มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (จากกระทรวงศึกษาธิการ)


ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูผมจึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษาของไทยมาจัดทำบล็อกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกคนที่สนใจ

 มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (จากกระทรวงศึกษาธิการ)

              การประกันคุณภาพการศึกษา และการประเมินคุณภาพการศึกษา สรุปเป็นความเข้าใจเบื้องต้นได้ดังนี้

                   การประกัน คือ การับรองว่าจะดำเนินการตามเงื่อนไข หรือข้อกำหนด การประกันคุณภาพการศึกษา คือ การรับรองว่าจะดำเนินการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามที่กำหนดไว้

คุณภาพการศึกษาที่กำหนดไว้ เรียกว่า มาตรฐานคุณภาพการศึกษา (ซึ่งอาจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม)

                มาตรฐาน คือ สิ่งที่ถือเอาเป็นหลักสำหรับเทียบกำหนดการประเมินคุณภาพการศึกษา คือ การกะประมาณว่า การจัดการศึกษามีคุณภาพครบถ้วนตามมาตรฐานต่าง ๆ มากน้อยเพียงใดหรือไม่ารประเมินคุณภาพภายใน คือ การประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษาเป็นผู้ประเมินตนเอง ( ปีละ 1 ครั้ง )

                 การประเมินคุณภาพภายนอก คือ การประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นผู้ประเมิน ( อย่างน้อย 1 ครั้งในทุก 5 ปี )

มาตรฐานที่ใช้ในการประเมินภายนอก

 

                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างมาตรฐานการศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อ 4 มกราคม 2543

 

             มาตรฐานทั้งหมดมี 27 มาตรฐาน แต่จะนำมาเพื่อใช้ในการประเมินรอบแรกใช้เพียง 14 มาตรฐานแต่ละมาตรฐานมีตัวบ่งชี้กำกับไว้

               ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้ของมาตรฐานใด คือสิ่งหนึ่งที่แสดงว่ามีคุณสมบัติหรือลักษณะตรงกับมาตรฐานนั้น  ตัวบ่งชี้ของแต่ละมาตรฐานอาจมีหลายอย่างหรือหลายข้อ ซึ่งเมื่อรวมทุกข้อเข้าด้วยกันก็จะแสดงว่า มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานนั้น

  การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานต่าง ๆ ประเมินจากตัวบ่งชี้ของแต่ละมาตรฐาน

        มาตรฐานคุณภาพของแต่ละสถานศึกษา มี 3 ด้าน คือ

  • ด้านผู้เรียน(ผลการเรียนรู้) มาตรฐานที่ 1 - 12 ด้านกระบานการ(การบริหารจัดการและการจัดหารเรียนการสอน) มาตรฐานที่ 13 - 18
  • ด้านปัจจัย(สิ่งที่สนับสนุนการดำเนินกระบวนการ) มาตรฐานที่ 19 - 27

มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินภายนอก 27 มาตรฐาน

(การประเมินภายนอกรอบแรก ใช้เพียง 14 มาตรฐานที่มีเครื่องหมาย  )

 

มาตรฐานด้านผู้เรียน (12 มาตรฐาน)

มาตรฐานที่ 1

ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

ตัวบ่งชี้

1. วินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามระเบียบ และหลักธรรมเบื้องต้นของแต่ละศาสนา2. ซื่อสัตย์ สุจริต (และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ สำหรับระดับอาชีวศึกษา)3. มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม

4. ประหยัด (ใช้สิ่งของและทรัพย์สินทั้งของตนเองและส่วนรวมอย่างประหยัดและคุ้มค่า)

มาตรฐานที่ 2

ผู้เรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และปฏิบัติตนตามระบอบประชาธิปไตย

ตัวบ่งชี้

  1. เคารพและรับฟังคำแนะนำของพ่อแม่ ญาติและผู้ใหญ่ รักษาสิทธิเสรีภาพของตนเองและเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น มีความรู้และปฏิบัติตนตามกฎหมาย ไม่เป็นปัญหาของสังคมและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ร่วมกิจกรรมในการพัฒนาสถานศึกษาและท้องถิ่น
  2. รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

 

มาตรฐานที่ 3

ผู้เรียนมีจิตสำนึกที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

ตัวบ่งชี้

  1. รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบต่อตนเองและสังคมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และมีส่วนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  2. ใช้ทรัพย์อย่างประหยัดและคุ้มค่า

 

มาตรฐานที่ 4

ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์

คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์

ตัวบ่งชี้

  1. สามารถจำแนกประเภทข้อมูล เปรียบเทียบและมีความคิดรวบยอด สามารถประเมินค่าความน่าเชื่อถือของข้อมูล รู้จักพิจารณาข้อดี-ข้อเสีย ความถูก-ผิด ระบุสาเหตุ-ผลค้นหาคำตอบ เลือกวิธีและมีปฎิภาณในการแก้ปัญหาและตัดสินใจได้อย่างสันติและมีความถูกต้องเหมาะสม
  2. มีความคิดริเริ่ม มีจินตนาการ สามารถคาดการณ์และกำหนดเป้าหมายได้

 

มาตรฐานที่ 5

ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร

ตัวบ่งชี้ 1. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มประสบการณ์ / กลุ่มวิชา / หมวดวิชาที่สำคัญไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ ( คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และวิชาเฉพาะ สาขาสำหรับอาชีวศึกษา )

2. มีความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสาร

 

มาตรฐานที่ 6

ผู้เรียนมีการแสวงหาความรู้ทักษะด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ตัวบ่งชี้

1. มีความกระตือรือร้น สนใจการเรียนรู้จากแหล่งต่างๆ รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล 2. รักการอ่านสามารถใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่างๆ ทั้งในและนอกสถานที่

3. สามารถสรุปประเด็นจากการเรียนรู้และประสบการณ์ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

 

มาตรฐานที่ 7

ผู้เรียนเห็นคุณค่าและภูมิใจในภูมิปัญญาไทย

ตัวบ่งชี้

1. รู้จักท้องถิ่น รักและร่วมพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 2. มีความรู้ความเข้าใจในภูมิปัญญาไทย โดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำมาใช้ได้

3. ชื่นชมและสืบสานศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี ที่ดีงามและท้องถิ่นของไทย

มาตรฐานที่ 8

ผู้เรียนรู้จักตนเอง พึ่งตนเองได้ มีบุคลิกภาพที่ดี

ตัวบ่งชี้

1. รู้ถึงความถนัด ความสามารถ ความสนใจ ข้อดี ข้อด้อยของตนเอง และพยายามปรับปรุงตนเอง 2. เป็นตัวของตัวเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติ์ผู้อื่น 3. รู้กาลเทศะในการใช้คำพูด กริยามารยาทและการแต่งกาย 4. สามารถกำหนดเป้าหมาย แนวทาง ตัดสินใจ และแก้ปัญหาของตนเองได้ ( เฉพาะระดับมัธยมศึกษา

และอาชีวศึกษา )

 

มาตรฐานที่ 9

ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และเจตคติที่ดี

ต่ออาชีพสุจริต

ตัวบ่งชี้1. สามารถทำงานตามลำดับขั้นตอนและผลงานมีประสิทธิภาพ 2. ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน พัฒนางาน สามารถทำงานอย่างมีความสุข และภูมิใจในผลงานของตนเอง3. สามารถทำงานเป็นทีม (ช่วยเหลือผู้อื่น ไม่เอาเปรียบ ให้ความร่วมมือ ย่อมรับฟังความคิดเห็นและ ความสามรถของผู้อื่น ร่วมรับผิดชอบผลงานของกลุ่ม)

4. มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต


มาตรฐานที่ 10

ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี

ตัวบ่งชี้1. มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน 2. มีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน 3. ร่าเริงแจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับครู เพื่อน และบุคคลทั่วไป

4. รู้จักดูแลสุขภาพและป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดอุบัติภัย

 

มาตรฐานที่ 11

ผู้เรียนปลอดจากสิ่งเสพติดให้โทษและสิ่งมอมเมา

ตัวบ่งชี้1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพติดและสิ่งมอมเมา

2. ไม่เสพสิ่งเสพติดและปลอดจากสิ่งมอมเมา และไม่แสวงหาผลประโยชน์

มาตรฐานที่ 12

ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา

ตัวบ่งชี้

1. มีความชื่นชมและร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา


มาตรฐานด้านกระบวนการ (6 มาตรฐาน)

 

มาตรฐานที่ 13

สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้าง และการบริหารงานอย่างเป็นระบบ ครบวงจรให้บรรลุเป้าหมายการศึกษ ตัวบ่งชี้ 1. มีการจัดองค์กร/โครงสร้างการบริหารชัดเจน 2. มีปรัชญา แผนพัฒนา/ธรรมนูญสถานศึกษา แผนการดำเนินงานของสถานศึกษา และตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จ 3. มีการปฏิบัติตามแผน4. มีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล เปรียบเทียบกับเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง5. มีระบบข้อมูลสารสนเทศครบถ้วน ถูกต้อง ตรงกับความต้องการและทันต่อการใช้งาน6. มีการบันทึกและรายงานผลการประเมิน

7. มีการนำข้อมูลและผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินใจและปรับปรุงงาน

มาตรฐานที่ 14

สถานศึกษาส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา

1. ผู้บริหารและครูสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนในการร่วมกันจัดการศึกษา2. ในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจให้บุคคลากรในสถานศึกษาและชุมชนเห็นความสำคัญในการจัดการศึกษาร่วมกัน 3. มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาต่อชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

4. ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามาบทบาทในการพัฒนาการศึกษา


มาตรฐานที่ 15สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยของผู้เรียน 1. จัดสภาพแวดล้อมที่สะอาดเป็นระเบียบปลอดภัย 2. จัดระบบป้องกันให้สถานศึกษาปลอดสารพิษ สิ่งเสพติด อาชญากรรม และอบายมุข 3. จัดระบบสาธารณูปโภคที่ดี 4. จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครู และบุคลากรอย่างเพียงพอ และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 16

สถานศึกษาส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรครู ตามความจำเป็นและเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ

ตัวบ่งชี้

1. จัดครูเข้าสอนตรงตามสาขาวิชา หรือความถนัด หรือความรู้ ความสามารถ

2.ครูได้รับการพัฒนาเกี่ยวกับเรื่องที่ใช้สอนหรือปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลง

3. ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมมาตรฐานที่ 17สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับหลักสูตรความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น

ตัวบ่งชี้

มีการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

  • มีการจัดแนวการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรความต้องการของผู้เรียน/ท้องถิ่น และ

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม ให้สามารถเชื่อมโยงแก้ปัญหาท้องถิ่นได้ และนำไปปฏิบัติได้จริง

มาตรฐานที่ 18

สถานศึกษาจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ตัวบ่งชี้ 1. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน 2. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ 3. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาหาความรู้ แสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 4. มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยี และสื่อที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน 5. มีการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกและส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมของผู้เรียน 6.มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสุนทรียภาพอย่างครบถ้วนทั้งทางด้านดนตรี ศิลปะ และกีฬา 7. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความรับผิดชอบต่อกลุ่มร่วมกัน 8. มีการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง

9. มีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรักสถานศึกษาของตนและมีความกระตือรือร้นในการไปเรียน

มาตรฐานด้านปัจจัย ( 9 มาตรฐาน )มาตรฐานที่ 19

ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี

ตัวบ่งชี้

1. ผู้บริหารอุทิศตนให้กับการปฏิบัติงานในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง2. ผู้บริหารมีความเมตตา กรุณา มีความรับผิดชอบ ยุติธรรม ซื่อสัตย์

3. ผู้บริหารมีการครองตนที่ดี ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่เกี่ยวกับอบายมุข สิ่งเสพติด

มาตรฐานที่ 20

ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้

1. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง2. ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์และเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้อง

3. ผู้บริหารมีความเป็นประชาธิปไตย

มาตรฐานที่ 21

ครูมีวิญาณความเป็นครู มีคุณธรรม จริยธรรม

ตัวบ่งชี้

1. ครูมีความเอื้ออาทร เข้าใจ และเอาใส่ใจผู้เรียนทุกคนอย่างสม่ำเสมอและเท่าเทียมกัน2. ครูมีมนุษย์สัมพันธ์ ควบคุมอารมณ์ได้ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น3. ครูมีความความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา อุทิศตนให้กับการพัฒนาผู้เรียน4. ครูวางตนเหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความประพฤติบุคลิกภาพ

5. ครูมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู

มาตรฐานที่ 22

ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ตัวบ่งชี้

1. ครูรู้เป้าหมายของหลักสูตรและเป้าหมายของการจัดการศึกษา2. ครูมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร จัดทำแผนและกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3. ครูมีความรู้ความสามารถในการประเมินผลการเรียนการสอนและการนำผลการประเมินมาใช้พัฒนาคุณภาพ

มาตรฐานที่ 23ครูมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ คิดวิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาการ

เรียนการสอน

ตัวบ่งชี้

  1. ครูมีนิสัยรักการแสวงหาความรู้และข่าวสารข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อนำมาพัฒนาการเรียนการสอน ครูมีความสามารถในการศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
  2. ครูมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขสถานการณ์ได้

 

มาตรฐานที่ 24

ครูมีคุณวุฒิ / ความรู้ ความสามรถตรงกับงานที่รับผิดชอบและมีครูเพียงพอ

ตัวบ่งชี้

1.ครูมีความถนัด / ความเชี่ยวชาญตรงกับงานที่ปฏิบัติ

2.ครูมีจำนวนตามเกณฑ์

มาตรฐานที่ 25

สถานศึกษามีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้

1. มีหลักสูตรและเนื้อหาสาระของหลักสูตรที่เหมาะสม สอดคล้องกับเป้าหมายการศึกษาและความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น

2. มีสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้


มาตรฐานที่ 26

สถานศึกษามีอาคาร สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกตามเกณฑ์

ตัวบ่งชี้

1. มีอาคาร สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกตามเกณฑ์


มาตรฐานที่ 27

ชุมชน / ผู้ปกครองมีศักยภาพในการสนับสนุน จัดการและพัฒนาการศึกษา

ตัวบ่งชี้1. ผู้ปกครองมีความรัก ความเข้าใจ เอาใจใส่ในการอบรมส่งสอนบุตรหลานและเป็นแบบอย่างที่ดี

2. ชุมชน / ผู้ปกครอง เห็นความสำคัญของการศึกษาและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของสถานศึกษา

 จาก http://www.sp.ac.th/tuksakrabwounkarn.htm

หมายเลขบันทึก: 41347เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีจังเลยครับ ต้องการความรู้ในเรื่องนี้พอดี ขอบคุณมากๆครับ ถ้ามีเรื่องเกี่ยวกับ MIS และการประกันคุณภาพทั้งภายนอกในภายใน ก็เอามาลงอีกนะครับ ตอนนี้ต้องการ มาตรฐานของกระทรวง สพฐ. เทศบาล และมาตรฐานแห่งชาติ มีมั้ยครับ

สวัสดีคะคุณ

อ่านแล้วรู้เรื่องการ มาตรฐาน สถานศึกษา

ขอให้มีสุขภาพดีและประสบความสำเร็จในชีวิต

ขอบคุณ

อัจฉรา S.achara

ค้นหามาตรฐานการศึกษาของกระทรวงได้รับข้อมูลจากที่นี่ ละเอียดดีค่ะ จะใช้อ้างอิงเพื่อการศึกษา ขอบคุณมากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท