มาลัยสองชาย........ไม่ใช่สามชาย


มาลัยสองชาย(มาลัยลูกโซ่)

 

 

    บันทึกนี้ต่อจากบันทึกความรู้เรื่องมาลัยสองชาย(ภาคทฤษฎี) เป็นภาคปฏิบัติงานของ

เด็กๆที่ฝึกซ้อมเพื่อเป็นตัวแทนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

กำแพงเพชรเขต 2 แข่งขันดอกไม้สดการร้อยมาลัยสองชายในงานศิลปหัตกรรมนักเรียนภาค

เหนือครั้งที่ 60 จังหวัดเชียงรายค่ะ

 

 มาลัยสองชาย(มาลัยลูกโซ่)

วัสดุและอุปกรณ์ในการร้อยมาลัยลูกโซ่

1.  ดอกไม้  เช่น กุหลาบ พุด เบญจมาศน้ำ กล้วยไม้ ชบาหนู ดอกรัก บานไม่รู้โรย ผกากรองฯลฯ

2. ใบไม้ เช่น ใบแก้ว  ใบกระบือ ใบมะยม ใบหมากผู้หมากเมีย ฯลฯ

3. ใบตอง  นำมาพับทำแป้นรอง และปูรองพื้นก่อนวางดอกไม้

4. วาสลิน หรือ น้ำมันมะกอก ใช้สำหรับทาเข็มมาลัย เพื่อให้เข็มลื่น รูดมาลัยออกได้ง่าย

5.  เข็มมาลัย  ใช้ร้อยตัวมาลัย

6.  เข็มสั้น(เข็มมือ)  ใช้สำหรับร้อยอุบะ  เย็บริบบิ้น

7.  ด้ายควรใช้สองขนาด ด้ายเส้นใหญ่ ร้อยตัวมาลัย  ด้ายเส้นเล็กสำหรับมัดดอกข่าและร้อยอุบะ

8.  คีม  ใช้สำหรับจับเข็มมาลัย ขณะที่จะทำการรูดมาลัยออกจากเข็ม

9.  กรรไกร  ใช้ตัดด้าย และกลีบดอกไม้ใบไม้   ก้านดอกไม้

10. ถาด  ใช้สำหรับใส่ดอกไม้  ใบไม้และอุปกรณ์ในการร้อยมาลัย

11.ที่ฉีดน้ำ ไว้สำหรับพรมดอกไม้เพื่อให้สดอยู่ได้นาน

12. ผ้าขาวบางสำหรับใช้คลุมดอกไม้

 

 อุปกรณ์การร้อยมาลัยลูกโซ่

 

                      

                      

                             

 

                  

 

 

ดอกไม้ที่ใช้ในการร้อยมาลัยลูกโซ่

 

                          

                          

                         

                                  

                                                      ดอกข่าสำหรับทำดอกตุ้ม

                   

                   อุบะแขกหรือพวงเต่ารั้ง

                 

                  มาลัยแบบสำหรับทำมาลัยสองชายธรรมดา

มาลัยซีกกุหลาบยกดอก เก้าหลัก ด้านหน้า

ด้านหลัง

มาลัยซีกดอกพุดห้าหลัก ด้านหน้า

ด้านหลัง

มาลัยซีกดอกพุดแบบมีลาย ห้าหลัก

 

การแต่งตัวมาลัยลูกโซ่

 

 

ส่วนประกอบของตัวมาลัยทั้งหมด

มัดมาลัยซีกกุหลาบยกดอกและมาลัยซีกดอกพุดธรรมดาเป็นห่วงโซ่

ผูกตัวมาลัยโซ่เข้ากับอุบะ

 

 

มาลัยซีกดอกพุดมีลายปิดตรงรอยต่อตัวมาลัยกับอุบะ

 

 

ผูกตัวมาลัยกับโบ

 

 

                                          รูปแบบสำเร็จของมาลัยโซ่

 

                           

                                                มาลัยแบน

 

 

 

 

 สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปทำผลงานทางวิชาการค่ะ  

 อนุญาตให้ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 414531เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2010 07:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวยงามมากเลยครับพี่นก

แต่อยากให้เปิดลิขสิทธิ์ เผื่อจะท่านอื่นจะได้ใช้เรียนรู้เป็นอาชีพ หรือ ไม่ก็เอาไปแลกเปลี่ยนในวงการอื่นๆต่อไป

ฝีมือสุดยอด...เด็กๆที่รักงานช่างพวกนี้ครูอ้อยเล็กอดชื่นชมเขาเสียมิได้...พวกเขาใจเย็น ละเอียด อดทน และมีความสุขกับการทำงานที่ใช้เวลามากๆได้..และกลีบดอกไม้ไม่บอบช้ำเลยสักนิด..แถมยังเรียนรู้การถนอมให้สดใหม่...ชนิดที่ว่าครูยังอาย...คริๆๆ

มีความละเอียดมากครับ คงเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน

ขอชื่นชมครับ กับความสำเร็จ

สวัสดีค่ะ พี่ครูนก คุณครูจุฑารัตน์

  • ฝีมือเด็กๆ เยี่ยมไปเลยค่ะ สมแล้วที่เป็นลูกศิษย์ครูนก ขอเป็นกำลังใจให้พี่ครูนก และเด็กๆ ได้ประสบการณ์ดีๆ และมีรางวัลกลับมาให้ชื่นใจทั้งครอบครัว และคุณครูที่เหน็ดเหนื่อยนะค่ะ ...
  • ขอบคุณค่ะที่แวะไปร่วมสังสรรค์อวยพรวันเกิดแด่อาจารย์วิรัตน์ =)
  • แวะมาชื่นชมมาลัยสองชาย( ไม่ใช่สามชาย )
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงาน

 

  • ฝีมือเด็กๆเยี่ยมมาก...สามารถนำมาเป็นอาชีพสร้างรายได้ได้เลยนะครับ
  • ไม่ทราบว่าคุณครูรับเป็นวิทยากรฝึกอาชีพให้กับกลุ่มเยาวชนที่สนใจได้ไหมครับ

 

สวัสดีค่ะ

ตอนเด็กๆเคยเรียนค่ะแต่ตอนนี้ลืมๆ ขอบคุณน่ะค่ะที่นำมาฝาก

 

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท