การยอมรับความเสี่ยง กับบางชีวิตที่เรียกคืนมิได้(update)


ในเมื่อไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้น การยอมรับความเสี่ยง หมายถึงเราได้คุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนอย่างเต็มความสามารถ

"ในเมื่อไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้น  การยอมรับความเสี่ยง กับบางชีวิตที่เรียกคืนมิได้ แต่เราได้ตรวจตราป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดอย่างเข้มงวดที่สุดกว่าที่เคยมีมาในครั้งไหนๆ"

 

      สวัสดีครับ คิดว่าหลายๆท่านคงเคยได้เข้าประชุมเพื่อทำหน้าที่ของบฯหรือพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีนั่นแหละครับ บางครั้งหรือหลายๆครั้งหลายคนคงมีคำถามในใจ ว่าในเรื่องที่เราต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ถ้าไม่ดำเนินการอาจเกิดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยของประชาชน หรือถ้าเป็นเชิงธุรกิจก็มีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stack holder) ซึ่งโปรเจคลักษณะนี้จำเป็นต้องรองบประมาณด้วยหรือ รอได้จริงหรือ?? ถ้าไม่ทำเกิดผลลัพธ์อย่างไรองค์กรขาดรายได้อย่างไร ความเสี่ยงถ้าไม่ทำเกิดมากไหมบ่อยไหม ด้านนิรภัยคงต้องดูว่าหากเกิดแล้วมีผู้เสียชีวิตเยอะไหม ส่วนด้านธุรกิจก็คงต้องดูโอกาสที่จะสามารถทำกำไรได้ ซึ่งเวลาก็ไม่รอคอยใคร เพราะเชิงธุรกิจใครก็อาจมีวิธีคิดที่เหมือนๆกันได้ ไม่ทำตอนนี้คนอื่นเค้าก็เอาไปทำก่อน ได้ผลกำไรก่อนเราก็เสียโอกาสไป แต่การนำกำไรส่วนหนึ่งมาเป็นงบลงทุนพัฒนาเรื่องนิรภัยขององค์กรก็เป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและมีตัชี้วัดที่ชัดเจน ประมาณว่า ขณะนี้วันที่ ....เราทำงานโดยไม่เกิดอุบัติเหตุมาแล้วจำนวน ....วัน ให้ท้าทายและตระหนักในใจของผู้ทำงานอย่างปลอดภัยต่อตัวเองและเพื่อนร่วมงาน ถ้าเป็นแบบนี้กิจการก็ไปได้อย่างราบรื่นและความเสี่ยงด้านนิรภัยก็เป็นเรื่องความต้องการพื้นฐานของมนุษย์คือ นั่นคือความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ผมพยายามมองเป็นสองมุม มุมแรกมองเชิงธุรกิจ ถ้าโปรเจคไม่เกิดก็อาจสูญเสียโอกาสในเชิงธุรกิจ กระทบสถานะทางการเงินการลงทุนของภาคเอกชน บริษัท หรือนิติบุคคล แต่ถ้ามองในเชิงนิรภัยนั่นหมายถึงการทุ่มเม็ดเงินลงไปเพื่อดำเนินการเรื่องระบบความปลอดภัยในชีวิตของบุคคลากรภายในองค์กร

หรือถ้าเป็นกิจการที่รัฐให้บริการแก่สาธารณะ ก็กระทบต่อชีวิตชาวบ้านไม่รู้เท่าไรอีกเท่าไร ถ้าไม่เร่งรีบดำเนินการจัดการด้านนิรภัยให้เป็นรูปธรรม ซึ่ีงในกิจการภาครัฐที่ต้องกำกับดูแล ให้บริการประชาชนเช่น ด้านการขนส่งทางอากาศ จะต้องดำเนินการเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการจากภาครัฐอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมกัน ตามกฏเกณฑ์กฏระเบียบและวิธีปฏิบัติที่ไม่ขัดต่อกฏหมาย ทำให้ประชาชนได้รับความความปลอดภัย รวดเร็ว สดวก เท่าที่ศักยภาพหน่วยงานสามารถทำได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นหลัก

ก่อนที่จะสร้างกระบวนการจัดการด้านนิรภัย ให้เรามองดูภาพรวมว่า เรามีอะไรที่เป็นความเสี่ยงบ้าง อะไรเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ การวิเคราะห์ประเมินดูก่อนว่าหลีกเลี่ยงได้ไหม ถ้าได้ทำอย่างไร ถ้าไม่ได้ควบคุมโอกาสให้เกิดน้อยลงได้ไหม ควบคุมสภาพรอบข้างให้ไม่ทำอันตรายเพิ่มขึ้นได้หรือเปล่า เกิดแล้วมีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บมากน้อยแค่ไหน เอาระดับความรุนแรงและจำนวนคนเสียชีวิตและโอกาสความน่าจะเกิดบ่อยครั้งแค่ไหนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจัดลำดับความเร่งด่วนในการดำเนินการ (แผน 5 ปี) หรือจัดแยกออกมาเป็นโครงการเร่งด่วนใช้งบจากการแปรงบอื่นมาใช้ หรือใช้งบฯโครงการพิเศษจากทางภาครัฐเช่น โครงการไทยเข้มแข็ง โครงการคมนาคมปลอดภัย 2553-2554 ก็เป็นอีกทางเลือก 

งบลงทุนทางธุรกิจควรจัดให้เสมอเทียบเคียงกับ งบการจัดการด้านนิรภัย ลงทุนเท่าไร แนวโน้มเศรฐกิจในไตรมาสเป็นอย่างไร เสถียรภาพทางการเมืองต่อการลงทุนด้านนี้มีผลกระทบไหม ไม่ทำตอนนี้ มีมาตรการควบคุมไหม สุดท้ายมาดูว่า เราใช้งบประมาณมากไปในด้านธุรกิจหรือเปล่า

เราลองนึกภาพเปรียบเทียบดูระหว่าง สนามบินกับสนามแข่งรถเหมือนกันตรงที่ไม่คุ้มค่าในการลงทุน จุดคุ้มทุนนานไม่คุ้มค่า แต่คุ้มค่าในการบริหารจัดการ ซึ่งอาจไม่คุ้มถ้าเอากำไรจากการบริหารจัดการมาเป็นค่าใช้จ่ายในในการบำรุงรักษา แต่คุ้มค่าในเรื่องการเพิ่มความสะดวกความปลอดภัย และทำให้เกิดการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาการด้านต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิต ทำให้เกิดการต่อยอดทางด้านเทคโนโลยี ที่จะช่วยปกป้องความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน อย่างนี้คุ้มค่าในเชิงคุณภาพเป็นต้น

แน่นอนกีฬาก่อให้เกิดน้ำใจ รู้จักคำว่าแพ้ ประเมินตนเองถูก รู้จักคำว่าชนะ รู้ว่าทำถูกทำอย่างไร รู้จักการแข่งขันเอาชนะตนเองเพราะความรู้ความสามารถ จังหวะ วิธีคิด สมดุลย์ร่างกายที่สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกล้ามเนื้อที่แข็งแรง กำลังใจที่เด็ดเดี่ยวแต่ไม่ทนงตน ทุกอย่างนำมาซึ่งชัยชนะในตัวคุณ นั่นไม่ได้หมายถึงคุณชนะคนนั้นคนนี้เพราะคุณเก่ง แต่คุณเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ดีมากทำให้สามารถใช้ประสิทธิภาพที่มีได้อย่างเต็มที่ คุณก็แสดงความยินดีกับตัวคุณรับถ้วย ช่อมะกอกไปตามระเบียบ พร้อมพูดว่าเราทำสำเร็จแล้ว นั่นคือคุณสู้กับตนเองสำเร็จนั่นเอง นอกจากสปิริต การแข่งขันยังก่อให้เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีต่อยอดไปไม่มีวันสิ้นสุด สิ่งที่เหมือนกันระหว่างเครื่องจักรกับคนคือ ถ้าแรงเร็วอย่างเดียวไม่ทนทานไม่เสถียร นักกีฬาวิ่งเร็วแต่ล้าก่อนถึงเส้นชัย เครื่องยนต์ที่มีแรงม้าแรงบิดมหาศาลแต่ไม่สามารถควบคุมรอบการหมุน การถ่ายทอดกำลังได้ง่าย ก็ไม่สามารถเป็นระบบที่สมบูรณ์ได้เลย

สิ่งที่เหมือนกันอีกสิ่งหนึ่งของเครื่องบินกับรถคือความเร็ว วัตถุใดใดเคลื่อนที่ด้วยความเร็วยิ่งมาก โมเมนตัมยิ่งมากนั่นคือสนามบินหรือสนามแข่งรถจะต้องถูกออกแบบพื้นที่ปลอดภัย ไว้ในจุดที่รถหรืออากาศยานอาจไถลออกนอกทางวิ่ง ทางขับ service road แล้วกลับเข้ามาได้อย่างปลอดภัยต่อสิ่งอื่นและปลอดภัยต่อตนเองและรถหรืออากาศยานที่ควบคุมอยู่ ถ้าอย่างนั้นงบประมาณที่จะใช้ในจุดนี้ถือว่าเป็นงบเร่งด่วน ต้องจัดซื้อจัดจ้างดำเนินการโดยเร็ว รอไม่ได้ ถ้าจัดการได้แบบนี้ก็ถือว่าเราได้พิจารณาให้ความสำคัญด้านนิรภัยกันได้ในระดับหนึ่ง แล้วเรามีเกณฑ์หรือเครื่องมืออะไรไหม ที่มาช่วยจัดลำดับความสำคัญในการพิจารณางบประมาณ หลักการคือ ดูว่าโครงการนั้นมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของชาวบ้านอย่างมาก และ/หรือ โครงการนั้นมีผลต่อเศรฐกิจอย่างรุนแรงหรือไม่ เรามาดูเครื่องมือกันครับ

1.การประเมินความเสี่ยง (Risk Assesment)เพื่อให้ทราบถึงความเสียหายว่ารุนแรงมีผลกระทบถึงความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน หากปล่อยไว้ไม่รีบดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จ พูดง่ายๆคือถ้าปล่อยไว้ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุถี่มากน้อยแค่ไหน(Probabilities -Time in last Year) คูณ กับปริมาณผู้เสียชีวิตมากน้อยอยู่ในช่วงใด มากแค่ไหน(Several-Human Dead) จำนวนคนตายจากอุบัติเหตุหรืออุบัติการ์ณดังกล่าว อยู่ในระดับที่ต้องหลีกเลี่ยง(เหตุแห่งการเกิด)อย่างยิ่ง เรายอมรับไม่ได้(ปล่อยไว้อย่างนี้เห็นจะไม่ดีแน่)กับความหายนะทำให้คนตายมากเหลือเกิน อย่างนี้เห็นควรดำเนินการโดยเร่งด่วนแก้ไขให้หมดไปโดยใช้งบประมาณเร่งด่วนนั่นเอง

2.การจัดลำดับ แบ่งประเภท ความเร่งด่วนในการแก้ไข (First priority) โดยพิจารณาผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อม และจากการวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงว่าสูงมากน้อยระดับใด  ถ้าเป็นผลกระทบโดยตรงต่อจิตใจประชาชน และการแก้ไขใช้งบประมาณไม่มากนัก ถัวเฉลี่ยงบประมาณประเภทอื่นมาใช้ก่อน เพราะเห็นผลเร็ว ควรแก้ให้ลุล่วงเป็นลำดับแรกเพราะจะมีผลทางด้านความพึงพอใจเพื่อให้ประชาชนที่มาใช้บริการได้รวดเร็วทันใจชาวบ้าน  หมายถึงเมื่อชาวบ้านเดินมาติดต่อเราด้วยหัวใจอันมุ่งหวังที่ปรารถนาจะได้รับบริการตามที่คาดการณ์ไว้ เช่น คาดว่าจะได้รับการดำเนินงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ ถูกต้องเป็นธรรม (ไม่ Double Standard) สะดวก รวดเร็ว รับใช้ประชาชนทุกคนเท่าเทียมกัน ก็ควรรีบดำเนินการคือจัดลำดับความเร่งด่วนในการแก้ไขเป็นลำดับแรกๆ (Priority)

3. การบริหารจัดการทุนให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐศาสตร์ การตลาด การเงิน โดยไม่ละเลยทุนที่จะนำมาลดความเสี่ยงในการนำทุนบางส่วนมาบริหารจัดการบริบทรอบข้าง เพื่อลดความเสี่ยง หรือลดความรุนแรงของผลเสียหายเมื่อเกิดอุบัติการณ์ อุบัติเหตุ คือตัวแปรอีกตัวที่ควรที่จะนำมาเป็นตัวแปรในการจัดลำดับความเร่งด่วนในการดำเนินกิจการ และการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี ผมของแยกให้เห็นชัดๆระหว่างงบประมาณในการกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐ และผลผลิตที่ได้ของหน่วยงานเอกชน

ซึ่งถ้าเป็นในรูปบริษัทต่างๆทั้วไปก็น่าจะนำความคุ้มค่าของต้นทุนที่ลงไปกับผลผลิตต่างๆที่ได้มาบริหารจัดการงบประมาณให้อยู่ในระดับของความเสี่ยงที่ยอมรับได้ กับความพึงพอใจที่อยู่ในระดับดี เสมือนตาชั่งชั่งน้ำหนัก ที่ด้านหนึ่งเป็นผลผลิตที่ได้และต้นทุนที่ลงไป อีกด้านหนึ่งเป็น กระบวนการที่จะก่อให้ความปลอดภัยต่อประชาชนรวมทั้งคนทำงานในที่นั้นๆด้วย จะต้องอยู่ในระดับอย่างน้อยสามารถยอมรับได้ ผมหมายถึง ระบบการจัดการเพื่อ(ให้ได้มาซึ่งระดับ)ความปลอดภัย(ที่สูงขึ้น)

ตาชั่งแห่งความปลอดภัย

                  บางครั้งอาจตกใจเมื่อพบว่า การตาชั่งด้านหนึ่งเกิดเอียงไม่สมดุลย์กัน เพราะไม่เข้าใจว่า การตลาด เศรษฐศาสตร์ การเงิน การจัดการ มีลักษณะขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีแนวโน้มทำให้เกิดความกดดันหรือความเครียดลึกๆในสมองในจิตใจของผู้ปฏิบัติ ในการปฏิบัติงานที่อาจก่อให้เกิดความสี่ยงในระดับที่ยอมรับไม่ได้ หมายความว่าหลายครั้งหลายคราว ที่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เกิดจากการตัดสินใจผิดจากคน ซึ่งความกดดันต่างๆจากสิ่งต่างๆทั้งในบ้านที่เราอยู่ ในบริษัทที่เราทำงาน ความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องการปฏิบัติงานบางอย่างที่ยังไม่เคลียร์รู้แจ้งแทงตลอด จุดบอดต่างๆของตนเอง ล้วนทำให้คนเราเกิดสภาวะเครียดกดดันในใจซึ่งแสดงออกในพฤติกรรมที่ผิดปกติวิสัย หรือเกิดความประมาท ไม่คิดว่าสิ่งไม่ดีจะเกิดกับตัวเอง ทำให้ไม่ระมัดระวังเท่าที่ควรจะทำ บางทีไม่ได้เจตตนาแต่เป็นจิตใต้สำนึก ของคนโดยทั่วไปที่ยังไม่ได้รับการฝึก จะมีความเชื่อมั่นในตนเองมาก จนบางครั้งอยู่ในความประมาท นั่นเป็นสัญชาติญาณการต่อสู้เอาชนะของคนทั่วไป ที่จะต้องรวบรวมกำลังใจเพื่อให้เกิดแรงบันดาลจากจิตใจพุ่งลงไปสั่งงานให้เส้นประสาทและอวัยวะทุกส่วนในร่างกายขับเคลื่อนไหวในท่าทางของการสู้รบ เพื่อเอาตัวรอดนั่นเอง

                บางทีการฟันธงว่าผู้ตัดสินใจคนสุดท้ายเป็นผู้รับผิดชอบ ในอุบัติเหตุครั้งนั้นก็คงไม่ยุติธรรมเลยทีเดียว เพราะสาเหตุของการเกิดมักมีความผิดพลาดบกพร่องในหลายๆจุด หลายๆด้าน ซึ่งความผิดพลาดของระบบอุปกรณ์ หรือการออกแบบ ตัวแปรที่เราควบคุมไม่ได้มีมากอย่างนี้ก็คงต้องยอมรับกันได้ในระดับหนึ่ง บริษัทฯยักษ์ใหญ่ของโลกเช่น โบอิ้ง ก็ยังมีการ Re-engineering เครื่องบินลำที่ทันสมัยอย่างConcorde กันอย่างยาวนาน แต่แล้วก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะพื้นที่ปีกที่กว้างซึ่งบรรจุน้ำมันไว้มีพื้นที่มาก ทำให้โอกาสของการที่ยางระเบิดแล้วฉีกขาดไปกระแทกปีกทำให้ชิ้นส่วนปีกและถังเก็บจากยางฉีกขาดเสียหายน้ำมันรั่วไหลและติดไฟ ในขณะบินขึ้นและลงเพราะน้ำหนักของเครื่องมาก ด้วยสาเหตุทั้งสองนี้เองเป็นสาเหตุหลักในอุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งทางวิศวกรรมโครงสร้างของเครื่องบินเร็วเหนือเสียงหลีกเลี่ยง(ความเสี่ยง)การออกแบบพื้นที่ปีกแบบนี้ไม่ได้ นั่นคือความเสี่ยงที่เราต้องศึกษาว่ายอมรับได้ไหม

               กรณีนี้เป็นกรณีศึกษาอย่างดียิ่งว่า สุดท้ายเราไม่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างของปีกให้เล็กลง พื้นที่ๆจะถูกยางที่ระเบิดมากระทบน้อยลงไม่ได้ เนื่องจากข้อจำกัดดังกล่าว เหมือนสำนวนไทยว่างูกินหางนั่นแหละครับ ถ้าแก้พื้นที่ปีกก็ทำให้ความเร็วไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์ของผู้ออกแบบว่าต้องเร็วเหนือเสียง จนปัจจุบันต้องหลีกเลี่ยงคือ ไม่นำมาใช้อีกเพราะเราควบคุมบริบทหรือสาเหตุไม่ได้นั่นเอง เหมือนหลักสถิติที่หนึ่งเหตุการ์ณมีหลายมีตัวตัวแปรที่เราควบคุมไม่ได้ ทำให้เกิดสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเกิดอุบัติการ์ณหรืออุบัติเหตุไม่ได้ จึงยกเลิกสายการผลิตเป็นการปิดแฟ้มประวัติศาสตร์การบินเร็วเหนือเสียงของเครื่องบินคอนคอร์ดไปเมื่อไม่นานนี้ อย่างนี้เรียกว่าหลีกเลี่ยงความเสี่ยงไม่ได้ เราควบคุมและลดโอกาสเกิดความเสี่ยง โดยการออกแบบแก้ไขโครงสร้าง ศึกษาวิธีการปฏิบัติการบินการขับเคลื่อน การออกมาตรการควบคุมเคลียร์พื้นผิวทางวิ่งอย่างสมบูรณ์(กำจัดโอกาสในการเกิดFOD) ถ้าทำทุกอย่างแล้วไม่เห็นแนวโน้มในทางบวก อย่างนี้ Concorde จึงยกเลิกพันธกิจโครงการนี้ไป  ประเด็นในเรื่องนี้จึงพุ่งเป้นไปที่การระบุสถาวะบ่งชี้อันตราย (Identify Hazzard to Aircraft)ตระหนักหามาตรการป้องกัน กระทำขบวนการป้องกัน ในระดับหนึ่ง และขยายผลตามลำดับความเร่งด่วนและการขยายผลออกประกาศอย่างแวดกว้าง (Publish in Aeroneautical Information) ให้ทั่วโลกเกิดความตระหนักอีกทั้งการกระตุ้นเตือน (Task Force) ทั้งในระดับประเทศภาคีสมาชิกและระดับนานาชาติ

             ซึ่งถ้าเป็นมาตรการหรือกฎหมายที่ต้องทำพร้อมๆกันทั่วโลกยิ่งต้อง ประกาศขอความร่วมมือ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแวดกว้างขึ้นพร้อมๆกัน ต่อภาระกิจหรือการปฏิบัตินี้ถือเป็นวาระแห่งชาติ  เป็นภาระหน้าที่สำคัญของรัฐบาลในทุกประเทศทั่วโลกควรจัดให้....สิ่งนี้....มีเกิดขึ้นเป็นกฎหมายบังคับใช้และมีบทลงโทษที่ชัดเจนหากฝ่าฝืน เพราะเราได้พิสูจน์เป็นกรณีศึกษามาแล้ว แต่ถ้าใครทำไม่ได้หรือมีมาตรการอื่นที่ดีอยู่แล้วอย่างไร ช่วยแจ้งให้เราและประเทศอื่นๆทราบด้วยนะครับ ว่ามาตรการที่นำไปใช้แล้ว Work เกิดผลดีอย่างไร นี่แหละครับล้วนเป็นสิ่งสวยงามที่แต่ละประเทศพึงให้ความช่วยเหลือแบ่งปันองค์ความรู้กันและกัน อย่างไม่ต้องการผลตอบแทน

             

                 ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าเราปิดทุกช่องทางของโอกาสเกิดความเสี่ยงครบถ้วน เคร่งครัดและเพียงพอแล้วหรือยัง ถ้ายังเราคงไม่โทษใครแต่เราจะแก้ที่ตัวเองไปพร้อมๆกับวางมาตรการเพิ่มเติม เพราะเราเองเป็นผู้รู้และตระหนักถึงสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายก่อนได้ รู้ลึก อย่างถ่องแท้มากกว่าคนอื่นๆอย่างแน่นอนเพราะเราคลุกคลี มีประสบการ์ณแก้ไขสถานการณ์ต่างๆมามาก ที่สำคัญต้องใช้นิสัยชาวตะวันตกมาใช้ในการมองแบบพินิจพิเคราะห์หรือที่นักบินปฏิบัติการบิน ด้วยการ see and avoid การมอง เพ่ง สังเกตุ พินิจพิจารณาอย่างรอบคอบครบถ้วนนำความรู้ในสมองและนักบินผู้ช่วย มาประเมิน รวบรวมเป็นวิธีการปฏิบัติ แล้วตั้งเป้าในใจ และลงมือปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป คือปฏิบัติไปดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆต้องเป็นไปตามกัน และไปต่อให้ถึงจุดนั้น Read Back กับตัวเองคือถามกลับมาหาตัวเองว่า ใช่หรือให้สมองได้คิดทบทวนอีกครั้ง

                 เหมือนเวลาเราทำข้อสอบเสร็จก่อนเวลาจะหมด เราจึงได้มาทบทวนคำตอบที่เราได้ตอบไปแล้วว่า ในตอนแรกเราเข้าใจโจทย์ถูกต้องหรือไม่ กระบวนการคิดเป็นไปตามขั้นตอนก่อนหลังไหม แต่ละขั้นตอนมีผลลัพธ์ถูกไหม ถ้าเรามองในมุมอื่นๆจะได้คำตอบที่เปลี่ยนไปไหม ถ้ามองมุมอื่นแล้วมีคำตอบลวงที่ใช่อยู่ ลองไปทำความเข้าใจโจทย์อีกครั้งว่าต้องการให้มองมุมไหนแน่ เพราะอาจเป็นคำตอบที่ถูกก็เป็นได้ นักบินจะเจอกับข้อสอบเพื่อฝึกวิธีคิดว่ามาถูกทางไหม บ่อยครั้งที่ไม่เข้าใจโจทย์ไม่เข้าใจยุทธศาสตร์ทำให้พันธกิจไม่ตรงแล้วมีผลลัพท์ตรง ลืมกลับไปมองว่าจริงแล้ว ถ้ามองพันธกิจอีกด้านหนึ่งซึ่งตรงกับยุทธศาสตร์มากกว่า ก้อจะตอบอีกข้อซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกและสะท้อนหรือกระทบกับยุทธศาสตร์มากกว่า นั่นคือตรงกับที่โจทย์ถามมากกว่า เชื่อตามหลักการของทฤษฎี 5 Hazzard Attitude มนุษย์เราควรฝึกให้ร่างกายหรือความคิดทำตามความคิดที่สอง เพราะมีสมาธิและสติไตร่ตรองได้รอบคอบกว่า การกระทำที่เกิดจากความหุนหันพลันแล่นกระทำสิ่งแรกที่คิดหรือสิ่งแรกเมื่อถูกกระทบด้วยสิ่งเร้าต่างๆจากภายนอก อย่างนี้คนเลืดกรุ้ปโอต้องฝึกมากๆนะครับนะ เพราะว่าส่วนใหญ่คนเลือดกรุ้ปดังกล่าวจะมีอารมณ์เหนือเหตุผลเสียด้วย 

               ที่กล่าวมาแล้ว เป็นวิธีที่สมองคิดภายในช่วงเวลาสั้นๆ และตระหนักในสิ่งต่างๆที่ไม่เป็นปกติ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามทฤษฎี อย่างนี้ถือว่ามีความละเอียดรอบคอบดี สิ่งสำคัญอีกอย่างของนักบินคือ คิดเสมอว่าการปฏิบัติการบิน สนามบิน ภูมิอากาศ สิ่งต่างๆในการบินในแต่ละไฟล์ทไม่มีวันเหมือนเดิม เพราะสภาพแวดล้อมต่างๆไม่มีทางเหมือนกันได้ทุกครั้ง เราจึงได้ตระหนักคือ พยายามสังเกต ระแวดระวัง พินิจพิจารณา ตรึกนึกถึงความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ สังเกตแนวโน้มของอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางการบิน สังเกตสภาพแวดล้อม น้ำหนักในการควบคุมบังคับ control column ปรับแก้ไขทิศทาง ความสูง การเอียง ความเร็ว แก้เล็กๆน้อยๆ ตัดสินใจและแก้ไขทันที พอเริ่มปรับต้องปรับอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดูแนวโน้ม cross check กันและกัน เริ่มเปลี้่ยนเริ่มปรับแก้ทิศทางไปที่เป้าหมาย ลักษณะนี้คือการทำให้ ความรู้ วิธีคิดในสมองสอดคล้องกับการทำงานของร่างกายได้อย่างประสานกันอย่างสมบูรณ์ที่ผมได้กล่าวในเรื่องการแข่งขันว่าผู้ได้ที่หนึ่ง ไม่ใช่ความเก่งแต่ร่างกายวิธีคิดความรู้เขา เป็นระบบที่สมบูรณ์ อย่างนี้เป็นนักบินได้ครับ 

                  สังเกตคำว่า avoid ของฝรั่งเขาไม่มีเจตนาหมายความว่ากลัว แบบที่บ้านเราแปล แต่เป็นความตระหนก ซึ่งไม่ใช่ตื่นตระหนกตกใจ แต่เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้ตระหนัก และใส่ใจ ในการปฏิบัติ คือการกระทำใดใดขอให้มีสติ อย่าตั้งตัวอยู่บนความประมาท นั่นเองครับเล่ามาตั้งนาน ผู้ที่มีสติตั้งตนอยู่บนความไม่ประมาทอยู่แล้วคงบอกว่ามาเขียนทำไม ตอบได้ครับ เขียนให้ผู้ที่อาจประมาทอยู่ เช่นผมเป็นต้น จะได้เป็นข้อเตือนใจ เอาน่าผมว่าขณะอ่านก็คงช่วยให้ความร้อน ความตระหนักคลายลงได้ครับนะ เช่นเกิดความรู้สึกดีว่า ดีนะ ที่เราไม่ได้เป็นนักบินกับเค้า เพราะความรับผิดชอบแยะเหลือเกินครับนะ ๕๕๕

 

Sub.L.T. Sotthithat Eamlumnow

ว่าที่ร้อยตรี โสตถิทัศน์ เอี่ยมลำเนา

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง วิศวกรไฟฟ้าระดับชำนาญการ
ดำรงตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า 7 หัวหน้างานมาตรฐานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ เมื่อปี 2551
ว่าที่ร้อยตรี รุ่นที่ 57 จบหลักสูตรภาคพื้นนักบินส่วนบุคคล(PPLรุ่นที่30จากTGAT)และหลักการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน(IRรุ่นที่33จากTGAT) 

คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่ง พรบ.การเดินอากาศ ฉบับที่ 11 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ปฏิบัติการตรวจสอบออดิตสนามบินสาธารณะดอนเมือง สุวรรณภูมิและสนามบินในประเทศทั่วภูมิภาคเพื่อออกใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะ และตรวจสอบมาตรฐานด้านเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ

ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณณ์ ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ตริตาภรณ์มงกุฏไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม
[email protected]
[email protected] (MSN ,fb,Hi5,Twitter)

บทความที่เขียน จำนวน 23 เรื่องได้แก่

1. มาตรฐานการตรวจทางวิ่งทางขับและลานจอดอากาศยาน (Runway/Taxiway/Apron Inspection) http://www.gotoknow.org/blogs/posts/470882

2.การขับเครื่องบินเข้าหลุมจอด โดยไม่ให้เลยขอบเขตที่กำหนด เรื่องง่ายๆแต่ไฉนเกิดกันถี่มาก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/470255

3.มาตรฐานการติดตั้งไฟเตือนสิ่งกีดขวางบนสิ่งปลูกสร้างและอาคารสูง http://www.gotoknow.org/blogs/posts/467652

4.มาตรฐานและการติดตั้ง ระบบไฟฟ้าสนามบิน http://www.gotoknow.org/blogs/posts/458527

5.มาตรฐานและการติดตั้ง ระบบไฟฟ้าสนามบิน2 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/458649

6.วัฏจักรที่ยั่งยืนมีเสถียรภาพในระบบสนามบิน http://www.gotoknow.org/blogs/posts/437206

7.ท่าอากาศยานดีเด่น ต้องเด่นและดีอย่างไร  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/402694

8.การประยุกต์ใช้แผนที่ภูมิศาสตร์และเขตปลอดภัยในการเดินอากาศอิเล็ดทรอนิคส์ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/459396

9.การยอมรับความเสี่ยง กับบางชีวิตที่เรียกคืนมิได้(update)    

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/414339

10.มาทำให้สมองเราหยุดคิดหยุดกังวล.. สบายและปลอดโปร่ง..ด้วย ....กันเถอะครับ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/412546


10(Cont)มาทำให้สมองเราหยุดคิดหยุดกังวล.. สบายและปลอดโปร่ง..ด้วย ....กันเถอะครับ (ต่อภาค2) http://www.gotoknow.org/blogs/posts/466564

11.ทำ KM เพื่ออะไร ใครรู้บ้าง??? http://www.gotoknow.org/blogs/posts/398668

12.บทสรุป KM DAY กรมการบินพลเรือน http://www.gotoknow.org/blogs/posts/401107

13.เฟสบุ้ค นิสัยหน้าค่าตาของฉัน มาเปิดหน้าเปิดใจให้เพื่อนและญาติมิตรพร้อมแบ่งปันความรักและความรู้สู่โลกใบนี้  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/402702

14.จิตใต้สำนึก(SubConscious)และการรับรู้อย่างมีสติ-โสตถิทัศน์ เอี่ยมลำเนา http://www.gotoknow.org/blogs/posts/437742

15.พ่อหลวงแห่งไทยทรงสอนความรู้อันเกิดจากประสบการณ์(Tacit Knowledge) http://www.gotoknow.org/blogs/posts/437788
16.ขอโทษครับ ขอขับรถตัดหน้าในระยะกระชั้นชิดหน่อยนะครับ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/438541

17.บทเรียนจากอุทกภัยเดือนตุลา2554 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/466631

18.การติดตั้งระบบแก๊ซรถยนต์ให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ขบ  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/398684

19.มูลค่าความสูญเสียโอกาสทางธุรกิจการขนส่งทางอากาศ เมื่ออากาศยานไม่สามารถร่อนลงยังจุดหมายปลายทางตามที่กำหนดได้

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/484182

20.โคมไฟฟ้าสนามบินแบบตั้งพื้น ถูกออกแบบมาให้สามารถแตกหักได้ กรณีถูกล้อยางเครื่องบินชนกระแทก

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/484189

21.โคมไฟสนามบินแบบฝังพื้น ไม่เรียบเสมอกับผิวทางวิ่งทางขับ

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/484187

22.สนามบินที่มีเที่ยวบินกลางคืน ควรตระหนักในเรื่องดังต่อไปนี้

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/484170

23.การตรวจวินิจฉัยและบ่งชี้ให้เห็นสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ที่สำคัญคือต้องยกขึ้นพูดทันที

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/484152

 

· เลขที่บันทึก: 482211
· สร้าง: 17 มีนาคม 2555 06:31 · แก้ไข: 19 เมษายน 2555 20:25
· อ่าน: 145

 

 

หมายเลขบันทึก: 414339เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2010 04:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2017 06:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ...

  • แวะมาทักทายค่ะ...
  • เห็นเรื่องแล้วปวดหัวค่ะ...อยู่ที่ทำงานก็ความเสี่ยง...คืนนี้ขอพักผ่อนฟังเพลงก่อนนะค่ะ...อิอิอิ...แล้วจะกลับมาอ่านอีกครั้งค่ะ...
  • ขอบคุณที่ไปเยี่ยมค่ะ...

สวัสดีครับคุณบุษยมาศ

แนะนำเรื่องเบาๆสบายๆให้ครับนะ เอาเรื่องนี้ก่อน

มีแอบขำๆแน่ๆครับ

http://gotoknow.org/blog/kmteamdca/402702

ขอบคุณที่แวะมาครับ

ถ้าชอบเม้นท์แนะนำติชมได้ครับนะ

KM Team DCA

สุดยอดกูรู จิงๆเลยค่ะ ความรู้คู่คุณธรรม จิงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท