การบริหารการศึกษา


การปฏิบัติของนักบริหารต่อกลุ่ม
การปฏิบัติของนักบริหารต่อกลุ่ม           แนวทางความสัมพันธ์หรือการปฏิบัติที่อาจมีต่อกลุ่ม  ซึ่งอาจกระทำได้ตั้งแต่ระดับลบ  ระดับเป็นกลางไม่บวกไม่ลบ  และก้าวไปถึงระดับบวก                ปฏิกิริยาในแง่ลบที่อาจใช้กับกลุ่มมีอยู่ทั่วไปในองค์การซึ่งอาจจะรู้จักและคุ้นเคยกันดี เช่น  ในกรณีที่บรรทัดฐานของกลุ่มมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อกฎระเบียบเครื่องเป้าหมายขององค์การ  ดังนั้นผู้บริหารอาจจะแสดงปฏิกิริยาในแง่ลบต่อกลุ่มที่ไม่เป็นการ  แต่หากกลุ่มยังนิ่งเฉยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงและยังมีพฤติกรรมในทางลบหรือคุกคามต่อองค์การแล้ว นักบริหารก็อาจจะทำการสลายกลุ่มโดยการโยกย้ายสมาชิกเพื่อให้การที่ไม่รุนแรงเท่าโดยการโยกย้ายสับเปลี่ยนบุคคลดังกล่าว  หรือโดยการลดกิจกรรมที่กลุ่มมีโอกาสร่วมกระทำด้วยกัน  หากปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น  โดยทั่วไประดับขวัญ  ความพึงพอใจ  และผลผลิตจะตกต่ำลง  แม้กลุ่มจะยอมรับในการกระทำของนักบริหารอยู่บ้าง  แต่กลุ่มจะไม่ทำงานอย่างอุทิศ  นอกจากนั้นเหตุการณ์อาจจะเป็นไปในลักษณะตรงกันข้าม  นั่นคือ  อาจจะเกิดขบวนการใต้ดินทำให้เกิดกลุ่มลับๆ  ซึ่งมักจะทำให้กลุ่มมีความแข็งแกร่งมากขึ้นยิ่งไปอีก                หากนักบริหารประเมินว่าวิธีการทางลบอาจจะยังส่งผลที่เลวร้ายลงไปอีกดังกล่าว  เขาก็อาจเลือกวิธีนิ่งเฉยไม่กระทำการตอบโต้โดยการแสดงความเบิกเฉยต่อกลุ่ม  และให้ความสนใจหรือทำงานกับรายบุคคลแทนซึ่งเท่ากับเป็นการปฏิเสธการเกิดขึ้นหรือการมีอยู่ของกลุ่ม  และนักบริหารมักจะพบว่าเป็นการง่ายที่ติดต่อสัมพันธ์กับรายบุคคลในลักษณะตัวต่อตัว  และเห็นว่าเป็นการยากที่จะติดต่อกับกลุ่มทั้งกลุ่ม  วิธีการนิ่งเฉยนี้เป็นวิธีการที่เรียบง่าย  ซึ่งอาจจะไม่ทำให้กลุ่มตั้งตัวเป็นศัตรูแต่ในหลายกรณี  ก็ทำให้ผู้บริหารหย่อนสมรรถภาพในการควบคุมคนเหล่านั้นลง  ทั้งนี้เพราะว่าการเพิกเฉยกลุ่มก็เท่ากับเป็นการเพิกเฉยพลังที่สำคัญบางประการและเป็นการเบิกเฉยพฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์  และในทางตรงกันข้ามก็เท่ากับเขาไม่สามารถใช้พลังกลุ่ม  เพื่อที่จะทำงานมุ่งไปสู่เป้าหมายขององค์การได้  หากฝ่ายบริหารไม่สามารถที่จะใช้อิทธิพลและเปลี่ยนบรรทัดฐานกลุ่มในทางที่ถูกได้อย่างน้อยเขาก็ไม่ควรจะทำอะไร  หากบรรทัดฐานนั้นไม่ถึงระดับที่ขัดแข้งกับเป้าหมายขององค์การ                ตรงกันข้ามหากนักบริหารสามารถทำงานกับกลุ่มได้เช่นเดียวกับทำงานกับเอกบุคคล เขาก็อาจกระตุ้นให้ความสามัคคี  รวมกันของกลุ่มมีมากขึ้น  ซึ่งจะทำให้การทำงานเป็นทีม  (Team work)  สูงขึ้นด้วย  ด้วยวิธีการนี้นักบริหารไม่ควรใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งของตนเท่านั้นแต่เขาต้องพยายามสร้างความเป็นผู้นำขึ้นมาและต้องนำกลุ่มได้  และเมื่อนั้นเขาก็จะสามารถมีอิทธิพลต่อบรรทัดฐานกลุ่ม และสามรถโน้มน้าวบรรทัดฐานกลุ่มให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การได้  การกระทำดังกล่าวมาอาจมิใช่สิ่งที่ง่ายนักในทางปฏิบัติ  ทั้งนี้เพราะนี้การบริหารจะไม่เพียงแต่มีบทบาทที่เป็นทางการเท่านั้น  แต่เขายังต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องความพอใจทางอารมณ์ของบุคคลต่างๆ  ด้วย

 

คำสำคัญ (Tags): #บริหารการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 41632เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2006 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นักบริหารที่ดีต้องให้ความสำคัญกับสมาชิกในกลุ่มทุกคน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท