เวลาชีวิต...กับการพิชิตบัตรคิว


บัตรคิว ระบบบริการ
  ช่วงนี้ในอำเภอของดิฉันเป็นช่วงที่มีการเร่งเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนจากแบบเดิมไปเป็นแบบ smart card  ในแต่ละวันอำเภอจะมีระบบการนัดให้แต่ละหมู่บ้านมาทำบัตรกันเป็นวันๆไป อ่านแล้วหลายท่านอาจสงสัยค่ะว่าแล้วมันเกี่ยวกับดิฉันอย่างไร  ตรงๆก็คงไม่เกี่ยวค่ะเรื่องนี้เกี่ยวแบบเฉี่ยวๆพอได้เห็นเป็นปรากฏการณ์ที่ดูน่ารักและน่าคิดค่ะ 
               เรื่องมันมาเกี่ยวก็เพราะว่าที่ว่าการอำเภอและที่ทำงานของดิฉันห่างกันแค่ตรงข้ามฟากถนนเมื่อ  พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา พี่น้องในพื้นที่รับผิดชอบมาทำบัตรประชาชนแบบใหม่  ซึ่งจากการบอกกล่าวที่เล่าให้ฟังซึ่งฟังมาแล้วหลายวันดิฉันสามารถสรุปได้ว่าการนัดแต่ละบ้านก็จริงแต่ก็จะมีจำนวนชาวบ้านที่เหลือในแต่ละบ้านก็จะทำให้จำนวน คนที่นัดร่นมาในวันถัดไปคิวก็จะแน่นมากขึ้นค่ะ  เมื่อแน่นใช้เวลารอนานก็จะถือโอกาสมาใช้บริการด้านสุขภาพที่เราด้วยไปเลยเพื่อเป็นการไม่เสียเวลา  ขนาดช่วงนี้ดิฉันต้องออกพื้นที่บ่อยๆเมื่ออยู่ก็จะได้ยินเรื่องเล่าที่เรียนว่าน่ารักแต่ยังไม่ได้เล่าให้ฟังนะค่ะว่าเป็นอย่างไรค่ะ
                 เรื่องมันมีอยู่ว่า คุณป้าท่านหนึ่งค่ะวันนี้เป็นวันที่หมู่บ้านแกถูกนัดแกก็ตื่นแต่เช้าค่ะเพราะได้ยินเพื่อนๆบ้านอื่นเล่าว่าคิวจะแน่นมากๆเมื่อทราบดังนั้นคุณป้าก็เลยเตรียมตัว คนอีสานบ้านดิฉันค่ะไปไหนก็ต้องห่อข้าวไม่มีกับข้าวก็ก็ขอให้ได้ข้าวเหนียวไปแกก็ทำแบบนั้น แกมาถึงอำเภอตั้งแต่เช้าจริงๆนะค่ะคือประมาณ 6 โมงเช้ามาถึงก็แลเห็นเพื่อนที่มารอก็ไม่น่าจะถึง 10 คน รอจนที่ว่าการอำเภอเปิดแกก็เดินไปเพื่อรับบัตรคิวค่ะแต่พอแกได้เห็นบัตรคิวเท่านั้นแหละค่ะ แกก็ถึงกลับเป็นงงค่ะว่าการที่มาจับบัตรคิวเป็นคนแรกๆแต่ตัวเลขที่ปรากฎในคิว กลับเป็นตัวเลข 88 แกจึงไม่เข้าใจ ด้วยความเกรงใจแกก็ยังเก็บงำความแปลกใจไว้กับตัวจนผู้คนเริ่มมามากขึ้น แกเห็นเจ้าหน้าที่เริ่มเรียก     คุณป้าแกก็เห็นชายคนหนึ่งซึ่งถือบัตรคิวแรกเดินเข้าไปถ่ายบัตรประชาชน วินาทีนั้นแกยั้บยั้งความสงสัยเอาไว้ไม่อยู่แกจึงถามค่ะว่าคิวที่หนึ่งนั้นได้มาจากไหนคำตอบก็คือ “รอเอาไปเก็บไว้ตั้งแต่มื่อวาน”    ฟังที่แรกก็สนุกนะค่ะรู้สึกว่าขำดีจังมีด้วยเก็บบัตรคิวไว้ตั้งแต่เมื่อวาน ขำสักพักก็เกิดความสงสัยค่ะว่าแปลกจังเคยเห็นแต่มีคิวกันเป็นวันๆไปแต่นี้มีเก็บเอามาไว้ใช้วันหลังได้ด้วย จริงๆแล้วเราทำบัตรคิวไว้ทำไมกันค่ะ  ระหว่างที่คุยกันน้องที่ทำงานด้วยกันก็เล่าแลกเปลี่ยนค่ะว่าญาติของน้องที่เป็นเบาหวานที่ต้องไปรับยาที่ pcu ของโรงพยาบาลจังหวัดก็ต้องใช้วิธีการเช่นเดียวกันค่ะคือ ตื่นไปเอาคิว น้องเล่าว่าวันนั้นตื่นไปเอาคิว ตี 3 ค่ะ รู้ไหมค่ะได้คิวที่เท่าไหร่ คิวที่ 101 ค่ะ นั้นคือได้คิ วเสร็จแล้วก็กลับมานอนต่อ  เช้าที่เจ้าหน้าที่เริ่มทำงานค่อยไป  เมื่อไปก็เบียดเสียดยัดเยียดนะค่ะแต่ก็สบายใจว่าตนเองได้คิวมาก่อน        เมื่อก่อนดิฉันเองเมื่อที่ต้องไปรับยาให้คุณพ่อที่โรงพยาบาลจังหวัดก็ต้องตื่นประมาณ  ตี 4 ค่ะขับรถประมาณ 1-2 ชั่ว โมง ต้องไปถึงไม่เกิน 6 โมงเช้าเพื่อจุดหมายเดียวกันค่ะคือเอาคิวแต่ตอนนั้นไม่ได้นึกสงสัยเหมือนวันนี้ค่ะ  เพราะหากเกินนั้นจะรู้ชะตากรรมทันทีค่ะว่าต้องได้พบหมอในช่วงบ่าย  และต้องกลับบ้านเย็นเลย  จากสิ่งที่ได้ฟังจึงสามารถสรุปความคิดสนุกๆว่าด้วยวิธีการได้มาซึ่งคิวอยู่ 2-3 วิธีค่ะ   1)ตื่นแต่เช้ามาเอาคิวแล้วกลับไปนอนก่อน  2) ฝากเพื่อนเอาคิว  3 )เอาคิวเก็บไว้ตั้งแต่มื่อวาน และ4 ) ถอดรองเท้าและฝากของมาจองคิวไว้และ 5) ลัดคิว ซึ่งเป็นวิธีการที่น่ารังเกียจและไม่แนะนำค่ะ          
  เขียนบันทึกเรื่องนี้วันนี้ไม่ทราบเพราะอะไรค่ะแต่มีความรู้สึกแปลกๆกับการมีคิว หากจะคิดว่าลองคิดหาวิธีการดูซิว่าถ้าไม่ทำบัตรคิวจะทำอย่างไร ก็คิดออกนะค่ะว่าก็นัดให้เป็นระบบเลยเช่นยาย ก. ให้มาในวันไหนถ้าคนไข้มากๆก็มีคลินิกทุกวันหรือมีโค้วต้าการตรวจให้ชัดเจนไปเลยว่าวันนี้จะตรวจเท่าไหร่และมีการประกันเวลาไปเลยเพราะจะช่วยให้คนที่มารอได้รู้ว่าเขาจะต้องกลับมาอีกตอนไหนเวลาที่คอยเขาจะได้เอาไปทำอย่างอื่น    ถามว่าทำได้ไหมน่าจะได้แต่ก็รู้อีกว่าปัญหาจริงๆมันไม่ได้รับการแก้ไข  หลายๆท่านที่อ่านอาจจะมีคำตอบที่หรูๆในใจแล้วหล่ะว่ามันต้องทำให้คนไม่ป่วย   ทำอย่างไร เมื่อไหร่  แบบไหน  และทำอะไรที่มันจะเห็นมรรคเห็นผลจริงๆหล่ะค่ะ
หมายเลขบันทึก: 41348เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2013 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

queuing alway so long mildstone problems with all system. Almost Thai context isn't usualness be queue. Your themes are very interesting to analyse forword that how come the good management for queing system in Thai context.... 

dear invisibel person ka

thank for your comment  na ka.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท