการจัดการความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดภาคใต้อย่างสันติวิธีโดยอาจนำแนวคิดการร่วมคิด    ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ ร่วมตัดสินใจ และร่วมกันได้รับผลตอบแทน( ความสงบสุขของคนพื้นที่) มากำหนดร่วมกันโดยชุมชนในพื้นที่ว่าทุกข์ของชุมชนตอนนี้มีอะไรบ้าง   ชุมชนมีความคาดหวังอย่างไร ร่วมกันกำหนด หลักสูตรการจัดการความรู้ เช่น เหตุแห่งความรุนแรง   ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  ความวาดระแวง  การอยู่ร่วมอย่างสันติบนความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมโดยนำจุดแข็งคือหลักการศาสนา วัฒนธรรมมาบูรณาการ                                คนในพื้นที่จะต้องเป็นคุณกิจจริงๆ ให้องค์กรเอกชนที่มีอยู่มากมายโดยเฉพาะมูลนิธิด้านศาสนา สถาบันปอเนาะที่มีโต๊ะครูคอยเป็นคุณอำนวยแทนองค์กรของรัฐเพราะองค์กรของรัฐควรดูอยู่ห่างๆเพราะอาจจะเป็นจุดอ่อนของความหวาดระแวงส่วนคุณเอื้อตามทัศนะของผมน่าจะเป็นคณะกรรมการที่มีตัวประธานและกรรมการที่ได้รับการยอมรับป็นที่ประจักษ์ระดับชาติเข้ามาเป็นคุณอำนวยแทนรัฐนี่คือข้อเสนอที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาชุมชนที่กำลังอยู่นาวะสงครามแย่งมวลชนระหว่างรัฐกับผู้ก่อการ                              โดยความเคารพนับถือหรือวัสลามตามธรรมเนียมมลายูมุสลิมไทย                                                            อุสตาซอับดุลสุโก ดินอะ                                                            ศิษย์(ปริญญษเอกม.ทักษิณ)หมายเหตุขอโทษที่ตอบช้าเนื่องมาจากเหตุผลบางประการ
คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 41738เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2006 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท