KM ที่รัก ตอนที่ 32 "วิจัยชาวบ้านโดยชาวบ้านและเพื่อชาวบ้าน"


การขยายพันธุ์ไก่พื้นเมืองด้วยเทคนิคภูมิปัญญา

“ซอยไก่น้อย บ่ ให่ไก่ใหญ่มาจิก ยามกินเข่าให่เอาฟดไม่ มาวางไว้เดิ่นบ้าน แล้วว่านเข้าใส่ฟดไม่...ไก่น้อย เข้าไปกินได่ ไก่ใหญ่ แลนอ้อมฟดไม่” เป็นคำพูดของพ่อผาย สร้อยสระกลางที่นำเสนองานวิจัย “ฉบับชาวบ้าน” เป็นวิจัยของชาวบ้าน โดยชาวบ้านและ เพื่อชาวบ้านเอง พ่อผายพูดด้วยท่าทาง เอาจริง มีความหวังกับงานวิจัยเรื่องนี้มาก เพราะปัจจุบันชาวบ้านขาดแคลนไก่ที่จะมาเป็นอาหารโปรตีนอันอร่อย และราคาถูกเพราะปัญหาไข้หวัดนก กินแต่ซี่โครงไก่ CP เวรกรรมจริง ๆ                                                                                     เห็นงานวิจัยของชาวบ้านที่ช่วยกันคิด ช่วยกันทำเพื่อแก้ปัญหาของเขาเอง และชุมชนนของเขา ผมมีความรู้สึกภูมิใจ กับชาวบ้านที่ไม่ทำในสิ่งที่เขาอยากทำเพราะเป็นประโยชน์กับเขา เพราะเขาเป็นคนค้นหาวิธีการและคำตอบเพื่อปากท้องของเขา ทำให้คิดกลับไปดูเวทีที่มหาวิทยาลัยอุบล จัดงาน ประชุมวิชาการ วิจัยม.อุบลในหัวข้อ “ทำอย่างไร ท้องถิ่นจะได้ใช้งานวิจัยของมหาวิทยาลัย” ชื่อน่าสนใจ แต่งานวิจัยที่นำมาเสนอคงจะอีกนานจะถึงชาวบ้าน...เรากลับมาเรื่องของวิจัยชาวบ้านดีกว่า การวิจัยการขยายพันธุ์ไก่พื้นเมืองด้วยเทคนิคภูมิปัญญา เป็นฉบับของพ่อผาย สร้อยสระกลาง          งานวิจัยดังนี้น่ารักมาก น่ารักทั้งคนนำเสนอ คำพูดและเนื้อหา โดยเฉพาะที่มา ความสำคัญ จะพูดเรื่องความสำพันธ์ของชาวบ้านกับไก่ ฟังแล้วเหมือนกับนั่งฟังคุณปู่กำลังเล่านิทานให้ฟัง เป็นเรื่องราวของความผูกพันธ์ของคนเลี้ยง กับไก่ ตั้งแต่ไก่เกิดจนไก่เข้าไปอยู่ในท้องคนเลี้ยง เช่นโบราณว่า “เลี้ยงหมา เห่าเสียงใหญ่ร้องดัง...โฮ้ง โฮ้ง...ถ้าไก่ขันเครือยาว ๆ ร้องดัง โอกอิ โอ่ก โอ้ก...เรียกว่าไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุกเลย งานวิจัยนี้ผู้วิจัยหวังว่าจะได้ชุดความรู้และรูปแบบการเลี้ยง และขยายพันธุ์ไก่ฉบับไทบ้าน โดยการนำไก่มาเป็นสื่อกลางในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้การวิจัยชุมชน พ่อผายได้เล่าให้ฟังว่า   

การคัดเลือกพ่อพันธุ์ 

        ไก่ตัวผู้รูปร่างสูงใหญ่ ตาคมดวงตาสดใสหัวใหญ่หน้าอกผึ่งผาย ตะเขียบไม่กว้าง เดือยไก่ตรงกับเล็บน้อย สุขภาพดี แข็งแรง สมบูรณ์ไม่จับป่วยง่าย

การคัดเลือกแม่พันธุ์

         ลักษณะแม่พันธุ์ไก่ที่ให้ลูกดก รูปทรงจะใหญ่ขนเรียบหน้าอกใหญ่ตาคมลึกนิดหน่อย ตะเขียบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ไก่จะออกไข่ได้ปีละ 16 -18 ไข่ปีหนึ่งจะได้ 10 รุ่น ถ้าไก่ที่เลี้ยงลักษณะไม่ดี ตะเขียบไม่กว้างจะได้ไข่เพียง 8-9 ไข่เท่านั้นและปีหนึ่งจะได้เพียง 4 รุ่นเท่านั้น ในการสร้างเล้าไก่นั้นอย่าทำให้สูงเกิน 1.50 เมตร และควรทำความสะอาดกวาดมูลไก่ออกไม่ให้มีกลิ่นเหม็น พื้นเล้าไก่จะต้องแห้งไม่อับชื้น เปียกแฉะ เพราะจะทำให้ไก่ที่เลี้ยงไว้เกิดเชื้อโรคได้                                                               

 การสร้างรังให้แม่ไก่

         ให้หากระบุงตะกล้า กว้าง 1 ศอก สูง 1 ศอก แล้วรองรังด้วยใบตะไคร้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไรไก่ ถ้าหากเกิดไรไก่ก็ต้องหารังมดไรตามโคกตามป่ามาแขวนไว้ในเล้า เพื่อจะช่วยไม่ให้มีไรไก่ได้ เมื่อไก่ออกไข่ไก่จะกกไข่อยู่ประมาณ 21 วัน หรือ 3 ศีล โดยศีลแรก ไก่จะหันหน้าไปทางทิศอุดร ศีลสองไก่กกจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ศีลสามหันหน้าไปทางทิศได้ลูกจะออกจากไข่ ในขณะที่ลูกไก่กำลังจะออกจากไข่ไก่ ลูกไก่จะพยายามใช้จะงอยปากจิกเปลือกไข่ออกมาเอง เราไม่ต้องไปช่วยแกะเอาเปลือกไข่ออก เพราะถ้าตัวไหนที่ออกจากไข่เองไม่ได้ ไก่ตัวนั้นก็จะไม่สมบูรณ์แข็งแรง ถ้านำไปเลี้ยงมันก็จะไม่โต เมื่อไก่ฝักออกจากไข่หมดแล้วก็นำเอาแม่ไก่กับลูกไก่มาไว้ที่ปลอดภัยจากศัตรูเช่น อีกา พังพอน งู แมว สุนัข จะมากินลูกไก่ หาสุ่มขังไว้ให้น้ำผสมกับน้ำ วิตามิน C ป้องกันลูกไก่ไม่ให้เป็นปากนกกระจาบริมปาก 

         เมื่อแม่ไก่กกลูกไก่ได้ห้าวันให้จับลูกไก่ไปเลี้ยงไว้ในกรงตากหากให้ห่างจากแม่ไก่พอสมควรไม่ให้แม่ไก่ได้ยินเสียงลูกไก่ร้องโดยให้แสงไฟส่องสว่างกับลูกไก่เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้ลูกไก่ ส่วนแม่ไก่นำไปอาบน้ำสระขนให้สักสองครั้งแล้วเอาแม่ไก่ไปอาบแดดให้แห้ง หาไม่ไผ่เป็นราวให้แม่ไก่ขึ้นคอนขยับปีกแต่งตัว อีกเจ็ดวันแม่ไก่ก็เข้าคู่พร้อมที่จะไข่ต่อไป เมื่อครบ 2 ปีควรเปลี่ยนพ่อพันธุ์ไก่ ลูกไก่จะได้แข็งแรงต้านทางต่อโรค การรักษาป้องกันโรคไก่ ถ้าไก่หรือลูกไก่เป็นตาตูมให้นำถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วทุบเอาสารสีขาว ๆ ทาบริเวณตาที่เป็นโรค อย่าใส่มากจะทำให้ไก่ตาบอดได้ ถ้าไก่เป็นโรคหลอดลมอักเสพให้ใช้หัวหว่านไฟผสมอาหารให้ไก่กินก็หาย เรื่องเหล่านี้อาจจะไม่เป็นงานวิชาการมากนัก แต่ก็เป็นงานวิชาเกินของชาวบ้านที่มีคุณค่า จริงๆครับ

หมายเลขบันทึก: 41734เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2006 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดูรูปก็ดูออกว่าเป็นคนร่าเรีงแต่ถ้าหากร่าเรีงบนความกดดันละวังนะครับเดียวมีการละเบีด

OK ครับเข้าเรื่อง ที่จริงแล้วงานวิจัยชาวบ้านน่าจะเชีญนักวิจัยในเรื่องของวิชาการเข้าร่วมรับฟังด้วยก็ดีว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร แต่ในมุมของผมคิดว่างานวิจัยที่เป็นของชาวบ้านนี้และที่สามารภนำมาประติบัติได้และเห็นผลจริงๆ แต่งานวิจัยของนักล่าทุนงานวิจัยส่วนมากผมคิดว่าวิจัยมาแล้วนำไปขึ้นหิ้งพระเสยมากกว่าไม่ค่อยจะนำมาประติบัติกันเท่าไหร่ ผมว่าทางที่ดีน่าจะสนับสนุนทุนให้นักวิจัยที่เป็นชาวบ้านธรรมดาทำการวิจัยเองแล้วประยุกใช้เองบนภื้นฐานการแนะนำและสังเกตจากนักวิชาการเพื่อให้คำปรึกษาและแนะแนวทางต่างๆผมว่าน่าจะดีกว่า ( ขอบคุณครับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท