ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

“ความฝันที่อธิการบดีอยากให้เป็น”


เมื่อเช้า...28 ส.ค.49 ผมมีโอกาสเข้ารับฟังปาฐกถาพิเศษ จาก ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ความฝันที่อธิการบดีอยากให้เป็น

(The President ’s Dream want to be.. )

                เมื่อเช้า...28 ส.ค.49 ผมมีโอกาสเข้ารับฟังปาฐกถาพิเศษ จาก ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ   วิโรจนกูฏ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เนื่องในโอกาสพิธีเปิดการประชุมวิชาการ ม.อบ.วิจัย ครั้งที่ 1 ณโรงละคร คณะศิลปะศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี     ฟังแล้วผมรู้สึกตื้นตันใจเป็นอย่างยิ่งในฐานะที่เราก็เป็นหนึ่งในสมาชิกของ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ท่านกล่าวสั้นๆ และตรงประเด็นมาก ผมเชื่อว่าคงจะดลใจของพี่น้องชาวม.อุบลอยู่ไม่น้อย  ท่านกล่าวว่า ม.อุบลฯเปิดมาแล้ว 16 ปี ซึ่งเป็น 16 ปี ที่กำลังก่อร้างสร้างตัว และในช่วงที่ผ่านมามีงานวิจัยที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนจริงๆ ค่อนข้างน้อย แต่ก็อยู่ในภาวะที่พอรับได้เนื่องจากเราเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ซึ่งเป็นคำพูดที่พอพูดแก้ตัวได้ แต่พอมาถึงยุคนี้ และต่อนี้ไปเราต้องเร่งดำเนินการ (Speed) เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยของชุมชนอย่างแท้จริง ดังปณิธานของมหาวิทยาลัยที่ว่า พัฒนาความรู้ มุงสู่ปัญญา   ความฝันที่อยากให้มหาวิทยาลัยเป็น 

                 ท่านอธิการบดีมีความพยายามที่จะผลักดันและส่งเสริมให้อาจารย์ และนักวิชาการช่วยกันทำและพัฒนา ที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนคือ การวิจัย   ซึ่งการวิจัยก็มีหลากหลายสาขาแต่สิ่งที่อยากให้นักวิจัยช่วยกันมองคือการวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนอย่างแท้จริง ว่าเราจะสามารถช่วยให้ชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีความสุขอย่างไร  และท่านอธิการบดี ได้ให้แนวทางสำหรับการทำวิจัยว่า ในการวิจัยนั้นหากนักวิจัยยังไม่มีข้อมูลว่าจะทำเรื่องอะไร และทำอย่างไร สามารถเริ่มต้นได้ดังนี้ครับ

1.    การจัดระบบทรัพยากรมนุษย์ และความรู้ในท้องถิ่น (Human mapping and Knowledge Management คือเราต้องเข้าไปดูว่าในชุมชนเขารู้อะไรบ้าง ทำอะไรอยู่แล้วบ้าง เขาทำอาชีพอะไร แล้วเราก็จะเห็นแนวทางในสิ่งที่เราจะไปเสริมองค์ความรู้ หรือไปช่วยให้ชุมชนดีขึ้นอย่างไร และที่สำคัญเราอย่าคิดว่าเราเก่งกว่าคนในชุมชน โดยพยายามคิดว่าเราจะบูรณาการความรู้ที่มีอยู่เข้ากับสิ่งที่ชุมชนทำอยู่ได้อย่างไร

2. การวิจัยนั้นจะต้องเป็นประชาวิจัย  (Participation Research) คือในกระบวนการคิดและวางแผนสำหรับการวิจัยนั้นจะต้องให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการคิด และวางแผน เพราะคนในชุมชนนั้นมีองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ตลอดทั้งวัฒนธรรมชุมชนที่นักวิจัยจะต้องตระหนักในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และต้องทำงานเป็นทีม (Planning and Teamwork)

3.  มีการวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Suitable of Technology) ในการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้าไปในชุมชนนั้น นักวิจัยจะต้องตระหนักเป็นอย่างยิ่งในเรื่องเทคโนโลยี เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้ต้องให้สอดคล้องกับคนในชุมชน และวัฒนธรรมของชุมชนด้วย

              พี่น้องชาว KM ที่รักครับเมื่อหัวไม่ส่าย หางก็จะไม่กระดิก  แต่ ณ เวลานี้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หัวส่ายแล้ว  หางก็คงจะกระดิก  ตามนะครับ  ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าฝันของท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คงจะเป็นจริงในเร็ววันนะครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย อันพิมพ์

28 ก.ค. 49 

 

หมายเลขบันทึก: 41383เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท