การจัดการการเงินระหว่างประเทศภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง


ประเทศไทยแต่ดั้งเดิมมีมุมมองในวางกรอบทางเศรษฐกิจประการหนึ่งที่ต่างจากตะวันตก คือ การเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจในชุมชน ก่อนที่กระแสความคิดจากตะวันตกจะไหลบ่าเข้ามา

     เป็นผลมาจากปัญหา "วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจภายประเทศไทย"ในวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เกิดภาวะฟองสบู่แตกอันเนื่องจากรัฐบาลใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศจนเกือบหมดผลก็ คือรัฐบาลประกาศปล่อยลอยตัวค่าเงินบาท(หมายความว่าระบบการเงินที่มีอัตราเเลกเปลี่ยนอย่างเสรี จะเปลี่ยนแปลงตามอุปสงค์หรืออุปทานของของเงินตราต่างประเทศ ราคาแลกเปลี่ยนจึงเป็นการอิงกับตลาดซึ่งธนาคารกลางก็ไม่จำต้องรับภาระรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนและไม่ต้องเก็บเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่เหมาะกับประเทศที่มีการเงินไม่สมบูรณ์อย่างประเทศไทย) เปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมการยึดโยงอัตราแลกเปลี่ยนระบบตระกร้าเงิน(หมายความว่าระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่เงินตราต่างประเทศอิงกับประเทศคู่ค้า เช่น ดอลลร์สหรัฐฯ ปอนด์ ยูโร เป็นต้น) อิงกับเงินสกุลดอลล่าสหรัฐ  ผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวกระทบต่อประเทศไทยโดยตรงและรุกลามไปยังภูมิภาคข้างเคียงอันได้แก่ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ขยายไปถึงรัสเซียและบราซิล ที่เรียกว่า"วิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง"

     เพราะอะไรจึงเกิดวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง? จากวิกฤติการณ์ดังกล่าวประเทศไทยจึงได้ทำ Letter of Intend ซึ่งหมายถึงหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อขอรับความช่วยเหลือทั้งทางด้านการเงิน และทางวิชาการ อันเป็นสิ่งที่แสดงถึงความยินยอมให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ"IMF"  (International  Monetary Fund)ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศในฐานะทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ มีบทบาทในการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินระหว่างประเทศแก่รัฐสมาชิก(ซึ่งต้องสมาชิกองค์การสหประชาชาติอยู่ก่อนจึงจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ IMF ได้) และประเทศไทยเองก็ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของ IMF ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๙๒ โดย IMF นำแหล่งเงินทุนที่ได้มาจากการชำระโควตาของรัฐสมาชิกซึ่งกำหนดจากขนาดของเศรษฐกิจ เงินสำรอง ตลอดจนฐานะและความผันผวนของดุลบัญชีเดินสะพัดของรัฐนั้นๆและวิธีการลงคะแนนเสียงของรัฐสมาชิกคิดตามสัดส่วนของโควตาของรัฐนั้นๆ    ทั้งนี้ประเทศที่ถือโควตาสูงสุด คือ สหรัฐอเมริกา ผลจากากรที่ประเทศไทยทำหนังสือดังกล่าวทำให้ IMF สามารถเข้ามาดำเนินการหรือแทรกแซงทางด้านนโยบายของรัฐบาลไทยเพื่อให้เศรษฐกิจดำเนินไปตามแผนการที่กล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นหนังสือสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อจำกัดเขตอำนาจรัฐในการใช้อำนาจฝ่ายบริหารต่อคนชาติตน ประเทศไทยรวมถึงคนไทยในขณะนั้นต้องตกอยู่ในฐานะเป็นลูกนี้เรียงคิดตามรายหัวของ IMF และจากการกำหนดเงื่อนไขทางนโยบายของ IMFที่ผิดพลาดของทีมกรรมการบริหารนโยบายเนื่องจากการถูกครอบงำจากประเทศยักษ์ใหญ่ที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศไทยเป็นอย่างมากและรุกลามไปยังภูมิภาคต่างๆที่อยู่บรเวณใกล้เคียงดังได้กล่าวข้างต้น ยังผลให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ เกาหลีใต้ ฯลฯ ต้องขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินจาก IMF และถูกแทรกเเซงในการกำหนดนโยบายฝ่ายบริหารเช่นเดียวกับประเทศไทย ยกเว้นประเทศมาเลเซียที่นโยบายตรงกันข้ามกับนโยบายของ IMFโดยรัฐบาลของมาเลเซียได้ควบคมการไหลเข้าออกของเงินทุนเป็นเงินตราต่างประเทศ เปลี่ยนจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว

      จึงน่าคิดว่าประเทศไทยโดยเฉพาะรัฐบาลผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย สมควรอย่างยิ่งหรือไม่ที่จะนำประวัติศาสตร์อันเลวร้ายมาศึกษาเพื่อกำหนดนโยบายทางด้านการเงินอันเป็นแนวทางในการจัดการทางการเงินรวมทั้งมาตราการทางกฎหมาย ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนวิถีชีวิตของประชาชนในประเทศ ไม่ต้องไปผูกติดกับระบบแนวคิดในการแก้ปัญหาแบบชาวตะวันตกที่ต่างวัฒนธรรมทางการเงินกัน  เพื่อมิให้ประวัติศาสตร์นั้นสามารถมาสร้างความบอบช้ำให้กับดินแดนขวานทางแห่งนี้ได้อีก   ดังเช่นมาเลเซียเป็นตัวอย่างซึ่งกล้าที่จะเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจด้วยวิถีทางของตนเอง

     การเงินระหว่างประเทศเกี่ยวข้องกับประเทศไทยหรืไม่ อย่างไร?

     อันเนื่องมาจากกระบวนการของโลกาภิวัตน์ย่อโลกของเราให้แคบเข้า และการกำหนดระบบเศรษฐกิจตามแนวความคิดแบบเสรีนิยมใหม่(Neo- libaralism) ภายหลังจากยุคเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกอันเป็นผลมาจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ก่อให้เกิดองค์การระหว่างประเทศในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเจราระดับพหุภาคี(GATTเปลี่ยนถ่ายอำนาจสู่ WTO)ในยุคแรกๆ  พัฒนามาเป็นระดับทวิภาคี(FTA) และระดับภูมิภาค(NAFTA,EU and,ASEAN)อันเป็นการจำกัดหรือลดอำนาจอธิปไตยของรัฐมาผูกพันตามพันธกรณีขององค์การต่างๆดังกล่าว  และองค์การระหว่างประเทศดังกล่าวก็มีหน้ามาเป็นเวทีหรือสื่อกลางในการเจรจาทางด้านการลงทุน การเงิน การค้าและการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยเฉพาะทางด้านการเงิน ซึ่งต้องมีองค์การระหว่างประเทศเข้ามารักษาเสถียรภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยนทางการเงินเพื่อประโยช์แก่รัฐสมาชิกและการค้าระหว่างประเทศ ให้เงินกู้แก่รัฐสมาชิกเมื่อเกิดปัญหาทางด้านการเงิน และให้คำปรึกษา หามาตราการช่วยเหลือแก่รัฐที่ขาดดุลการชำระเงินให้มีความสมดุล(IMF) 

      ประเทศไทยในฐานะรัฐสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศที่สมัครใจเข้าไปผูกพันตามพันธกรณีกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(International Monetary Fund or IMF)ดังกล่าว ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าประเทศไทยไม่เกี่ยวข้องกับการเงินระหว่างประเทศ เป็นผลให้ประเทศไทยต้องมีนโยบายโดยองค์กรที่มีหน้าที่ด้านการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนการเงินภายในประเทศคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงค์ชาติ ต้องกำหนดนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน(Sterilized Policy) โดยรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทให้เหมาะสมด้วยการกำกับดูแลระบบอัตราแลกเปลี่ยน ดุลการชำระเงิน และทุนสำรองระหว่างประเทศ  ให้เป็นประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศของไทย และพยายามใช้กลไกทางการเงิน ปรับให้ปริมาณเงินทุนไหลเท่ากับปริมาณเงินทุนไหลออกเพื่อพยุงค่าเงินบาท

     เพราะนอกจากประเทศไทยแล้ว  ยังมีรัฐสมาชิกหรือหน่วยทางปกครองอื่นๆ ที่เข้าผูกพันตามพันธกรณีดังกล่าว อาทิรัสเซีย ไต้หวัน(หน่วยการปกครองที่มิใช่รัฐ) เกาหลีใต้ เป็นต้น ก็เป็นประเทศที่ภายใต้กระบวนการของโลกาภิวัตน์(Globalization)เช่นกัน จึงต้องตกอยู่ภายใต้โลกาภิวัตน์ทางด้านการเงินที่มีการหมุนเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศจากเงินทุนก้อนเดียวกัน คือมาจากIMFซึ่งเป็นองค์การหนึ่งที่ปล่อยกู้แก่นักลงทุน นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากการเป็นตลาดเสรีทางด้านการเงิน และBasel II(คือนโยบายภายใต้เป้าหมายในการกระตุ้นให้สถาบันการเงินพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพและจัดการระบบบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ) ที่เป็นปัจจัยให้ธนาคารพานิชย์ของไทยต้องพัฒนาศักยภาพและปรับมาตรฐานให้ทัดเทียมกับมาตรฐานโลก โดยต้องพัฒนาควบคู่ไปกับความโปร่งใสขององค์กร ความมั่งคงทางการเงิน การเปิดเสรีทางการเงินดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนเเปลงระบบเศรษฐกิจดั้งเดิมของตน  เพื่อให้อยู่ในระบอบทางเศรษฐกิจอย่างเดียวกันคือเสรีนิยมใหม่โดยไม่ได้คำนึงถึงโครงสร้างและรากฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคง

     วิถีทางใดที่จะเข้าจัดการการเงินให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสังคมไทย

     การจัดการเงินภายในประเทศและระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานทางสังคมไทย นั่นคือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง(Sufficiency Economy)อันเป็นแนวพระดำริของในหลวง อันมีหัวใจสำคัญ๓ประการได้แก่

.ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิต และการบริโภคที่อยู่ระดับพอประมาณ เป็นต้น

๒.ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวการดำเนินธุรกรรมทางเศรษฐกิจอย่างพอเพียงและเหมาะสมกับสภาพการเงินของตน กล่าวต้องพิจารณาจาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องและคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะได้รับจากการทำธุรกรรมนั้นๆ อย่างพินิจพิเคราะห์ปรับใช้กับธุรกรรมต่างๆ โดยมองทุกอย่างเป็นแรงขับเคลื่อนในการทำงานของภาครัฐ กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อรับมือกับระบบตลาดเปิด พร้อมไปกับการพิจารณาว่าธุรกรรมดังกล่าวไปขัดแย้งความเป็นอยู่ทางปกติของวิถีทางของชุมชนหรือไม่ ถ้าไม่จะปรับใช้ให้สอดคล้องกับโลกาภิวัตน์อย่างไร

๓.การสร้างความคุ้มกันที่ดีในตัว โดยให้มีความรู้รอบคอบ และคุณธรรมเป็นเงื่อนไข หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมกับการรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเกิดจากภายในหรือทางระหว่างประเทศที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงประวัติศาสตร์หรือภูมิหลังของเรื่อง ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล อันเป็นมาตรฐานป้องกันความเสี่ยงที่รอบคอบและรัดกุม โดยเฉพาะชุมชนให้มีความสัมพันธ์แนบเเน่นและสามัคคีกัน และภาคเอกชนก็ต้องสร้างขีดความสามารถของตนไปพร้อมกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองและสามารถเข้าแข่งขันได้

     จะนำปรัชญาเศรษฐกิจระหว่างประเทศมาปรับใช้กับการจัดการเงินของไทยได้อย่างไร?

    เนื่องจากหลักเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่หมายความเพียงเศรษฐกิจแบบปิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลใด ไม่ลงทุน ไม่ผลิต ไม่ค้าขาย หรือไม่หันหน้าเข้ากับยุคโลกาภิวัตน์ แต่ในทางกลับกันวิถึทางเศรษฐกิจนี้เองเป็นภูมิคุ้มกันของการดำเนินธุรกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่ให้ผู้ประกอบการประมาทและไม่เห็นแก่ได้มากเกินไป จนเมื่อรากฐานทางเศรษฐกิจมั่นคงโดยเฉพาะด้านการเงิน ใช้ประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างรอบคอบและรู้เท่าทันสามารถเลือกรับเฉพาะสิ่งที่ก่อประโยชน์ให้แก่สังคมในระยะยาว ถ้านำมาใช้กับการจัดการเงินภายในประเทศก็คือการนำหลักนี้มาใช้กับการบริหาความเสี่ยงให้เป็นอย่างมีประสิทธิเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือทางการเงินโดยการสร้างภูมิกันที่ดี และประชาชนและภาคธุรกิจสามารถหากำไรได้ตามปกติ แต่อยู่ในเงื่อนไขว่าจะไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น หรือแสวงหากำไรจนเกินควรอันเป็นการเบียดเบียนสังคม  นอกจากนี้หลักการดังกล่าวไม่ได้ห้ามการกู้ยืมเงินไม่ว่าจะภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ แต่เน้นการบริหารความเสี่ยงโดยกู้เงินเพื่อมาลงทุนทางธุรกิจตามความพอประมาณ ความมีเหตุผลและสร้างภูมิคุ้มกันให้องค์กรอันเป็นหัวใจของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะผู้บริหารหน่วยทางธุรกิจต้องรู้จักประมาณสถานะทางการเงินของตนด้วยใจที่พอเพียง(ยากในทางปฏิบัติ) และบริหารงานด้วยคุณธรรม

     นอกจากนี้ทางภาคธุรกิจก็พยายามถอดรหัสนำหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงนี้ไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของตนและพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

     ดังนี้จึงจะเป็นการจัดการการเงินและพัฒนาระบบการเงินอย่างยิ่งยืนมิใช่เพียงการเทิดทูนผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ(Gross Domestic Product : GDP)และเงินตรา โดยลืมหลักการธรรมาภิบาล ความยุติธรรม ค่านิยมทางวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และความสุขอันยั่งยืนของสังคม  ถึงเวลาแล้วหรือยังที่การกำหนดนโยบายของรัฐบาลโดยใช้มาตรการทางกฎหมายเป็นเครื่องมือในการใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจังให้ควบคู่ไปกับยุคโลกาภิวัตน์เพื่อเปลี่ยนทิศทางหรือเเง่มุมใหม่ในแบบฉบับของไทยเอง และที่สำคัญคือความสุขของสังคม"Gross National Happiness"หรือGNH แทนการมุ่งเน้นพัฒนา GDP ซึ่งเป็นการพัฒนาเชิงมูลค่า

     และท้ายที่สุดขออัญเชิญพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ.๒๕๑๗และ พ.ศ. ๒๕๔๑ มาเป็นข้อคิดและเตือนใจทุกท่านและฝ่ายบริหารจากเหตุการณ์วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

  "ในการพัฒนาประเทศนั้น จำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัดและระมัดระวัง แต่ต้องถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพี้นฐานเกิดขึ้นมั่นคงพอควรแล้ว จึงจะส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลวและเพื่อบรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์"(พระราชดำรัสในพ.ศ. ๒๕๑๗) (สันติ วิริยะรังสฤษฏ์.บอกอบอหอ:แผนพัฒนาความสุขยั่งยืนวัดความสุขคนไทยได้จริงหรือ.นิตยสารการเงินธนาคารฉบับประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๒๙ ฉบับที่ ๒๙๑ หน้า ๓๒)

"...แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวางกว่า self-sufficiency คือ self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรที่มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง) แต่พอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศ มีความคิด-อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ-มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ถ้า (หากต้องการเบียดเบียน) อย่างนั้นก็เดือดร้อนกันแน่ เพราะว่าอึดอัด จะทำให้ทะเลาะกัน เมื่อมีการทะเลาะกัน ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย จากการทะเลาะด้วยวาจาก็กลายเป็นการทะเลาะด้วยกาย ซึ่งในที่สุดก็นำมาสู่ความเสียหาย เสียหายแก่ผู้ที่เป็นตัวละครทั้งสองคน ถ้าเป็นหมู่ก็เลยเป็นการตีกันอย่างรุนแรงได้ ซึ่งจะทำให้คนอื่นอีกมากเดือดร้อน ฉะนั้น ความพอเพียงนี้ก็แปลว่า ความพอประมาณและความมีเหตุผล

""...ท่านรองนายกฯทั้งหลายอาจจะไม่ทำ เพราะว่าเคยชินกับเศรษฐกิจที่ต้องใช้เงินมาก ไม่ใช่ศรษฐกิจพอเพียง ไม่พอเพียง นายกฯและคุณหญิงอาจจะให้เพื่อนนายกฯ รองนายกฯต่างๆ ทำเศรษฐกิจพอเพียงสักนิดหน่อย ก็จะทำให้อีก 40 ปี ประเทศชาติไปได้ แต่นี่ ก็มีแต่นายกฯ รองนายกฯ จัดการ รวมทั้งคู่สมรส ทำเศรษฐกิจพอเพียง ก็เชื่อว่าประเทศจะมีความประหยัดได้เยอะเหมือนกัน คือถ้าไม่ประหยัด ประเทศไปไม่ได้ คนอื่นไม่ประหยัด สำหรับคณะรัฐมนตรีประหยัด คณะรองนายกรัฐมนตรีประหยัด จะทำให้ไปได้ดีขึ้นเยอะ"(พระราชดำรัส พ.ศ.๒๕๔๑)(คอลัมน์ ระดมสมอง  โดย ร.ศ. ดร.วิมุต วานิชเจริญธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 29 ฉบับที่ 3749 (2949))

    

     หนังสืออ้างอิง:

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์.บทความพิเศษเรื่องจุดเปลี่ยน...ประเทศไทยในเวทีการแข่งขันโลกตอน ๑.นิตยสารการเงินธนาคารฉบับประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๔๙ ฉบับที่ ๒๙๐หน้า ๒๐๖-๒๑๓

บทสัมภาษณ์คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ในคอลัมภ์หน้าต่างการเงิน: คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรมอีกบทบาทในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย. นิตยสารการเงินธนาคารฉบับประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๔๙ ฉบับที่ ๒๙๐หน้ ๙๒-๙๔

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์.บทความพิเศษเรื่องจุดเปลี่ยน...ประเทศไทยในเวทีการแข่งขันโลกตอน ๒.นิตยสารการเงินธนาคารฉบับประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๙ ฉบับที่ ๒๙๑หน้า ๑๗๐-๑๗๕

     เว็บไซด์อ้างอิง:

http://www.bot.or.th (ธนาคารแห่งประเทศไทย)

http://www.nidambe11.net (รวมบทความทางเศรษฐศาสตร์ค้นหาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง)

http://www.midnightuniv.org (ค้นหาบทความทางด้านการเงินและIMF)

http://www.mocot.or.th (ค้นหาเรื่องIMF)

หมายเลขบันทึก: 41408เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 23:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
เขียนดีขึ้นทุกวันนะคะ เป็นผลของความเพียรค่ะ
  • ชอบปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง(Sufficiency Economy)
  • ผมคิดว่าทำให้ประเทศไทยไปรอดครับ

     เห็นด้วยค่ะคุณขจิตเพราะโดยพื้นฐานประเทศไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม เศรษฐกิจพอเพียงจึงเหมาะที่จะนำมาปรับใช้กับทั้งการดำเนินธุรกิจและการดำรงชีวิตของคนไทยมากค่ะ

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นนโยบายที่ดีมากคะ แต่รู้สึกว่าจะเป็นแค่นโยบายนะคะเพราะว่าคนเราส่วนใหญ่นั้นยังคงไม่รู้จักคำว่า พอเพียง มันก็เลยส่งผลกระทบต่างๆตามมามากมาย

    วันนี้เรารู้จักคำว่าพอเพียง เพียงพอแล้วหรือยัง

   ขอบคุณมากจ้ะน้องติ๊ก แต่ยังเขตนักปฏิบัติที่นำหลักการของในหลวงไปใช้กับทุกภาคส่วนของประเทศ เพราะผู้มีอำนาจมักจะกลัวการสูญเสียฐานอำนาจของตนโดยเฉพาะ อำนาจและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนและญาติพี่น้อง พยายามให้ประเทศเพิ่งพาวัตถุนิยม กระตุ้นค่าของประเทศด้วยเงินตรา ลืมพัฒนามูลค่าทางจิตใจและการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์อันดีงาม....คงต้องรอนักพัฒนาแล้ว...ไม่รู้จะอีกนานแค่ไหน แต่ถ้าโอกาสเป็นของเราก็คงจะดีนะ...อิอิ

ให้แง่คิดเกี่ยวกับการเงินในอีกมุมมองหนึ่ง เป็นประโยชน์ดีจ้ะ

เศรษฐกิจพอเพียงนั้นอยุ่คู่กับสังคมไทยมาตั้งแต่สมัยอดีตแล้ว แต่หลังจากประเทศไทยและคนไทยถูกระบอบทุนนิยมเข้ามาครอบงำ แล้วอะไรอะไรก็เปลี่ยนไป กลายเป็นสังคมลัทธิบริโภคนิยม แต่การกลับมารื้อฟื้นภูมิหลังนี้จะทำให้คนไทยหูตาสว่างขึ้นหรือไม่

จะมีความตระหนักในสิ่งที่ในหลวงทรงพระราชทานบอกแนวทางและนำหลักการนั้นไปปฏิบัติหรือเปล่า การพอมี พอกิน

พอใช้ พอประมาณ พอใจในสิ่งที่ตนมี ยินดีในสิ่งที่ตนได้ และ มีภูมคุ้มกัน

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติมค่ะ คุณวายุอัสนีย์

บังเอิญจะหาบทความด้านการเงิน เลยมาเจอพอดี เก่งจริงนะเพื่อนเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท